ยา แก้ อักเสบ กับ ยา ปฏิชีวนะ

หยุดเรียกยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบ

ยา แก้ อักเสบ กับ ยา ปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) คือ ยารักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย แต่มักถูกเรียกอย่างผิด ๆ ว่ายาแก้อักเสบ ทั้งที่ไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบแต่อย่างใด
ตัวอย่างของยาปฏิชีวนะ เช่น แอมพิซิลลิน อะมอกซิซิลลิน ออกเมนติน เอเอ็มเค ดูแรม ออมนิเซฟ ซินแนท เมแอค เซฟสแปน รูลิด คลาสิด ซิโธรแมกซ์ นอร์ฟลอกซาซิน ซิโพรฟลอกซาซิน คราวิด อะเวลอกซ์ เตตร้าชัยคลิน
ยาแก้อักเสบ หรือยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory drug) คือ ยาที่ออกฤทธิ์ลดไข้ บรรเทาปวด ลดอาการบวมแดง ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ตัวอย่างของยาต้านการอักสบ เช่น สเตียรอยด์ และยาในกลุ่มเอ็นเสด เช่น ไอบูโพรเฟน บรูเฟน โกเฟน ไฮดี ไดโคลฟีแนค โวลทาเรน ไดฟีลีน ไพรอกสิแคม ฟลามิกเพียแคม แนปพรอกเซน นาโปรซีน อินโดเมทาซิน อินโดสิด พอนสแตน โมบิก ซีลีเบร็กซ์ อาร์ด็อกเซีย
การเรียกยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบทำให้เข้าใจผิดว่า เมื่อมีไข้ ไอ หรือจ็บคอ ต้องหายาแก้อักเสบ (ยาปฏิชีวนะ) มากินทั้งที่มากกว่า 8 ใน 10 ครั้งของโรคดังกล่าวเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ช่วยให้หายเร็วขึ้นแต่อย่างใด
แก้ไขความเชื่อผิด ๆ เป็นพฤติกรรมที่ถูกต้อง ดังนี้
1. ไม่เรียกยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบ
2. ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อไวรัส
3. ใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีหลักฐานการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น

ข้อมูล ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563
ที่มา : ผศ. นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล

………………………………

รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องเชื้อดื้อยา และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ในวาระ “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาปฏิชีวนะ” ร่วมไปกับองค์การอนามัยโลก และประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
https://www.who.int/news-room/events/detail/2020/11/18/default-calendar/world-antimicrobial-awareness-week-2020

การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมสำหรับประชาชน

ยา แก้ อักเสบ กับ ยา ปฏิชีวนะ

การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อและไม่เหมาะสมนั้นก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ยาโดยไม่จำเป็น เป็นการใช้ยาที่สูญเปล่า สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่เกิดประโยชน์ใด และนำไปสู่ปัญหาเชื้อดื้อยาซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผล ประชาชนไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้อง เช่น การซื้อยาใช้เอง การร้องขอยาจากแพทย์ การใช้ยาผิดข้อบ่งชี้ ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในประเทศไทยและเป็นปัญหาระดับโลก       


ยาปฏิชีวนะคืออะไร

ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัส  ไม่มีผลต่อโรคภูมิแพ้  จึงไม่ช่วยให้โรคติดเชื้อไวรัสหรือโรคภูมิแพ้หายเร็วขึ้นหรือมีอาการดีขึ้นแต่อย่างใด  รวมทั้งไม่ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคเหล่านั้น


ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ

คนส่วนใหญ่มักเรียกยาปฏิชีวนะว่าเป็นยาแก้อักเสบ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าการใช้ยานี้จะทำให้โรคที่เป็นอยู่หายเร็วขึ้น เพราะยาจะไปรักษาหรือแก้การอักเสบ ยาปฏิชีวนะเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่าง เช่น เพนนิซิลิน อะม็อกซีลซิลิน เตตร้าซัยคลิน ไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ และยาแก้อักเสบ(ยาต้านการอักเสบ) เป็นยาที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวม เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน  ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เราจึงไม่ควรเรียกยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบอีกต่อไป เพราะเมื่อใช้ยาไม่ถูกต้องจะก่อให้เกิดโทษต่อผู้ป่วย ทั้งผลข้างเคียงจากยา โรคไม่หาย แพ้ยา และเสียเงินโดยไม่จำเป็น

ดังนั้น ถ้ากินยาปฏิชีวนะเข้าไปเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นยาแก้อักเสบ ทั้งที่ความจริงเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาก็ไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัส นอกจากไม่เกิดประโยชน์ในการรักษาการอักเสบที่เกิดขึ้น ยังจะทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้มากขึ้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวแล้ว วิธีที่ดีและปลอดภัยที่สุด คือ ให้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัดและทุกครั้งที่ได้รับยาปฏิชีวนะมา ต้องรับประทานให้ครบ เพราะบ่อยครั้งพบว่าผู้ป่วยหยุดใช้ยาเมื่ออาการดีขึ้น ซึ่งจะมีผลเสียอาจทำให้โรคกลับเป็นซ้ำ หรือ เกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ยังรักษาไม่หายดี   เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมปัญหาการดื้อยา

อันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ

เกิดการแพ้ยา ซึ่งหากแพ้ไม่มากอาจมีแค่ผื่นคัน ถ้ารุนแรงขึ้นผิวหนังจะเป็นรอยไหม้ หลุดลอก หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต

เกิดเชื้อดื้อยา การกินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อกระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยา ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะที่ใหม่ขึ้น แพงขึ้น ซึ่งเหลือให้ใช้อยู่ไม่กี่ชนิด สุดท้ายก็จะไม่มียารักษา และเสียชีวิตในที่สุด

เกิดโรคแทรกซ้อน ยาปฏิชีวนะจะฆ่าทั้งแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียชนิดดีมีประโยชน์ในลำไส้ของเรา เมื่อแบคทีเรียชนิดดีตายไป เชื้ออื่นๆ ในตัวเราจึงฉวยโอกาสเติบโตมากขึ้น ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง โดยผนังลำไส้ถูกทำลายหลุดลอกมากับอุจจาระ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต

ด้วยเหตุนี้ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวแล้ว วิธีที่ดีและปลอดภัยที่สุด คือ ให้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร อย่างเคร่งครัดและทุกครั้งที่ได้รับยาปฏิชีวนะมาต้องรับประทานให้ครบ เพราะบ่อยครั้งพบว่าผู้ป่วยหยุดใช้ยาเมื่ออาการดีขึ้น ซึ่งจะมีผลเสียอาจทำให้โรคกลับเป็นซ้ำหรือเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ยังรักษาไม่หายดี

เราช่วยกันลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้

โดยปฏิบัติตามแนวทางการใช้ยาดัง 3 ข้อ ต่อไปนี้

1. ควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีจำเป็นเท่านั้น เช่น การป่วยด้วยโรคหวัด ไม่จำเป็นต้องใช้ยา

ปฏิชีวนะ เนื่องจากเชื้อหวัดเป็นไวรัสไม่ใช่แบคทีเรีย ดังนั้นการกินยาปฏิชีวนะจึงไม่มีผล ปัจจุบันกลุ่มโรค 3 กลุ่มที่ไม่จำเป็นและไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ แต่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะสูงมากได้แก่ 1. ไข้หวัด เจ็บคอ 2.ท้องเสีย 3. แผลเลือดออก ทั้งนี้เพราะมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มโรคเหล่านี้ไม่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย  เพื่อลดอุบัติการณ์เชื้อดื้อยาและการเสียเงินโดยไม่จำเป็น ผู้ป่วยอาจใช้แนวทางพิจารณาความรุนแรงของโรคเพื่อดูแลรักษาตนเองได้

อาการไข้ที่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าน่าจะมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย คือ อาการไข้ที่เกิดร่วมกับอาการแสดงเฉพาะที่ของร่างกายแต่ละระบบ

ตัวอย่างอาการไข้ที่มีสัญญาณติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่

  • ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการไข้ร่วมกับอาการท้องเดิน
  • ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ อาการไข้ร่วมกับอาการเจ็บคอ ผนังคอแดง มีจุดหนอง
  • ระบบผิวหนัง ได้แก่ อาการไข้ร่วมกับผิวหนังอักเสบเป็นหนอง บวมแดง

2. ควรกินยาปฏิชีวนะให้ครบขนาดตามที่แพทย์สั่ง หากหยุดกินเองเชื้อแบคทีเรียจะปรับตัวให้คงทนต่อยามากขึ้นและกลายเป็นเชื้อดื้อยาในที่สุด 

3. ควรใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ยาแรงหรือกว้างเกินไป เพื่อมุ่งให้หายจากอาการป่วยโดยเร็ว ซึ่งหากใช้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์แรงในการรักษาเริ่มแรกทันที เมื่อเกิดการดื้อยาขึ้นจะทำให้ไม่มียาขนานต่อไปเพื่อใช้ในการรักษา

การแก้ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินจำเป็นต้องดำเนินการในทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของโรงพยาบาล ร้านยา และภาคประชาชน จึงจะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนและยั่งยืน


อ้างอิง

- พิสนธ์ จงตระกูล.(2554).การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล.พิมพ์ครั้งที่3.นนทบุรี:สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.ยาปฏิชีวนะอย่าใช้เรื่อยเปื่อย.เข้าถึงได้จาก

http://www.oryor.com และ http://pca.fda.moph.go.th (วันที่ค้นข้อมูล:19 พฤศจิกายน 2561).

- สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ(2555) . รายงานโครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในร้านยาปี พ.ศ. 2555. สนับสนุนโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

- คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2556. การส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผลที่โรงพยาบาลศิริราช ตามแนวคิด Antibiotic Smart Use (ASU). เข้าถึงได้จาก: www1.si.mahidol.ac.th/km/sites/default/files/u5680/star2555-092.pdf(วันที่ค้นข้อมูล:19 พฤศจิกายน 2561).

ยาแก้อักเสบและยาปฏิชีวนะต่างกันอย่างไร

ยาปฏิชีวนะเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น เพนนิซิลินอะม็อกซีซิลินเตตร้าซัยคลิน ไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ และยาแก้อักเสบ(ยาต้านการอักเสบ) เป็นยาที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวม เช่น แอสไพรินไอบูโพรเฟน ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นเราไม่ควรเรียก ยาปฏิชีวนะ ว่า ยาแก้อักเสบ อีกต่อไป เพราะเมื่อใช้ยาไม่ถูก ...

ยาแก้อักเสบกับยาฆ่าเชื้อกินด้วยกันได้ไหม

ที่สำคัญจําเป็นจะต้องรับประทานจนครบตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ ถ้าทานยาไม่ครบ อาจจะเกิดการดื้อยาได้ ตัวอย่าง: ยาแอมม็อกซีลีน (แคปซูลสีฟ้าเขียว) ดังนั้น ไม่ควรสับสนระหว่าง ยาแก้อักเสบ กับ ยาฆ่าเชื้อ นะคะ ถ้าใช้ยาผิดประเภทอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ ยาแก้อักเสบ กับ ยาฆ่าเชื้อ ต่างกันอย่างไร

ยาแก้อักเสบช่วยอะไรได้บ้าง

ยาแก้อักเสบ เป็นยาที่มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ แก้ปวด รวมทั้้งยังมีฤทธิ์ในการลดไข้เช่น แอสไพริน ไดโคลฟิแนค และไอบูโพรเฟน เป็นต้น ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส ยาแก้อักเสบใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและการอักเสบ ได้แก่ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อาการเคล็ดขัดยอก เส้นเอ็นอักเสบ และกล้ามเนื้อ ...

ยาแก้อักเสบมีแบบไหนบ้าง

ยาแก้อักเสบ หรือยาต้านการอักเสบ เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวมแดง ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่แล้วการอักเสบไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่มักเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น คออักเสบจากเชื้อไวรัส ผิวหนังอักเสบจากการแพ้แดดหรือสารเคมี หรือการอักเสบของกล้ามเนื้อจากการยกของหนัก ตัวอย่างยาแก้อักเสบ ...