Big data มีปริมาณข้อมูลเริ่มต้นตั้งแต่ 1 terabyte เทียบเท่ากับกี่ gigabyte

การวัดขนาดข้อมูลหรือหน่วยวัดความจำ

                                                 8 BIT (บิต)         = 1 Byte (ไบต์)               = 1 ตัวอักษร

                                           1,024 B             = 1 KB (กิโลไบต์)             = 1,024 ตัวอักษร

                                           1,024 KB          = 1 MB (เมกะไบต์)          = 1,048,576 ตัวอักษร

                                           1,024 MB         = 1 GB (กิกะไบต์)            = 1,073,741,824 ตัวอักษร

                                           1,024 GB         = 1 TB (เทระไบต์)           = 1,099,511,627 ตัวอักษร

หน่วยข้อมูล

    กิโลไบต์ (Kilobyte) ใช้ตัวย่อว่า KB มีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ (210 ไบต์) เช่น ถ้าพูดว่า คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำ 64 กิโลไบต์ หมายความว่า มีเนื้อที่ในหน่วยความจำ 65,536 ไบต์ สามารถเก็บตัวอักขระได้ 65,536 ตัวอักขระ

    จิกะไบต์ (Gigabyte) หรือ จิกะไบต์ ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์

  จิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ

     1 GB = 1,000,000,000 ไบต์ (หนึ่งพันล้านไบต์) ใช้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และในวิศวกรรมสื่อสาร

     1 GB = 1,073,741,824 ไบต์ ซึ่งเท่ากับ 10243 หรือ 230 ไบต์ มีใช้ในระบบปฏิบัติการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์

      เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างสองความหมายข้างต้น หน่วยงานมาตรฐาน IEC แนะนำให้เรียกปริมาณ 1,073,741,824 ไบต์เป็นชื่อใหม่ว่า จิบิไบต์ หรือ กิบิไบต์ (gibibyte) และใช้ตัวย่อว่า GiB แทน ในขณะที่ปริมาณ 1,000,000,000 ไบต์ยังคงใช้ จิกะไบต์ตามเดิม

  การใช้งานทั่วไป

     ฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบันมักระบุความจุในหน่วยจิกะไบต์ ความจุที่แท้จริงอาจสูงหรือต่ำกว่าที่ระบุเล็กน้อย หน่วยความจุจิกะไบต์ที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ใช้ คือ 1,000,000,000 ไบต์ ในขณะที่ระบบปฏิบัติการหลายตัวแสดงค่าความจุของดิสก์โดยใช้ค่า 1,073,741,824 ไบต์ ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้

     อ้างอิงจากปี พ.ศ. 2548 ราคาต่อหน่วยความจุของฮาร์ดดิสก์ อยู่ที่ระหว่าง 25 ถึง 50 บาท ต่อ จิกะไบต์ โดยประมาณ

     คำว่า จิกะไบต์ หรือ จิกะไบต์ มักพูดย่อ ๆ ว่า จิ๊ก หรือ กิ๊ก

     หน่วย จิกะบิต หรือ จิกะบิต มีค่าเท่ากับ 1/8 ของจิกะไบต์ เป็นหน่วยหนึ่งที่ใช้ในการระบุความเร็วการส่งของระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

     รหัสยูนิโคดมีตัวอักษรพิเศษสำหรับจิกะไบต์ (㎇) ใช้รหัส ㎇ เว็บเบราว์เซอร์บางตัวอาจไม่สามารถแสดงตัวอักษรนี้ได้

      บิต (Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล และทฤษฎีข้อมูล

  ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ

     0 (ปิด)

     1 (เปิด)

      เคลาด์ อี แชนนอน (Claude E. Shannon) เริ่มใช้คำว่า บิต ในงานเขียนของเขาในปี พ.ศ. 2491 โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit) แชนนอนได้กล่าวถึงที่มาของคำนี้ว่ามาจาก จอห์น ดับบลิว ทูคีย์ (John W. Tukey)

      ไบต์ (Byte) เป็นกลุ่มของบิต ซึ่งเดิมมีได้หลายขนาด แต่ปัจจุบันมักเท่ากับ 8 บิต ไบต์ขนาด 8 บิต มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ออกเท็ต (octet) สามารถเก็บค่าได้ 256 ค่า (28 ค่า, 0 ถึง 255) ส่วนปริมาณ 4 บิต เรียกว่านิบเบิล (nibble) สามารถแทนค่าได้ 16 ค่า (24 ค่า, 0 ถึง 15)

      เวิร์ด (word) เป็นคำที่ใช้เรียกจำนวนบิตที่มากขึ้น แต่ก็ไม่มีขนาดเป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม IA-32 จำนวน 16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ด ในขณะที่ 32 บิตเรียกว่า ดับเบิลเวิร์ด (double word) หรือ dword ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่น ๆ หนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต, 64 บิต หรือค่าอื่น ๆ

      ในระบบโทรคมนาคม หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการส่งนิยมใช้หน่วยในรูปของ บิตต่อวินาที (bps - bits per second)

      บิตเป็นหน่วยวัดข้อมูลเล็กที่สุดที่ใช้กันทั่วไป แต่ในขณะนี้มีการวิจัยกันในเรื่องการคำนวณทางควอนตัม (quantum computing) ซึ่งใช้หน่วยวัดข้อมูลเป็น คิวบิต (qubit) (quantum bit)

  หน่วยนับ

     1 กิโลบิต(Kb) = 1000 บิต หรือ 1024 บิต

     1 เมกะบิต(Mb) = 1000 กิโลบิต หรือ 1024 กิโลบิต

     1 จิกะบิต(Gb) = 1000 เมกะบิต หรือ 1024 เมกะบิต

     1 เทราบิต(Tb) = 1000 จิกะบิต หรือ 1024 จิกะบิต

      ไบต์ (Byte) หมายถึง เนื้อที่ที่คอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมูล 1 ตัวอักษรตามรหัสแอสกี (เช่น A, B, C, ก, ข, ค, ง ฯลฯ) หรือจำนวนเต็ม 1 จำนวน (-128 ถึง 127 เมื่อคิดเครื่องหมาย หรือ 0 ถึง 255 เมื่อไม่คิดเครื่องหมาย) โดยปกติแล้ว 1 ไบต์จะประกอบด้วยข้อมูลเลขฐานสองจำนวน 8 บิต และใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำหรือสื่อบันทึกข้อมูลว่า สามารถเก็บข้อมูลได้กี่ตัวอักษร

      ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น นิยมวัดเป็นกิโลไบต์ (Kilobyte) เมกะไบต์ (Megabyte) จิกะไบต์ (Gigabyte) และเทระไบต์ (Terabyte) ซึ่งแต่ละหน่วยวัดมีค่าตัวคูณต่างกัน 1,024 หรือ 210 หน่วย แต่มนุษย์จะประมาณค่าตัวคูณไว้ที่ 1,000 หน่วยเพื่อความสะดวกในการคำนวณ หน่วยวัดแต่ละหน่วยสามารถสรุปได้ดังนี้

     1 กิโลไบต์ = 1,024 ไบต์

     1 เมกะไบต์ = 1,048,576 ไบต์ หรือ 1,024 กิโลไบต์

     1 จิกะไบต์ = 1,073,741,824 ไบต์ หรือ 1,024 เมกะไบต์

     1 เทระไบต์ = 1,099,511,627,776 ไบต์ หรือ 1,024 จิกะไบต์

      นอกจากนี้ยังมี เพตะไบต์ (Petabyte) เอกซะไบต์ (Exabyte) เซตตะไบต์ (Zettabyte) และยอตตะไบต์ (Yottabyte) ซึ่งมีค่าตัวคูณ 1,024 หน่วยถัดจากเทระไบต์เป็นต้นไป แต่ยังไม่มีสื่อบันทึกข้อมูลใดสามารถเก็บข้อมูลได้มากขนาดนั้นในปัจจุบัน

       ปัจจุบันนี้ เพื่อลดความสับสนระหว่างค่าตัวคูณ 1,024 (210) หน่วยและ 1,000 (103) หน่วย ทาง SI จึงได้มีหน่วยสำหรับฐาน 2 แยกออกมา เช่นจากกิโลไบต์ เป็น กิบิไบต์แทน

เมกะไบต์ (Megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ(storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg

      เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอในการใช้อุปสรรคฐานสองในการนิยามและการใช้งาน ฉะนั้น ค่าแม่นตรงของกิโลไบต์ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปอาจเป็นค่าใดค่าหนึ่งจากค่าดังต่อไปนี้:

      1,000,000 ไบต์ (10002, 106) : นิยามนี้นิยมใช้ใช้ในบริบทของระบบข่ายงานและการระบุความจุของฮาร์ดแวร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ และดีวีดี นิยามนี้สอดคล้องกับการใช้อุปสรรค (คำนำหน้าหน่วย) ในหน่วยเอสไอ ตลอดจนการใช้อุปสรรคในวงการคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป

       1,024,000 ไบต์ (1,024×1,000) : นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยเก็บบางชนิด ที่รู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ แผ่นฟลอปปีดิสก์ชนิดความหนาแน่นสูง ความจุ "1.44 MB" (1,474,560 ไบต์) ขนาด "3.5 นิ้ว" (อันที่จริงคือ 90 mm)

       1,048,576 ไบต์ (10242, 220) : นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยความจำแทบทุกชนิดในคอมพิวเตอร์ (เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ การผลิตหน่วยความจำหลักนั้นจะเพิ่มความจุเป็นสองเท่าได้ง่ายที่สุด) และแผ่นซีดี ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ใช้นิยามนี้ในการแสดงความจุของหน่วยเก็บ ปริมาณตามนิยามนี้มีค่าเท่ากับหนึ่งเมบิไบต์

  เมกะไบต์ในการใช้งานจริง

      นับถึง พ.ศ. 2548 ความจุของแรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะวัดเป็นเมกะไบต์

      หลักช่วยประมาณ : ความจุหนึ่งเมกะไบต์เก็บตำราได้ราวหนึ่งเล่ม, หรือรูปภาพขนาดเล็กหนึ่งร้อยรูป, หรือดนตรีซึ่งเข้ารหัสแล้วความยาวประมาณหนึ่งนาที ภาพถ่ายดิจิทัลที่ได้จากกล้องดิจิทัลทั่ว ๆ ไป อาจมีขนาดอยู่ระหว่าง 1–4 เมกะไบต์ ขึ้นกับความละเอียดของภาพและอัตราการบีบอัดข้อมูลที่ใช้

  ความสับสนที่เกิดแก่ผู้บริโภค

      หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ถูกอ้างตำแหน่งแบบฐานสอง อันเนื่องมาจากการออกแบบ ดังนั้นขนาดของหน่วยความจำจะเป็นพหุคูณของ 2 เสมอ จึงเป็นการสะดวกที่จะวัดขนาดความจุเป็นหน่วยไบนารี ส่วนการวัดขนาดความจุอื่นๆ เช่นหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่ในรูปฮาร์ดแวร์, อัตราการส่งข้อมูล, ความเร็วสัญญาณนาฬิกา, จำนวนโอเปอเรชั่นต่อวินาที, และอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานเลข จะใช้หน่วยวัดเป็นหน่วยเลขฐานสิบ ผู้บริโภคที่ไม่ทราบเรื่องความหมายที่แตกต่างกันของคำย่อเหล่านี้ จะรู้สึกว่าขนาดความจุที่เห็นจริงนั้น น้อยกว่าขนาดที่ผู้ผลิตบอกไว้ และบอกว่าโรงงานผลิตไดรวฟ์และอุปกรณ์ส่งถ่ายข้อมูล จงใจเลือกใช้เลขฐานสิบเพื่อทำให้ตัวเลขดูมากกว่าความเป็นจริง แม้ว่าการวัดความจุแบบนี้จะเป็นปกติวิสัยในสถานการณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์

       ยอตตะไบต์ (Yottabyte) หรือ ยอตตาไบต์ ใช้ตัวย่อว่า YB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์

  เอกซะไบต์ มีขนาดอ้างอิงคร่าวๆ คือ

        1 YB = 1,000,000,000,000,000,000,000,000 ไบต์ (หนึ่งล้านล้านล้านล้านไบต์) ใช้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และในวิศวกรรมสื่อสาร 

        หรือเทียบเท่าได้กับ 1,024 ZB = 1 YB

      เวิร์ด (Word) หมายถึง เนื้อที่ที่คอมพิวเตอร์จัด​ไว้​สำ​หรับเก็บข้อมูล ไม่น้อยกว่า 1ตัวอักษรตามรหัสแอสกี หรือไม่น้อยกว่า 8 บิต ขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ที่เข้ากันได้กับสถาปัตยกรรมของไอบีเอ็ม (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) 1 เวิร์ดจะมีขนาด 16 บิต (2 ไบต์)

   เวิร์ดมีประโยชน์ในการช่วยการประมวลผลของซีพียู โดยใช้เป็นขนาดชุดคำสั่งของการนำเข้าสู่ซีพียู (fetch) และการอ้างอิงตำแหน่งในหน่วยความจำ

      บางครั้งเราอาจเห็นหน่วย สองเวิร์ด (Dword - Double word) และ สี่เวิร์ด (Qword - Quadruple word) ซึ่งมีขนาดเป็นสองเท่าและสี่เท่าของเวิร์ด ตามลำดับ ในการเขียนโปรแกรมบางภาษา เช่น ภาษาแอสเซมบลี ภาษาซี เป็นต้น

       เซตตะไบต์ (Zettabyte) หรือ เซตตาไบต์ ใช้ตัวย่อว่า ZB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์

  เอกซะไบต์ มีขนาดอ้างอิงคร่าวๆ คือ

     1 ZB = 1,000,000,000,000,000,000,000 ไบต์ (หนึ่งพันล้านล้านล้านไบต์) ใช้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และในวิศวกรรมสื่อสาร

     หรือเทียบเท่าได้กับ 1,024 EB = 1 ZB

konphuthaiThu Dec 15 2011 13:26:41 GMT+0700 (ICT)

เทระไบต์ (Terabyte) หรือ เทราไบต์ ใช้ตัวย่อว่า TB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์

  เทระไบต์ มีขนาดอ้างอิงคร่าวๆ คือ

     1TB = 1,000,000,000,000 ไบต์ (หนึ่งล้านล้านไบต์) ใช้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และในวิศวกรรมสื่อสาร

     หรือเทียบเท่าได้กับ 1,024 GB = 1 TB

      เพตะไบต์ (Petabyte) หรือ เพตาไบต์ หรือ พีตะไบต์ ใช้ตัวย่อว่า PB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์

  เพตะไบต์ มีขนาดอ้างอิงคร่าวๆ คือ

 1 PB = 1,000,000,000,000,000 ไบต์ (หนึ่งพันล้านล้านไบต์) ใช้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และในวิศวกรรมสื่อสาร

     หรือเทียบเท่าได้กับ 1,024 TB = 1 PB

      เอกซะไบต์ (Exabyte) หรือ เอกซาไบต์ ใช้ตัวย่อว่า EB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์

  เอกซะไบต์ มีขนาดอ้างอิงคร่าวๆ คือ

     1 EB = 1,000,000,000,000,000,000 ไบต์ (หนึ่งล้านล้านล้านไบต์) ใช้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และในวิศวกรรมสื่อสาร

     หรือเทียบเท่าได้กับ 1,024 PB = 1 EB