อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ พื้นฐาน หมาย ถึง

16 เม.ย. 2019

สรุปเรื่อง ค่าจ้างขั้นต่ำ แบบเข้าใจง่ายๆ / โดย ลงทุนแมน

“ค่าจ้างขั้นต่ำ” คำนี้ทุกคนเคยได้ยิน
แต่เคยสงสัยไหมว่า
ที่ผ่านมา ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอย่างไร
แล้วค่าจ้างขั้นต่ำ ในประเทศไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่
ถ้าเทียบกับเพื่อนบ้านเป็นอย่างไร

ปี 2499 เป็นปีแรกที่ประเทศไทยเริ่มมีการบังคับใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ

ต่อมาในปี 2515 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ให้อำนาจแก่กระทรวงมหาดไทยในการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ

โดยในปี 2516 เป็นปีแรกที่มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำออกมาเป็นตัวเลข คือ วันละ 12 บาท ในกรุงเทพและปริมณฑลก่อนที่จะเริ่มกระจายไปสู่ต่างจังหวัด

ปัจจุบัน ผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำคือ คณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ถูกแต่งตั้งมาเป็นคณะกรรมการ โดยมีหน้าที่พิจารณา เสนอและกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ

แต่ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีต้องมีมติเห็นชอบปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามที่คณะกรรมการค่าจ้างเสนอ

ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมีหลายปัจจัย เช่น
ต้นทุนค่าครองชีพ
อัตราเงินเฟ้อ
ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ผลิตภาพแรงงาน

แล้วในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา อัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อวัน ของประเทศไทยเป็นอย่างไร

ปี 2551 ค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 148-203 บาท ขึ้นกับแต่ละจังหวัด
ปี 2553 ค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 151-206 บาท ขึ้นกับแต่ละจังหวัด
ปี 2554 ค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 159-221 บาท ขึ้นกับแต่ละจังหวัด
ปี 2555 ค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 222-300 บาท ขึ้นกับแต่ละจังหวัด
ปี 2556 ค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 300 บาท ทั่วประเทศ
ปี 2560 ค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 300-310 บาท ขึ้นกับแต่ละจังหวัด
ปี 2561 ค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 308-330 บาท ขึ้นกับแต่ละจังหวัด

หมายความว่า ค่าจ้างขั้นต่ำนั้นไม่ได้มีการปรับทุกปี และยังมีความแตกต่างกันในแต่ละจังหวัดอีกด้วย

ยกเว้นปี 2556 เพียงปีเดียว ที่ค่าจ้างขั้นต่ำถูกกำหนดให้มีอัตราเท่ากันทั่วประเทศ

แล้วถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ประเทศไหนที่มีค่าจ้างขั้นต่ำ ต่ำที่สุดและสูงที่สุด?

พม่า เป็นประเทศที่มีค่าจ้างขั้นต่ำ ต่ำที่สุดคือเฉลี่ยวันละ 102 บาท
ขณะที่ ไทย เป็นประเทศที่มีค่าจ้างขั้นต่ำ สูงที่สุดคือเฉลี่ยวันละ 316 บาท

ขณะที่มี 2 ประเทศในอาเซียนที่ไม่มีกฎหมายเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำนั่นก็คือ บรูไนและสิงคโปร์

คนที่เรียนเศรษฐศาสตร์มาคงจะทราบดีว่า ปัจจัยการผลิตนั้นประกอบไปด้วยทุน ที่ดิน แรงงาน และผู้ประกอบการ ซึ่งในส่วนของแรงงานนั้นผลตอบแทนก็คือ ค่าจ้าง

แน่นอนว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้นต้องสอดคล้องกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น

เพราะถ้าค่าจ้างขั้นต่ำไม่สามารถเพิ่มได้ทันค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นแล้ว แรงงานบางส่วนอาจย้ายไปทำงานในที่ที่มีค่าจ้างที่สูงกว่า ส่งผลให้แรงงานขาดแคลน จนอาจกระทบต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศ

ในอีกด้านหนึ่ง การปรับขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ไม่ควรส่งผลเสียหายอย่างรุนแรงต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก

เพราะอาจส่งผลให้ธุรกิจขาดทุน จนต้องปิดกิจการ หรือแม้แต่ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีแรงงานถูก

ซึ่งผลเสียไม่เพียงแต่ตกอยู่กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ แต่ยังรวมไปถึงตัวของแรงงานเองด้วย

ติดตามเรื่องหลากหลาย จากผู้เขียนเก่งๆ หลายท่าน ในแอป blockdit โหลดได้ที่ http://www.blockdit.com

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ พื้นฐาน หมาย ถึง

เคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำปี 65 ขึ้นสูงสุด 354 บาท ต่ำสุด 328 บาท มีผล 1 ตุลาคมนี้

มติคณะกรรมการค่าจ้าง สรุปผลปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2565 แบ่งเป็น 9 อัตรา ชลบุรี ระยอง ภูเก็ตขึ้นสูงสุด 354 บาท ต่ำสุดอยู่ที่ยะลา ปัตตานี นราธิวาส น่าน และอุดรธานี ปรับขึ้น 328 บาท ส่วนกรุงเทพและปริมณฑล อยู่ที่ 353 บาท เพื่อให้มีผล 1 ตุลาคม 2565

          นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ครั้งที่ 8/2565 ว่า คณะกรรมการค่าจ้างได้ประชุมพิจารณาและมีมติการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2565 โดยได้ข้อสรุปร่วมกันในการปรับขึ้นซึ่งแบ่งเป็น 9 อัตรา ได้แก่
          1) ค่าจ้าง 354 บาท มี 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และภูเก็ต
          2) ค่าจ้าง 353 บาท มี 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
          3) ค่าจ้าง 345 บาท มี 1 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา
          4) ค่าจ้าง 343 บาท มี 1 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา
          5) ค่าจ้าง 340 บาท มี 14 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี หนองคาย อุบลราชธานี พังงา กระบี่ ตราด ขอนแก่น เชียงใหม่ สุพรรณบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ลพบุรี และสระบุรี
          6) ค่าจ้าง 338 บาท มี 6 จังหวัด คือ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร สมุทรสงคราม จันทบุรี และนครนายก
          7) ค่าจ้าง 335 บาท มี 19 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี บึงกาฬ ชัยนาท นครพนม พะเยาสุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย พัทลุง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก อ่างทอง สระแก้ว บุรีรัมย์ และเพชรบุรี
          8) ค่าจ้าง 332 บาท มี 22 จังหวัด คือ อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ตรัง ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุทัยธานี ลำปาง ลำพูน ชุมพร มหาสารคาม สิงห์บุรี สตูล แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร ราชบุรี ตาก นครศรีธรรมราช ชัยภูมิ ระนอง และพิจิตร
          9) ค่าจ้าง 328 บาท มี 5 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส น่าน และอุดรธานี
          นายบุญชอบ กล่าวต่อว่า การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2565 ในครั้งนี้มีอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 337 บาท คิดเป็น 5.02 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ประชุมได้พิจารณากำหนดบนพื้นฐานของความเสมอภาค เพื่อให้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ ลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข และเพื่อเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ ทั้งนี้ เมื่อมีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2565 แล้ว คณะกรรมการค่าจ้างได้มีข้อเสนอให้รัฐบาลมีการออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในส่วนค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ เพื่อนำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะนำผลสรุปเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบโดยเร็วที่สุด เพื่อให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอย่างไร

ค่าจ้างขั้นต่ำ หรือ ค่าแรงขั้นต่ำ เป็นค่าตอบแทนต่ำสุดซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นรายชั่วโมง รายวันหรือรายเดือนตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีความหมายเหมือนกับค่าแรงต่ำสุดซึ่งลูกจ้างจะขายแรงงานของตน แม้ว่ากฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำจะมีผลใช้บังคับในหลายรัฐ ก็ยังมีความเห็นต่างในผลดีและผลเสียของค่าจ้างขั้นต่ำ ผู้สนับสนุนค่าจ้าง ...

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำถูกกำหนดโดยใคร

๔.๑ สาระสำคัญและข้อเท็จจริง ๔.๑.๑ การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งเป็นองค์กรไตรภาคีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบด้วย ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และผู้แทน ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายละ ๕ คนเท่ากัน