อาการ อั ล ไซ เม อ ร์ ก่อน เสียชีวิต pantip

อาการ อั ล ไซ เม อ ร์ ก่อน เสียชีวิต pantip

โรคอัลไซเมอร์ พบมากถึง 60-80% ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั้งหมด เกิดจากเซลล์ในสมองตายหรือไม่ทำงาน ทำให้สมองส่วนที่เหลือทำงานได้ไม่เต็มที่  และหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะเกิดภาวะสมองเสื่อมรุนแรงขึ้น จนในที่สุดผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก็ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้

ความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์

อาการของโรคอัลไซเมอร์จะกินเวลาหลายปี และแสดงอาการตามระยะเสื่อมของสมอง  3 ระยะ ดังนี้

อาการสมองเสื่อมระยะแรก

อาการระยะแรกของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เริ่มจากขี้หลงขี้ลืม ลืมเรื่องที่เพิ่งพูดไปหรือลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้น  มีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ ชอบถามคำถามเดิมๆ ซ้ำๆ มีความลังเล ไม่สามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆ ได้  ทำให้มีความวิตกกังวลมากขึ้น ตื่นตกใจง่าย และอาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้

อาการสมองเสื่อมระยะปานกลาง

ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเข้าขั้นสมองเสื่อมระยะแรก และคิดว่าเป็นเพียงความหลงลืมชั่วคราว หรือเป็นเรื่องปกติ อาจเป็นความคิดที่ผิดได้ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ ปัญหาความจำอาจแย่ลงจนไม่สามารถจำชื่อคนรู้จักได้ ไม่สามารถลำดับเครือญาติ หรือแยกคนใกล้ชิดได้ว่าใครเป็นใคร  รวมถึงอาจมีอาการสับสน ลืมวันเวลา ประกอบกับนอนไม่หลับ และที่พบบ่อยคือหลงทาง หาทางกลับบ้านเองไม่ได้ ความรุนแรงของอาการสมองเสื่อมระยะนี้ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายกว่าปกติ หรือรุนแรงถึงทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะซึมเศร้าได้

อาการสมองเสื่อมระยะสุดท้าย

อาการระยะที่รุนแรง ผู้ป่วยจะเกิดภาพหลอน  เรียกร้องความสนใจ หรือก้าวร้าวขึ้น มักมีอาการทางกาย เช่น เคี้ยวอาหารและกลืนได้ลำบาก เคลื่อนไหวช้าลง หรือไม่สามารถเดินเองได้  ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด เนื่องจากกลั้นไม่อยู่  และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องพึ่งพาผู้อื่นในเรื่องง่ายๆ เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ เป็นต้น

10 สัญญาณเตือน โรคอัลไซเมอร์ 

  1. มีการหลงลืมที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ลืมในสิ่งที่เพิ่งผ่านเข้ามาเร็วๆ นี้ ลืมวันหรือเหตุการณ์สำคัญ ถามซ้ำแล้วซ้ำอีก ต้องอาศัยสิ่งช่วยจำ เช่น สมุดจด หรือ บุคคลในครอบครัว คอยช่วยเหลือ
  2. เสียความสามารถในการวางแผนหรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ เป็นขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง เช่น ลืมขั้นตอนจ่ายเงินเมื่อไปธนาคาร หรือขับรถ
  3. รู้สึกยากลำบากในการทำงานที่คุ้นเคย ไม่ว่าที่บ้าน ที่ทำงาน หรือเวลาพักร้อน เช่น ขับรถไปในสถานที่ที่ไปประจำ จำกฎกติกาของกีฬาที่เล่นประจำไม่ได้
  4. รู้สึกสับสนกับเวลาหรือสถานที่ในขณะหนึ่งๆ เช่น ไม่รู้วันที่ ฤดูกาล และเวลา ลืมสถานที่ที่ตัวเองอยู่หรือไม่รู้ว่าจะไปสถานที่นั้นๆอย่างไร
  5. รู้สึกลำบากที่จะเข้าใจในภาพที่เห็นและความสัมพันธ์ระหว่างภาพที่เห็นกับตัวเอง เช่น อ่านหนังสือเข้าใจลำบากขึ้น กะระยะทางยากขึ้น วางของบนโต๊ะแต่มักปล่อยลงก่อนถึงโต๊ะ บอกสีต่างๆ ยากขึ้น
  6. รู้สึกมีปัญหาในการค้นหาหรือใช้คำที่เหมาะสมในการพูดหรือเขียน เช่น มักจะหยุดระหว่างกำลังสนทนาและไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรต่อ หรืออาจพูดคำ ประโยคซ้ำๆ
  7. ลืมของไว้ในที่ที่ไม่ควรวางหรือเก็บไว้และไม่สามารถย้อนนึกกลับไปได้ว่าวางไว้ที่ใด เช่น เก็บโทรศัพท์ไว้ในตู้เย็น
  8. ความสามารถในการตัดสินใจลดลงหรือสูญเสียไป เช่น ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำอย่างไรกับตนเอง ไม่ทำผม ไม่อาบน้ำ เมื่อจะไปงานสำคัญ
  9. มีการแยกตัวออกจากงานที่ทำหรือกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น ปกติจะไปเล่นกีฬา พบปะเพื่อนทุกสัปดาห์ แต่วันหนึ่งกลับไม่ไปโดยไม่มีเหตุผลใดๆ
  10. รู้สึกว่าอารมณ์และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป เช่น ดูสับสน วิตกกังวล หวาดกลัว

หากพบสัญญาณเตือนข้อใดข้อหนึ่ง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง  เพื่อทำการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่แรกเริ่ม และรับการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด รวมถึงสามารถวางแผนอนาคตให้ตัวเองได้

การชะลอการเกิดอัลไซเมอร์ 

การดำเนินชีวิตอย่างรักสุขภาพ  จะส่งผลดีต่อสมอง ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ได้ โดยการปฏิบัติดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมอง
  • ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ทำกิจกรรมการกระตุ้นความคิดอยู่เสมอ


รายงานหนึ่งระบุว่า ผู้ที่มีกรรมพันธุ์โรคอัลไซเมอร์  จะมีความเสี่ยงสูง แต่หากดูแลสุขภาพอย่างดี สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ลงได้ถึง 32% เมื่อเทียบกับผู้ที่ใช้ชีวิตแบบไม่ใส่ใจสุขภาพ

สำหรับอีกรายงานได้ยืนยันว่า การพักอาศัยในบริเวณที่มีมลภาวะสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์สูงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผู้หญิงสูงวัยที่ใช้สมองอยู่เสมอ มีศักยภาพการทำงานสูง (วัดจากคะแนนการทำงานของสมอง ระยะเวลาที่เรียนหนังสือ หน้าที่การงาน และกิจกรรมทางกายภาพ) มีความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นเพียง 21%  ต่างจากผู้ที่ไม่ค่อยได้บริหารสมอง จะมีความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นถึง 113%

การรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดที่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ มีเพียงการรักษาให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  โดยการใช้ยายับยั้งสารอะเซตีลโคลีนเอสเทอเรส (Acetylcholinesterase) เพื่อลดการทำลายสารความจำในสมอง  นอกจากนี้ผู้ป่วยยังควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงควบคุมอาการของโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง

ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร

                สมองเสื่อม เป็นภาวะที่สมรรถภาพการทำงานของสมองถดถอยบกพร่องในด้านการรู้คิด ได้แก่ ความจำ การตัดสินใจ การวางแผน และบริหารจัดการ การรับรู้รูปทรง และการกะระยะ การใช้ภาษา สมาธิ หรือ ความใส่ใจ ความสามารถในการรับรู้เกี่ยวกับสังคมรอบตัว โดยมีผลกระทบต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม แต่ต้องไม่มีภาวะเพ้อ โรคซึมเศร้า โรคทางจิตเวชเรื้อรัง หรือ วิตกกังวลรุนแรงขณะวินิจฉัย ซึ่งการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมอาศัยข้อมูลจากประวัติทั้งจากผู้ป่วยและญาติที่อยู่ใกล้ชิดรู้จักผู้ป่วยเป็นอย่างดี การตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจร่างกายทางระบบประสาท การตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมไปถึงการตรวจทางประสาทจิตวิทยา

                สมองเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุที่แก้ไขได้และแก้ไขไม่ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสมองขยายตัว โรคขาดฮาร์โมนต่อมไทรอยด์ โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ชิฟิลิสและเอดส์ เป็นต้น ปัจจบันพบโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด

โรคอัลไซเมอร์คืออะไร

                โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยความชุกของโรคจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ พบความชุกร้อยละ 10-15 ในประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปี และพบร้อยละ 20-30 ในประชากรที่อายุมากว่า 80 ปี

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

                โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมองจนบางส่วนของสมองทำหน้าที่ลดลง เกิดการฝ่อ ทำให้กระทบกับการทำงานของสมองส่วนนั้น และแสดงอาการต่าง ๆ ออกมา เช่น หลงลืม ถามซ้ำ ๆ ฯลฯ อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคอัลไซเมอร์ มีการศึกษาพบว่าในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีการสะสมของโปรตีนบางชนิด เช่น อะไมลอยด์ (amyloid) และ ทาว (tau) มากกว่าปกติ

อาการของโรคอัลไซเมอร์เป็นอย่างไร

                ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านความจำเป็นอาการหลัก ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ จึงมักจะลืมว่าวางของไว้ที่ไหนทั้งที่พยายามจำ ถามซ้ำ ๆ พูดซ้ำ ๆ เป็นต้น

                เมื่อโรคดำเนินไปจะทำให้เกิดความบกพร่องของการรู้คิดด้านอื่นร่วมด้วย เช่น หลงทาง คิดเลขไม่ได้ ไม่สามารถจัดการกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้เอง มีปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาพฤติกรรม และความผิดปกติทางจิตตามมา เช่น หงุดหงิด เฉื่อยชาและเฉยเมย ขาดการยับยั้งชั่งใจ มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน เป็นต้น

เมื่อไหร่จึงต้องพบแพทย์

                เมื่อปัญหาด้านความจำที่เกิดขึ้นหรืออาการหลงลืมนั้น ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการจัดการชีวิตประจำวัน เช่น ทำได้ช้าลง ทำผิดบ่อยขึ้น หรืออาการหลงลืมนั้นส่งผลให้เกิดปัญหาในการจัดการชีวิตประจำวันด้วยตนเอง เช่น ต้องการผู้ช่วยเหลือในการจ่ายเงิน ต้องการผู้ช่วยเหลือในการบริหารยาที่ทานประจำ เป็นต้น

ปัจจัยเสื่องของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

  1. อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด โดยพบว่าหลังอายุ 65 ปี ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มเป็น 2 เท่าในทุก ๆ 5 ปีที่อายุมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีด้วยเช่นกัน

  2. พันธุกรรม เช่น มีญาติสายตรงในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคนี้หลายคน , มียีนบางอย่างเช่น ApoE4 เป็นต้น

  3. โรคดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome) ผู้ป่วยถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีความผิดปกติของการสะสมของโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน

  4. การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ มีรายงานการศึกษาทางระบาดวิทยาหลายรายงานพบว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมจากสาเหตุอื่น ๆ มีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะมากกว่าคนที่ไม่มีสมองเสื่อม อย่างไรก็ตามในบางการศึกษาไม่พบว่าการได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะมาก่อนเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อม

  5. พบว่าโรคอัลไซเมอร์มีส่วนที่เกิดจากโรคของหลอดเลือด รวมถึงพบร่วมกับโรคหลอดเลือดในสมองได้บ่อย ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจึงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ด้วย ดังนี้

  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน 

  • การขาดการออกกำลังกาย             

  • การสูบบุหรี่

  • ความดันโลหิตสูง                   

  • ไขมันในเลือดสูง                           

  • โรคเบาหวาน

การป้องกันโรคอัลไซเมอร์

เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ การป้องกันโรคจึงเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคดังนี้

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง

  2. รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน

  3. ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่

  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  5. ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่อสมอง การพลัดตกหกล้ม

  6. ดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจติดตามโรคประจำตัวที่เป็นอยู่เป็นระยะ ๆ หากมีอาการเจ็บป่วยควรไปพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ

           นอกจากนี้ การฝึกฝนสมอง เช่น คิดเลข อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ ฝึกการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ การพบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อย ๆ การมีความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยง เข้าชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ นอกจากนี้อาจช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ยังช่วยให้ผู้สูงวัยคุณภาพชีวิตที่มีและมีความสุขอีกด้วย

การดูแลรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

           ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานการรักษาโรคให้หายขาด จึงมุ่งเน้นการดูแลรักษาเพื่อช่วยลดความพกพร่องทางการรู้คิด และสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันและเข้าสังคมได้มากที่สุด โดยแบ่งเป็น

  1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-Pharmacological Management)

         การรักษาด้วยวิธีนี้มีอยู่หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับภาวะความรุนแรงของโรคและขีดความสามารถในการเรียนรู้ของผู้ป่วยแต่ละราย โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมตามระยะของโรค ดังนี้

1.1การดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันและการฝึกทักษะการเข้าสังคม

  •  ให้ผู้ป่วยได้ร่วมดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของตนเองโดยมีผู้ดูแลคอยสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือตามขีดความสามารถของผู้ป่วย

  •  สนับสนุนให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่มีส่วนร่วมในสังคมครอบครัวและสังคมภายนอกตามความเหมาะสม

1.2การดูแลปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

  •  ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการแย่ลง เช่น เสียงรบกวน รวมถึงการปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยง่ายต่อการใช้งาน เช่น ให้พื้นเรียบ ไม่มีของเกะกะทางเดินและแสงสว่างเพียงพอ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ

1.3การให้ความรู้กับผู้ดูแลผู้ป่วย

  •  เนื่องจากผู้ป่วยจะเข้าสู่สภาวะที่ต้องพึ่งพา ผู้ดูแลเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่ต้องเข้าใจการดำเนินของโรค และความรู้เกี่ยวการดูแลผู้ป่วยในแต่ละระยะของโรค รวมไปถึงสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วย

1.4การฟื้นฟูผู้ป่วยสมองเสื่อมด้านกายภาพ

  •  เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมอาจมีขีดความสามารถในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ลดลง การปรับอุปกรณ์ให้ง่ายต่อการใช้งานหรือปรับกิจกรรมให้เรียบง่ายและปลอดภัย รวมไปถึงการฝึกการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสโดยการบีบ จัด นวด การกระตุ้นกิจกรรมการเคลื่อนไหวจะทำให้ผู้ป่วยได้ฝึกสมรรถภาพทางกายภาพได้ดียิ่งขึ้น

1.5การดูแลด้านพฤติกรรมและจิตบำบัด

  •  ปัญหาเรื่องพฤติกรรมและอารมณ์เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย อาจต้องใช้การรักษาควบคู่ทั้งการรักษาด้วยยาและพฤติกรรมและจิตบำบัด อาจใช้การให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเพื่อให้เข้าใจผู้ป่วยและมีวิธีการดูแลได้อย่างเหมาะสม เช่น การเบี่ยงเบนความสนในผู้ป่วยออกจากเรื่องที่กำลังหงุดหงิดหรือโมโห การเสริมสร้างด้านอารมณ์ด้วยดนตรีบำบัด เป็นต้น

  1. การรักษาด้วยยา (Pharmacological Management)

ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่ามียาที่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ แต่อาจมียาบางกลุ่มที่สามารถใช้รักษาบรรเทาอาการ และการรักษาประคับประคอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก

2.1 ยาที่ใช้รักษาตามอาการด้านการรู้คิด

  •  ได้แก่ยากลุ่มที่ยับยั้งสารที่ทำลายสารสื่อประสาทในสมอง (acetylcholine esterase inhibitor) ทำให้มีสารสื่อประสาทเพิ่มขึ้น เช่น ยา donepezil, galantamine, rivastigmine เป็นต้น สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงรุนแรง

  •  นอกจากนี้ยังมียากลุ่ม NMDA receptor antagonist เช่น memantine ทำให้ glutamate ไม่สามารถจับกับ receptor ได้ทำให้ลดการเกิดพิษต่อเซลล์ประสาท ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง

2.2 ยาที่ใช้รักษาปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และความผิดปกติทางจิต

  •  ปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และความผิดปกติทางจิตเกิดได้บ่อยในผู้ป่วยสมองเสื่อม ซึ่งอาจต้องใช้ยาตามอาการทางจิตร่วมรักษา เช่น ยาต้านเศร้า ยาลดอาการหลงผิดประสาทหลอนและอาการกระวนกระวาย ยาคลายกังวลหรือยานอนหลับ โดยแพทย์อาจจะปรับยาตามอาการเพื่อให้สมดุลโดยพิจารณาถึงประโยชน์และผลข้างเคียงของการใช้ยา

"อย่างไรก็ตามการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์จำเป็นต้องดูแลอย่างเป็นองค์รวมประกอบด้วยการดูแลรักษาในด้านกายภาพ ด้านจิตใจและพฤติกรรม ด้านการเข้าสังคม รวมไปถึงการให้ความรู้และสนับสนุนญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี "

อ้างอิง

  1. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, ภาวะสมองเสื่อม , คลินิกผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

  2. สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ , แนวทางเวชปฏิบัติ ภาวะสมองเสื่อม Clinical Practice Guidelines : Demetia. 2557

  3. กุศลากรณ์ ชัยอุดมสม , ภัทรี พหลภาคย์ , ภาพันธ์ วัฒนวิกย์กิจ , พงศธร พหลภาคย์ , จิตเวชศาสตร์ Psychiatry : บทที่ 23 โรคของประสาทพุทธิปัญญา (Neurocognitive Disorders). 2559

อาการ อั ล ไซ เม อ ร์ ก่อน เสียชีวิต pantip

ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร

                สมองเสื่อม เป็นภาวะที่สมรรถภาพการทำงานของสมองถดถอยพกพร่อง ในด้านการรู้คิด ได้แก่ ความจำ การตัดสินใจ การวางแผน และบริหารจัดการ การรับรู้รูปทรง และการกะระยะ การใช้ภาษา สมาธิ หรือ ความใส่ใจ ความสามารถในการรับรู้เกี่ยวกับสังคมรอบตัว โดยมี ผลกระทบต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน และการเข้าสังคม แต่ต้องไม่มีภาวะเพ้อ โรคซึมเศร้า โรคทางจิตเวชเรื้อรัง หรือ วิตกกังวลรุนแรงขณะวินิจฉัย ซึ่งการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม อาศัยข้อมูลจากประวัติทั้งจากผู้ป่วย และญาติที่อยู่ใกล้ชิดรู้จักผู้ป่วยเป็นอย่างดี การตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจร่างกายทางระบบประสาท การตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมไปถึงการตรวจทางประสาทจิตวิทยา

                สมองเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุที่แก้ไขได้ และแก้ไขไม่ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสมองขยายตัว โรคขาดฮาร์โมนต่อมธัยรอยด์ โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ฟิสิลิสและเอดส์ เป็นต้น ปัจจบันพบโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด

โรคอัลไซเมอร์คืออะไร

                โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยความชุกของโรคจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ พบความชุกร้อยละ 10-15 ในประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปี และพบร้อยละ 20-30 ในประชากรที่อายุมากว่า 80 ปี

อาการของโรคอัลไซเมอร์เป็นอย่างไร

                ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านคามจำเป็นอาการหลัก ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ จึงมักจะลืมว่าวางของไว้ที่ไหนทั้งที่พยายามจำ ถามช้ำ ๆ พูดช้ำ ๆ เป็นต้น

                เมื่อโรคดำเนินไปจะทำให้เกิดความพกพร่องของการรู้คิดด้านอื่นร่วมด้วย เช่น หลงทาง คิดเลขไม่ได้ ไม่สามารถจัดการกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้เอง มีปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหากฃพฤติกรรม และความผิดปกติทางจิตตามมา เช่น หงุดหงิด เฉื่อยชาและเฉยเมย ขาดการยับยั้งชั่งใจ มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน เป็นต้น

เมื่อไหร่จึงต้องพบแพทย์

                เมื่อปัญหาด้านความจำที่เกิดขึ้น หรืออาการหลงลืมนั้น ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการจัดการชีวิตประจำวัน เช่น ทำได้ช้าลง ทำผิดบ่อยขึ้น หรืออาการหลงลืมนั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาในการจัดการชีวิตประจำวันด้วยตนเอง เช่น ต้องการผู้ช่วยเหลือในการจ่ายเงิน ต้องการผู้ช่วยในการบริหารยาที่ทานประจำ เป็นต้น

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

                โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมองจนบางส่วนของสมองทำหน้าที่ลดลง เกิดการฝ่อ ทำให้กระทบกับการทำงานของสมองส่วนนั้น และแสดงอาการต่าง ๆ ออกมา เช่น หลงลืม ถามซ้ำ ๆ ฯลฯ อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคอัลไซเมอร์ มีการศึกษาพบว่าในสมองของผูป่วยที่เป็นโรคนี้มีการสะสมของโปรตีนบางชนิด เช่น อะไมลอยด์ (amyloid) และ เทา (tau) มากกว่าปกติ

ปัจจัยเสื่องของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

  1. อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด โดยพบว่า หลังอายุ 65 ปี ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มเป็น 2 เท่าในทุก ๆ 5 ปีที่อายุมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีด้วยเช่นกัน
  2. พันธุกรรม เช่น มีญาติสายตรงในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคนี้หลายคน , มียีนบางอย่างเช่น ApoE4 เป็นต้น
  3. โรคดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome) ผู้ป่วยถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีความผิดปกติของการสะสมของโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน
  4. การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ มีรายงานการศึกษาทางระบาดวิทยาหลายรายงานพบว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมจากสาเหตุอื่น ๆ มีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะมากกว่าคนที่ไม่มีสมองเสื่อม อย่างไรก็ตามในบางการศึกษาไม่พบว่าการได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะมาก่อนเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อม
  5. พบว่าโรคอัลไซเมอร์มีส่วนที่เกิดจากโรคของหลอดเลือด รวมถึงพบร่วมกับโรคหลอดเลือดในสมองได้บ่อย ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจึงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ด้วย ดังนี้
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน 
  • การขาดการออกกำลังกาย             
  • การสูบบุหรี่
  • ความดันโลหิตสูง                   
  • ไขมันในเลือดสูง                           
  • โรคเบาหวาน

การป้องกันโรคอัลไซเมอร์

เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ การป้องกันโรคจึงเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคดังนี้

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง

  2. รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน

  3. ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่

  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  5. ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่อสมอง การพลัดตกหกล้ม

  6. ดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจติดตามโรคประจำตัวที่เป็นอยู่เป็นระยะ ๆ หากมีอาการเจ็บป่วยควรไปพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ

           นอกจากนี้ การฝึกฝนสมอง เช่น คิดเลข อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ ฝึกการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ การพบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อย ๆ การมีความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยง เข้าชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ นอกจากนี้อาจช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ยังช่วยให้ผู้สูงวัยคุณภาพชีวิตที่มีและมีความสุขอีกด้วย

การดูแลรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

           ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานการรักษาโรคให้หายขาด จึงมุ่งเน้นการดูแลรักษาเพื่อช่วยลดความพกพร่องทางการรู้คิด และสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันและเข้าสังคมได้มากที่สุด โดยแบ่งเป็น

  1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-Pharmacological Management)

         การรักษาด้วยวิธีนี้มีอยู่หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับภาวะความรุนแรงของโรคและขีดความสามารถในการเรียนรู้ของผู้ป่วยแต่ละราย โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมตามระยะของโรค ดังนี้

1.1การดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันและการฝึกทักษะการเข้าสังคม

  •  ให้ผู้ป่วยได้ร่วมดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของตนเองโดยมีผู้ดูแลคอยสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือตามขีดความสามารถของ ผู้ป่วย
  •  สนับสนุนให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่มีส่วนร่วมในสังคมครอบครัวและสังคมภายนอกตามความเหมาะสม

1.2การดูแลปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

  •  ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อการแย่ลง เช่น เสียงรบกวน รวมถึงการปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยง่ายต่อการใช้งาน เช่น ให้พื้นเรียบ ไม่มีของเกะกะทางเดินและแสงสว่างเพียงพอ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ

1.3การให้ความรู้กับผู้ดูแลผู้ป่วย

  •  เนื่องจากผู้ป่วยจะเข้าสู่สภาวะที่ต้องพึ่งพา ผู้ดูแลเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่ต้องเข้าใจการดำเนินของโรค และความรู้เกี่ยวการดูแลผู้ป่วยในแต่ละระยะของโรค รวมไปถุงสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วย

1.4การฟื้นฟูผู้ป่วยสมองเสื่อมด้านกายภาพ

  •  เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมอาจมีขีดความสามารถในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ลดลงการปรับอุปกรณ์ให้ง่ายต่อการใช้งานหรือปรับกิจกรรมให้เรียบง่ายและปลอดภัย รวมไปถึงการฝึกการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสโดยการบีบ จัด นวด การกระตุ้นกิจกรรมการเคลื่อนไหวจะทำให้ผู้ป่วยได้ฝึกสมรรถภาพทางกายภาพได้ดียิ่งขึ้น

1.5การดูแลด้านพฤติกรรมและจิตบำบัด

  •  ปัญหาเรื่องพฤติกรรมและอารมณ์เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย อาจต้องใช้การรักษาควบคู่ทั้งการรักษาด้วยยาและพฤติกรรมและจิตบำบัด อาจใช้การให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเพื่อให้เข้าใจผู้ป่วยและมีวิธีการดูแลได้อย่างเหมาะสม เช่น การเบี่ยงเบนความสนในผู้ป่วยออกจากเรื่องที่กำลังหงุดหงิดหรือโมโห การเสริมสร้างด้านอารมณ์ด้วยดนตรีบำบัด เป็นต้น
  1. การรักษาด้วยยา (Pharmacological Management)

ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่ามียาที่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ แต่อาจมียาบางกลุ่มที่สามารถใช้รักษาบรรเทาอาการ และการรักษาประคับประคอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก

2.1 ยาที่ใช้รักษาตามอาการด้านการรู้คิด

  •  ได้แก่ยากลุ่มที่ยับยั้งสารที่ทำลายสารสื่อประสาทในสมอง (acetylcholine esterase inhibitor) ทำให้มีสารสื่อประสาทเพิ่มขึ้น เช่น ยา donepezil, galantamine, rivastigmine เป็นต้น สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงรุนแรง
  •  นอกจากนี้ยังมียากลุ่ม NMDA receptor antagonist เช่น memantine ทำให้ glutamate ไม่สามารถจับกับ receptor ได้ทำให้ลดการเกิดพิษต่อเซลล์ประสาท ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง

2.2 ยาที่ใช้รักษาปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และความผิดปกติทางจิต

  •  ปัญหาพฤตกรรม อารมณ์ และความผิดปกติทางจิตได้บ่อยในผู้ป่วยสมองเสื่อม ซึ่งอาจต้องใช้ยาตามอาการทางจิตร่วมรักษา เช่น ยาต้านเศร้า ยาลดอาการหลงผิดประสาทหลอนและอาการกระวนกระวาย ยาคลายกังวลหรือยานอนหลับ โดยแพทย์อาจจะปรับยาตามอาการเพื่อให้สมดุลโดยพิจารณาถึงประโยชน์และผลข้างเคียงของการใช้ยา

"อย่างไรก็ตามการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคสอมงเสื่อมอัลไซเมอร์จำเป็นต้องดูแลอย่างเป็นองค์รวมประกอบด้วยการดูแลรักษาในด้านกายภาพ ด้านจิตใจและพฤติกรรม ด้านการเข้าสังคม รวมไปถึงการให้ความรู้และสนับสนุนญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี "

อ้างอิง

  1. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, ภาวะสมองเสื่อม , คลินิกผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  2. สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ , แนวทางเวชปฏิบัติ ภาวะสมองเสื่อม Clinical Practice Guidelines : Demetia. 2557
  3. กุศลากรณ์ ชัยอุดมสม , ภัทรี พหลภาคย์ , ภาพันธ์ วัฒนวิกย์กิจ , พงศธร พหลภาคย์ , จิตเวชศาสตร์ Psychiatry : บทที่ 23 โรคของประสาทพุทธิปัญญา (Neurocognitive Disorders). 2559