เฉลย องค์การ และการจัดการ สมัยใหม่ บท ที่ 6

องค์การคือ กลุ่มบุคคล แต่เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างใหญ่ และมีลักษณะเฉพาะที่มีจุดมุ่งหมายในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยกลุ่มบุคคลนี้จะมีสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกัน และร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ องค์การจึงมีลักษณะดังนี้

  1. องค์การเป็นรูปแบบของการรวมบุคคล

  2. มีความสัมพันธ์ที่จะทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน

  3. มีการแบ่งงาน จัดสรรหน้าที่ให้สมาชิกในองค์การ

  4. มีโครงสร้างขององการในลักษณะของการบังคับบัญชา

  5. มีการยอมรับในสังคม ตามระเบียบแบบแผน ประเพณี หรือกฎหมาย

2. ทฤษฎีองค์การ

ทฤษฎีองค์การอาจแบ่งได้เป็น 3 ทฤษฎีด้วยกันคือ

1. ทฤษฎีดั้งเดิม (Classical organization theory)

2. ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical organization theory)

3. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern organization theory)

3. ประเภทขององค์การ (Types of Organization)

ในการแบ่งประเภทขององค์การนั้น ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายขององค์การว่าเป็นอย่างไร ซึ่งมีลักษณะการดำเนินงานที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งประเภทองค์การได้ ดังนี้

      1. การแบ่งองค์การตามความต้องการของบุคคล

2. การจำแนกองค์การโดยยึดโครงสร้าง แบ่งออกเป็น 2 แบบ

3. การแบ่งองค์การตามจุดมุ่งหมายขององค์การ

4. หลักการจัดองค์การ

หลักการจัดองค์การ OSCAR ของ Henri Fayol มาจากคำว่า Objective, Specialization, Coordination, Authority และ Responsibility ซึ่ง Fayol ได้เขียนหลักของการจัดองค์การไว้ 5 ข้อ เมื่อนำเอาตัวอักษรตัวแรกของคำทั้ง 5 มาเรียงต่อกัน จะทำให้สะกดได้คำว่า OSCAR สำหรับรายละเอียด ทั้ง 5 คำจะขอกล่าวไว้ใน " หลักในการจัดองค์การที่ดี "

5. กระบวนการจัดองค์การ (Process of Organizing)

ประกอบด้วย กระบวนการ 3 ขั้น ดังนี้

1. พิจารณาแยกประเภทงาน จัดกลุ่มงาน และออกแบบงานสำหรับผู้ทำงานแต่ละคน (Identification of Work & Grouping Work)

2. ทำคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description & Delegation of Authority & Responsibility)

3. จัดวางความสัมพันธ์ (Establishment of Relationship)

6. การจัดโครงสร้างขององค์การ (Organization structure)

การจัดโครงสร้างขององค์การมีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียในตัวของมันเอง ฉะนั้น การที่ผู้บริหารจะวางแนวในการจัดโครงสร้างนั้น อาจจะต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน อย่างไรก็ตามการจัดโครงสร้างขององค์การสามารถแบ่งแยกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภทดังนี้

1. โครงสร้างองค์การตามหน้าที่การงาน (Functional Organization Structure)

2. โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก (Line Organization Structure)

3. โครงสร้างองค์การแบบคณะที่ปรึกษา (Staff Organization Structure)

4. โครงสร้างองค์การแบบคณะกรรมการบริหาร (Committees Organization Structure)

5. โครงสร้างองค์การงานอนุกรม (Auxiliary)

7. การจัดแผนกงาน (Department)

การจัดแผนกงาน หมายถึง การรวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยการรวมกิจกรรมที่คล้ายกัน และเหมาะสมที่จะนำมาปฏิบัติ ในกลุ่มเดียวกันเข้าไว้ด้วยกันเป็นกลุ่ม แผนก หรือหน่วยงาน

8. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility)

ในการจัดองค์การจะสามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม เมื่อมีการแบ่งงานกันตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และทุกคนรู้จักงานและหน้าที่ของตน ปฏิบัติงานภายในขอบเขตที่องค์การมอบหมายมา แต่งานที่ดำเนินการจะสามารถสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารที่มีอำนาจในการมอบหมายอำนาจหน้าที่นั้นจะต้องกำหนดความรับผิดชอบของบุคคลแต่ละคนในการปฏิบัติงานอีกด้วย

9. การมอบหมายงาน (Delegation)

การมอบหมายงาน หมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชาได้กำหนดความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ (Assignment of Responsibility and Authority ) หรือเป็นการกระจายงานในหน้าที่ ความรับผิดชอบ (Responsibility) และให้อำนาจในการตัดสินใจ (Authority) ภายในขอบเขตที่กำหนดให้ผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติ

    เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย การจัดองค์การ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการ วิวัฒนาการของทฤษฎีการจัดการ หลักการจัดการสมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการ การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ หลักการบริหารงานคุณภาพและเพิ่มผลิตภาพ การจัดการความเสี่ยง และจริยธรรมในการจัดการ พร้อมทั้งมีใบมอบหมายงานและแบบฝึกหัดท้ายบทเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจและการนำไปใช้งาน

เป็นแหล่งรวบรวมบุคลากรด้านต่างๆ ที่มีการติดต่อและทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน องค์กรจะมีโครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคงโดยการนำเอาปัจจัยเข้า (Inputs) มาใช้ในกระบวนการ (Processes) เพื่อการสร้างผลิตผล (Outputs) ให้ได้ตามวัตถุประสงค์ องค์กรโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้

- องค์กรที่หวังผลกำไร (Profits Organization) เป็นองค์กรที่มีจุดมุ่งหมายไปในเรื่องของการสร้างผลกำไรให้เกิดขึ้นภายในองค์กรให้ได้มากที่สุด ซึ่งสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นธุรกิจ

  - องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร (Nonprofits Organization) เป็นองค์กรที่ไม่มุ่งเน้นในเรื่องของผลกำไร แต่มักจะทำประโยชน์ให้กับสังคม เช่น องค์กรที่เป็นมูลนิธิต่างๆ องค์กรที่ทำงานทางด้านการเผยแผ่ศาสนา และองค์กรการศึกษา เป็นต้น

การจัดการ จะเน้นการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่วางไว้) ซึ่งนิยมใช้ในการจัดการธุรกิจ

3. POLC คืออะไร มีองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง จงอธิบายในแต่ละขั้นตอนมาให้เข้าใจ

POLC คือ การบริหารจัดการ

  - การวางแผน (Planning) การวางแผนเป็นสิ่งที่องค์กรต้องการเปลี่ยนแปลงในอนาคตโดยเป็นสะพานเชื่อมระหว่างเหตุการณ์ปัจจุบันและอนาคตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่ต้องการ การวางแผนจึงต้องอาศัยการกำหนดกลยุทธ์ที่ประสิทธิภาพ

  - การจัดการองค์กร (Organizing) การจัดการองค์กรจะหมายถึง การพิจารณาถึงสิ่งที่ต้องการทำและการรายงานผล ตัวอย่างในประวัติศาสตร์ของธุรกิจที่มีการจัดองค์กรที่ดีก็สามารถประสบความสำเร็จในการแข่งขันและสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้

  - การนำหรือการสั่งการ (Leading/Directing) เป็นการใช้อิทธิพลเพื่อจูงใจพนักงานให้ปฏิบัติงานและนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ระบุไว้ หรือเป็นกระบวนการจัดการให้สมาชิกในองค์กรทำงานร่วมกันได้ด้วยวิธีการต่างๆ เพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่ซับซ้อนและเข้าใจถ่องแท้ได้ยาก การนำหรือการสั่งการจึงต้องใช้ความสามารถหลายเรื่องควบคู่กันไป

  - การควบคุม (Controlling) การใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กรถือว่าเป็นกระบวนการตรวจสอบหรือติดตามผลและประเมินการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่างๆ ของพนักงาน เพื่อรักษาให้องค์กรดำเนินไปในทิศทางสู่เป้าหมายอย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์หลักขององค์กรภายในเวลาที่กำหนด

5. จงวิเคราะห์การจัดการทรัพยากรระบบไอซีทีว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง

หลักการจัดการทรัพยากรระบบไอซีทีมีปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ

- ข้อมูลคือทรัพยากร ดังนั้นข้อมูลมีความสำคัญต่อองค์กรและจำเป็นจะต้องจัดการเหมาะสม

- การประมวลผลคืองานบริการ หน่วยงานต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ดังนั้นศูนย์คอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดูแลให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ

- งานประมวลผลคือการผลิต ซึ่งงานหลักก็คือการนำข้อมูลมาผลิตเป็นงานไอซีที ดังนั้นศูนย์คอมพิวเตอร์จึงเป็นเสมือนโรงงานอุตสาหกรรมในการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้มาสารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

หน้าที่

- วางแผนการฝึกอบรมเรื่องระบบไอซีทีและการใช้งานให้แก่ผู้บริหารทุกระดับ

- วิเคราะห์การใช้ทรัพยากรและคิดหาวิธีปรับปรุงการใช้

- จำแนกส่วนงานที่สมควรปรับปรุงโดยนำระบบไอซีทีมาใช้

- จัดทำแผนงานไอซีทีทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนการวางแผนงบประมาณ

- พิจารณาคำขอบริการไอซีทีจากผู้ใช้แล้วจำแนกว่ามีผลกระทบต่อองค์กรอย่างไร

ความรับผิดชอบ

- จัดหาอุปกรณ์ไอซีที การบริการที่มีประสิทธิภาพ และพอเพียงแก่ผู้ใช้เพื่อให้ตรงตามความต้องการขององค์กร

- พัฒนาและจัดฝึกอบรมให้แก่บุคลากรระดับต่างๆ รวมทั้งบุคลากรไอซีที

- จัดเก็บและประเมินผลงานของศูนย์คอมพิวเตอร์

- คาดคะเนความต้องการบริการและอุปกรณ์ไอซีทีขององค์กรโดยรวม

- ประเมินพัฒนาการความก้าวหน้าของการใช้ไอซีทีขององค์กรโดยรวม

10). e-commerce คืออะไร จงอธิบายหลักการและการนำไปใช้งานในการพัฒนาองค์กร

            e-commerce คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการค้าขายทุกช่องทาง การนำไปใช้งานในการพัฒนาองค์กรมีดังนี้

          ขั้นตอน 1 - สำรวจโอกาสทางการตลาดด้วยระบบค้นหาข้อมูล (Search engines)

          ขั้นตอน 2 - วางแผนการตลาด และพัฒนาเว็บเพจ (planning and development)

          ขั้นตอน 3 - นำเว็บเพจเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต และจัดตั้งเว็บไซต์ (Install)

          ขั้นตอน 4 - โฆษณา และประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ (Promotion)

          ขั้นตอน 5 - ติดตามผล ปรับปรุง และบำรุงรักษา (Evaluation and Maintenance)


12. ขั้นตอนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ e-commerce มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

            ขั้นตอนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ e-commerce มีดังนี้

            - แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแล ซึ่งควรจะมีฝ่ายขายการตลาด และผู้บริหารทีมีอำนาจตัดสินใจ เป็นแกนหลัก

            - วิจัยตลาดโดยฝ่ายทางระบบค้นหา เพื่อหาช่องว่างและโอกาสทางการตลาด

            - กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เราจะขายสินค้าให้ซึ่งในที่นี้จะเน้นที่กลุ่มที่มีพฤติกรรมที่เหมือนกัน

             - วางกลยุทธ์ด้านสินค้าว่า จะขายอะไร หรือปรับปรุงอย่างไร ตั้งราคาเท่าใด โดยปรับตามปัจจัย และพฤติกรรมที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมาย และวางกลยุทธ์การพัฒนาเว็บเพจ หลังจากนั้นมอบหมายให้คณะทำงาน e-commerce ที่แต่งตั้งขึ้นมา เพื่อนไปปฏิบัติการ

             - ทำการพัฒนาเว็บเพจ ตามที่ได้วางกลยุทธ์ไว้ซึ่งการจัดรูปแบบจะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อและต้องเป็นเว็บที่ใช้งานได้สะดวก

             - ติดตั้งระบบ E-Commerce เลือกระบบตะกร้าและวิธีการจ่ายเงินที่เหมาะสม

             - จดทะเบียนชื่อโดแมน (อาจจะทำการจดไว้ก่อนตั้งแต่ขั้นตอนแรก หากกลัวชื่อที่ต้องการหมด และสามารถตกลงกันได้ว่าเอาชื่อใดและนำเว็บเพจที่ออกแบบเสร็จแล้ว เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต หรือ upload ขึ้น Web server หลังจากนั้นก็ทำการลงทะเบียนในระบบค้นหาและประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการอื่น หรือสิ่งอื่น

             - ตรวจวัดผลระยะเวลา 1,3 และ 6 เดือน เพื่อปรับแต่งจนสอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

             - เฝ้าดูแล และปรับปรุงเนื้อหาตามกำหนดระยะเวลา เช่น ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน และทุกปี


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6

1. การจัดการเชิงกลยุทธ์หมายถึงอะไร และมีขั้นตอนที่สำคัญอะไรบ้าง

            การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นวิชาทางการทหารที่ได้มีการนำมาใช้ในวงการทหารมาอย่างยาวนาน แต่ในภาคธุรกิจได้มีการนำมาใช้งานในด้านการทำให้เกิดความได้เปรียบในด้านการแข่งขันซึ่งหมายถึงการที่องค์กรสามารถยืนหยัดในทุกๆ สภาวะการณ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นวิชาการด้านนี้จึงมีการประยุกต์ใช้และแพร่หลายในวงการธุรกิจอย่างกว้างขวาง

            ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอน

            - การกำหนดทิศทาง

            - การวิเคราะห์ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม

            - การกำหนดกลยุทธ์

            - การดำเนินกลยุทธ์

            - การประเมินผลและควบคุมกลยุทธ์

4. เทคนิค Six Sigma คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรในการนำมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาระบบไอซีทีสำหรับองค์กร

            Six Sigma ก็คือกระบวนการเพื่อลดความผิดพลาด (Defects) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด หรือ ลดความสูญเสียโอกาสให้เหลือน้อยที่สุด

            ประโยชน์ของ Six Sigma

            - ช่วยเพิ่มคุณภาพสินค้า เพิ่มกำไรให้บริษัทและลดการสิ้นเปลือง

            - ช่วยปรับปรุงนิยามของคำว่า “มาตรฐานสินค้า” ให้ดีขึ้น

            - ช่วยให้เห็นความสำคัญของกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน

 7. Competitive Forces มีกี่ด้าน อะไรบ้าง จงอธิบาย

            Competitive Forces มี 5 ด้าน ดังนี้

          1 อุปสรรคจากผู้แข่งขันรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาด (Threat of Entry of New Competitors)

          2 อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Bargaining Power of Suppliers)

          3 อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Bargaining Power of Suppliers)

          4 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม (Rivalry Among Existing Competitors)

          5 อุปสรรคที่เกิดจากสินค้าหรือบริการทดแทน (Threat of Substitute Products/Services)


9. โมเดลห่วงโซ่คุณค่าของพอร์เตอร์มีองค์ประกอบที่สำคัญคืออะไรจงอธิบาย

กิจกรรม (Primary Activities) คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต กระจายสินค้าหรือบริการ การส่งมอบและการบริการหลังการขายโดยตรง ได้แก่ การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics) , การดำเนินงานหรือการผลิต (Operations)การลำเลียงออก (Outbound Logistics)การตลาดและการขาย (Marketing and Sales) และการบริการ (Services) เป็นต้น

                กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) คือ กิจกรรมสนับสนุนที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของกิจกรรมหลัก ซึ่งอาจได้แก่ โครงสร้างย่อยขององค์กร (Firm Infrastructure) , การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)การพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ (Technology Development) และการจัดหา (Procurement) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กร เป็นต้น


12. Global ICT Platforms คืออะไร จงอธิบาย

ฐานงานของไอซีทีไร้พรมแดน ซึ่งเป็นแกนหลักของการจัดการระบบไอวีทีที่ไร้พรมแดนทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่ายโทรคมนาคม และสิ่งอำนวยความสะดวกในการประมวลผล โดยเป็นสิ่งจำเป็นในการสนับสนุนการปฏิบัติงานธุรกิจไร้พรมแดน ตัวอย่างเช่น การเลือกฮาร์ดแวร์อาจมีความลำบากในบางประเทศเนื่องจากราคาที่สูง ภาษีนำเข้า ข้อจำกัดในการนำเข้า เป็นต้น



แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

1. โครงการหมายถึงอะไร และมีความสำคัญอย่างไร

โครงการ (Project) หมายถึง การสร้างชุดกิจกรรมหรือแผนงานที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างอันประกอบด้วยการกำหนดกรอบระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดอย่างชัดเจน

          มีความสำคัญคือ มีความสำคัญทั้งในภาครัฐและเอกชนไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานเล็กหรือใหญ่ ถ้าองค์กรใดวางโครงการให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสมและมีการบริหารงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แล้ว การบริหารโครงการนั้นก็จะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2. วัตถุประสงค์หลักของการบริหารโครงการมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

            วัตถุประสงค์ของการบริหารโครงการ

            - เวลา (Time) ทุกโครงการมีจุดเริ่มต้นและมีจุดสิ้นสุด

            - งบประมาณ (Budget) ค่าใช้จ่ายหรือรายได้ที่เกิดขึ้นจนโครงการประสบความสำเร็จ

            - เนื้องาน (Result) ผลงานหรือชิ้นงานของโครงการ

3. หน้าที่ของผู้บริหารโครงการระบบไอซีทีจะประกอบด้วยส่วนที่สำคัญอะไรบ้าง

            - การกำหนดขอบเขตของโครงการ

            - การวางแผนและจัดตั้งทีมงานพัฒนา

            - การจัดตารางการดำเนินงาน

            - การกำกับและควบคุมโครงการ

7. Project Feasibility Study คืออะไร และมีวิธีการดำเนินงานแบบไหนบ้าง

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เป็นการศึกษาหาข้อมูลทางด้านต่างๆ เพื่อศึกษาหาลู่ทางก่อนที่จะดำเนินโครงการนั้นๆ เพื่อให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน