Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า

ก่อนอื่นต้องขอโทษท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่ผมห่างหายไปเสียนาน เนื่องจากช่วงสองเดือนนี้ งานมากจริงๆ ครับ เพื่อนพ้องน้องพี่ทั้งหลายก็ไล่ตามถามไถ่กันว่า “ช่วยอัพเดตบทความได้แล้ว” ซึ่งกลับมาเที่ยวนี้ผมตั้งใจจะเขียนเดือนละหนึ่งเรื่อง ทุกๆ วันจันทร์ที่หนึ่งของแต่ละเดือน แต่หากเดือนไหน มีเวลาว่าง ก็ว่าจะเขียนสักสองเรื่องนะครับ

ช่วงที่ผ่านมานี่ ผมได้มีโอกาสไปบรรยายเชิงปฎิบัติการ (Workshop) เรื่อง Strategic Management & Balanced Scorecard ให้กับหน่วยงานหลายแห่ง เช่น บริษัท เดลต้า อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กรมธนารักษ์ โครงการ K-SME Bank ของธนาคารกสิกรไทย บริษัท ซีอาร์ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เฟิสท์สตีลอินดัสทรี จำกัด บริษัท กันกุลเอนจิเนียริ่ง จำกัด สถาบันเกษตราธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บริษัท MISUMI (Thailand) จำกัด บริษัท สยามไมโครซอฟท์เทค จำกัด และบริษัท ฮอนด้า ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เข้าร่วมสัมนามีตั้งแต่ คณะกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารชั้นต้น ซึ่งจากการสัมนาที่ผ่านมา ผมได้ข้อคิดดีๆ ที่ “ตกผลึก” ร่วมกันจากผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆ ข้างต้น ผสามผสานเข้ากับประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองอีกประมาณเกือบ 4 ปี เกี่ยวกับเรื่อง Balanced Scorecard (BSC) ในฐานะคณะอนุกรรมการจัดทำบันทึกข้อตกลงการประเมินผลงานรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง
ผมพบประเด็นที่น่าสนใจอย่างนี้ครับ...
1) การ deploy พวก KPIs ทั้งหลายนั้น ต้องลงลึกถึง “ระดับหน้างาน” ครับ ดังนั้น การที่องค์กรแห่งหนึ่ง วาง Corporate KPIs, Department KPIs แล้วจบที่ Position KPIs นั้น ไม่อาจการันตีว่า ที่ปรึกษาของท่าน เขาทำงานให้ “ครบถ้วนอย่างแท้จริง” หรือยัง
2) ในส่วนของการวาง Department KPIs นั้น ถ้าที่ปรึกษาไม่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่อง Common KPIs, Individual KPIs และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Shared KPIs แล้ว ผมว่า จะมีปัญหาเรื่องการ Implement เป็นอย่างมาก แล้วง่ายมากครับที่จะนำไปสู่ “ความขัดแย้ง” ระหว่างฝ่ายงานต่างๆ ในภายหลัง
3) เรื่อง Position KPIs ถือว่า เป็น KPIs ที่สำคัญมาก หากออกแบบไม่ดีพอ จะทำให้ Department KPIs และ Corporate KPIs ไม่บรรลุผลครบทุกข้อ หรือในแง่ร้ายที่สุดคือ ล้มเหลวทั้งหมด
4) ในการวางระบบ Balanced Scorecard (BSC) ถ้าที่ปรึกษาหรือวิทยากร ดูเพียงผิวเผินจากหน้าตา Scorecard ต่างๆ แล้วตัดสินใจตั้งต้นเริ่มทำทีละช่อง เช่น ไปเริ่มทำจากการกำหนด KPIs ก่อนเป็นอันดับแรก อย่างนี้ผมว่า เรียบร้อยเลยครับ ลูกค้าหลงทางกันอีกนาน
5) การกำหนดค่า KPIs แต่ละตัวนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อ “การขับเคลื่อนองค์กร” อย่างเป็นระบบ ครบถ้วนทุกมิติ ในทุกๆ ระดับชั้น ดังนั้น ต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนกันหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เรื่องนี้ผมว่า มิใช่เป็นเพียงแค่งานของฝ่ายบุคคล หรือฝ่ายวางแผน หรือสำนักกลยุทธ์เท่านั้น
6) ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ “เบอร์ 1” ขององค์กร คือ ผู้ผลักดัน หรือ “พระเอก” ที่แท้จริง ครับ นอกจากนั้น ผมว่าเป็น “พระรอง” หมดครับ
7) ถามว่า ควรต้องใช้ Software หรือ Manual หรือไม่นั้น ผมว่า เป็นเรื่องนโยบายและงบประมาณของแต่ละองค์กรครับ และผมเชื่อว่า ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกันสักเท่าไหร่ เรื่องนี้อยู่ที่การออกแบบ KPIs มากกว่า
8) การวาง Linkage ใน Strategy Map นั้น หากไม่สามารถสะท้อนถึง “การขับเคลื่อนองค์กร” ได้อย่างแท้จริงแล้ว เท่ากับว่า เสียเวลาเปล่าครับ กับการออกแบบ KPIs ในลำดับต่อๆ ไป
9) แม้ว่าระบบ Balanced Scorecard (BSC) ที่ออกแบบมาจะเยื่ยมยอดเท่าไหร่ก็ตาม แต่ถ้า “แผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)” ที่จะมารองรับ ไม่มีความชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม จับต้องไม่ได้ ไม่สอดคล้องกับ KPIs และไม่ลงลึกมากพอ ผมว่า การขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตแบบที่ผู้ถือหุ้นตั้งใจไว้ คงจะทำได้ลำบาก
10) องค์กรที่มีการวางระบบ ISO หรือ ระบบประเมินผลอื่นๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว พนักงานอาจจะมีความสับสนเป็นอย่างมาก หากที่ปรึกษาไม่สามารถผสมผสานระบบเดิมกับระบบใหม่ ให้เข้ากันได้ และจะนำไปสู่ “แรงต่อต้าน” ในที่สุด สุดท้ายผลเสียจะเกิดกับองค์กรเต็มๆ
11) Balanced Scorecard (BSC) เป็นเรื่องการวัดผลด้าน Hard Side ส่วน Competency เป็นการวัดผลด้าน Soft Side ควรใช้ควบคู่กัน ไม่ควรใช้แทนกัน และที่สำคัญ หากมี “ตัววัด” ตัวเดียวกันหรือซ้ำกันในทั้งสองด้าน อันนี้ผมว่า ต้องหาทางแก้ไขโดยเร็วครับ
12) เราต้องเข้าใจว่า Kaplan & Norton ที่เป็นผู้คิดค้นและเป็นเจ้าตำรับ Balanced Scorecard (BSC) ตัวจริงเสียงจริงนั้น เขาไม่ได้เขียนสูตรสำเร็จไว้ให้อย่างครบถ้วนทุกประการ (ไม่อย่างนั้น เขาจะหากินต่อได้ยังไง) ดังนั้น การไปนั่งตีความเอาเองใน “ประเด็น” หรือ “ข้อความ” ต่างๆ ที่เขาเขียนเอาไว้ จักต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและต้องมีความชำนาญ มีประสบการณ์ที่มากพอสมควร มิฉะนั้นแล้ว อาจทำให้ลูกค้าหรือผู้อื่นเข้าใจบิดเบือนจากแนวคิดที่แท้จริงของเรื่องนี้ได้ง่ายๆ บอกจริงๆ เสียดายเงินลูกค้าครับ

โดยส่วนตัวผมแล้ว ผมเชื่อว่าระบบ Balanced Scorecard (BSC) เป็นเครื่องมือทางการบริหาร (Management Tool) ที่ดีมากๆ อีกตัวหนึ่งในทศวรรษนี้ แต่ที่บางองค์กรบอกว่า ยังมีปัญหาในการ Implement นั้น ผมว่า ที่ปรึกษาบางราย มีส่วนเป็นอย่างมาก ที่ทำให้ลูกค้าเข้าใจบางประเด็นบิดเบือนไปจากแนวคิดที่แท้จริง อันนี้มันน่าจับมาตีจริงๆ นะครับ

Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า

จากจุดเริ่มต้นที่ผลิต “รถจักรยาน ติดเครื่องยนต์” ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 1948… “ฮอนด้า” เติบโตเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยนตรกรรมรายใหญ่ของโลก ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท ทั้งรถจักรยานยนต์ รถยนต์ ไปจนถึงธุรกิจ ฮอนด้าเจ็ท

Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า

หัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนให้ “ฮอนด้า” ก้าวขึ้นไปยืนแถวหน้าของอุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลกได้สำเร็จ มาจากสโลแกน  The Power of Dreams” เชื่อมั่นในพลังแห่งความฝัน และกล้าลงมือทำฝันนั้นเป็นจริง เพื่อท้าทายตนเองในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น และส่งมอบความสุข รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้คนทั่วโลก

Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า
ฮอนด้า คอลเลคชั่น ฮอลล์ แห่งนี้ เปรียบเสมือนเส้นทางแห่ง “ความฝันของฮอนด้า” โดยเป็นสถานที่จัดแสดงหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นจากประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษของฮอนด้า

“วิสัยทัศน์” เปรียบเสมือนเข็มทิศในการดำเนินงานของ “ฮอนด้า” ในแต่ละยุคสมัย ล่าสุด ฮอนด้าได้ประกาศวิสัยทัศน์ 2030 เพื่อเร่งตอบสนองและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ รวมถึงความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำในการสร้างสังคมปลอดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมทั้งการสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะอันโดดเด่น เพื่อตอบโจทย์โลกในอนาคตที่กำลังจะมาถึง อย่างระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ และเทคโนโลยี AI

Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า

“จุดแข็งของฮอนด้า คือ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท ทั้งรถจักรยานยนต์ รถยนต์ เครื่องยนต์อเนกประสงค์ รวมถึงธุรกิจฮอนด้า เจ็ท และฮอนด้ายังมีลูกค้ากว่า 28 ล้านรายทั่วโลก ความแข็งแกร่งทั้งด้านการเป็นผู้ผลิตชั้นนำ และการมีฐานลูกค้าจากทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของฮอนด้า ในการส่งมอบความสุขให้กับผู้คนทั่วโลกเพื่อเพิ่มศักยภาพของการใช้ชีวิต

นอกจากนี้ ฮอนด้ามุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างสรรค์หลากหลายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยสร้างสังคมปลอดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่สะอาดปราศจากมลพิษ โดยตั้งเป้าในการนำเสนอยนตรกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 2 ใน 3 ของยอดจำหน่ายรถฮอนด้าทั่วโลกภายในปี 2573” คุณทาคาฮิโระ ฮาจิโกะ ประธานกรรมการบริหาร และผู้แทนกรรมการบริหาร ซีอีโอ บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด เล่าถึงวิสัยทัศน์

Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า

ก้าวไปข้างหน้าด้วยยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้า

นับวันพลังงานเชื้อเพลิง ประเภท Fossil Fuel ทั่วโลกมีแต่จะลดน้อยลง และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการเล็งเห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ฮอนด้าได้เริ่มพัฒนารถยนต์รุ่นต่างๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นยานยนต์สะอาดและประหยัดน้ำมันมากขึ้น ออกจำหน่ายในช่วงปีทศวรรษ 1970 ต่อมาในช่วงปลายทศวรรษ 1990 จึงได้เริ่มจำหน่าย “รถไฮบริด” จนถึงปัจจุบัน ฮอนด้ามียอดจำหน่ายรถยนต์ไฮบริดสะสมทั่วโลก มากกว่า 2 ล้านคัน และยังคงมุ่งมั่นขยายการผลิตรถไฮบริดทั่วโลก

จากเป้าหมายของวิสัยทัศน์ของฮอนด้าที่มุ่งนำเสนอยนตรกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ฮอนด้าจึงได้เดินหน้าพัฒนา และเปิดตัวยนตรกรรมไฮบริด และยนตรกรรมปลั๊ก-อิน ไฮบริดที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการสร้างความสุขในการเดินทางให้กับผู้คน  ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นในการพัฒนายนตรกรรมพลังงานไฟฟ้าเช่นเดียวกัน

กล่าวคือ ฮอนด้าเชื่อว่ายนตรกรรมปลั๊ก-อิน ไฮบริด (plug-in hybrid vehicles) จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ฮอนด้า คลาริตี้ ปลั๊ก-อิน ไฮบริด นับเป็นยนตรกรรมใหม่ของฮอนด้าที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้าได้รับความนิยมต่อไปในอนาคต คลาริตี้ ปลั๊ก-อิน ไฮบริด มีฟังก์ชั่นการใช้งานเทียบเท่ารถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง โดยสามารถวิ่งโดยใช้ EV Range ได้ระยะทางมากกว่า 100 กิโลเมตร* พร้อมอัตราเร่งอันทรงพลังด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และสมรรถนะการขับขี่ที่ราบรื่นและเงียบ

อีกหนึ่งรุ่นในแพลตฟอร์มของคลาริตี้ ซีรี่ย์ ที่เป็นที่สุดแห่งเทคโนโลยียานยนต์ที่ไม่มีค่าไอเสีย ได้แก่  ฮอนด้า คลาริตี้ ฟิวเซลล์ รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) ผู้นำเทคโนโลยีอันล้ำสมัยเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งอนาคต โดยสามารถวิ่งได้ระยะทางถึง 750 กิโลเมตร*

*จากการทดสอบภายในของฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น

Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า

นอกจากนี้ ในงานโตเกียว มอเตอร์ โชว์ 2017 “ฮอนด้า” ได้นำยนตรกรรมหลากหลายรุ่น ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและจำหน่ายในตลาด และผลิตภัณฑ์ต้นแบบ มาจัดแสดง โดยเป็นยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ผสานกับฟังก์ชั่นการขับเคลื่อนอัตโนมัติ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกและมอบความสุขในการเดินทางให้กับผู้คน  นวัตกรรมยานยนต์แห่งอนาคตที่นำมาจัดแสดง อาทิ

– Honda Sports EV Concept เปิดตัวครั้งแรกของโลกในงานนี้ โดยเป็นยานยนต์ต้นแบบที่ผสมผสานระบบการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) พร้อมทั้งใช้หลักการออกแบบ Low & Wide สะท้อนความโดดเด่นในดีไซน์รถสปอร์ต ที่เป็นที่ชื่นชอบของคนหลากหลายกลุ่มมายาวนาน พร้อมสร้างประสบการณ์การขับขี่แบบรถสปอร์ตที่สนุกเร้าใจ

Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า

Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า

Honda Urban EV Concept รถยนต์นั่งขนาดเล็กที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เหมาะกับการขับขี่ในเมือง ที่ได้รับการพัฒนาจากแนวคิดมุ่งเน้นให้ผู้ใช้งานมีอิสระ และเพลิดเพลินในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยมีฟังก์ชั่นการสื่อสารแบบ Interactive ที่เชื่อมโยงระหว่างรถ กับคนและสังคมได้มากขึ้น และได้รับการออกแบบแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นมาใหม่สำหรับยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น นับเป็นแนวทางการออกแบบยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้ารุ่นที่จะผลิตและจำหน่ายในอนาคต

Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า

– Honda NeuV เป็นรถยนต์ต้นแบบที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และผสานฟังก์ชั่นการขับเคลื่อนอัตโนมัติ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้สามารถตรวจจับสภาวะทางอารมณ์ของผู้ขับได้ โดยประมวลผลจากการแสดงออกทางสีหน้า และน้ำเสียง แล้วจึงเลือกฟังก์ชั่นที่ช่วยให้ผู้ขับสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ทั้งยังสามารถเรียนรู้ไลฟ์สไตล์ และความชอบของผู้ขับ

Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า

– Honda RoboCas Concept ยนตรกรรมต้นแบบขนาดเล็ก ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า มีพื้นที่เก็บของภายใน และสามารถปรับฟังก์ชั่นการใช้งานให้เป็นพื้นที่โชว์สินค้าขนาดกะทัดรัด เพื่อค้าขายเชิงพาณิชย์ มาพร้อมกับร่มหลังคาที่ช่วยบังแดด นับเป็นยนตรกรรมขนาดคอมแพคที่มีฟังก์ชั่นการขับขี่ ที่สามารถควบคุมทิศทางได้อย่างอิสระ

Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า

Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า

– Honda Riding Assist-e รถจักรยานยนต์ที่มีระบบช่วยการทรงตัว ที่ “ฮอนด้า” พัฒนาจากเทคโนโลยีควบคุมการทรงตัวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของฮอนด้าที่นำผลการวิจัยจากหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์มาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับผู้ขับขี่ และทำให้ผู้ขับสนุกสนานในการใช้ชีวิตกับรถจักรยานยนต์มากยิ่งขึ้น

Balanced Scorecard บริษัท ฮ อน ด้า

“ฮอนด้ามุ่งเน้นดำเนินการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์อันทันสมัย ด้วยความมุ่งมั่นในการมอบความสุขในการขับขี่ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั่วโลก และจะยังคงเดินหน้าพัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เหนือความคาดหมายของลูกค้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการใช้ชีวิตให้แก่ลูกค้าอย่างเต็มที่” คุณฮาจิโกะ กล่าวทิ้งท้ายถึงทิศทางการดำเนินงาน “ฮอนด้า” นับจากนี้