ความเชื่อ อินเดียก่อนพุทธกาล

ด้านการเมืองการปกครอง ดินแดนชมพูทวีปประกอบด้วยแคว้นต่างๆ ที่เรียกว่า ชนบท มีรูปแบบการปกครอง 2 ลักษณะ คือ ราชาธิปไตยและสามัคคีธรรม  
  • ด้านสังคม เป็นสังคมชนชั้น วรรณะ  ได้แก่ วรรณะพราหมณ์  กษัตริย์ แพศย์ และศูทธ ส่วนพวกนอกวรรณะคือจัณฑาล
  • การปกครองแบบราชาธิปไตย และสามัคคีธรรมมีลักษณะอย่างไร
    1. ราชาธิปไตย หรือ สมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์เป็นใหญ่  สิ่งที่เหนี่ยวรั้งอำนาจ คือ หลักธรรมของศาสนา
    2. สามัคคีธรรม  มีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาธิปไตย คือ กษัตริย์ไม่มีสิทธิ์อำนาจในการปกครองแต่เพียงผู้เดียว  การบริหารประเทศดำเนินการโดยรัฐสภา เป็นการรวมหลายรัฐเข้าด้วยกัน 
  • แนวการปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์
    1. การหมกมุ่นในความสุขทางโลก หรือกามารมณ์
    2. การบำเพ็ญตบะ
    3. การฝึกโยคะ 
  • ฐานะและความสำคัญของพระพุทธเจ้า
    1. ทรงเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์โลก และ
    2. ทรงเป็นศาสดาเอกของโลก
  • การฝึกฝนตนเองอย่างสูงสุดของพระพุทธเจ้า
    1. การบำเพ็ญบารมี 10 ดังปรากฏในทศชาติชาดก
    2. การฝึกฝนพัฒนาตนเองด้วยความอดทนและความเพียรพยายามอย่างสูงสุด เช่น
    • การไปศึกษายังสำนักดาบส
    • การบำเพ็ญทุกรกิริยา
    • การบำเพ็ญเพียรทางจิต 
  • พระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชน ดังนี้
    1. พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
    2. พระพุทธศาสนามีทฤษฏีและวิธีการปฏฺิบัติที่เป็นสากล
    3. พระพุทธศาสนามีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง 
  • พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาที่ถูกต้องอย่างไร
    1. เชื่อมั่นในความดีงามของมนุษย์
    2. เชื่อมั่นในกฏแก่งการกระทำ
    3. เชื่อมั่นในผลของการกระทำ
    4. เชือมั่นในการตรัสรูของพระพุทธเจ้า
  • ความสำคัญของปัญญา และมีกี่ประเภท
    1. ปัญญามี 2 ประเภท คือ ปัญญาทางโลก หรือโลกียปัญญา และปัญญาทางธรรม หรือโลกุตตรปัญญา
    2. ปัญญามีความสำคัญดังนี้
    • เป็นเครื่องมือหาเลี้ยงชีพ
    • เป็นแสงสว่างนำทางให้มนุษย์ได้รู้จักปลดเปลื้องความทุกข์ 
  • หลักในการสร้างปัญญา
    1. สุตมยปัญญา
    2. จินตมยปัญญา
    3. ภาวนามยปัญญา
  • พระพุทธศาสนามีทฤษฏีและวิธีการปฏิบัติที่เป็นสากลอย่างไร
    พระพุทธศาสนามีหลักการสั่งสอนที่เป็นหลักการ มีกฏเกณฑ์ชัดเจน เป็นที่ยอมรับว่าเป็นจริง เชื่อถือได้ เมื่อนำไปปฏิบัติจะได้ผลตามนั้น  เป็นคำสอนที่เป็นกลาง ไม่เจาะจงมุ่งเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นจริงนำไปใช้ได้กับผู้คนทุกยุคทุกสมัย เช่น เรื่องอริยสัจ 4 ความจริง
  • พระพุทธศาสนามีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางอย่างไร
    • ทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ การปฏิบัติตามหลักอริยมรรค ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ
  • จงเปรียบเทียบหลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์
    • วิทยาศาสตร์มีหลักการดังนี้
      • เน้นวัตถุนิยม
      • เชื่อว่าความจริงรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส 
      • ไม่รับความจริงนามธรรมว่ามี
      • มุ่งให้คนเราแสวงหาความสุขทางกาย
      • ให้ความสำคัญมูลค่า มากกว่า คุณค่า
    • พระพุทธศาสนามีหลักการดังนี้
      • เชื่อว่ามีความจริงอื่นนอกวัตถุ
      • ให้ความสำคัญแก่จิต
      • ยอมรับความจริงเรื่องนามธรรม
      • มุ่งให้คนเป็นคนดี
      • มุ่งเน้นความสงบของจิตใจ ความสุขจากการทำความดี
  • จงอธิบายวิธีคิดแบบพระพุทธศาสนา
    • พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธความคิดแบบวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นวิธีที่ถูกต้องในการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ แต่จะเน้นเชื่อมโยงไปถึงการประมวลค่า เช่น การตัดสินดีชั่ว ซึ่งวิธีคิดนี้ เรียกว่า โยนิโสมนสิการ 
  • กาลามสูตร 10 ได้แก่่อะไรบ้าง
    1. อย่าเชื่อเพราะได้ยินได้ฟังตามกันมา
    2. อย่าเชื่อเพียงการบอกต่อกันมา
    3. อย่าเชื่อเพียงเพราะข่าวที่รำลือกันมา
    4. อย่าเชื่อเพราะมีอยู่ในตำรา
    5. อย่าเชื่อเพราะตามหลักตรรกศาสตร์ 
    6. อย่าเชื่อเพียงเพราะด้วยการคาดคะเน
    7. อย่าเชื่อเพราะด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
    8. อย่าเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฏีของตน
    9. อย่าเชื่อเพราะเห็นว่าผู้พูดเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ
    10. อย่าเชื่อเพราะนับถือท่านสมณะนี้ว่าเป็นครูของเรา
  • วิธีคิดแบบปถมนสิการ คืออะไร ได้แก่อะไรบ้าง
    • เป็นการคิดพิจารณาต้องทำให้ถูกทาง คิดได้ตลอดต่อเนื่องกันเป็นลำดับ เป็นความสามารถที่จะคิดในแนวทางที่ถูกต้อง ฉุดรั้งในแนวคิดให้เข้ามาในแนวทางที่ถูกต้อง พิจารณาเหตุผล และสืบค้นได้ถึงต้นเค้า ได้แก่
      • คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
      • คิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
      • คิดแบบสามัญลักษณ์
      • คิดแบบแก้ปัญหา
      • คิดแบบพิจารณาหลักการกับความมุ่งหมาย
  • ความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย เกี่ยวข้องกับหลักธรรมใดบ้าง
    • ปฏิจจสมุปบาท คือ สิ่งทั้งหลายย่อมอาศัยซึ่งกันและกัน
    • อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ
    • องค์ประกอบของการแก้ปัญหา ได้แก่ ปัญญา กรรม และวิริยะ
  • ปฏิจจสมุปบาท คืออะไร
    • ปฏิจจสมุปบาท คือ สิ่งทั้งหลายย่อมอาศัยซึ่งกันและกัน ถ้าเป็นกฏธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบบางทีเรียกว่า อิทัปปัจจยตา ย่อมหมายถึง ความเป็นเหตุผลซึ่งกันและกัน จำแนกได้ 12 ประการ ได้แก่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
  • อริยสัจ 4 คืออะไร
    • ความจริงอันประเสริฐ ได้แก่
      • ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ใจ
      • สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
      • นิโรธ คือ สภาวะที่ทุกข์ดับ
      • มรรค คือ หนทางดับทุกข์ 
  • องค์ประกอบของการแก้ปัญหาคืออะไร
    • องค์ประกอบของการแก้ปัญหา ได้แก่ 
      • ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจว่าปัญหาที่แท้จริงคือสิ่งใด
      • กรรม คือ การลงมือกระทำ
      • วิริยะ คือ ความพากเพียร 
  • ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนาได้แก่อะไร
    • เหตุผลเป็นใหญ่ หรือธรรมาธิปไตย
    • การไม่บังคับ
    • การยินยอมพร้อมใจ
    • การรับฟังความเห็น
    • การกระจายอำนาจ
    • มติเอกฉันทฺ์
    • การตรวจสอบอำนาจ 
  • การบริหารพระพุทธศาสนามีลักษณะอย่างไร
    • พระพุทธเจ้ามอบความเป็นใหญ่ให้แก่คณะสงฆ์
    • พระพุทธเจ้าเคารพในมติของคณะสงฆ์
    • พระภิกษุต้องเข้าร่วมในกิจกรรมของคณะสงฆ์
    • พระภิกษุทุกรูปที่เข้าร่วมประชุมมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น
    • ในกรณีที่ภิกษุรูปใดจำเป็นต้องออกจากที่ประชุม จะต้องให้ฉันทะก่อน
    • การทำสังฆกรรมของพระสงฆ์ ยึดถือประโยชน์สุขส่วนรวมและความถูกต้อง
  • การศึกษาในทัศนะของพระพุทธศาสนาได้แก่อะไรบ้าง
    • การฝึกอบรมตนเองให้เจริญงอกงาม ทาง กาย ศีล จิตใจ และปัญญา
  • ขั้นตอนในการศึกษาตามแนวทางพระพุทธศาสนา
    • มี 3 ขั้น ได้แก่ ศีลสิกขา จิตสิกขา และปัญญาสิกขา 
  • อธิปไตย 3 ได้แก่อะไรบ้าง
    • อัตตาธิปไตย
    • โลกาธิปไตย
    • ธรรมาธิปไตย
  • อปริหานิยธรรม 7 ได้แก่อะไรบ้าง เป็นหลักธรรมที่เกียวข้องกับการเมืองการปกครองให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 
    • การหมั่นประชุมเป็นเนืองนิตย์
    • การพร้อมเพียงกันประชุม
    • ไม่บัญญัติสิ่งใหม่ๆ ตามอำเภอใจ
    • เคารพนับถือผู้อาวุโสและรับฟังคำแนะนำของท่าน 
    • ไม่ข่มเหงหรือล่วงเกินสตรี
    • เคารพสักการะบูชาปูชนียสถาน วัตถุ 
    • ให้ความคุ้มครองพระสงฆ์
  • สังคหวัตถุ 4 ได้แก่อะไรบ้าง
    • เป็นหลักธรรมช่วยให้สังคมมีความรักสามัคคีต่อกัน ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตา
  • สารณียธรรม 6 ได้แก่อะไรบ้าง เป็นหลักธรรมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ได้แก่
    • เมตตากายธรรม
    • เมตตาวจีกรรม
    • เมตตามโนกรรม
    • ศาธารณโภคึ
    • ศีลสามัญญตา
    • ทิฏฐิสามัญญตา
  • ทศพิธีราชธรรม 10 ได้แก่อะไรบ้าง
    • ทาน
    • ศีล
    • บริจจาคะ
    • มัททวะ
    • อาชชวะ
    • ตบะ
    • อักโกธะ
    • อวิหิงสา
    • ขันติ
    • อวิโรธนะ
  • พระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร
    1. มุ่งให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง  ปฏิบัติตามหลักมรรคองค์ 8 
    2. มุ่งให้พึ่งตนเองเป็นหลัก 
    3. ส่งเสริมให้ศึกษาหาความรู้ ใช้ปัญญาในการคิดไตร่ตรองเรื่องต่างๆ 
    4. สอนให้ไม่โลภ ตรงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีการสร้างภูมิคุ้มกันในการลงทุน 
  • พุทธจริยวัตรในการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน พระพุทธเจ้าทรงดำเนินการอย่างไร
    1. บัญญัติวินัยสงฆ์
    2. กำหนดหน้าที่ให้พุทธบริษัทนำไปปฏิบัติ เรียกว่า พุทธปณิธาน 4
    3. ชี้แนะให้ทำสังคายนาพระธรรมวินัย
    4. ทรงเตือนถึงเหตุแห่งความเจริญและเสื่อมในหลักคำสอนที่มาจาก ความเคารพในพระรัตนตรัย เคารพในการศึกษา เคารพในความไม่ประมาท

      อินเดียสมัยก่อนพุทธกาลส่วนใหญ่นับถือศาสนาใด

      บุ สังคมอินเดียก่อนพุทธกาล คือก่อนที่จะกำเนิดพุทธศาสนานั้น ชาวอินเดีย ส่วนใหญ่เคารพนับถือเทพเจ้าต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่เป็นเทพระดับสูงในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และเทพเจ้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ และอำนาจลี้ลับ ประชาชนมักจะ

      การปกครองในสมัยก่อนพระพุทธเจ้ามีการปกครองแบบใด

      ในสมัยพุทธกาลมีระบอบการปกครองอยู่ 2 ระบอบ คือ ระบอบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ที่กษัตริย์มีอำนาจสิทธิขาดแต่ผู้เดียว กับระบอบสามัคคีธรรม ซึ่งมีพลเมืองชั้นสูงที่มีอำนาจ ตำแหน่งและเงินเลือกตั้งบุคคลในชนชั้นสูงด้วยกันให้เป็นประธานที่ประชุมหรือเป็นพระราชาที่มีอำนาจจำกัด ต้องขึ้นอยู่กับสภาชนชั้นสูง ...

      อินเดียในสมัยพุทธกาลเรียกว่าอะไร

      อินเดีย ถือว่าเป็นแดนดินถิ่นกำเนิดของพระพุทธศาสนา อินเดียในสมัยพุทธกาล เรียกว่า “ชมพูทวีป” ซึ่งแปลว่า “ทวีปแห่งไม้หว้า” เพราะมีต้นหว้าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกใน ดินแดนแห่งนี้ อาณาจักรที่เรียกว่า ชมพูทวีป ซึ่งรวมเขตประเทศเนปาล อินเดีย ภูฏาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน บังคลาเทศ โดยอาณาเขตของชมพูทวีปหลายแห่งล้วนเต็มไปด้วย

      สมัยพุทธกาลของอินเดียเกิดศาสนาใด

      - ประมาณ 600-300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) - เป็นช่วงที่อินเดียถือก าเนิดศาสนาที่ส าคัญ 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธและศาสนาเชน - เกิดศาสนาพุทธที่มีรากฐานมาจากค าสอนของพระพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้า หรือ "พุทธะ = ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน“) - ศาสนาพุทธปฎิเสธการบูชาเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และค้นพบหลักสัจธรรม อริยะสัจ 4 และหาหนทางพ้น ...