บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า คำอ่าน

พระราชพิธีฉัตรมงคล (๒) (๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓)

     พระราชพิธีฉัตรมงคล (๒)

          ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒ คราว คือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเฉลิมพระราชมณเฑียร วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔  พระราชพิธีฉัตรมงคลส่วนใหญ่จัดในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พร้อมกับการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ยกเว้นบางปีที่โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนงานพระราชพิธีฉัตรมงคลทำพร้อมกับงานเฉลิมพระชนมพรรษาในวันที่ ๓๑ ธันวาคม และยังโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน หรืออุทิศส่วนพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชด้วยอีกส่วนหนึ่ง

          พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ การพระราชพิธีฉัตรมงคลจัดในวันดังกล่าว แต่การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้านั้นส่วนใหญ่พระราชทานในวันเฉลิมพระชนมพรรษา คือวันที่ ๘ พฤศจิกายน  ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ไม่มีการจัดพระราชพิธีฉัตรมงคล เนื่องจากไม่มีการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ส่วนการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้านั้น ทำในวันเฉลิมพระชนมพรรษา คือวันที่ ๒๐ กันยายน

          ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ และจัดงานพระราชพิธีฉัตรมงคลในวันที่ ๕ พฤษภาคมของทุกปี และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าด้วย เรียกรวมว่า “พระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล” มีการประกอบพระราชพิธีในวันที่ ๓–๕ พฤษภาคม รวม ๓ วัน และโปรดเกล้าฯ ให้เปิดปราสาทพระเทพบิดรเพื่อให้ประชาชนเข้าถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชได้เป็นกรณีพิเศษด้วย.

ปิยรัตน์  อินทร์อ่อน

บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า คำอ่าน

    บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า คำอ่าน
     คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 
    บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า คำอ่าน

    ทักษิโณทก

    บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า คำอ่าน

    ทักษิโณทก

    ทักษิโณทก คือ น้ำสำหรับกรวด กริยาราชาศัพท์ที่หมายถึง กรวดน้ำ คือ “ทรงหลั่งทักษิโณทก” พระเต้าที่ใช้กรวดน้ำเรียกว่า “พระเต้าทักษิโณทก”

    การหลั่งทักษิโณทกปรากฏในการบำเพ็ญพระราชกุศล เช่น การบำเพ็ญพระราชกุศลทรงพระราชอุทิศถวายแด่สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราช [สม-เด็ด-พฺระ-บุ-ระ-พะ-มะ-หา-กะ-สัด-ตฺริ-ยา-ทิ-ราด]
    หรือสมเด็จพระบรมราชบุพการี [สม-เด็ด-พฺระ-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-บุบ-พะ-กา-รี] นอกจากนี้ ยังพบการหลั่งทักษิโณทกในโอกาสสำคัญ
    เช่น เมื่อคราวสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ เป็นสัญลักษณ์แสดงคำมั่นและประกาศแก่พระแม่ธรณีให้เป็นพยานรับรู้

    ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก หลังจากมีพระบรมราชโองการเป็นปฐมและพระมหาราชครูพราหมณ์รับสนองพระบรมราชโองการแล้ว
    พระมหากษัตริย์จะทรงหลั่งทักษิโณทกขณะทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า จะทรงยึดมั่นในพระปฐมบรมราชโองการนั้น

    อนึ่ง คำว่า ทักษิโณทก นี้ ในเอกสารโบราณมักใช้ว่า สิโตทก

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    จำนวนการเข้าชม 7,241 ครั้ง  

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช และเสด็จออกมหาสมาคม พ.ศ. 2549

    บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า คำอ่าน
    วันที่9 มิถุนายน พ.ศ. 2549
    สถานที่พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต
    ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

    พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช และเสด็จออกมหาสมาคม เป็นส่วนหนึ่ง ใน พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต โดยมีพิธีการดังต่อไปนี้

    พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช[แก้]

    เวลา 10.19 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนิน โดยรถยนต์พระที่นั่ง จาก พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปยัง พระที่นั่งอนันตสมาคม จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พลับพลาพิธี

    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการ บูชา พระพุทธปฏิมา ปางประจำรัชกาล สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช เสร็จแล้ว

    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงประเคนพัดรองที่ระลึก พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช แด่สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ 10 รูป แล้วประทับ พระราชอาสน์ ทรงศีล สมเด็จพระราชาคณะถวายศีล จบแล้ว

    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนิน ไปยังพระที่นั่งชุมสาย ที่ตั้งเครื่องบวงสรวง บริเวณด้านหน้าพลับพลาพิธี ทรงแปรพระพักตร์สู่ปราสาทพระเทพบิดร และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดเทียนทองเทียนเงินและธูป ที่โต๊ะเครื่องราชสักการะ บวงสรวง สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช แล้วทรงจุดธูปหางปักที่เครื่องบวงสรวงสังเวย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ พนักงานภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ ชาวพนักงานประโคมแตร ดุริยางค์

    บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า คำอ่าน

    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประทับพระราชอาสน์ที่มุขหน้าพลับพลาพิธี

    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประทับพระราชอาสน์ ที่มุขหน้าพลับพลาพิธี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์ อ่านประกาศบวงสรวง ในขณะนั้น ผู้ที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททุกหมู่เหล่า ยืนประนมมือ แสดงคารวะบูชา ผินหน้าไปทาง พระที่นั่งชุมสาย เมื่อพระราชครูวามเทพมุนี อ่านประกาศบวงสรวงจบแล้ว โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ พนักงานภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ ชาวพนักงานประโคมแตร ดุริยางค์ จบแล้ว

    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงประเคน จตุปัจจัยไทยธรรม แด่ สมเด็จพระราชาคณะ และ พระราชาคณะ เสร็จแล้ว ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายพระพรชัยมงคลคาถาพิเศษ ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เสร็จแล้ว พระสงฆ์ออกไปรับพระราชทานฉัน ที่ ตำหนักสวนบัว ภายในพระราชวังดุสิต

    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนิน ขึ้นยัง ท้องพระโรง พระที่นั่งอนันตสมาคม

    การเสด็จออกมหาสมาคม[แก้]

    บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า คำอ่าน

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกมหาสมาคมรับการถวายพระพรจากประชาชนชาวไทย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต เนื่องในการพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549

    ต่อมา เวลาประมาณ 11.00 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ออกยัง ท้องพระโรง พระที่นั่งอนันตสมาคม

    พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี แก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง อาสา สารสิน ราชเลขาธิการ สมาชิกราชสกุล และ สตรีผู้มีบรรดาศักดิ์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในห้องพระโรง หน้าพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงยืน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ที่แท่นหน้าสีหบัญชร พร้อมแล้ว

    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกสีหบัญชร มุขด้านทิศใต้ ชาวพนักงาน กระทั่งมโหระทึก ประโคมแตรฝรั่ง ทหารกองเกียรติยศ 3 เหล่าทัพ ถวายความเคารพ แตรวงบรรเลง เพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ฝ่ายละ 21 นัด พระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้องกลองระฆัง พร้อมกับ การประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นๆ

    ครั้นสุดเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีแล้ว พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเปิดกรวยกระทงดอกไม้ ธูปเทียนแพ แล้วกราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคล แทนพระบรมวงศานุวงศ์ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ ท้องพระโรง พระที่นั่งอนันตสมาคม

    จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี(ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) เปิดกรวยกระทงดอกไม้ ธูปเทียนแพ แล้วกราบบังคมทูลพระกรุณา ถวายพระพรชัยมงคล แทนคณะรัฐมนตรี ข้าราชการ ทหาร-พลเรือน และราษฎรทุกหมู่เหล่า

    นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา (ในขณะนั้น)เปิดกรวยกระทงดอกไม้ ธูปเทียนแพ แล้วกราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคลแทนสมาชิกรัฐสภา

    นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา (ในขณะนั้น) เปิดกรวยกระทงดอกไม้ ธูปเทียนแพ แล้วกราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคลแทนข้าราชการตุลาการ

    จบแล้ว ทหารกองเกียรติยศ 3 เหล่าทัพ ถวายความเคารพ แตรวงบรรเลง เพลงสรรเสริญพระบารมี

    พระราชดำรัสในการเสด็จออกมหาสมาคม[แก้]

    จากนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำรัสตอบ มีใจความว่า

    ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาอยู่ในท่ามกลางมหาสมาคม พร้อมพรั่งด้วยบุคคลจากทุกสถาบันในชาติ ตลอดจนประชาชนชาวไทย ขอขอบใจในคำอำนวยพรและการเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ ที่ทุกคนตั้งใจจัดให้ข้าพเจ้าเป็นพิเศษ ทั้งรัฐบาลได้จัดงานครั้งนี้ได้เรียบร้อยและงดงาม

    น้ำใจไมตรีของประชาชนชาวไทยที่ร่วมกันแสดงออกทั่วประเทศ รวมทั้งที่พร้อมเพรียงกันมาในวันนี้ น่าปลาบปลื้มใจมาก เพราะแต่ละคนได้แสดงออกและตั้งใจมาด้วยความหวังดีจากใจจริง จึงขอขอบใจทุก ๆ คน

    จิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดี และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทุกคน ทุกฝ่าย ทำให้ข้าพเจ้าเห็นแล้วมีกำลังใจมากขึ้น นึกถึงคุณธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของความรัก ความสามัคคี ที่ทำให้คนไทยเราสามารถร่วมมือร่วมใจกันรักษาและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันไปได้ตลอดรอดฝั่ง

    ประการแรก คือ การที่ทุกคนคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน

    ประการที่สอง คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และ แก่ประเทศชาติ

    ประการที่สาม คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน

    ประการที่สี่ คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำความคิด ความเห็นของตนให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และมั่นคงอยู่ในเหตุในผล

    หากความคิด จิตใจ และการประพฤติปฏิบัติที่ลงรอยเดียวกันในทางที่ดี ที่เจริญนี้ ยังมีพร้อมมูลในกาย ในใจของคนไทย ก็มั่นใจได้ว่า ประเทศชาติไทยจะดำรงมั่นคงอยู่ตลอดไปได้

    จึงขอให้ท่านทั้งหลายในมหาสมาคมนี้ ทั้งประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ได้รักษาจิตใจและคุณธรรมนี้ไว้ให้เหนียวแน่น และถ่ายทอดความคิด จิตใจนี้กันต่อไปอย่าให้ขาดสาย เพื่อให้ประเทศชาติของเราดำรงยืนยงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ทั้งในปัจจุบันและในภายหน้า

    ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากล จงคุ้มครองรักษาประเทศชาติไทย ให้ปลอดพ้นจากภัยอันตรายทุกสิ่ง และอำนวยความสุข ความเจริญ สวัสดี ให้เกิดมีแก่ประชาชนชาวไทยทั่วกัน

    — พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

    พสกนิกรกล่าวถวายพระพร[แก้]

    เมื่อทรงมีพระราชดำรัสตอบจบแล้ว ชาวพนักงาน กระทั่งมโหระทึก ประโคมแตรฝรั่ง ทหารกองเกียรติยศ 3 เหล่าทัพ ถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี

    พสกนิกรที่เนืองแน่นลานพระราชวังดุสิต ตลอดไปจนถึงถนนราชดำเนินนอก ต่างร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอย่างกึกก้อง

    เมื่อสิ้นสุดเสียง เพลงสรรเสริญพระบารมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น)นำประชาชนกล่าวถวายพระพร “ทรงพระเจริญ” สามครั้ง เป็นระยะๆ สามรอบ รวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง

    ระหว่างนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จออกทรงประทับเคียงคู่ และได้ทรงโบกพระหัตถ์ให้พสกนิกร ทำให้ทุกคนปลื้มปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง

    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงประทับ ณ สีหบัญชร สักครู่ แล้วจึงเสด็จกลับเข้าไปในท้องพระโรง พระที่นั่งอนันตสมาคม จากนั้นจึงเสด็จฯ กลับพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต[1]

    อ้างอิง[แก้]

    1. ทรงพระเจริญ, หนังสือประมวลภาพพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดย กองบรรณาธิการผู้จัดการ สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ (พ.ศ. 2549) ISBN 9789749447994