Autonomic nervous system คือ

ทุกครั้งที่คุณตื่นนอนในตอนเช้า คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลการนอนของคุณผ่านทาง Nightly Recharge ฟังก์ชั่นที่จะช่วยให้คุณตรวจสอบประสิทธิภาพในการนอนหลับ แต่มีสิ่งหนึ่งที่คุณอาจจะสงสัย ในหน้าจอ ของ Nightly Recharge นั่นก็คือค่า ANS Charge ว่ามันคือค่าอะไร ในโหมดของ Nightly Recharge บนหน้าปัทม์นาฬิกาออกกำลังกาย จะแสดงข้อมูลของอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ และฟังก์ชั่นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับของคุณ แล้วค่า ANS คืออะไร มีวิธีการวัดอย่างไร และมันเกี่ยวข้องกับการนอนหลับอย่างไร ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ ระบบประสาทอัตโนมัติ ANS กันก่อน

ระบบประสาทอัตโนมัติ ANS คืออะไร

ระบบประสาทอัตโนมัติ ANS : Autonomic Nervous System นั้นเป็นระบบประสาทส่วนปลาย Peripheral nervous system (PNS) ซึ่งจะหมายถึงระบบประสาทที่อยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง สมอง กระดูกสันหลัง Central Nervous System (CNS)นั่นเอง ซึ่งระบบประสาทส่วนปลาย นั้น จะเป็นตัวเชื่อมการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ไปยังอวัยวะ กล้ามเนื้อ ผิวหนัง ซึ่งกระจายไปในทุกส่วนของร่างกายนั่นเอง ซึ่งระบบประสาทอัตโนมัติ นั้นจะควบคุมท้ง การหายใจ ระบบหัวใจและไหลเวียน เป็นต้น โดยหน้าที่ของระบบประสาทอัตโนมัติ นอกจากจะควบคุมการหายใจ ระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต แล้ว ยังมีฟังก์ชั่นการทำงาน ที่ควบคุมการทำงานของร่างกายที่สำคัญๆ ได้แก่

    1. อุณหภูมิของร่างกาย
    2. การหลั่งเหงื่อ น้ำลาย หรือ ของเหลวต่างๆภายในร่างกาย
    3. ระบบย่อยอาหาร
    4. ระบบการเผาผลาญพลังงาน
    5. สมดุลเกลือแร่ภายในร่างกาย
    6. อัตราการเต้นของหัวใจ
    7. ความดันโลหิต
    8. อัตราการหายใจ
    9. การทำงานของม่านตา
    10. การตอบสนองทางเพศ
    11. การแสดงออกอารมณ์
    12. การขับถ่าย

ซึ่งระบบประสาทอัตโนมัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนหลักๆ ได้แก่

ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nervous system) ซึ่งจะตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว บ้างก็เรียกว่า ระบบประสาทที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว การตอบสนองต่อความเครียด สิ่งกระตุ้น หรือ สถานการณ์ที่เป็นอันตราย ดังนั้น อวัยวะที่ระบบประสาทซิมพาเทติก ควบคุม เช่น หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น ม่านตาขยายตัว และร่างกายกำลังจะเข้าสู่การตัดสินใจที่เรียกว่า Fight or Flight ต่อสู้ หรือ จะหนี ในสถานการณ์เช่นนี้ ระบบประสาทซิมพาเทติก จะเด่น

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic nervous system) เมื่อร่างกายกลับสู่สภาวะปกติ จากสถานการณ์เครียด ร่างกายผ่อนคลาย อัตราการเต้นของหัวใจลดลง อัตราการหายใจลดลง ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานในสถานการณ์เช่นนี้คือ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก นั่นเอง

ระบบประสาทเอนเทอร์ติก (Enteric nervous system) เป็นระบบประสาทที่ควบคุมอยู่ภายในร่างกาย ควบคุมระบบทางเดินอาหาร เป็นเครือข่าย ที่ควบคุมอวัยวะสำหรับการย่อยอาหาร เช่น กระเพาะ ลำไส้ ทางเดินอาหาร เป็นต้น ซึ่งจริงๆแล้ว ระบบประสาทเอ็นเทอริก นั้น ก็จะได้รับผลจากระบบประสาท ซิมพาเทติก และ พาราซิมพาเทติก ด้วยเช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทอัตโนมัติ ในขณะที่คุณนอนหลับ

การนอนหลับนั้นเป็นเวลาที่ร่างกายของคุณจะได้รับการผ่อนคลาย นั่นก็คือ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก จะโดดเด่น และทำงานในขณะที่ร่างกายพัก นอกจานั้น ระบบการฟื้นสภาพของร่างกาย จะเกิดขึ้นในขณะที่คุณหลับ กลไกในการซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหายจากการออกกำลังกายก็จะกระทำในขณะที่คุณนอนหลับ กระบวนการเก็บสะสมพลังงาน การซ่อมสร้าง Regeneration ก็จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ เพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการตื่นขึ้นมาเพื่อทำกิจวัตรประจำวัน การทำงาน และการออกกำลังกาย

แต่ถ้าหากคุณประสบปัญหา เกี่ยวกับความเครียด ก็จะส่งผลต่อการนอนหลับของคุณ หลับได้น้อย หรือนอนไม่หลับ ระบบประสาทที่ทำงานก็ยังคงเป็นระบบประสาทซิมพาเทติก การฟื้นสภาพ การซ่อมสร้าง ก็จะเกิดขึ้นได้น้อย หรือไม่เกิดขึ้นเลย ทำให้ร่างกายของเรา ฟื้นสภาพได้อย่างไม่สมบูรณ์

แต่อย่างไรก็ตามในวันที่คุณออกกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างหนัก และร่างกายได้พักผ่อนน้อย การฟื้นสภาพของร่างกายแทบจะไม่เกิดขึ้น ถ้าหากคุณปล่อยให้สภาวะเช่นนี้เกิดขึ้น คุณอาจจะประสบกับโรคนอนไม่หลับขึ้นได้ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยสร้างให้คุณสามารถนอนหลับได้ดี และลดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก ลงนั่นก็คือ การสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการนอนหลับ เช่น การลดแสงรบกวน และเสียงรบกวนขณะที่คุณนอนหลับ หรือ อาจจะลองทำ การฝึกสมาธิ เพื่อให้นอนหลับได้ดีขึ้น ซึ่งการฝึกสมาธินั้นจะช่วยลดระดับของฮอร์โมนความเครียดและช่วยให้ร่างกายของคุณหลับได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

POLAR กับ ANS CHARGE

เมื่อคุณดูที่หน้าจอของผลิตภัณฑ์โพลาร์ POLAR ในโหมดของ Nightly Recharge นั้น คุณจะเห็นข้อมูลสองชุด ชุดแรกคือ ANS Charge และ Sleep Change ซึ่งข้อมูลทั้งสองชุดนั้น เมื่อนำมารวมกันแล้ว นั่นก็คือ ค่าของ ประสิทธิภาพในการฟื้นตัวของร่างกาย Nightly Recharge Rating คุณสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการตัดสินใจในการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย หรือ การเล่นกีฬาของคุณได้ ซึ่ง POLAR ได้มีเทคนิคแนะนำ สำหรับการนอนหลับ การออกกำลังกาย การควบคุมปริมาณการใช้พลังงาน

Sleep Charge นั่นจะวัดทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของการนอนหลับของคุณ เป็นตัวแปรที่คลาสสิคตัวหนึ่ง ซึ่งจะได้จำนวนชั่วโมงที่คุณพัก และวงรอบการนอนของคุณ จากนั้น นำมาเปรียบเทียบกับรูปแบบการนอนในช่วง 28 วันก่อนหน้านั้น ANS Charge จะแตกต่างกัน แต่เมื่อนำค่าทั้งสองมารวมกัน เราจะเห็นถึงคะแนนประสิทธิภาพในการนอนหลับ ทำให้เกิดฟีเจอร์ Nightly Recharge ขึ้น มันอาจจะดูซับซ้อน แต่ตัวแปรนี้จะบอกทั้งปริมาณและประสิทธิภาพในการนอนหลับของคุณได้เป็นอย่างดี

ANS Charge นั้นจะวัดว่าระบบประสาทอัตโนมัตินั้นมีความผ่อนคลายมากขึ้นเพียงใด ระหว่างชั่วโมงแรกของการนอนหลับ  เทียบกับในขณะปกติ ตลอดระยะเวลา 28 วัน โดยเป็นการวัดค่าอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราผันแปรของอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ผ่านทาง Polar Optical Sensor ที่ข้อมือ เพื่อนำข้อมูลไปคำนวณหา ANS Charge โดยจะให้ความสำคัญกับการนอนหลับใน 4 ชั่วโมงแรก เพื่อดูว่าระบบประสาทของคุณใช้เวลามากน้อยเพียงใด ที่จะเข้าสู่การผ่อนคลายนั่นเอง

อัตราการเต้นของหัวใจนั้นมีนัยสำคัญมากเพราะ ในตอนต้น อัตราการเต้นของหัวใจนั้นถูกควบคุมด้วยระบบประสาทอัตโนมัติ ในขณะนอนหลับ ถ้าหากระบบประสาทซิมพาเทติก โดดเด่น มีการผ่อนคลาย อัตราการเต้นของหัวใจก็จะลดลง ที่อัตราการหายใจนั้น มีความสัมพันธ์น้อยที่สุด ดังนั้น ถ้าค่า ANS Charge มีค่ามาก นั่นแสดงว่า ระบบหัวใจมีการฟื้นสภาพได้ดี หัวใจเต้นช้าลง และ  อัตราการผันแปรของอัตราการเต้นของหัวใจ HRV เพิ่มขึ้น  ในทางกลับกัน ถ้าหากร่างกายมีการฟื้นสภาพที่ไม่ดี ร่างกายก็จะไมผ่อนคลาย ดังนั้น อัตราการเต้นของหัวใจก็ยังคงสูง อัตราผันแปรของอัตราการเต้นของหัวใจก็จะลดลง นั่นแสดงว่าร่างกายมีการฟื้นสภาพที่ไม่ดี