การพิจารณาคุณค่างานประพันธ์

                วรรณคดี  เป็นงานประพันธ์อันประกอบด้วยศิลปะแห่งการนิพนธ์  และมีเนื้อเรื่องอันมีอำนาจดลใจให้เกิดความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ต่าง ๆ มิใช่เรื่องที่ให้ความรู้เพียงอย่างเดียว  วรรณคดีเป็นงานที่กวีสร้างขึ้นอย่างมีศิลปะ  โดยเฉพาะการใช้ถ้อยคำมุ่งให้เกิดความไพเราะ  ความงดงาม  ซึ่งหมายถึงรสวรรณคดี  อันเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เร้าให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ในแง่ต่าง ๆ

งานประพันธ์ที่สะท้อนชีวิต ความเป็นอยู่ ค่านิยม วัฒนธรรมและจริยธรรมของคนในสังคม รวมทั้งมีส่วนช่วยจรรโลงใจหรือพัฒนาสังคม จัดเป็นงานประพันธ์ที่ดีและมีคุณค่าควรแก่การ

ยกย่อง  ประกอบด้วย

๑ ) การสะท้อนสภาพสังคมในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็น เครื่องแต่งกาย บ้านเรือน ภาษาและ

ถ้อยคำที่ใช้ วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น

๒ ) แนวคิด ความเชื่อ และค่านิยม ( ที่มักปรากฏในวรรณคดีไทย ) ได้แก่

– ไสยศาสตร์ โชคลาง ความฝัน ภูตผี เวทมนตร์คาถา

– พุทธศาสนา กรรม เทวดา สวรรค์ นรก

– จารีต ประเพณี ขนบธรรมเนียม

– ความกตัญญู การตอบแทนคุณ

– อำนาจของพระมหากษัตริย์

๓ ) ข้อคิดที่ได้รับจากเรื่อง

ขนบทางวรรณกรรม

๑. ขนบในการแต่ง ( ข้อกำหนดของคำประพันธ์แต่ละประเภท )

๒. ขนบคำประณามพจน์และการลงท้าย

– คำประณามพจน์

– สิ่งศักดิ์สิทธิ์

– พระมหากษัตริย์

– การลงท้าย

– ผู้แต่ง

– ผู้บันทึก

– วัน เวลาที่แต่ง

– สาเหตุที่แต่ง

– ให้พร

– ขอพร / ความประสงค์ของกวี

– ( ชาดก ) ใครกลับชาติมาเกิดเป็นใคร / อะไรบ้าง

– ออกตัวให้ช่วยแก้ไขผลงาน

๓. ขนบการพรรณนาความ

๑ ) บทชมโฉม ชมธรรมชาติ

๒ ) บทสระสรงทรงเครื่อง

๓ ) บทชมบ้านชมเมือง

๔) บทเกี้ยวพาราสี / เข้าพระเข้านาง

๕ ) บทอัศจรรย์

๔. ขนบด้านแนวเรื่อง

๕. ขนบด้านแบบฉบับของตัวเอก

๖. ขนบด้านการเลียนแบบ ( ประดิษฐกรรมเสริมแบบ VS ประดิษฐกรรมนฤมิตร )

๗. ขนบนิยมอารมณ์หรรษา

กวีสามารถเลือกใช้คำได้ตามใจเพื่อเอื้อต่อสัมผัสหรือจำนวนคำในวรรค

แนวคิด ค่านิยมและ น้ำเสียง ในงานประพันธ์

แนวคิด คือ ความคิดที่สำคัญที่เป็นแนวในการผูกเรื่อง หรือความคิดอื่น ๆ ที่สอดแทรกไว้ในเรื่องนั้น ๆ

ค่านิยม คือ ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ หรือความเชื่อมั่นของมนุษย์ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด และยึดถือปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีความหมายหรือมีความสำคัญต่อตนเอง หรือกลุ่มของตน

 พิจารณาคุณค่างานประพันธ์หลักทั่วไปในการพิจารณาคุณค่างานประพันธ์ความหมายของงานประพันธ์งานประพันธ์คือ  งานที่มนุษย์ใช้ภาษาที่สละสลวย  สร้างสรรค์ ถ่ายทอดเป็นเรื่องราว มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง อาจแบ่งได้เป็นหลายประเภท  หลายรูปแบบองค์ประกอบที่สำคัญของงานประพันธ์   งานประพันธ์ประกอบด้วย เนื้อหาและรูปแบบ งานประพันธ์ที่มีเนื้อหาและรูปแบบเหมาะสมกันจะเป็น “วรรณคดี” และถ้าเรื่องใดไม่ถึงขั้นเป็นวรรณคดีได้ก็จะเรียกว่า “วรรณกรรม”                เนื้อหาของงานประพันธ์  หมายถึง  เรื่องที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้นจากจินตนาการ  ประสบการณ์  โลกทรรศน์  หรือจากความรู้สึกของผู้ประพันธ์เอง  ในเนื้อหานั้นจะมีใจความสำคัญซึ่งอาจเรียกว่า สาระสำคัญที่สุด และสาระสำคัญรอง ๆ ลงไปก็ได้                รูปแบบ  หมายถึง  ลักษณะรวมของงานประพันธ์ที่ผู้ประพันธ์ใช้ในการนำเสนอเนื้อหาไปสู่ผู้อ่าน อาจเป็นร้อยกรอง  ได้แก่ นิราศ  โคลง  คำฉันท์ ลิลิต หรืออาจเป็นร้อยแก้ว  ได้แก่ บทความ จดหมายเหตุ หรือบันเทิงคดี ได้แก่ นิทาน นวนิยาย ก็ได้                คำว่าสารคดี  หมายถึง  งานเขียนที่เป็นเรื่องจริง มุ่งที่จะให้ความรู้แต่ก็คำนึงถึงความพึงพอใจและความเพลิดเพลินผู้อ่านด้วย                คำว่า บันเทิงคดี  เป็นงานเขียนที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยอาจมีเค้าความจริงหรือไม่ก็ได้ ตัวละครเป็นตัวสมมติ ไม่ใช่บุคคลที่มีตัวจริงการวิเคราะห์งานประพันธ์  อาจแบ่งเป็นขั้น ๆ ดังนี้๑.พิจารณาว่างานประพันธ์นั้น ๆ ใช้รูปแบบใด ดังที่กล่าวมาข้างต้น๒.แยกเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ  อาทิ  เนื้อหาที่เป็นเรื่องเล่าก็ต้องชี้ให้เห็นว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน  อย่างไร  เมื่อไร๓.แยกพิจารณาแต่ละส่วนให้ละเอียดว่า ประกอบกันอย่างไรหรือประกอบด้วยอะไรบ้าง๔.พิจารณาให้เห็นว่า  ผู้เขียนใช้วิธีใดในการนำเสนอเรื่องนั้น ๆกระบวนการวินิจสาร  แบ่งเป็นขั้น ๆ ดังนี้๑.พิจารณาดูว่าตอนใดเป็นข้อเท็จจริง ให้ความรู้ ตอนใดเป็นความคิดเห็นหรือทรรศนะ ตอนใดแสดงออกซึ่งอารมณ์หรือความรู้สึก๒.พิจารณาดูว่า  ข้อเท็จจริง ข้อความรู้ ทรรศนะ  อารมณ์  หรือความรู้สึกนั้น ผู้เขียนมีเจตนาอย่างไร ต้องการให้ผู้อ่านหรือผู้รับสารเกิดปฏิกิริยาอย่างไร รวมทั้งให้แง่คิดต่าง ๆ แก่ผู้อ่านอย่างไรบ้าง๓.พิจารณาเป็นขั้นสุดท้ายว่า สาระสำคัญที่สุดของเรื่องนั้น ๆ คืออะไร  และสารที่สำคัญรอง ๆ คืออะไรและสิ่งที่สำคัญในการวิเคราะห์และวินิจสารงานประพันธ์ทุกชนิดคือ ต้องพิจารณาถ้อยคำ สำนวนว่าใช้เหมาะสมกับระดับและประเภทของงานเขียนหรือไม่                ในการวิเคราะห์และวินิจสารเรามักจะเกิดความคิดแทรก และความคิดเสริม ขึ้นได้ ความคิดแทรก คือความคิดที่เกิดขึ้นในสมองของเราระหว่างที่อ่านงานประพันธ์มิได้มีอยู่ในงานเขียนความคิดแทรกของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน จะเกิดในโอกาสและวาระที่แตกต่างกัน ความคิดเสริม คือความคิดอีกชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้อ่านหลังจากที่ได้อ่านจบและได้สิเคราะห์ได้วินิจสารเสร็จสิ้นไปแล้วสำหรับความคิดเสริมนั้นอาจต่างเรื่อง  ต่างประเด็นไปจากสารที่ปรากฏในงานเขียนก็ได้ แต่ต้องมีความเกี่ยวเนื่องกันจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่บุคคลและโอกาส                ในการอ่านงานประพันธ์   การมีความคิดแทรก  และความคิดเสริม  ทำให้มีโอกาสได้พัฒนาความคิด และความรู้สึกอยู่เสมอ ทำให้เป็นผู้มีความคิดกว้างไกล มีความรู้สึกประณีตละเอียดอ่อน เหมาะแก่การพิจารณาคุณค่าของงานประพันธ์                การพิจารณาคุณค่าของงานประพันธ์ พิจารณาได้เป็น ๒  แนว คือ๑.คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คือคุณค่าทางด้านการแต่ง ซึ่งผู้ประพันธ์ควรเลือกใช้รูปแบบที่สอดคล้องกับเนื้อหา มีกลวิธีการแต่งที่น่าสนใจ ถ้อยคำที่ใช้ไพเราะสละสลวย ให้อารมณ์สะเทือนใจ และให้สารที่มีความคิดสร้างสรรค์ ส่วนที่ต่างกันออกไปมีดังนี้“ร้อยกรอง” พิจารณารูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหา กลวิธีการแต่งน่าสนใจ ใช้ถ้อยคำไพเราะสละสลวย ให้อารมณ์สะเทือนใจ“ร้อยแก้วประเภทสารคดี” พิจารณารูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหา วิธีเสนอเรื่องน่าสนใจให้ความรู้ถูกต้อง สำนวนภาษากะทัดรัด สละสลวย  สื่อความหมายได้ชัดเจน“ร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี”  พิจารณาตามเกณฑ์ของรูปแบบ  ได้แก่ เรื่องสั้น พิจารณาว่ามีแก่นของเรื่องสัมพันธ์กับโครงเรื่องและตัวละคร  มีกลวิธีการประพันธ์ที่แปลกใหม่น่าสนใจ มีจุดขัดแย้งที่ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ใช้ภาษาสละสลวยก่อให้เกิดจินตภาพ คำพูดเหมาะสมกับบุคลิกภาพของตัวละคร๒.คุณค่าด้านสังคม  งานประพันธ์ที่ดีจะสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่  ค่านิยม และจริยธรรมของคนในสังคม  มีเนื้อหารสาระที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม หรือจริยธรรมของสังคมและมีส่วนช่วยจรรโลงหรือพัฒนาสังคม

                เนื่องจากวรรณคดีมีคุณค่าทั้งทางวรรณศิลป์และทางสังคมวรรณคดีจึงให้ประโยชน์ทางประเทืองปัญญาและความสำราญอารมณ์ การให้นักเรียนเรียนวรรณคดี ก็เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจชีวิตเห็นอกเห็นใจเพื่อมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น และทำให้นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ด้วย

แหล่งอ้างอิง  บริษัทสำนักพิมพ์