เป็นงูสวัดมีเพศสัมพันได้ไหม

โรคติดเชื้อทางผิวหนังที่มีลักษณะผื่นเป็นตุ่มน้ำใส ปวดร้อน แสบ คัน คนส่วนใฟญ่จะนึกถึงโรคเริม งูสวัด และอีสุกอีใส ซึ่งแต่ละโรคก็มีรายละเอียดของโรคที่แตกต่างกัน เช่น โรคทั้งสามชนิดเกิดจากไวรัสในกลุ่ม Herpes Family ซึ่งจริงๆแบ่งย่อยได้หลายชนิด เช่น Herpes simplex virus-1 (HHV-1), Herpes simplex virus-2 (HSV-2), Varicella zoster (VZV), Epstein-Barr virus (EBV), Cytomegalovirus (CMV), Roseolovirus, HHV-7, HHV-8 โดยโรคเริมจะเกิดจาก HSV-1 และ HSV-2 ส่วนงูสวัดและอีสุกอีใสเกิดจาก VZV เป็นต้น

  • โรคเริม (Herpes) คืออะไร?
  • โรคงูสวัด (Herpes Zoster, Shingles) คืออะไร?
  • โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) คืออะไร?
  • ลักษณะผื่นที่เกิดขึ้นของแต่ละโรค
  • อาการของแต่ละโรค
  • การติดต่อของแต่ละโรค
  • การรักษาของแต่ละโรค
    • โรคเริม 
    • โรคงูสวัด 
    • โรคอีสุกอีใส
  • การป้องกันของแต่ละโรค
    • โรคเริม
    • โรคงูสวัด
    • โรคอีสุกอีใส
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวโรคเริม โรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใส
  • อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

โรคเริม (Herpes) คืออะไร?

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) โดยเชื้อไวรัสเริมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 1 (Herpes Simplex Virus type 1: HSV-1)
  • เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 2 (Herpes Simplex Virus type 2: HSV-2)

โดยเชื้อไวรัสทั้ง 2 ชนิดนี้จะก่อให้เกิดอาการ เริมที่ปาก (Herpes Simplex) และเริมที่อวัยวะเพศ (Gential Herpes) และสามารถติดต่อกันระหว่างคนสู่คนได้โดยผ่านทางการสัมผัสอย่างใกล้ชิด ทางน้ำลาย น้ำเหลือง หรือผ่านทางเพศสัมพันธ์ได้

โรคงูสวัด (Herpes Zoster, Shingles) คืออะไร?

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา (varicella virus) เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส  เชื้อไวรัสนี้เมื่อเริ่มเข้าสู่ร่างกายทั้งจากการหายใจ หรือการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง จะทำให้เป็นโรคสุกใส เมื่อหายจากโรคนี้แล้ว เชื้อจะไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลานานหลายปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ  และเมื่อเวลาที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เช่น อ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน เชื้อที่แฝงตัวอยู่ก็จะแบ่งตัว เพิ่มจำนวนทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดการปวดตามแนวเส้น ประสาท และปล่อยเชื้อไวรัสออกมาที่ผิวหนังตามแนวเส้น ประสาท

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) คืออะไร?

เกิดจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-Zoster Virus) หรือ Human herpes virus type3 ที่เป็นเชื้อชนิดเดียวกันที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ผ่านทางการสัมผัสกับแผลของผู้ป่วยที่เป็นโรคโดยตรงผ่านทางละอองของระบบทางเดินหายใจ อาทิเช่น ทางการจามไอ ทางน้ำลาย สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส หรือไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสมาก่อน ในปัจจุบันมีวัคซีนอีสุกอีใสที่ช่วยป้องกันเด็กจากการเป็นอีสุกอีใส 

ลักษณะผื่นที่เกิดขึ้นของแต่ละโรค

  1. โรคเริม จะมีลักษณะเป็น ตุ่มน้ำเกิดเป็นกลุ่มส่วนใหญ่เป็นที่ริมฝีปาก (ส่วนมากเป็น HSV-1) และอวัยวะเพศ (ส่วนมากเป็น HSV-2) ปวดแสบร้อนและคัน ตุ่มน้ำจะแตกออกและตกสะเก็ด อาการสามารถหายได้เอง
  2. โรคงูสวัด จะมีลักษณะเป็น ผื่นแดงคันตามแนวปมประสาท เช่น เอว แขน ขา จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสและแห้งตกสะเก็ด อาการจะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์
  3. โรคอีสุกอีใส จะมีลักษณะเป็น ตุ่มน้ำขนาดเล็ก กระจายทั่วร่างกาย พบบ่อยในเด็กอายุน้อย โดยเกิดจากเชื้อ VZV โรคนี้จะเป็นเพียงครั้งเดียวและไม่เป็นซ้ำอีก แต่มีโอกาสพัฒนาเป็นงูสวัดในอนาคตได้

เป็นงูสวัดมีเพศสัมพันได้ไหม

อาการของแต่ละโรค

  1. โรคเริม นอกจากการมีตุ่มใส จะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองโต คล้ายไข้หวัด เป็นโรคที่รักษาไม่หาย เชื้อจะเข้าไปหลบซ่อนในเซลล์ประสาทและกำเริบได้อีกหากร่างกายอ่อนแอ นอนน้อย ถูกแสงแดดจัดหรืออยู่ระหว่างมีรอบเดือน แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นครั้งแรกจะรู้สึกอาการรุนแรงและใช้เวลานานกว่าจะหายประมาณ 1-2  สัปดาห์ ส่วนผู้ที่เคยเป็นแล้วกลับมาเป็นใหม่ระยะเวลาการหายจะเร็วขึ้น เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันแล้ว
  2. โรคงูสวัด จะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง หลังจากนั้น 2-3 วัน  มีผื่นแดงขึ้นตรงบริเวณที่ปวด   แล้ว กลายเป็นตุ่มน้ำใส ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ร่วมด้วย ผื่นมักเรียงกันเป็นกลุ่ม หรือเป็น แถวยาวตามแนวเส้นประสาท และจะแตกออกเป็นแผล ต่อมาจะตกสะเก็ด และหายได้เองใน 2 สัปดาห์ และเมื่อแผลหายแล้ว อาจยังมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทได้ หากสัมผัสโดน เช่นเสียดสีจากเสื้อผ้าก็จะยิ่งปวดแสบได้
  3. โรคอีสุกอีใส จะมีไข้ต่ำ รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว เหนื่อยง่าย เฉื่อยชา ปวดศีรษะ เจ็บคอ อยากอาหารลดลงหรือไม่อยากอาหารในช่วง 1-2 วันแรกของการติดเชื้อ จากนั้นจะเกิดผื่นเป็นจุดแดง ๆ ตามร่างกาย ทั้งใบหน้า หน้าอก หลัง ปาก เปลือกตา อวัยวะเพศ ผื่นแดงเหล่านี้จะเริ่มกลายเป็นตุ่มพองขนาดเล็ก มีน้ำใส ๆ ภายในตุ่มในอีก 2-4 วัน ก่อนจะเกิดการตกสะเก็ดในสัปดาห์ต่อมา ควรระวังการติดเชื้อแบคทีเรียผิวหนังตามมาจะกลายเป็นตุ่มหนองทำให้เกิดแผลเป็นได้  ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการคันบริเวณที่เกิดผื่นหรือตุ่มพองอยู่บ่อยครั้ง อาการที่พบเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นอาการที่ไม่ร้ายแรงในเด็กเล็ก แต่ในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่อาจเกิดการพัฒนาโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้น สำหรับผู้ที่เคยฉีควัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน แต่มักพบได้น้อยมากและมีอาการเพียงเล็กน้อย  

การติดต่อของแต่ละโรค

  • โรคเริม สามารถติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นโรค ซึ่งอาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้ ผ่านทางรอยถลอกของผิวหนังหรือทางเยื่อเมือก (เช่น เยื่อบุตา ช่องปาก องคชาต ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก) จากน้ำลายหรือสิ่งคัดหลั่ง รวมไปถึงจากการใช้ของใช้ร่วมกัน การกิน การจูบ หรือจากมือติดโรคแล้วป้ายเข้าตา หรือติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น ผู้ที่คลุกคลีอยู่ใกล้ชิดกัน เช่น สามีภรรยา สมาชิกในครอบครัว เด็กในโรงเรียนหรือในสถานรับเลี้ยงเด็ก จะมีโอกาสติดเชื้อเริมได้ง่าย 
  • โรคงูสวัด สามารถแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสของเหลวจากตุ่มใสจากผู้ติดโรคโดยตรง ฉะนั้นการสัมผัสใกล้ชิด หรือกินข้าวร่วมกับผู้ที่เป็นโรคได้ตามปกติ เว้นคนที่ยังไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อนหากสัมผัสคนที่เป็นงูสวัดก็จะได้รับ เชื้อและเป็นไข้สุกใสได้ แต่ควรระวังไม่อยู่ใกล้คลุกคลีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ ในระหว่างป่วยซึ่งในผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดแบบแพร่กระจายอาจสามารถแพร่เชื้อได้ทางลมหายใจได้ด้วย โดยเชื้อจะหยุดแพร่กระจายเมื่อตุ่มตกสะเก็ดแล้วเท่านั้น
  • โรคอีสุกอีใส ผ่านการสัมผัสกับแผลผู้เป็นโรค ทางน้ำลาย ทางลมหายใจ ไอ จาม เอาเชื้อโรคเข้าไป  หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำที่ผิวหนังของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ ซึ่งเชื้อจะหยุดแพร่กระจายเมื่อตุ่มทุกเม็ดตกสะเก็ด

เป็นงูสวัดมีเพศสัมพันได้ไหม

การรักษาของแต่ละโรค

โรคเริม 

ปัจจุบันยังคงเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วการรักษาโรคเริมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • การบรรเทาอาการเจ็บปวด โดยแพทย์อาจสั่งยาบรรเทาอาการปวด ซึ่งแผลจากโรคเริมจะสามารถหายเองได้ภายในเวลา 2-6 สัปดาห์
  • การควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส โดยปกติแล้วเมื่อมีอาการของโรคเริม แพทย์มักจะสั่งใช้ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) หรือยาวาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส และช่วยลดความรุนแรงของอาการ โดยยาเหล่านี้จะอยู่ในรูปของยาชนิดรับประทาน นอกจากนี้ ยาที่มีส่วนประกอบของอะไซโคลเวียร์ที่อยู่ในรูปแบบครีมสำหรับทา ก็ยังนิยมนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการของเริมในขณะที่เป็นได้ด้วย

โรคงูสวัด 

ให้ยาลดปวดตามอาการ และใช้ยาต้านไวรัสภายใน 72 ชั่วโมงจะช่วยลดรอยแดงได้ ยาฆ่าเชื้อไวรัสหลักๆมีสามตัวคือ Acyclovir, Famcyclovir และ Valacyclovir หลังจากรอยโรคหายแล้วผู้ป่วยบางรายจะมีภาวะ Post-herpetic neuralgia คืออาการปวดจากเส้นประสาทที่ถูกทำลายซึ่งอาจเป็นนานเป็นเดือนถึงปี การรักษานิยมใช้ยาแก้ปวดปลายประสาท เช่น Gabapentin, Pregabalin เป็นต้น

โรคอีสุกอีใส

ผู้ป่วยที่สุขภาพแข็งแรงและอาการไม่รุนแรงสามารถดูแลตนเองได้ที่บ้าน แต่ในรายที่อาการรุนแรง เป็นเด็กเล็ก สตรีตั้งครรภ์ หรือผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำควรไปพบแพทย์ เพื่อการรักษาได้อย่างถูกต้องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง  โดยการใช้ยาลดไข้ paracetamol ใช้ยาแก้คันในกลุ่ม Antihistamine หรือคาลาไมน์ ใช้ยาต้านไวรัส Acyclovir หรือ Valacyclovir หากมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงและในกรณีติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังให้ใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย

เป็นงูสวัดมีเพศสัมพันได้ไหม

การป้องกันของแต่ละโรค

โรคเริม

วิธีการป้องกันเริมที่ดีที่สุด ก็คือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการติดเชื้อทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ของใช้ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ หรือการสัมผัสกับเชื้อโดยตรงอย่างการหอมแก้ม และการจูบ นอกจากนี้การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยด้วยการใช้ถุงยางอนามัยก็สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ได้

สำหรับผู้ป่วยที่เคยมีการติดเชื้อมาก่อนแล้ว ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเนื่องจากเชื้อไวรัสจะโจมตีร่างกายเมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ถ้าหากมีสุขภาพที่แข็งแรงก็จะช่วยให้การติดเชื้อลดลงได้

โรคงูสวัด

การสัมผัสตุ่มน้ำหรือแผลของผู้ป่วยงูสวัดอาจทำให้ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเกิดเป็นโรคสุกใสได้ ดังนั้นควรแยกข้าวของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดตัว ที่นอน ของผู้ป่วยโรคงูสวัดกับผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน

ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเป็นโรคงูสวัดแบบแพร่กระจาย สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ทางการหายใจ ดังนั้นควรแยกผู้ป่วย ไม่ใกล้ชิดกับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรค เด็กเล็ก และหญิงตั้งครรภ์

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดแล้ว โดยสามารถลด โอกาสการเกิดโรคงูสวัด หรือหากว่าเกิดการติดเชื้อจะสามารถลดความรุนแรงของอาการงูสวัดและอาการปวดหลังการติดเชื้อ แนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี

โรคอีสุกอีใส

การป้องกันที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้มีการฉีดวัคซีนจำนวน 2 เข็ม โดยเริ่มฉีดเข็มแรกได้ตั้งแต่อายุประมาณ 1 ปี (12-15 เดือน) และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี

สำหรับผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคมาก่อนจะต้องมีการฉีดวัคซีนจำนวน 2 เข็มเช่นเดียวกัน โดยให้ฉีดวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่ 2 ห่างกันประมาณ 28 วัน ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคและลดความรุนแรงของโรคลงได้มากถึงประมาณ 90% แต่ในกรณีสตรีมีครรภ์หรือหรือมีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ อาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ จึงควรมีการปรึกษาแพทย์ก่อนการฉีดวัคซีน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวโรคเริม โรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใส

  • โรคเริมเป็นแล้วเป็นอีกได้ไหม?

ผู้ที่เคยเป็นโรคเริมแล้ว จะมีโอกาส เป็นซ้ำในตำแหน่งเดิมได้บ่อย และสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดซ้ำ คือภาวะเครียด มีภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง พักผ่อนไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย ขาดสารอาหาร  วิตกกังวล หากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ความถี่ของการเป็นโรคเริมจะน้อยลง

  • โรคงูสวัดเป็นแล้วเป็นอีกได้ไหม?

สามารถเป็นได้อีก เพราะเมื่อใดที่ร่างกายอยู่ในสภาวะอ่อนแอหรือภูมิต้านทานต่ำ ก็มีโอกาสที่จะเป็นงูสวัดซ้ำได้อีก เพราะเชื้อไวรัสไม่ได้หายไปไหน แต่ซ่อนตัวอยู่ในปมประสาททั่วร่างกายของเราไปตลอดชีวิต

  • เคยเป็นโรคอีสุกอีใสแล้วจะเป็นอีกใหม?

โรคอีสุกอีใสโดยทั่วไปเป็นแล้วมักไม่กลับเป็นซ้ำได้อีก ซึ่งหากติดเชื้อแล้วจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นตลอดชีวิต โดยพบว่าในคนที่มีภูมิต้านทานปกติสามารถเป็นโรคอีสุกอีใสครั้งที่สองได้ แต่อาการมักไม่รุนแรงและไม่ค่อยเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งแตกต่างจากผู้ที่มีโรคประจำตัวต้องกินยากดภูมิหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง สามารถเป็นซ้ำได้บ่อยกว่า

  • เคยฉีดวัคซีนอีสุกอีใสแล้ว จะฉีดวัคซีนงูสวัดได้ไหม?

ฉีดได้ แม้โรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใสจะเกิดจากเชื้อไวรัสเดียวกัน แต่วัคซีนงูสวัดมีความเข้มข้นกว่าวัคซีนอีสุกอีใสถึง 14 เท่า ดังนั้นถึงแม้ วัคซีนทั้งสองชนิดจะป้องกันเชื้อไรวัสเดียวกันแต่ไม่สามารถใช้ทดแทนกันได้

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

  • ป้องกันเอชไอวีด้วย PEP ยาต้านฉุกเฉินหลังเสี่ยง
  • รักษา หนองใน ที่เชียงใหม่ ควรเลือกไปคลินิกไหนดี?

ติดต่อเรา