โครงงาน การสาน ตะกร้า ไม้ไผ่ บทที่ 3

                                                                          บทที่ 1
                                                                           บทนำ
       1.1 แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
เนื่องจากสังคมไทยในอดีตเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ผู้คนสามารถผลิตปัจจัยในการดํารงชีวิตได้เอง เป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มเครื่องใช้ต่างๆงานจักสานหรือเครื่องจักสานเป็นงาหัตถกรรมและศิลปหัตถกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน พวกผู้หญิงก็จะทํางานบ้าน เช่นเตรียมทอผ้า (ต่ำหูก) ไว้ใช้สําหรับคนในครอบครัว ผู้ชายก็จัดเตรียมเครื่องใช้ต่างๆ เช่น จักสาน ตะกร้า กระบุง บุ้งกี๋ ลอบ ไซ ข้อง ซ่อมแซมบ้าน ซ่อมแซมเครื่องมือเกษตร พอถึงฤดูฝนก็เริ่มทํานากันอีก วัฎจักรหมุนเวียนกันอยู่อย่างนี้ แม้ในปัจจุบันงานจักสานหรือเครื่องจักสานจะมีอยู่น้อย แต่ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไป ทุกภาคในประเทศ นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว งานจักสานยังสะท้อน วัฒนธรรม สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา ของชาวบ้านได้อีก ดังนั้นควรให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาเกี่ยวกับงานจักสานและรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมในด้านการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ไว้สืบต่อไป
ข้าพเจ้าจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อศึกษาการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ตลอดจนศึกษาความหมายเพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียนและผู้ที่สนใจเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความเป็นไทยเพื่อเยาวชนและการอนุรักษ์หวงแหนเอกลักษณ์ของชาติสืบไป
       1.2 วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจักสานไม้ไผ่
2.เพื่อศึกษากรรมวิธีการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่
3.เพื่อเผยแพร่การจักสานไม้ไผ่ของไทย
4.เพื่ออนุรักษ์การจักสานไม้ไผ่ของไทยไว้
5.เพื่อนำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปทำชิ้นงาน
       1.3 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
สร้างสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ทั่วโลก โดยใช้โปรแกรม DeskTop Author ในการทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และโปรแกรม Power Point ในการทำสไลด์ของเรื่องนี้

       1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจักสานไม้ไผ่
2.ได้ความรู้วิธีการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
3.ได้เผยแพร่การจักสานไม้ไผ่ของไทย
4.ได้อนุรักษ์การจักสานไม้ไผ่ของไทยไว้
5. ได้นำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปทำชิ้นงาน

บทที่  3

วิธีการดำเนินงาน

วิธีการดำเนินงาน

ตารางการดำเนินงาน

      ลำดับ

รายการปฏิบัติ

ระยะเวลาดำเนินการ

1.

กำหนดปัญหา

10 ธ.ค.55

2.

ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต

15 ธ.ค.55

3.

รวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ในการออกแบบตะกร้า

15 ธ.ค.55

4.

ออกแบบตะกร้าที่มีความสวยงามและคงทน 

22 ธ.ค.55

5.

ลงมือปฏิบัติ

16 ก.พ.56

6.

นำชิ้นงานมานำเสนอครูผู้สอน เพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาดของชิ้นงาน

26 ก.พ.56

7.

นำชิ้นงานที่แก้ไขเสร็จแล้ว มานำเสนอผ่านสี่อ อินเทอร์เน็ต

28 .56

วิธีการลงมือปฏิบัติ

วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

-                   ไม้ไผ่                              -  ไม้ตะโกใช้ทำงวง

-                     มีด                                 -   กรรไกร

-                   ตะปู

วิธีการทำ

 การทำก้นและตัวตะกร้า
          1.   การเตรียมไม้โดยเหลาไม้ไผ่เพื่อใช้ทำส่วนที่เป็นก้นตะกร้า และโครงตะกร้า (เรียกว่า          "ตอกแบน") โดยใช้ไม้ไผ่ลำที่แก่พอประมาณ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าลำพอมีน้อง เลือกเอาลำใหญ่ ๆ ซึ่งจะเหลาเอาเฉพาะผิวไม้ไผ่ซึ่งจะทำให้ตะกร้ามีความแข็งแรงและคงทน การสานจะสานจากก้นตะกร้าก่อนเนื่องจากเป็นโครงหลักโดยการสอดไม้ขัดกันไปมา ตอกที่ใช้ในการก้นตะกร้าจะใช้ประมาณ 20 เส้นขึ้นไปหรือแล้วแต่ขนาดของตะกร้า 
          2. ยกขัดเป็นลาย 2 (ขัด 2 ยก 2) ให้ไม้ไขว้ก้นตะกร้า 2อัน เพื่อป้องกันก้นทะลุเวลาใส่ของหนัก 
          3. เหลาตอกเส้นเล็กประมาณ 2มิลลิเมตรวนขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นโครงรูปตะกร้า ความสูงตามที่ต้องการ 
          
การทำปากตะกร้า          ใช้ไม้ไผ่เส้นเล็กกลมสานตัดกันพันหักมุมเพื่อเม้มปาก 
          การทำงวงตะกร้า          เมื่อสานตัวตะกร้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว นำไม้ตะโกที่มีขนาดพอเหมาะมาดัดให้โค้ง โดยนำลวดเจาะระหว่างปลายงวงสอดไปใต้ก้นตะกร้าเพื่อป้องกันงวงหลุดเวลาใส่ของหนัก ๆ 
         การทำไม้คอนหาบ           นำลำไผ่บริเวณโคนต้น (หรือชาวบ้านเรียกว่าซอ) มาเหลาทำหัวโมะเพื่อไม่ให้งวงรูดเวลาหาบ ความยาวประมาณ 1.5 เมตร