ที่ชํานาญ ต้องเก่งด้านขุดค้นจนรู้ดี อาชีพอะไร

Hard Skills คือ ทักษะความรู้ที่เราร่ำเรียนมาหรือศึกษาหาความรู้มาจนเกิดเป็นความสามารถในการประกอบวิชาชีพเพื่อใช้ปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ

เช่น คนเป็นนักบัญชีก็ต้องมีความรู้ในการตรวจงบและจัดทำบัญชี, คนเป็นหมอต้องมีทักษะในด้านการรักษาโรค, คนเป็นวิศวะโยธาต้องมีทักษะในการออกแบบวางแผนและควบคุมงานก่อสร้าง,

คนเป็นสถาปนิกต้องมีทักษะในการออกแบบโครงการก่อสร้างต่างๆ, คนเป็นพ่อครัวต้องมีทักษะในการประกอบอาหาร, คนเป็นทนายต้องมีทักษะในการว่าความ เป็นต้น

ตัวอย่างบางส่วนของทักษะด้าน Hard Skills

  • Computer skills ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่างๆ
  • Management skills ทักษะการบริหารจัดการ
  • Project management skills ทักษะบริหารงานโครงการ
  • Writing skills ทักษะการเขียน
  • Accounting skills ทักษะด้านบัญชี
  • Design skills ทักษะการออกแบบ
  • Language skills ทักษะทางภาษา


แต่ความเป็นจริงในโลกของการทำงานเราจะเก่งเฉพาะทักษะด้าน Hard Skills เพียงอย่างเดียวไม่ได้

เพราะหากเราเรียนจบมาได้เกรดเฉลี่ยสูงลิ่ว แต่กลับมีเพียงทักษะด้าน Hard Skills ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เราก็จะเป็นคนเก่งที่ทำงานเก่งด้วยตัวคนเดียว แต่ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆไม่ได้

ถ้าไม่มีทักษะการสื่อสารที่ดี ก็จะกลายเป็นคนที่พูดจาไม่รู้เรื่องหรือพูดจาแบบมะนาวไม่มีน้ำ ทำให้ผู้ร่วมงานเสียความรู้สึกอยู่เป็นประจำ

ซึ่งหลายครั้งก็ไม่ได้เป็นไปโดยเจตนา แต่เพราะขาดความสามารถในการเข้าใจตนเองและผู้อื่น ยิ่งถ้าหากไม่มีทักษะการควบคุมอารมณ์ที่ดีก็จะยิ่งไม่มีใครอยากร่วมงานด้วย และต้องกลายเป็นบุคคลที่โดดเดี่ยวในองค์กรที่ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพไปวันๆในที่สุด

ในอีกทางหนึ่ง ในขณะที่เราอาจจะเป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่ได้เรียนเก่งหรือเชี่ยวชาญทักษะด้าน Hard Skills มากนัก แต่เป็นคนที่ได้รับการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills ติดตัวมาด้วย

เช่น เป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ทำงานเป็นทีมและสื่อสารได้ดี มีความสามารถในการยับยั้งช่างใจและควบคุมอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม

ผลที่ตามมาก็คือ เราจะกลายเป็นคนที่ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้ดีกว่า สามารถพัฒนาทักษะของตนเองไปพร้อมๆกับทีม ได้รับความเอ็นดูและการสนับสนุนจากผู้ใหญ่มากกว่า และมีโอกาสเติบโตเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากกว่า

ความแตกต่างระหว่าง soft skill กับ hard skill

Hard Skills กับ Soft Skills ต่างกันอย่างไร

Hard Skills เป็นทักษะทางวิชาชีพที่ใช้เฉพาะกับงานด้านนั้นๆ เช่น นักบัญชีต้องมีทักษะความรู้ในด้านการทำบัญชี ในขณะที่ทักษะการทำบัญชีอาจไม่ใช่ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานในแผนกอื่นๆ

Hard Skills เป็นทักษะที่สามารถวัดผลได้ง่าย เช่น วัดเป็นเกรด ผลการปฏิบัติงาน ระดับความรู้ความสามารถในวิชาชีพนั้นๆ ความสามารถในการใช้เครื่องมือต่างๆ

นายจ้างสามารถดู Hard Skills ของผู้สมัครงานได้จากผลการเรียน ใบปริญญาบัตร ใบรับรองวุฒิบัตร

การวัดผล : Hard Skills เป็นทักษะที่วัดผลได้ง่าย สามารถระบุออกมาเป็นคะแนนหรือระดับของความรู้ความสามารถ

เนื่องจากเป็นทักษะที่มองเห็นได้ค่อนข้างชัดเจน วัดผลเป็นตัวเลขได้ง่าย โดยปกติจึงมักจะเป็นการเก็บข้อมูลทางสถิติอย่างเจาะจงในงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ที่ผู้ถูกฝึกทักษะจะถูกฝึกสอนซ้ำๆเพื่อให้เกิดทักษะความเชี่ยวชาญในระบบงานนั้นๆ

การวัดผลนี้สามารถทำได้ด้วยการสอบประเมินในขณะที่ดำรงอยู่ในสถาบันการศึกษาหรือจะเป็นในช่วงของการฝึกงานเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน

ซึ่งสามารถประเมินผ่านใบ resume, วุฒิบัตร, ใบรับรองการศึกษา, ใบรับรองระดับความสามารถทางวิชาชีพ และจากการสัมภาษณ์เกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบในตำแหน่งงานที่สมัคร ไปจนถึงการประเมินทักษะความสามารถในขณะที่ได้เข้าไปทำงานนั้นๆแล้ว

Soft Skills เป็นทักษะที่เป็นคุณสมบัติภายในที่ดีของมนุษย์เป็นหลัก ทำให้มีความสามารถที่จะทำงานร่วมกับคนอื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น

และเมื่อมีทักษะเหล่านี้แล้ว บุคคลนั้นๆจะสามารถนำทักษะที่มีไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางในหลากหลายสาขาอาชีพ

เช่น การมีทักษะในการติดต่อสื่อสารที่ดี ก็ไม่ได้จำกัดประโยชน์เฉพาะงานใดงานหนึ่งเท่านั้น และเมื่อเรามีทักษะด้าน Soft Skills แล้วเราก็จะสามารถเพิ่มโอกาสความสำเร็จทั้งในงานปัจจุบันและรวมถึงงานอื่นๆในอนาคตได้อีกด้วย

การวัดผล : Soft Skills เป็นทักษะที่วัดผลได้ยากกว่า มีความเป็นนามธรรมสูงเพราะเป็นทักษะที่เกิดจากคุณสมบัติภายใน ทักษะด้าน Soft Skills หลายอย่างจึงไม่สามารถออกใบรับรองหรือใบวัดผลความรู้ออกมาได้ชัดเจนเป็นตัวเลขแบบ KPI

ในหลายๆองค์กรจึงสร้างตัวชี้วัดด้วยการวัดผลเชิงพฤติกรรมหรือใช้การเก็บข้อมูลแบบ 360 องศาเข้ามาช่วยอีกแรง

โดยสามารถประเมินผ่านการสัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในการทำงาน พฤติกรรมส่วนบุคคล ทัศนคติ บุคลิกลักษณะ และพิจารณาถึงประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมารวมไปถึงการสื่อสารของผู้ถูกสัมภาษณ์ตลอดช่วงเวลาในการสัมภาษณ์นั้นๆ

โดยสรุปในภาพรวม Hard skills มักจะเป็นทักษะความสามารถในการใช้เทคนิคต่างๆ ในการทำงาน ที่สามารถสอนและวัดผลความรู้หรือความสามารถนั้นออกมาได้เป็นตัวเลขเชิงสถิติได้ชัดเจน

ในขณะที่ Soft Skills นั้นเป็นทักษะที่วัดผลเป็นตัวเลขได้ยากกว่า มีความเป็นนามธรรม เป็นคุณสมบัติภายใน ไม่มีใบรับรองหรือใบวัดผลความรู้หรือเกรดที่ระบุออกมาได้ชัดเจน

แต่เมื่อพัฒนาจนกลายเป็นทักษะได้แล้ว จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่งานใดงานหนึ่งเท่านั้น เช่น ทักษะการติดต่อสื่อสาร, ความสามารถในการปรับตัว, ภาวะผู้นำ, การแก้ปัญหาและตัดสินใจ, ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นต้น

ทักษะความรู้ทางวิชาชีพเพื่อใช้ปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ

ทักษะส่วนบุคคลที่ทำให้การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ผลดีและประสบความสำเร็จ

ระบบการศึกษาภาคบังคับ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา

สะสมจากประสบการณ์การอยู่ร่วมในสังคมกับผู้อื่น

วัดผลไม่ได้ ไม่มีใบรับรอง ใบวัดผลความรู้หรือเกรดที่ระบุออกมาได้ชัดเจน

เอกสารที่พิสูจน์คุณสมบัติ

ใบรับรองการศึกษา ใบปริญญาบัตร ใบรับรองระดับความสามารถทางวิชาชีพ

ไม่มีใบรับรองเนื่องจากเป็นทักษะส่วนบุคคลที่วัดผลได้ยาก

ใช้เฉพาะเจาะจงกับตำแหน่งงานนั้นๆ

สามารถประยุกต์ใช้ได้กว้างขวาง ไม่ได้จำกัดเฉพาะตำแหน่งงานใดงานหนึ่ง

soft skill คือทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21

ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา สถาบันการศึกษาต่างๆ เร่งผลิตบัณฑิตป้อนสู่ตลาดวิชาชีพ คล้ายการผลิตสินค้าในระบบอุตสาหกรรม

โดยมุ่งเน้นการสร้างทักษะความรู้ทางวิชาชีพหรือ Hard Skills เป็นอย่างมาก เพื่อป้อนคนเข้าสู่ตลาดแรงงานตามออเดอร์ โดยขาดการให้ความสำคัญในการให้ความรู้และพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills ให้แก่เยาวชนมากเพียงพอ

ส่งผลให้ประเทศเราได้คนที่จบมาจากสถาบันการศึกษาที่เก่งแต่ทักษะด้านการงานออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ขาดทักษะด้านการบริการอารมณ์และความสัมพันธ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อศักยภาพการทำงานของบุคลากรองค์กรและทำให้องค์กรต้องเสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายที่ต้องตามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายๆ ด้าน

การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรของบริษัทหลายแห่งในยุคปัจจุบัน จึงใช้วิธีดูว่าบัณฑิตจบใหม่มีทักษะด้าน Soft Skills หรือไม่

โดยสังเกตจากพฤติกรรมและกิจกรรมในระหว่างการเรียนในสถาบันการศึกษา พิจารณาประกอบกับประสบการณ์การใช้ชีวิตในการเรียนและการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการสัมภาษณ์พูดคุยเพื่อเช็คเรื่องทัศนคติในชีวิตและการทำงาน

โดยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อที่ว่า นักศึกษาที่เคยมีประสบการณ์ในการร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างการเรียนในสถาบันการศึกษา เช่น การทำงานกลุ่ม การเข้าร่วมกิจกรรมของชมรม หรือการทำงานจิตอาสาต่างๆ มักจะมีทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีทักษะการวางแผนที่ดี

สามารถลำดับความสำคัญได้ดีว่าควรทำงานอะไรก่อนอะไรหลัง สามารถบริหารจัดการคนได้เก่ง มีทักษะในการนำเสนองาน และมีซอฟสกิลมากกว่านักศึกษาที่มุ่งแต่เรียนเก่งสอบได้คะแนนสูงมากแต่แทบไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมหรือทำงานร่วมกับคนอื่นเลย

ซึ่งทั่วโลกต่างยอมรับกันว่า คนที่มีไอคิวสูงเพียงอย่างเดียว ไม่อาจประสบความสำเร็จในการทำงานหรือการดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนหากขาดการพัฒนา Soft Skills อย่างต่อเนื่อง

เพราะฉะนั้นคนเก่งยุคใหม่ของจริงจึงต้องมีทักษะทั้ง 2 ด้าน คือ เก่งทั้งงานและเก่งทั้งคน ซึ่งนับเป็นสุดยอดบุคลากรที่พึงปรารถนาของทุกองค์กร

นักวิชาการบางท่านถึงกับเรียกทักษะด้านนี้ว่า เป็นศักยภาพในการบริหารจัดการคน (People Management Competency)

ซึ่งคนที่มีทักษะด้านนี้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารหรือหัวหน้างานเสมอไป พนักงานในระดับต่างๆ ก็ควรจะต้องมี Soft Skills เช่นกัน เพราะเมื่อทุกคนร่วมกันทำงานได้ดีอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่องค์กรมุ่งหวังและเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้

หากองค์กรใดมีบุคลากรที่มีทักษะแบบ Soft Skills มากๆ พนักงานเหล่านั้นจะช่วยสนับสนุนให้องค์กรนั้นๆ เป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน

และแม้ว่าจะมีจำนวนพนักงานที่น้อยแต่ผลงานที่ออกมาก็จะมีประสิทธิภาพสูง เพราะบุคลากรที่มีซอฟสกิลจะช่วยลดปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ทำให้มีอัตราการลาออกลดลง

เกิดการสื่อสารที่ดีและองค์กรไม่ต้องสูญเสียเวลา สูญเสียเงิน ในการคัดสรรและพัฒนาบุคลากรใหม่อยู่เรื่อยๆ

จึงกล่าวได้ว่า Hard Skills เป็นทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็นต่อการทำงานในตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ แต่ Soft Skills เป็นทักษะที่บ่งบอกว่าคุณจะสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในระยะยาวได้ดีแค่ไหน

ดังนั้นคนทำงานจึงต้องมีทักษะทั้ง Hard Skills กับ Soft Skills ร่วมกันจึงจะช่วยส่งเสริมให้หน้าที่การงานเจริญรุ่งเรือง ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้