ประโยชน์ของทรัพยากรแร่ธาตุ

      แร่ หมายถึงธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ มีสูตรเคมี และ คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพที่แน่นอน หรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัด เช่น ทองคำ (Au) ควอตซ์ ( SiO2 ) สติบไนต์ (Sb2S3 ) วุลแฟรไมต์ ((Fe,Mn)WO4 ) ฯลฯ

การกำเนิดของแร่

แหล่งแร่ที่มีอยู่ในธรรมชาติ มีกำเนิดขึ้นมาในหลายลักษณะดังนี้
                เกิดจากการเย็นตัวของแมกมา  เนื่องจากแมกมาหรือหินหลอมละลายเคลื่อนที่ออกมาเย็นตัวอยู่ภายในหรือนอกผิวโลก ในช่วงที่หินหนืดกำลังแข็งตัวเม็ดแร่ที่ปะปนมากับหินหลอมละลายจะค่อยๆ ตกตะกอนอย่างช้าๆเนื่องจากแร่ธาตุแต่ละชนิด มีน้ำหนักอะตอมที่ไม่เท่ากันจึงทำให้แร่ชนิดนั้นๆ ตกตะกอนรวมกันเป็นกระจุก ในบางครั้งในช่วงที่หินหนืดเริ่มเย็นตัวลง ความชื้นในหินหนืดจะถูกผลักดันให้ระเหยออกไปทำให้แร่ธาตุที่ปะปนมากับมวลหินหนืดเริ่มตกผลึกขึ้น และแทรกซอนอยู่ในชั้นหินในรูปของสายแร่ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป เช่น สินแร่เพ็กมาไตต์ประกอบด้วยแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด เช่น แร่เขี้ยวหนุมาน แร่ฟันม้า ไมก้า โคลัมเมี่ยม  และแทนทาลัมแทรกตัวอยู่ในชั้นหิน
                เกิดจากการละลายน้ำร้อนหรือแก๊สร้อน น้ำที่มีอุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิปกติของน้ำจะสามารถละลายแร่ธาตุได้หลายชนิด แร่ธาตุที่ละลายได้จะปะปนมากับน้ำร้อนนั้น ด้วยความดันภายใต้เปลือกโลกทำให้น้ำร้อนที่มีแร่ธาตุละลายอยู่ไหลซึมแพร่กระจายออกมาตามรอยแตกหรือช่องว่างระหว่างหินหรือชั้นหิน หลังจากนั้นระเหยออกไปหมดแล้วสินแร่เหล่านั้นจะแข็งตัวอยู่ในชั้นหินและกลายเป็น "สายแร่" หรือ "ทางแร่" ต่อไป เช่นสินแร่ทองแดง
                เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำร้อน แรงดันภายใต้ผิวโลกสามารถผลักดันให้มวลของหินหนืดหรือน้ำที่ร้อนที่มีอยู่ในเปลือกโลกออกมานอกผิวโลก ก๊าซหรือแร่ธาตุที่ละลายอยู่เดิมจะออกมาด้วยเมื่อไอของน้ำร้อนระเหยออกไปจะเหลือส่วนของแร่ธาตุบางชนิดไว้  เช่น  การเกิดแร่กำมะถัน ใกล้ปล่องภูเขาไฟ
                เกิดจากการทำปฏิกิริยาเคมีของแร่ที่มีอยู่เดิม แหล่งแร่ชนิดนี้อาจเกิดจากการเย็นตัวลงของแมกมา หรือเกิดจากสารละลายน้ำร้อนก็ตามเมื่อเย็นตัวลงกลายเป็นแหล่งแร่ นานเข้าเมื่อน้ำฝนที่ตกลงมาซึ่งมีสภาพเป็นกรดอ่อนได้ไหลซึมลงไปใต้ดินเกิดกระบวนการ "ออกซิเดชัน" หรือปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนขึ้นในชั้นหินที่อยู่รอยต่อระหว่างระดับน้ำบาดาล และชั้นอากาศที่แทรกอยู่ในหินทำให้แร่เดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นสินแร่ออกไซด์ขึ้น เช่น ออกไซด์ของสังกะสี ทองแดง เหล็ก เงิน และทองคำ ในบริเวณที่ใต้ผิวโลกมีการผุพังทางเคมีของชั้นหิน แร่ดั้งเดิมก็จะเลื่อนตัวลงสู่บริเวณชั้นล่างของมวลหิน ซึ่งแร่พวกนี้เป็นแร่ที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ เช่น แร่เงิน ทองคำ ตะกั่วที่แทรกซอนกระจัดกระจายอยู่ในชั้นหินแร่โมไนต์ผุพังมาจากแร่ที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ

 

ประเภทของแร่ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

  • แร่ประกอบหิน (Rock Forming Minerals)
  • แร่เศรษฐกิจ (Economic Minerals)  

ประโยชน์แร่       

1. ประโยชน์ทางด้านความมั่นคง และมั่งคั่งของประเทศ ประเทศที่มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากมายและสามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นผลผลิตต่าง ๆ ที่ทำประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ด้านอาวุธ ด้านอุตสาหกรรม

2. ประโยชน์ด้านความเป็นอยู่ของมนุษย์นำแร่ธาตุต่าง ๆ มาสร้างขึ้นเป็นภาชนะใช้สอยพาหนะที่ช่วยในการคมนาคม อาคารบ้านเรือน ก๊าซหุงต้ม พลังงานไฟฟ้า

3. ประโยชน์ด้านการสร้างงานแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการขุดแร่ ไปจนถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้บริโภค

     นอกจากนี้ แร่ธาตุชนิดต่าง ๆ มีคุณสมบัติลักษณะต่างกัน จึงมีประโยชน์แตกต่างกัน เช่น แร่วุลแฟรม นำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้ว แร่พลวงนำมาใช้ทำตัวพิมพ์หนังสือ ทำสี แบตเตอรี่ รัตนชาติ เป็นแร่ที่มีลักษณะสีสันสวยงาม นำมาใช้ทำเครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย

ปัญหาทรัพยากรแร่

1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ทำเหมืองแร่แล้วทำให้สภาพดินไม่อุดมสมบูรณ์ สกปรกพื้นที่ขรุขระมีหลุมบ่อมากมายจึงถูกปล่อยทิ้งใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่

2. ปัญหาการใช้แร่ธาตุบางประเภทเป็นจำนวนมาก เช่น แร่เหล็กถูกนำมาใช้มากและแพร่หลายที่สุด ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม ดีบุก ฯลฯ

3. ปัญหาการใช้แร่ไม่คุ้มค่า ได้แก่ พวกแร่ที่ใช้แล้วยังเหลืออยู่ ยังสามารถนำกลับไปใช้อีก เช่น เหล็ก ส่วนแร่ที่นำไปใช้แล้วหมดไป เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ เราจึงต้องใช้อย่างคุ้มค่า และประหยัด

การอนุรักษ์แร่

     ในปัจจุบันซึ่งกำลังประสบปัญหาหากไม่มีการป้องกันแก้ไข ดังนั้นการอนุรักษ์แร่ธาตุจึงเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยได้ดังต่อไปนี้

1. การใช้แร่ธาตุอย่างประหยัด ในการทำเหมืองแร่บางอย่างนั้นบางทีทรัพยากรแร่ธาตุที่ได้มาอาจมีหลายชนิด ดังนั้นจึงควรจะพยายามใช้ให้คุ้มค่าทุกชนิด อย่างประหยัดและลดการสูญเปล่า

2. การสำรวจแหล่งแร่ ควรมีการเร่งรัดการสำรวจทรัพยากรแร่ธาตุให้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

3. การใช้แร่ชนิดอื่นทดแทน พยายามหาแร่ธาตุอื่น ๆ มาใช้ทดแทนแร่ที่ใช้กันมาก อาทิการใช้อลูมิเนียมแทนเหล็ก

4. นำแร่ที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีก เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ควรมีการนำแร่ที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีก อาทิ ภาชนะเครื่องใช้ที่เป็นอลูมิเนียมบางอย่างที่หมดสภาพการใช้แล้วสามารถนำกลับมาหลอมใช้ใหม่ได้อีก

ตัวอย่างทรัพยากรแร่

http://www.dmr.go.th/images/Barite.jpg

http://www.dmr.go.th/images/FuOrite1.jpg

http://www.dmr.go.th/images/Debook.jpg

http://www.dmr.go.th/images/quart.jpg

แหล่งที่มา : รวบรวมจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subraae/raae.htm                                                                      กรมทรัพยากรธรณี http://www.dmr.go.th/n_more_news.php?filename=min7

แร่ธาตุนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

แร่ธาตุเป็นสารอาหารที่จำเป็น และช่วยเสริมสร้างกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นในแต่ละวันร่างกายจะต้องได้รับแร่ธาตุแต่ละชนิดในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ แมกนีเซียม ช่วยควบคุมสมดุลแคลเชียมในกระดูกและเลือด รวมถึงการทำงานของระบบประสาท เหล็ก ส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือด สังกะสี เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ประโยชน์ของทรัพยากรมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของทรัพยากร ๑. ดินมีความสาคัญต่อการดารงชีวิตของคน สัตว์และพืชเพราะเป็นแหล่งเพาะปลูก ๒. น้า เป็นปัจจัยสาคัญในการทาการเกษตร ๓. อากาศ เป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง หากไม่มีอากาศ สิ่งมีชีวิตคงอยู่ไม่ได้ ๔. ป่าไม้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

แร่ธาตุเป็นทรัพยากรธรรมชาติแบบใด

ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วสิ้นเปลือง เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้หรือไม่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือถ้าทำได้ก็กินเวลานานนับพันนับหมื่นปีทรัพยากรเหล่านี้ ได้แก่ แร่ธาตุ (รวมทั้งน้ำมันถ่านหิน) และทิวทัศน์ที่สวยงาม

ทรัพยากรแร่และเชื้อเพลิงที่สำคัญมีอะไรบ้าง

3. แร่พลังงาน หรือแร่เชื้อเพลิงเป็นแร่ที่สำคัญถูกนำมาใช้มากเกิดจากซากสิ่งมีชีวิตในอดีต ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ