ใช้สิทธิประกันสังคม ส่องกล้อง

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษาของผู้ประกันตน ประเภทผู้ป่วยในด้วยการผ่าตัด-ทำหัตถการ


ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการรักษาของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ที่ผ่านมา

สำหรับตอนหนึ่งของประกาศระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ประกันตนที่เจ็บป่วย และมีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในระบบประกันสังคม เป็นการลดระยะเวลาการรอคอย ลดภาวะแทรกซ้อนไม่ให้อาการของโรคมีความรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดระยะเวลาในการพักฟื้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกันตนสามารถกลับไปทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยให้สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ประกันตนประเภทผู้ป่วยใน ด้วยการผ่าตัดหรือทำหัตถการ ดังนี้

ประกอบด้วย
1. การผ่าตัดมะเร็งเต้านม
2. การผ่าตัดก้อนเนื้อที่มดลูก
3. การผ่าตัดนิ่วในไตหรือถุงน้ำดี
4. หัตถการโรคหลอดเลือดสมอง
5. หัตถการโรคหัวใจและหลอดเลือด

การผ่าตัดหรือทำหัตการในข้อ 1-4 จ่ายโดยคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ที่มีค่าน้ำหนักสัมพันธ์ปรับตามวันนอนในอัตรา 1.5 หมื่นบาทต่อหนึ่งน้ำหนักสัมพันธ์ปรับตามวันนอน ส่วนกรณีเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มในอัตรา 3,000 บาทต่อครั้ง สำหรับอัตราค่าอวัยวะเทียมและค่าอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคสามารถเบิกได้ตามประกาศ คณะกรรมการการแพทย์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่องหลักเกณฑ์ และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 28 ก.ย. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

อย่างไรก็ดี สถานพยาบาลที่ทำความตกลง ต้องให้การรักษาเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาแต่ละโรคตามที่ราชวิทยาลัยกำหนด โดยกำหนดเงื่อนไขระยะเวลาการผ่าตัดหรือทำหัตถการ ดังนี้

ประกอบด้วย
1. ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ได้รับการผ่าตัดภายใน 15 วัน
2. ผ่าตัดก้อนเนื้อที่มดลูก ได้รับการผ่าตัดภายใน 15 วัน
3. ผ่าตัดนิ่วในไตหรือถุงน้ำดี ได้รับการผ่าตัดภายใน 15 วัน
4. หัตถการโรคหลอดเลือดสมอง ได้รับการทำหัตถการภายใน 6 ชั่วโมง

สำหรับสถานพยาบาลที่ทำความตกลงต้องให้การดูแลรักษาครอบคลุมกรณีเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ประกันตนในระหว่างการผ่าตัดหรือทำหัตถการเป็นเวลา 30 วัน หลังการผ่าตัดหรือทำหัตถการ รวมไปถึงต้องมีการติดตามผลหลังการรักษา (Follow up) จากการผ่าตัดหรือทำหัตถการให้เป็นตามมาตรฐานทางการแพทย์ที่เหมาะสม โดยกำหนดการติดตามผล ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงในระยะเวลา 30 วัน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี หลังวันที่ทำการผ่าตัดหรือทำหัตถาการ

ในส่วนของการทำหัตถการในข้อ 5 สำหรับการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้สำนักงานจ่ายค่าบริการตามแผนการรักษาแบบเหมาจ่ายรายครั้งของการรักษา (Package) ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ประกันตนขณะทำการรักษาหรือยังอยู่ในช่วงพักรักษาตัวในสถานพยาบาล

อย่างไรก็ตาม อัตราค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์สามารถเบิกได้ ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการท างาน ลงวันที่ 28 ก.ย. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ทั้งนี้ กรณีสถานพยาบาลที่ทำความตกลงได้รับค่าบริการทางการแพทย์จากการผ่าตัดและทำหัตถการตามประกาศฉบับนี้ สถานพยาบาลไม่สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์จากการผ่าตัดและทำหัตถการตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์ และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 25 ธ.ค. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม ระบุว่า กรณีการรักษาโรคมะเร็ง ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ประกาศ ณ วันที่ 30 ส.ค.56 ครอบคลุมการรักษาพยาบาลโรคมะเร็ง 10 ชนิดดังนี้ มะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งโพรงจมูก โรคมะเร็งปอด

อีกทั้งโรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ทั้งนี้กรณีการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดที่ต้องให้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษา และหรือยารักษาโรคมะเร็งให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลในรพ.ตามสิทธิเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 50000 บาทต่อรายต่อปี

ส่วนโรคและการบริการอื่นๆที่ไม่ใช่โรคมะเร็งที่ไม่สามารถใช้สิทธิจากกองทุนประกันสังคมมีดังนี้

1.โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องจากการใช้สารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด

  • ใช้สิทธิประกันสังคม ส่องกล้อง

    WICE โบรกมองบวกผนึก SAT ลุยพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า จับตา! กำไรปี 65 แตะ 571 ล้านบาท

  • ใช้สิทธิประกันสังคม ส่องกล้อง

    TIPH โบรกแนะซื้อเป้า 73 บ. รับบอนด์ยีลด์พุ่ง-ลุ้นกำไรปีนี้โตแรง 61% เฉียด 2 พันล้าน

2.โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทคนไข้ใน 180 วัน ในหนึ่งปี ยกเว้น กรณีที่มีความจำเป็นตามดุลยพินิจของคณะกรรมการการแพทย์

3.การบำบัดทดแทนไตกรณีไตวายเรื้อรัง ยกเว้น กรณีไตวายเฉียบพลันที่มีระยะเวลารักษาไม่เกิน 60 วัน ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ และกรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้สิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ โดยการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ด้วยวิธีล้างช่องท้องด้วย น้ำยาอย่างถาวร และด้วยวิธีปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดในประกาศสำนักงานประกันสังคม

ผ่าตัดส่องกล้องใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ไหม

การผ่าตัดหรือทำหัตการในข้อ 1-4 จ่ายโดยคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ที่มีค่าน้ำหนักสัมพันธ์ปรับตามวันนอนในอัตรา 1.5 หมื่นบาทต่อหนึ่งน้ำหนักสัมพันธ์ปรับตามวันนอน ส่วนกรณีเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มในอัตรา 3,000 บาทต่อครั้ง สำหรับอัตราค่าอวัยวะเทียมและค่าอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคสามารถ ...

ส่องกล้องเบิกได้ไหม

A : การผ่าตัดแบบส่องกล้องเป็นการผ่าตัดด้วยวิธีพิเศษที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ตามระเบียบของศูนย์การแพทย์ฯผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าอุปกรณ์พิเศษ(หัวกล้องพร้อมอุปกรณ์) จำนวน 11,000 บาท ยกเว้น การผ่าตัดไส้เลื่อน การผ่าตัดลำไส้เล็ก/ใหญ่ การผ่าตัดปอด ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว Q : ค่าห้องพิเศษใช้สิทธิได้หรือไม่

ส่องกล้องต้องสลบไหม

แพทย์จะอธิบายถึงขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียด รวมถึงภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างนี้หากผู้ป่วยมีข้อสงสัยใด ๆ ก็สามารถซักถามได้ ก่อนรับการส่องกล้องผู้ที่สวมใส่แว่นตา คอนแทคเลนส์ หรือฟันปลอมจะต้องถอดออกทั้งหมด และไม่จำเป็นต้องถอดเสื้อผ้า แต่อาจให้สวมชุดคนไข้ทับเสื้อผ้าของตัวผู้ป่วยเองอีกที

ส่องกล้องลำไส้ใช้เวลากี่นาที

แพทย์จะใช้เวลาในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ประมาณ 20 – 30 นาที แต่ถ้าหากพบติ่งเนื้อหรือความผิดปกติอาจจะใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที