ตัวอย่างธุรกิจในยุคดิจิทัล

Digital Business Model โมเดลการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล!

เมื่อต้องเผชิญกับ Digital Disruption ควบคู่กับการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ทำให้ธุรกิจดำเนินการต่างไปจากเดิม จึงทำให้เกิดโมเดลที่เรียกว่า Digital Business Model คือการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจโดยการใช้ดิจิทัลเข้ามาเสริมเพื่อรับมือกับคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่าธุรกิจปัจจุบันนี้จะทำควบคู่กับแพลตฟอร์มออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียหรือการใช้ E-Commerce เป็นตัวช่วยในการขายที่ทำให้สะดวกสบายมากขึ้นสำหรับลูกค้า และยังสามารถ Record data โดยการจดจำพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อนำไปคาดการณ์ยอดขายในอนาคต​ (Sales forecast) อีกทั้งยังพัฒนาแพลตฟอร์มให้ใช้งานง่าย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย

ตัวอย่างธุรกิจในยุคดิจิทัล

Digital Business Model แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

1. Freemium
การที่แพลตฟอร์มเปิดให้ใช้บริการโดยมีเงื่อนไขบางประการ อย่างเช่น มีข้อจำกัดในการใช้ฟังก์ชันในแอปพลิเคชัน โดยสามารถซื้อบริการเสริมหากต้องการใช้ฟังก์ชันนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น Youtube โดยปกติแล้วผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มได้ฟรี แต่หากต้องการข้ามโฆษณาก็สามารถจ่ายเพิ่มเพื่ออัพเกรดเป็นพรีเมียมได้เช่นกัน

2. Subscription
ระบบสมัครสมาชิกที่มาแทนการซื้อขาย นั่นหมายความว่าหากเราต้องการเข้าถึงแพลตฟอร์มนั้น ๆ จะต้องสมัครสมาชิกเสียก่อน ตัวอย่างเช่น Netflix บริการสตรีมมิ่งที่นำเสนอความบันเทิง หากต้องการเข้าถึงแพลตฟอร์มนี้จะต้องสมัครสมาชิกก่อน โดยมีการคิดค่าบริการตามแพ็คเกจ

3. Peer-To-Peer, two-sided marketplace
แพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อผู้ขายและผู้ซื้อโดยมีตัวกลางเป็นสินค้าหรือการบริการไม่ว่าจะเป็นการเช่าหรือซื้อก็ตาม ตัวอย่างเช่น Airbnb แพลตฟอร์มที่ให้บริการเช่าสถานที่โดยไม่มีสถานที่เป็นของตัวเองเลยเพราะเป็นตัวกลางที่ให้ผู้ให้เช่ามาลงสถานที่และเปิดบริการให้ผู้เช่ามาเลือกจองสถานที่นั่นเอง

4. E-Commerce
ผู้ให้บริการที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขายสินค้าเสมือนกับการขายสินค้าผ่านคนกลางทั่วไปที่ย้ายมาวางไว้บนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Lazada, Shopee, Amazon นั่นเอง

5. On-demand
เป็นการบริการที่นำระบบเข้ามาใช้เพื่อประหยัดเวลามากขึ้นและสามารถใช้บริการได้เมื่อต้องการ ตัวอย่างเช่น Netflix บริการเช่าหนังที่สามารถเข้าชมเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ หรือ Grab Food ที่ให้บริการสั่งอาหารมาส่งตามสถานที่เพื่อประหยัดเวลาในการไปต่อคิวซื้อเอง

6. Ad-Supported
เว็บไซต์ที่ให้เข้าถึงได้ฟรีไม่ว่าจะเป็น content, article โดยบริษัทเหล่านี้จะอยู่ได้ด้วยการขายโฆษณา ตัวอย่างเช่น Google ที่สามารถใช้เสิร์ชหาข้อมูลฟรี แต่หากสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่ามีโฆษณาแฝงอยู่ในหน้าเว็บไซต์นั้น นั่นจึงเป็นแหล่งที่มารายได้ของ Google นั่นเอง

7. Open Source
โมเดลนี้ทำให้สามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์ได้ฟรี และสามารถเข้ามาแก้ไข ดัดแปลงได้ ตัวอย่างเช่น Red Hat เปิดให้บริการซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาแก้ไข หรือเผยแพร่ต่อได้ และใช้ได้ฟรี โดยมีรายได้จากค่าสมัครสมาชิก (Premium Subscription) และการฝึกอบรม

ในทางกลับกันหากทุกแพลตฟอร์มใช้โมเดลเดียวกันจะทำให้คู่แข่งในตลาดยิ่งสูงขึ้น ทั้งนี้แบรนด์จึงต้องสร้างเอกลักษณ์และมีจุดยืนที่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริการที่ดีกว่าเพื่อสร้าง Customer Experience หรือการสร้าง Customer Relationship ในระยะยาวนั่นเอง

ที่มา
https://innolytics-innovation.com/digital-business-model/
https://www.kreezalid.com/blog/78489-peer-to-peer-marketplace
https://fourweekmba.com/digital-business-models/

ตัวอย่างธุรกิจในยุคดิจิทัล

ในสถานการณ์ Covid-19 เป็นเรื่องยากลำบากสำหรับการประกอบการธุรกิจ แต่ก็นำมาซึ่งโอกาสในการทำธุรกิจเช่นกัน ซึ่งจะทำให้โอกาสเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องคิดใหม่ทำใหม่ หรือที่เรียกว่า New Way New Me ซึ่งหลายคนอาจประสบปัญหาว่าการคิดใหม่ทำใหม่ ควรจะทำอะไรดี สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือผลกระทบจากการแพร่ระบาดทั้งในเรื่องของการตกงาน หรือบางแห่งถึงกับต้องปิดบริษัท ซึ่งหลายองค์กรควรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

แต่ในขณะเดียวกัน สถานการณ์โรคระบาดก็ก่อให้เกิดโอกาสอย่างมากมาย อย่างเช่นการทำงานที่บ้าน (Work from Home) กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว เพราะเราไม่สามารถออกจากบ้านได้ ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถให้ธุรกิจหยุดได้เช่นกัน วันนี้ธุรกิจองค์กรใดที่ไม่มีความสามารถในการเข้าถึง ลูกค้าผ่าน ระบบออนไลน์ได้ องค์กรธุรกิจนั้นจะเสียประโยชน์อย่างมหาศาล รวมไปถึงการเกิดใหม่ของ Startup

ตัวอย่างธุรกิจในยุคดิจิทัล

หรือแม้แต่การสูญเสียข้อมูล ซึ่งทุกองค์กรจำเป็นต้องใช้ข้อมูลอย่างมาก ซึ่งทุกวันนี้องค์กรอย่างตั้งคำถามว่าจะนำข้อมูลไปทำอย่างไรให้เกิด Engagement แล้วจะทำอย่างไรให้ Engagement นั้นสร้างประสบการณ์เดียวกัน หรือสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ ซึ่งเทคโนโลยีสามารถเข้ามาตอบคำถามเหล่านี้ของธุรกิจได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์

ปัจจุบันมีการพูดถึง Digital Optimism คือ การนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาใช้กับทุกธุรกิจไม่ว่าจะเป็น Customer Engagement, Customer Experience, Transform Product Service หรือการสร้าง Empower ให้กับพนักงาน ทั้งหมดนี้จะทำงานผ่านเทคโนโลยี ซึ่งธุรกิจจะต้องมองหาเทคโนโลยีที่จะมาช่วยให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในอนาคต

8 เทรนด์ดิจิทัลที่ธุรกิจต้องทำในอนาคต

แต่แค่ Digital Optimism อาจไม่เพียงพอ ธุรกิจจึงควรต้องร่วมมือกับพันธมิตรที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมีการคาดการณ์ว่านี่คือ 8 เทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เริ่มจาก Anywhere, Everywhere การ Work from Home เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรจะต้องทำในช่วงเวลานี้ เพราะไม่สามารถออกจากบ้านได้ เป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันการแพร่ระบาด

ตัวอย่างธุรกิจในยุคดิจิทัล

แต่ในอนาคต การทำงานจะไม่ได้เป็นเพียงแค่การทำงานอยู่ที่บ้านเท่านั้น แต่ต้องสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งองค์กรจะต้องพัฒนาและเตรียมความพร้อมเทคโนโลยี เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้จากทุกที่ที่ไหนก็ได้ เมื่อมองในมุมมองของลูกค้า หากธุรกิจเข้าสู่โลกดิจิทัลจะช่วยเปิดโอกาสอย่างมากให้กับธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้จากที่ไหนๆ ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจ Banking เป็นต้น ซึ่งในอนาคตอาจจะสามารถใช้งานข้ามประเทศได้

Shaping and Architecting the Digital First World ทุกวันนี้ธุรกิจและดิจิทัลแทบจะแยกกันไม่ออก เนื่องจากลูกค้ามีเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในมือ เช่นเดียวกับ Supplier ก็มีเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในมือเช่นกัน พนักงานเองก็มีเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในมือ ฉะนั้นธุรกิจจึงต้องคิดกลยุทธ์ บริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในด้านดิจิทัล

ในส่วนของ The Dominant of Cloud Economy หากย้อนกลับไปราว 2-3 ปี Cloud เป็นแค่เรื่องที่พูดถึงกัน แต่ปัจจุบัน Cloud ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจ Cloud จึงถูกใช้งานอย่างมากโดยเฉพาะในเรื่องของความเร็วและความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งการพัฒนาระบบด้วยการติดตั้ง Hardware หรือ Software อาจเสียเวลามากเกินไป ซึ่งระบบ Cloud สามารถใช้งานได้ทันทีเพียงแค่ลงทะเบียนเท่านั้น

ตัวอย่างธุรกิจในยุคดิจิทัล

โดย Cloud สามารถคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง หรือหาใช้งานแล้วไม่ได้ประสิทธิภาพตามที่ต้องการก็สามารถหยุดใช้งานได้ทันที โดยเสียค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง ด้าน New Gen of Business & Intelligence หากธุรกิจจะต้องพัฒนาการให้บริการบนโลกดิจิทัลโดยที่ไม่ใช้เทคโนโลยี AI คงต้องบอกว่าเสียโอกาสอย่างมาก ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวอย่างสมาร์ทโฟน ที่ทุกวันนี้มีเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้เพื่อช่วยให้การใช้งานสะดวกสบายมากขึ้น หรือในเรื่องของ Chatbot ระบบตรวจสอบใบหน้า (Face Recognition) เป็นต้น

พันธมิตร ความน่าเชื่อถือ ความยั่งยืน

เห็นได้ชัดว่ายุคใหม่ของธุรกิจจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี AI ฉะนั้นทุกอย่างที่ธุรกิจดำเนินการทางด้านกลยุทธ์การให้บริการ หรือการอำนวยความสะดวกให้พนักงาน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี AI ทั้งสิ้น อีกตัวอย่างที่จะช่วยให้เห็นภาพยุคใหม่ของธุรกิจ คือ เรื่องของรายงาน (Report) ซึ่งหากผู้บริหารเกิดความสงสัยจะต้องเสียเวลาไปจัดเก็บข้อมูลทำรายงานใหม่ ขณะที่ธุรกิจยุคใหม่จำเป็นต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี Dashboard Real-Time และหากนำเทคโนโลยี AI เข้ามาร่วม จะช่วยให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์ (Predict) ความต้องการของตลาดและลูกค้าได้

ตัวอย่างธุรกิจในยุคดิจิทัล

ส่วน Strategic Economy Partnership with Purpose เห็นได้ชัดว่าทุกวันนี้ธุรกิจไม่สามารถทำได้โดยลำพัง ยกตัวอย่างเช่น สถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้น หากธุรกิจจะแก้ปัญหาด้วยตัวเองเพียงลำพังจะกลายเป็นสิ่งที่ยากมาก หรือการทำธุรกิจโดยไม่มีพันธมิตรและต้องแข่งกับทุกคนเป็นเรื่องที่ยากมาก ธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีพันธมิตรและต้องหา ความร่วมมือที่ช่วยให้แต่ละฝ่ายได้รับประโยชน์เช่นเดียวกัน อาทิ การทำ Data Sharing

อีกเรื่องที่น่าสนใจอย่าง Emerging of Citizen Developers ซึ่งเทคโนโลยีไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะคนที่รู้เรื่องเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีขยายไปสู่ทุกๆ คน หรือทุกๆ คนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง ไม่ว่าจะเป็น Application หรือระบบอัตโนมัติที่ไม่มีความซับซ้อน ซึ่งมีหลายองค์กรเปิดให้เรียนรู้ด้วยหลักสูตรง่ายๆ ที่สามารถเรียนจบได้ใน 1 วัน

อีกเทรนด์ที่น่าสนใจอย่าง Built-in The Economy of Trust ในวันนี้ความเชื่อมั่นถือเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือทางธุรกิจหรือการเลือกซื้อเลือกใช้บริการ เช่น อาหารที่ทานมีประโยชน์อย่างที่ต้องการหรือไม่ สินค้าชนิดนี้มีส่วนช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือไม่ ในด้านของเทคโนโลยีที่ธุรกิจต้องทำให้ลูกค้า เชื่อให้หน่อยว่ามีความปลอดภัยทางด้านข้อมูล หากเข้ามาร่วมมือทางธุรกิจหรือเลือซื้อเลือกใช้สินค้า

และเทรนด์สุดท้าย A Call to Action for Sustainable Development Goal หากธุรกิจคิดถึงแต่องค์กรของตัวเองอาจจะไม่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน แต่องค์กรต้องคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะเข้าไปช่วยสังคมให้ประสบความสำเร็จได้ดีขึ้น

ธุรกิจต้องวัฒนธรรมด้านนวัตกรรม

ทั้งนี้ทั้ง 8 เทรนด์ไม่ใช่สิ่งที่ธุรกิจต้องเป็นห่วง การปรับเปลี่ยนองค์กรสู่โลกดิจิทัล (Digital Transformation) ไม่ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี แต่เป็นการขับเคลื่อนด้วยองค์กรธุรกิจ ซึ่งเทคโนโลยีทั้งหลายจะช่วยเข้ามาสนับสนุนการปรับเปลี่ยน โดยเฉพาะ Cloud Computing ที่ทุกคนควรจะมีสิทธิ์เข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งหากเป็นสมัยก่อน องค์กรขนาดใหญ่จะมีสิทธิ์เข้าถึงเทคโนโลยี Cloud Computing ได้มากกว่าองค์กรขนาดเล็กหรือ Startup

ตัวอย่างธุรกิจในยุคดิจิทัล

แต่อุปกรณ์ที่จะเข้าถึง Cloud ก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้สามารถเชื่อมโยงเข้าหากันโดยไม่ต้องผ่านระบบ Cloud อีกต่อไป ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กมีประสิทธิภาพได้ทัดเทียมกับธุรกิจขนาดใหญ่ แน่นอนว่าความเปลี่ยนแปลง หรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงสถานการณ์โรคระบาดจะเป็นวิกฤตของธุรกิจ แต่ก็ต้องมองหาโอกาสทางธุรกิจและทำให้เกิดสิ่งใดขึ้น

ถึงกระนั้นการมีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยธุรกิจ ใช่ว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ เพราะสิ่งที่สำคัญคือการวางกลยุทธ์ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยี แต่ธุรกิจที่จะทำได้นั้นจำเป็นต้องมี Culture of Innovation ซึ่งประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ทั้งบุคลากร (People), กระบวนการ (Process), เทคโนโลยี (Technology) และข้อมูล (Data) ซึ่งจะทำให้ได้ทั้ง 4 องค์ประกอบครบถ้วน จำเป็นต้องมีความเป็นผู้นำ (Leadership) ซึ่งความเป็นผู้นำไม่จำเป็นต้องหมายถึงผู้บริหารระดับสูง แต่สามารถเกิดขึ้นได้จากบุคลากรทุกระดับ

ตัวอย่างธุรกิจในยุคดิจิทัล

ถ้าองค์กรมีความเป็นผู้นำในทุกระดับ ซึ่งความเป็นผู้นำนี่เองจะช่วยก่อให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรใหม่ (Culture of Innovation) ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรใหม่นี้จะช่วยให้บุคลากรทุกระดับชั้นมีความคิดสร้างสรรค์เทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอและสนุกไปกับความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ และองค์กรจะต้องนำความคิดเห็นของลูกค้ามาปรับกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีขององค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

5 ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจในยุคดิจิทัล

นอกจากนี้ยังมี 5 ปัจจัยที่ช่วยให้การใช้ดิจิทัลประสบความสำเร็จ เริ่มจาก Future of Work ซึ่งในอนาคตจะสามารถทำงานได้จากทุกที่ทั่วทุกมุมโลก หรือแม้แต่ขนาดของออฟฟิศที่จะเล็กลงเฉพาะสำหรับการพบปะ การประชุม รวมไปถึงการหาเครื่องมือที่จะช่วยให้สมดุลกันระหว่างเวลาทำงาน (Productivity) เวลาส่วนตัว (Well-Being) และเวลาเรียนรู้ (Learning) ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรในองค์กรมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น

ตัวอย่างธุรกิจในยุคดิจิทัล

ในด้านของ Journey to Cloud ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญ ซึ่งสิ่งที่ธุรกิจจะได้จากเทคโนโลยี Cloud คือเรื่องของความเร็ว (Speed) ความคล่องตัว (Agility) ความคุ้มค่า (Cost Economy) แต่ใช่ว่าธุรกิจที่อยากใช้ Cloud แล้วจะใช้ได้ทันที เนื่องจากการเลือกใช้ Cloud จำเป็นต้องพิจารณาในหลายด้าน ทั้งในด้านของความปลอดภัย (Security) การบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) การเลือกใช้บริการ Cloud เป็นเหมือนกับการหาบริษัท Outsource ที่เข้ามาช่วยดูแล การเลือกบริษัท Cloud จึงจำเป็นที่ต้องเลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ ที่ต้องมั่นใจว่าเมื่อเกิดปัญหาบริษัทนั้นต้องพร้อมแก้ไขปัญหาให้ทุกเวลา

ในด้านของ Data & AI เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้หลายองค์กรประสบความสำเร็จ แต่ส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาที่ว่าจะนำ Data มาใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Customer Engagement, Business Model Transformation รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับบุคลากรในองค์กร หรือเรื่องของการควบคุมค่าใช้จ่ายที่จะช่วยให้องค์กรสามารถเดินหน้าต่อในสถานการณ์ที่ไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจ

ตัวอย่างธุรกิจในยุคดิจิทัล

และด้าน Security & Privacy อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่า ความเชื่อมั่นถือเป็นเรื่องสำคัญของการก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัล ซึ่งนอกจากที่องค์กรจะต้องหาบริษัทที่เชื่อมั่นเข้ามาร่วมมือ ลูกค้าเองก็ต้องการบริการจากบริษัทที่สามารถให้ความเชื่อมั่น โดยองค์กรอาจใช้แนวคิด Zero Trust จากในอดีตที่เคยเชื่อว่าอุปกรณ์ภายในออฟฟิศมีความปลอดภัยมากกว่าอุปกรณ์ภายนอกออฟฟิศ

ซึ่งในปัจจุบันอุปกรณ์ภายในออฟฟิศนี่เองคือช่องทางสำคัญที่ก่อให้เกิดการเจาะข้อมูล ทั้งจากทางไวรัสคอมพิวเตอร์และแฮคเกอร์ ซึ่งแนวคิด Zero Trust จะป้องกันรวมไปถึงอุปกรณ์ภายในออฟฟิศ ซึ่งการใช้ Password อาจกลายเป็นเรื่องเก่าที่สามารถถูกเจาะข้อมูลได้ ปัจจุบันอาจต้องยืนยันตัวตนผ่าน Biometric หลายๆ รูปแบบ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถแยกแยะตัวตนของแต่ละบุคคลได้อย่างชัดเจน

สุดท้ายในด้านของทักษะ (Skill) ถ้ามองว่าเป็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีทักษะจำกัดหรือเป็นทักษะทั่วไปที่ไม่มีความโดดเด่นเฉพาะด้าน แต่ถ้ามองเป็นโอกาสเทคโนโลยีใหม่ๆ จะก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะ ทั้งในด้านของการ Upskill และ Reskill ซึ่งทักษะในหลายด้านสามารถเรียนรู้ได้ง่ายๆ ทั้งบนโลกโซเชียล โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคน IT อย่าง LinkedIn แทนที่จะรอให้มีการพัฒนาทักษะ องค์กรอาจจะต้องสนับสนุนให้มีการพัฒนาทักษะในหลายๆ ด้าน

ข้อมูลโดย Microsoft
จากงาน AIS Business DIGITAL FUTURE 2021


  • TAGS
  • AI
  • Anywhere
  • Chatbot
  • Cloud Economy
  • Covid-19
  • Culture of Innovation
  • Customer Engagement
  • Customer Experience
  • Dashboard Real-Time
  • Data
  • Data & AI
  • Data Sharing
  • Digital First World
  • Digital Optimism
  • Digital Transformation
  • Emerging
  • empower
  • Engagement
  • Everywhere
  • face recognition
  • Future of Work
  • Journey to Cloud
  • new gen
  • New Way New Me
  • partnership
  • People
  • predict
  • Process
  • Security & Privacy
  • skill
  • Startup
  • sustainable
  • Technology
  • Transform Product Service
  • Trust
  • Work from Home
  • กระบวนการ
  • ข้อมูล
  • คาดการณ์
  • ทำงานที่บ้าน
  • บุคลากร
  • ระบบตรวจสอบใบหน้า
  • เทคโนโลยี