หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนสำหรับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

หนึ่งในคำถามยอดฮิตสำหรับคนที่ขายของออนไลน์ นั่นคือ ขายของออนไลน์ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง และจดอย่างไรให้เสียภาษีถูกต้อง 

ฟังดูแล้วบอกตรงๆ ว่าไม่น่าจะเป็นคำถามเดียวกันเลยครับ เพราะเรื่องภาษีกับการจดทะเบียนนั้นมีความแตกต่างกันแบบที่เรียกได้ว่า คนละเรื่องเลยละครับผม

เอาเป็นว่าผมจะสรุปสั้นๆ ให้ฟังแบบนี้ละกันครับว่า “จดทะเบียนที่เกี่ยวกับเรื่องภาษีมีอยู่อย่างเดียวที่ต้องทำ นั่นคือ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ จด VAT เมื่อเราประกอบธุรกิจที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทในปีนั้นๆ” 

ส่วนที่เหลือนั้นเป็นเรื่องของการจดที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการกันทั้งนั้นเลยครับ ซึ่งต้องใช้หลักในการพิจารณาดังนี้ คือ 

  • กิจการที่เราเลือกทำอยู่ในรูปแบบไหน โดยรูปแบบที่หมายถึงคือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งถ้าเราเลือกรูปแบบนิติบุคคล ก็จะเพิ่มเรื่องของการจดบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนเข้ามาครับ แต่ถ้าหากอยู่ในรูปแบบของบุคคลธรรมดา ก็อยู่เฉย ๆ ได้เลยครับ 
  • กิจการของเราต้องการการรับรอง หรือความน่าเชื่อถืออะไรไหม ต้องดูว่าสิ่งที่เราขายนั้นมีหน่วยงานอะไรที่ต้องรับรองเป็นพิเศษเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าสินค้าหรือบริการของเราถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือครับ ตรงนี้ก็มีตั้งแต่ การจดทะเบียน อย. การจดทะเบียนรับรองต่างๆ ฯลฯ 

จดทะเบียนพาณิชย์ - เรื่องที่คนมักเข้าใจผิด

แต่สิ่งที่คนเข้าใจผิดส่วนมากคือ การจดทะเบียนพาณิชย์ ครับ เพราะมีหลายคนเข้าใจผิดว่า จดทะเบียนพาณิชย์แล้ว คือการเสียภาษีถูกต้อง ทั้งๆ ที่มันไม่เกี่ยวกันเลย

แต่จริงๆ แล้ว การจดทะเบียนพาณิชย์คือ การจดทะเบียนกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อยืนยันว่าธุรกิจเรามีตัวตน ถูกต้องตามกฎหมาย น่าเชื่อถือได้ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ ซึ่งมีทั้ง การจดทะเบียนพาณิชย์ธรรมดา (ออฟไลน์) กับ การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ขายของออนไลน์) อันนี้ก็ต้องดูว่าเราต้องทำอะไรแบบไหนยังไงบ้าง 

เช่น ถ้าคุณขายของทั่วไปแบบออฟไลน์ ควรจดทะเบียนพาณิชย์ให้ถูกต้อง แต่ถ้าหากขายของแบบออนไลน์ มีระบบชำระเงินต่างๆ ควร จดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ด้วย ไม่งั้นจะโดนปรับ 2,000 บาท และวันละ 100 ต่อไปเรื่อยๆ ตรงนี้เมื่อจดแล้ว ก็จะได้เครื่องหมายว่าเราทำถูกต้องตามกฎหมาย มีการจดทะเบียนเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับทางลูกค้าแค่นั้นเองครับ (ข้อมูลตรงนี้ดูได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) 

ทีนี้กลับมาเรื่องของภาษีกันอีกสักนิด อย่างที่บอกไปว่า การจดทะเบียนพาณิชย์ไม่ได้เกี่ยวกับการเสียภาษี เพราะจะจดหรือไม่จด ถ้ามีรายได้ เราก็ต้องเสียภาษีอยู่ดี เพราะภาษีไม่ได้สนใจความถูกต้องของการจดทะเบียน สนใจแค่ยื่นภาษีถูกต้องหรือเปล่า แค่นั้นพอ

ยกตัวอย่างเช่น นายบักหนอมเปิดร้านขายของออนไลน์ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่สิ่งที่นายบักหนอมทำก็แค่เปิดขายในอินเทอร์เน็ตเฉยๆ ไม่ได้ไปจดอะไรทั้งนั้น แบบนี้จะถือว่านายบักหนอมก็ยังมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ดี เพราะเป็นรายได้ที่บุคคลได้รับ ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกออกมาต่างหาก

แต่สิ่งที่ต้องจดจริงๆ ในเรื่องของภาษีคือ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ถ้าหากร้านออนไลน์ของนายบักหนอมขายดี จนมีรายได้ (ที่ไม่ได้รับยกเว้น) เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (ย้ำอีกเรื่อง คือ รายได้ แปลว่ายังไม่หักค่าใช้จ่ายนะครับ)  แบบนี้นายบักหนอมก็ต้องรีบไปจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำส่งภาษีและจัดทำเอกสารต่างๆ ให้ถูกต้องต่อไป 

สรุปอีกทีแบบชัดๆ ก่อนจากกัน ไม่ว่าจะจดทะเบียนอะไรก็ตาม ขอให้ทำถูกต้องตามหลักการ เพิ่มความถูกต้องให้กับธุรกิจของเราเป็นเรื่องที่ดี โดยสิ่งที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ต้องยื่นให้ครบถ้วนหมดจด และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท

เพียงเท่านี้ ก็สบายใจหายห่วงแล้วละครับ!

ทำความเข้าใจเรื่องที่ควรรู้ก่อนวางแผนภาษีกันต่อได้ที่บทความ 9 ข้อที่ควรรู้ ก่อนวางแผนภาษี สำหรับคน ขายของออนไลน์

แม้จะเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียวก็สามารถทำงานใหญ่ได้ด้วย FlowAccount โปรแกรมบัญชี คลาวด์ ที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลจากในเว็บไซต์ และมือถือ ให้คุณสามารถเปิดบิลได้ครบ และบันทึกค่าใช้จ่ายระหว่างที่อยู่นอกออฟฟิศได้เลย เริ่มต้นใช้งานโปรแกรมบัญชีฟรีได้ที่นี่

พ่อค้าแม่ขายมือใหม่ที่พึ่งเข้าวงการขายของออนไลน์ได้ไม่นานคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์อยู่มากพอสมควร ว่ามันคืออะไรกันแน่? จำเป็นจะต้องทำหรือเปล่า? แล้ววิธีจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทำได้อย่างไร? ในบทความนี้ MyShop ก็ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ เหล่านี้มาให้คุณผู้อ่านทุกท่านได้ทราบกันครับ

การจดทะเบียนพาณิชย์คือ?

การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การจดทะเบียนที่ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ต้องจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549  เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าธุรกิจนั้นๆ ดำเนินการอย่างถูกต้องและเสียภาษีตามกฎหมาย ร้านค้ามีมาตรฐานและตัวตนอยู่จริง ในปัจจุบันการจดทะเบียนมีอยู่ 2 แบบ คือ

  • การจดทะเบียนพาณิชย์ธรรมดา
  • การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (สำหรับธุรกิจออนไลน์ต่างๆ)

หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนสำหรับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ใครบ้างที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์?

บุคคลหรือบริษัทที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

  • ผู้ทำการขายสินค้า/บริการ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน) 
  • ธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP)
  • ธุรกิจให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (WebHosting)
  • ธุรกิจให้บริการเป็นตัวกลางในการซื้อขายสินค้า/บริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต (E-Marketplace)

โดยสามารถสังเกตผู้ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะมีเครื่องหมาย DBD Registered ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่บนเว็บไซต์ด้วย 

มีร้านค้าออนไลน์แต่ไม่มีหน้าร้าน ต้องจดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่?

หากพ่อค้าแม่ขายมีร้านค้าออนไลน์แล้วคำตอบก็คือต้องจดครับ โดยต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วันหลังจากเริ่มประกอบกิจการ ไม่อย่างนั้นจะมีความผิดทางกฎหมายและมีโทษปรับ นอกจากนี้พ่อค้าแม่ขายก็อย่าลืมต่อทะเบียนด้วยนะ ไม่อย่างนั้นก็จะมีโทษปรับในกรณีที่ไม่ต่อทะเบียน และหากไม่ทำการจดทะเบียนก็จะมีโทษปรับรายวันเลยด้วย จนกว่าจะปฏิบัติถูกต้องตาม พ.ร.บ ฉะนั้นจึงขอแนะนำให้ทุกท่านที่กำลังทำธุรกิจออนไลน์อยู่ตอนนี้รีบไปจดทะเบียนกันนะครับ

ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

นอกเหนือจากการทำให้ธุรกิจออนไลน์ถูกกฎหมายและมีตัวจนในระบบแล้ว การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังมีข้อดีเพิ่มเติมอีก ดังนี้

  • ได้รับความน่าเชื่อถือเป็นข้อดีข้อแรกที่พ่อค้าแม่ขายจะได้รับอย่างแน่นอน ลูกค้าก็จะเชื่อมั่นในสินค้า/บริการของร้านขายของออนไลน์ของท่านด้วย
  • ได้เผยแพร่ร้านค้าบนเว็บไซต์ของกรมธุรกิจการค้า หากร้านค้าของคุณเป็น เว็บไซต์ที่ได้รับการจดทะเบียนพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว กรมธุรกิจการค้าจะนำรายชื่อ ไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ของกรม เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ธุรกิจออนไลน์ของผู้ประกอบการและเป็นการการันตีว่าร้านค้านั้นผ่านการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้วนั่นเอง
  • นอกจากนี้ธุรกิจยังได้รับสิทธิ์ในการเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดอีกด้วยครับ

วิธีจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

อันดับแรกก่อนการจดทะเบียนก็คือการเตรียมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับพ่อค้าแม่ขายนั้น ต้องเตรียมเอกสารสำหรับบุคคลธรรมดา ได้แก่

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ
  • แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ หรือ ทพ. สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ www.dbd.go.th (กรอกเฉพาะข้อ 1-8)
  • เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า เอกสารแนบแบบ ทพ. (ใช้กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์)
  • พิมพ์หน้าแรกของร้านค้าออนไลน์ สินค้า/บริการที่ประกอบการ และวิธีการสั่งซื้อสินค้า/บริการ วิธีการชำระเงิน วิธีการส่งสินค้า 
  • แผนที่ตั้งสถานประกอบการ
  • กรณีมอบอำนาจ ให้แนบหนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

เมื่อเตรียมเอกสารต่างๆ ครบถ้วนแล้ว ก็ถึงเวลาที่ต้องไปยื่น สำหรับท่านใดที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ก็สามารถเดินทางไปที่สำนักงานเขตใกล้บ้าน หรือศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ส่วนพ่อค้าแม่ขายที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอื่น สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลได้เลยครับ

การขอเครื่องหมาย DBD Registered 

สามารถทำได้หลังจากได้รับการอนุมัติการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว โดยต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  • สำเนาใบจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว (แบบ พค. 0403)
  • สำเนาเอกสารการจดโดเมนเนม

ส่งเอกสารทั้งหมดไปที่ E-mail : และรอเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ก็จะได้รับเอกสารอนุมัติหรืออีเมลแจ้งเตือนให้ธุรกิจสามารถนำสัญลักษณ์ DBD ไปใช้บนเว็บไซต์ได้ครับ

หวังว่าวิธีจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้นำเสนอไปข้างต้น จะช่วยให้พ่อค้าแม่ขายเข้าใจถึงความสำคัญและขั้นตอนต่างๆ ในการจดทะเบียนพาณิชย์มากขึ้นนะครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอฝาก MyShop ที่เป็นแอปขายของออนไลน์สุดทันสมัย ที่มาพร้อมกับฟังก์ชันครบครัน ตั้งแต่ระบบการนับสต๊อกไปจนถึงการรับชำระเงิน รับรองว่าต้องทำให้การค้าขายลื่นไหล ได้กำไรเพิ่มขึ้นแน่นอนครับ

อ้างอิง

www.dbd.go.th

www.itax.in.th

www.page365.net

fillgoods.co