ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

นางสาววริณศิญา พงษ์เกษ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โรงเรียนปทุมราชวงศา อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารและ การทำ งานร่วมกัน การประเมินความ น่าเชื่อถือของข้อมูลและการเผยแพร่ ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ว 4.2 ป. 5/5   ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีมารยาท เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน

                      เคารพในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม

1. ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล

2. ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

3 ใฝ่เรียนรู้ มีวินัย

การวัดผลและประเมินผล

1 การตอบคำถามในแบบฝึกหัด

2 สังเกตทักษะทางการบวนการเทคโนโลยีขณะทำกิจกรรม

3 สังเกตคุณธรรมขณะทำกิจกรรม

6.1 ภัยคุกคามจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการป้องกัน

อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลและสารสนเทศจากทั่วโลก ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่ายและรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันก็มีภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตแฝงมาหลากหลายรูปแบบ ถ้าหากขาดความรอบคอบ หรือใช้งานอย่างไม่ระมัดระวัง ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อไม่ให้ถูกภัยคุกคามจนเกิดผลเสียตามมา

1. การคุกคามโดยใช้หลักจิตวิทยา

เป็นการคุกคามที่ใช้หลักการแนวคิดเพื่อหลอกลวง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ เช่น ข้อมูลรหัสผ่าน ข้อมูลด้านการเงิน เป็นต้น ผู้คุกคามอาจใช้การจูงใจว่าจะได้รางวัลแต่ต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่เป็นการส่งรหัสผ่านไปให้ เป็นต้น ทั้งนี้นักเรียนสามารถป้องกันได้โดยใช้ความระมัดระวัง อย่าเชื่อใจบุคคลบนอินเทอร์เน็ต หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ หากไม่ใช่บุคคลใกล้ชิดหรือญาตพี่น้อง

Phishing คือคำที่ใช้เรียกเทคนิคการหลอกลวงโดยใช้อีเมลหรือหน้าเว็บไซต์ปลอมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือสร้างความเสียหายในด้านอื่น ๆ เช่น ด้านการเงิน

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

2. การคุกคามด้วยเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม

บนอินเทอร์เน็ตมีทั้งข้อมูลที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม เพราะข้อมูลที่มีมากมายทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด ทั้งนี้นักเรียนควรใช้วิจารณญานในการเลือกรับหรือปฏิเสธข้อมูลที่ไม่เหมาะสมนั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา

ตัวอย่างแหล่งข้อมูลที่ไม่เหมาะสม เช่น แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง การยุยงให้เกิดความแตกแยก สื่อลามก การพนัน การกระทำที่ผิดกฎหมายและจริยธรรม

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

3. ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย

  • ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยมุ่งเจตนาร้ายต่อคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดความรำคาญ เกิดความเสียหายต่อข้อมูล เช่น ไวรัสซ่อนไฟล์และโฟลเดอร์

  • เวิร์ม (Worm) เป็นโปรแกรมที่สามารถแพร่กระจายตัวเองไปสู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่ายได้ โดยผ่านจุดอ่อนหรือช่องโหว่ของระบบ ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง

  • ม้าโทรจัน (Trojan Horse Virus) คือโปรแกรมที่หลอกลวงให้ผู้ใช้นึกว่าเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่วไป เมื่อติดตั้งและใช้งาน โปรแกรมจะทำงาน เช่น ทำลายข้อมูล หรือเก็บข้อมูลของผู้ใช้

  • สปายแวร์ (Spyware) คือโปรแกรมที่ฝังตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์โดยที่เราไม่ทราบ จากนั้นจะดักจับข้อมูล เช่นแอบเก็บข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อการโฆษณา เป็นต้น

  • แอดแวร์ (Advertising Supported Software: Adware) คือโปรแกรมโฆษณาที่ติดมากับการดาวน์โหลดข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต มักจะแสดงโฆษณาต่างๆ ขึ้นมาเอง ทำให้เกิดความรำคาญกับผู้ใช้

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้รู้

ได้แก่การตรวจสอบตัวตนผู้ใช้ว่าเป็นตัวจริงหรือไม่ โดยตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้งานรู้แต่เพียงผู้เดียว เช่น รหัสผ่าน ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมที่สุด เพราะสามารถยืนยันตัวตนได้ง่าย เพราะฉนั้นเราจึงต้องเก็บรักษารหัสผ่านไว้เป็นความลับที่เรารู้แต่เพียงผู้เดียว

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้มี

ได้แก่การยืนยันตัวตนจากอุปกรณ์ที่ผู้ใช้มีอยู่ เช่น การส่งรหัสยืนยัน (OTP) ที่ส่งมาทางโทรศัพท์มือถือ การยืนยันด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

ตรวจสอบจากสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้

เป็นการตรวจสอบข้อมูลชีวมาตร (Biometrics) เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา ใบหน้า เสียง

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

การตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัย

  • ควรประกอบด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ ผสมกัน เช่น BiRd-2561

  • หลีกเลี่ยงการตั้งรหัสผ่านโดยใช้ข้อมูลส่วนตัว เช่น วันเกิด ชื่อเล่น

  • ตั้งให้จดจำได้ง่าย แต่ยากต่อการคาดเดา

  • ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน ในบัญชีแต่ละบัญชี

  • ไม่บันทึกรหัสผ่านไว้บนเว็บเบราว์เซอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้อื่น หรือเครื่องสาธารณะ

  • ไม่บอกรหัสผ่านให้กับผู้อื่น

  • หลีกเลี่ยงการบันทึกรหัสผ่านไว้ในที่ต่างๆ เช่นในกระดาษ ในโทรศัพท์ ในคอมพิวเตอร์

  • เปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ

  • ออกจากระบบทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

  • ศึกษาวิธีใช้งาน คำแนะนำ ในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

  • ไม่ใช้บัญชีร่วมกับผู้อื่น และเก็บรหัสผ่านเป็นความลับ

  • สำรองข้อมูล และเก็บข้อมูลไว้หลายแหล่ง

  • ไม่ติดตั้งซอฟแวร์ที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือดาวน์โหลดจากแหล่งที่มาที่ไม่น่าเชื่อถือ

  • ปฏิบัติตามกฎ กติกา คำแนะนำ และมารยาทในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • ไม่เข้าใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม หรือเว็บไซต์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ

  • ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ ปรับปรุงระบบปฏิบัติการให้เป็นปัจจุบัน

  • สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อใช้งาน

  • ระวังการใช้งาน เพราะอาจตกเป็นเหยื่อมัจฉาชีพ

6.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

จรรยาบรรณที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เพื่อปฏิบัติ

1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น

2. ไม่ก่อกวนผู้อื่น

3. ไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น ก่อนได้รับอนุญาต

4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

6. ไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์

7. ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

8. ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

9. คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมจากการกระทำของตน

10. ใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

ลิขสิทธิ์ (Copyright)

ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิทางกฎหมายที่กฎหมายของประเทศหนึ่ง ๆ สร้างขึ้นซึ่งให้สิทธิแต่ผู้เดียว ทำให้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ผู้ใช้หรือผู้ซื้อไม่สามารถนำไปเผยแพร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ถือสิทธิ์ได้

พจนานุกรม ฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ได้ให้ความหมายว่า ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิทางวรรณกรรม ศิลปกรรม และประดิษฐกรรม ซึ่งผู้เป็นต้นคิดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระรวงพาณิชย์ ได้ให้ความหมายว่า ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่ม โดยการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ และความอุตสาหะของตน ในการสร้างสรรค์ โดยไม่คัดลอกของผู้อื่น ผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีโดยไม่ต้องจดทะเบียน

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons:CC)

ครีเอทีฟคอมมอนส์ คือ ชุดสัญญาอนุญาตแบบเปิดกว้าง หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้งานได้ตามข้อกำหนดสัญญาอนุญาต

เนื่องจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ที่มีลิขสิทธิ์อาจมีค่าใช้จ่าย ซึ่งทำให้ปิดโอกาสในการเรียนรู้ ครีเอทีฟคอมมอนส์ จึงพัฒนาสัญญาอนุญาตที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานและเผยแพร่ผลงาานภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นการเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ เพียงแต่ต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น อ้างอิงแหล่งที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า หรือคงต้นฉบับไว้ แต่เจ้าของผลงานยังเป็นผู้ถือครองสิทธิ์เช่นเดิม

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)

1. วิกิพีเดีย (Wikipedia) เป็นเว็บไซต์สารานุกรมเสรี ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ไว้มากมาย ทั้งนี้ยังอนุญาตให้เพิ่มเติม แก้ไขข้อมูลได้อีกด้วย โดยสามารถเข้าใช้งานได้ที่ https://th.wikipedia.org/wiki/

2. เว็บไซต์ของสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นสถาบันวิจัยเชิงนโยบาย เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร สามารถเข้าใช้งานได้ที่ https://tdri.or.th/

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย

ข้อสอบ วิทยาการ คํา น วณ ม.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย