เป็นประจําเดือนเข้าโบสถ์ได้ไหม

"มีประจำเดือนเข้าวัดไม่ได้นะ” 

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กังวลกับวันนั้นของเดือนทุกครั้งที่คุณจะไปวัดทำบุญ หรือกระทั่งใส่บาตรแถวบ้าน เพราะรู้สึกลึก ๆ ในใจว่า "ฉันไม่สะอาด" ทำให้การทำบุญมันอึดอัดคับข้องในใจ หรือบางคนถึงขั้นตัดใจไม่ไปซะเลยทุกครั้งที่วันนั้นมาถึง

วันนี้อ้อมหาคำตอบจาก พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ มาให้คุณผู้หญิงทั้งหลาย เพื่อคลายความกังวลสงสัยกับความไม่มั่นใจกันได้แล้วค่ะ

ในพุทธศาสนาความสะอาดไม่สะอาดอยู่ที่การกระทำ ถ้าทำผิดทำบาปผิดศีลนั่นคือไม่สะอาด จิตเจตนาที่จะทำบุญด้วยศรัทธาเป็นจิตที่สะอาด จิตที่เป็นกุศล ทำดีมีศีลนั่นคือสะอาด  

แม้กระทั่งเนื้อตัวสกปรก พุทธศาสนาก็ไม่ถือเป็นข้อห้ามไม่ควรเข้าวัด, เนื้อตัวสกปรกเพราะทำงานหนัก ไม่มีเวลาชำระร่างกาย แต่จิตใจดี ทำกรรมดี อย่างนี้ถือว่าสะอาดจริง

ฉะนั้น การมีประจำเดือน ในพุทธศาสนาไม่ถือว่าเป็นเรื่องไม่สะอาด ไม่ถือเป็นเรื่องหม่นหมอง มีราคี

ศาสนามีความสำคัญเดียวคือเรื่องกรรม ‘ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ คนจะสูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว’ 

ความดีความชั่ว สูงหรือต่ำ สะอาดไม่สะอาด อยู่ที่กรรม คือการกระทำ (ตีความกรรม ว่ารวมทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) 

มีประจำเดือนไม่ใช่เรื่องที่น่าอับอาย ยิ่งเรามีจิตเจตนาที่จะทำบุญด้วยศรัทธา เป็นจิตที่สะอาด จิตเป็นกุศล 

ความคิดว่าประจำเดือนไม่สะอาด ไม่ใช่ความคิดของพุทธศาสนา แต่เป็นความคิดที่สืบเนื่องมาจากลัทธิความเชื่อที่เน้นเรื่องฤทธิ์เรื่องเดช ซึ่งเขาเชื่อว่าถ้ามีประจำเดือนจะทำให้ความขลังของวัตถุมงคลเสื่อม

คนที่เล่นวัตถุมงคลของขลังจะกลัวประจำเดือนผู้หญิง เพราะมีพลังที่จะลดหรือข่มความศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น พูดง่ายๆ คือเรื่องไสยศาสตร์ คนที่มีวัตถุมงคลของขลังจะไม่ลอดผ้าถุงผู้หญิงบ้างละ ไม่ลอดราวตากผ้าบ้างละ นั่นเป็นเรื่องวัตถุมงคล ไม่ใช่เรื่องพุทธศาสนา พุทธศาสนาเป็นเรื่องความดี เรื่องของธรรม

ถึงตรงนี้ก็น่าจะทำให้คุณผู้หญิงหลายคนสบายใจขึ้นแล้วนะคะ อย่าลืมนะคะถ้าคุณรู้สึกทุกข์หรือหนักๆ ในใจ แบ่งความหนักของคุณมาได้ที่ www.bia.or.th/dhamlife 

อะไรที่อ้อมพอช่วยได้ อ้อมยินดีค่ะ ^^

‘ผู้หญิงห้ามเข้า’


ใช่ มีหลายสถานที่ทางศาสนาที่ติดป้ายผู้หญิงห้ามเข้า วัดฮินดูในอินเดียเขียนเจาะจงกว่านั้นคือ ผู้หญิงมีประจำเดือนห้ามเข้า หรือผู้หญิงอายุ 10-50 ปีห้ามเข้า ซึ่งก็หมายถึงผู้หญิงในวัยที่มีประจำเดือนนั่นเอง


ทำไมประจำเดือนของผู้หญิงจึงมีปัญหา


โดยทั่วไปแล้ว เลือดเหมือนสัญญาณอันตราย การมีเลือดไหลออกมาย่อมแปลว่า ร่างกายกำลังเผชิญกับอันตราย ภาวะติดเชื้อ อาการบาดเจ็บ และการสูญเสียเลือดย่อมหมายถึงอันตรายที่ถึงแก่ชีวิต


แต่เลือดประจำเดือนไม่เป็นเช่นนั้น นอกจากจะไม่อันตรายแล้วยังหมายถึงภาวะอุดมสมบูรณ์ พร้อมให้กำเนิดมนุษย์ให้แก่โลกใบนี้


การจัดการกับผู้หญิงและเลือดประจำเดือนของพวกเธอจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและขัดแย้งในตัวของมันเองไม่น้อยตลอดประวัติศาสตร์ว่าด้วยประจำเดือนของมนุษย์เพศหญิง


ประจำเดือนมีทั้งความหมายลบ คือเป็นความแปดเปื้อน สกปรก เป็นภาวะ ‘ไม่ปกติ’ ผู้หญิงที่มีประจำเดือนต้องถูกแยกไปอยู่ต่างหากตามลำพัง หรือมีข้อห้ามต่างๆ

ประจำเดือนยังมีความหมายในเชิงของพลังอันลี้ลับ ไสยดำ หรือแม้กระทั่งเป็นยา เป็นเครื่องรางคุ้มกันภัย


ข้อห้ามที่ไม่ให้ผู้หญิงมีประจำเดือนทำนั้นมีตั้งแต่ห้ามไปวัด ห้ามสวดมนต์ ห้ามประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใด ห้ามสระผม ห้ามทำอาหาร (ในอิตาลี ห้ามผู้หญิงมีประจำเดือนทำซอสพาสต้า หรือในอังกฤษเชื่อว่าถ้าผู้หญิงมีประจำเดือนไปนวดขนมปัง ขนมปังจะไม่ขึ้น) ห้ามมีเซ็กซ์ ห้ามทำอาหาร ห้ามแตะต้องภาชนะ เครื่องครัว จานชาม ห้ามกินของแสลงต่างๆ ในเนปาลมี Chaupadi คือการที่ผู้หญิงที่มีประจำเดือนต้องออกไปอยู่คนเดียว ตัดขาดจากชุมชน 1 สัปดาห์ ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายในปี 2005 แต่กฎหมายหรือจะสู้ความเชื่อ เพราะพบว่ายังคงปฏิบัติกันอยู่ ในญี่ปุ่นห้ามผู้หญิงเป็นเชฟซูชิ เพราะเชื่อว่าประจำเดือนของผู้หญิงทำให้การรู้รสแกว่งไกว


ผู้ที่ออกมาปกป้องข้อห้ามเหล่านี้จะใช้เหตุผลว่า ที่ห้ามผู้หญิงทำโน่นทำนี่ไม่ใช่เพราะรังเกียจนะ แต่เพราะเป็นห่วง เช่น


เวลาผู้หญิงมีประจำเดือน ร่างกายจะอ่อนแอ ดังนั้นจึงควรพักผ่อน ไม่ควรออกมาทำงานหรือทำกิจกรรมใดๆ แต่บอกแค่นี้ก็ไม่มีผู้หญิงคนไหนเชื่อ จึงต้องทำเป็นอุบาย ขืนออกมาทำกับข้าวมันจะไม่ดี มันทำให้เกิดความเสื่อมถอยนานา แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ แค่อยากให้พักผ่อน ไม่ต้องไปวัด ไม่ต้องสวดมนต์ ไม่ต้องทำอาหาร ไม่ต้องทำงาน ซึ่งปัจจุบันฉันไม่แน่ใจว่าหากเราเสนอให้ผู้หญิงสามารถหยุดงานได้หากมีประจำเดือน ผู้หญิงจะแฮปปี้ไหม คล้ายๆ กับให้ลาคลอด เพราะเราเห็นว่าผู้หญิงควรจะพักผ่อนในเวลานั้น


การให้ผู้หญิงแยกตัวออกไปอยู่ตามลำพัง เขาก็อ้างว่าสมัยก่อนผู้ชายต้องเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ นานๆ กลับบ้านที เมื่อกลับมาก็มักจะมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาแบบไม่ฟังอีร้าค่าอีรม ดังนั้นเพื่อปกป้องภรรยาที่อาจกำลังมีประจำเดือน จึงให้เธอออกไปอยู่ที่อื่น สำทับด้วยข้อห้ามไม่ให้เพศสัมพันธ์ แถมยังมีพื้นที่ส่วนตัวที่จะจัดการตนเองตามอัธยาศัยอีกในช่วงระหว่างนั้น


อันนี้ฉันจะขอละไว้ ไม่ตัดสินว่าเลือกข้างไหน ให้คนอ่านลองพิจารณาเองว่า เออ ข้อห้ามต่างๆ เกี่ยวกับประจำเดือนนั้นเป็นข้อห้ามเพื่อการกีดกัน หรือเป็นข้อห้ามเพราะความห่วงใย


แต่ฉันเชื่อว่ามีสิ่งหนึ่งที่ผู้หญิงต่างประสบเกี่ยวกับเรื่องของประจำเดือน


นั่นคือมันเป็นความน่าอาย ถ้าเราจะต้องเอาผ้าอนามัยไปห้องน้ำ เราจะกระมิดกระเมี้ยน ม้วนเก็บ หรือเตรียมมันไว้ในถุงผ้าอย่างมิดชิดในตู้เก็บอุปกรณ์ห้องน้ำ เครื่องอาบน้ำ สบู่ ยาสีฟัน ผ้าอนามัยจะถูกซ่อนเอาไว้ไม่มากก็น้อย แต่มันไม่มีวันแสดงตัวอย่างโจ่งแจ้ง คำศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับประจำเดือนยังการเลี่ยงไปใช้คำว่าวันนั้นของเดือน วันแดงเดือด ฯลฯ ในภาษาอังกฤษยังใช้คำว่า whisper, secret, discreet


โฆษณาผ้าอนามัยของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ชิ้นแรกในปี 1896 นั้นพังอย่างไม่เป็นท่า เพราะผู้บริโภคเห็นว่ามันช่างอุจาดเสียนี่กระไรกับการมาโฆษณาสิ่งนี้ และพูดถึงสิ่งเหล่านี้อย่างเปิดเผย


และจนถึงทุกวันนี้ ในหนัง ในละคร ผ้าอนามัยหรือประจำเดือนก็สามารถเป็นมุกตลกในหมู่ผู้ชายได้อีก


โดยไม่รู้ตัว ท้ายที่สุดผู้หญิงเองนั่นแหละถูกทำให้มีปัญหากับประจำเดือนของตัวเองมากที่สุด ในฐานะสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ประจำเดือนมาทีไรก็สร้างความวิตกกังวลไปสารพัด


โอ๊ย วันนี้มีสัมภาษณ์งานสำคัญ ดันเมนส์มา


วันนี้ต้องไปว่ายน้ำ เมนส์มา


วันนี้มีเดต เมนส์มา


วันนี้สอบปลายภาค กรี๊ด เมนส์มา


ประจำเดือนกลายเป็นอุปสรรคในชีวิตเรา เพราะเราถูกสอนให้ปิดบังซ่อนเร้นมัน ทุกครั้งที่เป็นเมนส์ สิ่งแรกที่เราคิดคือต้องพกผ้าอนามัย ต้องใส่กางเกงในแบบไหน ต้องแต่งตัวอย่างไร เพราะในวันมามากล้น ผ้าอนามัยที่ทั้งยาวทั้งหนาก็ทำให้กระโปรงหรือกางเกงเสียทรงได้ คำนวณว่าวันนั้นทั้งวันต้องทำอะไรบ้าง จะมีเวลาลุกมาเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยพอไหม หรือถ้ามีประจำเดือนระหว่างเดินทาง การเปลี่ยนผ้าอนามัยในห้องน้ำบนเครื่องบินก็ไม่ใช่เรื่องสนุก ยิ่งถ้าเป็นคนจนที่นั่งรถไฟชั้นสามคงยิ่งนรก ถ้านั่งรถยนต์ก็ต้องคอยแวะปั๊ม แล้วต้องคิดอีกว่าเส้นทางที่เราไปนั้นห้องน้ำโอเคไหม


ตัวฉันเองเคยต้องไปถ่ายรายการข้างนอกสตูดิโอในวันที่ประจำเดือนจู่โจมทะลักทะล้น แต่การถ่ายงานไม่เอื้อให้ได้เปลี่ยนผ้าอนามัย มีทั้งแขกรับเชิญ มีทั้งเงื่อนไขสารพัดสารพัน เช่น ข้อจำกัดของเวลาและอื่นๆ ผ่านไป 4 ชั่วโมง กางเกงก็ชุ่มโชกไปด้วยเลือด ไม่ใช่แค่เปื้อน แต่เปียกโชกไปหมด


อย่างสิ้นหวัง แค่คิดว่าจะเดินไปขออาศัยห้องน้ำที่ไหนในขณะที่เปียกโชกนั้น เจอห้องน้ำแล้ว เปลี่ยนผ้าอนามัยแล้ว ด้วยรอยเปื้อนสาหัสสากรรจ์และกลิ่นคาวเลือดคละคลุ้งนั้น เราจะกลับบ้านยังไง นั่งแท็กซี่ก็จะเอาเลือดไปเปื้อนเบาะเขาไหม คนขับจะได้กลิ่นคาวๆ จากเราไหม ฯลฯ


หรือในสถานการณ์ที่ประจำเดือนมาอย่างไม่คาดฝัน มันอาจโผล่มาในขณะที่เรากำลังพรีเซนต์งานสำคัญ โผล่มาในวันที่เราสวมกระโปรงลูกไม้สีขาวจั๊ว โผล่มาในขณะที่เรานั่งฟังธรรมอยู่ในวัด ฯลฯ ร้ายกว่านั้น การโผล่มาอย่างกระนั้นนี้ หากเราไม่มีผ้าอนามัยติดตัวจะทำอย่างไร หากเรากำลังนั่งอยู่ในห้องประชุมที่มีแต่ผู้ชายล่ะ


แค่คิดเรื่องเป็นเมนส์และการรับมือกับมันในแต่ละสถานการณ์ก็เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องชวนระอา เป็นเรื่องที่หากเจอมันเข้าแล้วล่ะก็ เรารู้สึกว่าอยากยกเลิกแผนทุกอย่าง ยกเลิกทุกนัด แล้วนอนนุ่งเสื้อยืดตัวเดียวอยู่บ้าน นั่งให้ใกล้ส้วมเข้าไว้ และพร้อมที่จะอาบน้ำตลอดเวลา เพราะประจำเดือนทำให้รู้สึกว่าเราสกปรก เรามีกลิ่นเหม็น เราไม่สะอาด และไม่สามารถควบคุมสถานการณ์อะไรได้เลย


ผู้หญิงทุกคนรู้ว่าในวันที่ประจำเดือนมามากที่สุดนั้น มันจะทำให้เราปวดหน่วงอย่างทรมานจนแทบจะยืนเกิน 5 นาทีไม่ได้ แล้วลองจินตนาการว่าถ้าเราเป็นเชฟทำงานในครัวที่ต้องยืน ยก ผัด อบ แบกหม้อ แบกกระทะหน้าเตาร้อนๆ สัก 12 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง และท่ามกลางการแข่งขันอย่างดุเดือดในสนามของการงาน หากเราเป็นผู้หญิง และหากวันนั้นเราเป็นประจำเดือนที่ทำให้เราปวดหน่วงที่หว่างขาและรู้สึกเหมือนมดลูกจะหลุดออกมาทุกเมื่อ เราต้องทำอย่างไร


ประจำเดือนสามารถเป็นศัตรูต่อความสำเร็จ ต่อหน้าที่การงานของผู้หญิงได้แค่ไหน เท่าที่รู้ ยังไม่มีใครเขียนหรือวิจัยออกมา แต่ที่แน่ๆ ประจำเดือนทำให้เด็กผู้หญิงจำนวนมากขาดเรียน บางคนต้องออกจากโรงเรียนไปเลย เนื่องจากขาดเรียนบ่อย

ในเคนยา เด็กหญิง 40% ขาดเรียนเดือนละ 1 สัปดาห์ในช่วงที่เป็นประจำเดือน เพราะไม่มีผ้าอนามัย พวกเธอใช้วัสดุแทนผ้าอนามัยหลายอย่าง ตั้งแต่เศษผ้า ใบไม้ กระดาษหนังสือพิมพ์ โคลน เศษที่นอนเก่าๆ


ในอินเดีย มีแค่ 12% ของผู้หญิง 355 ล้านคนในวัยมีประจำเดือนที่เข้าถึงผ้าอนามัย


ในอังกฤษ ในสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศโลกที่หนึ่ง ก็ยังพบว่าเด็กหญิงจากครอบครัวที่รายได้น้อยต้องขาดเรียนทุกเดือนในช่วงที่มีประจำเดือน เพราะไม่มีผ้าอนามัยจะใส่


เด็กหญิงชาวอินเดียนในเขต Reservation Indians ก็มีปัญหาโดดเรียนช่วงมีประจำเดือนเพราะเข้าไม่ถึงผ้าอนามัยเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าคนอินเดียนที่เผชิญกับปัญหาสังคมหลายๆ อย่างและมีรายได้ต่ำกลับต้องซื้อของแพงกว่าคนอื่น เพราะข้อจำกัดของการเปิดซูเปอร์มาร์เก็ตในเขต Reservations เช่น ผ้าอนามัยที่ขายในนี้ 20 ชิ้น ราคา 7.39 เหรียญ ในขณะที่วอลมาร์ท ขายแค่ 3.97 เหรียญเท่านั้น


มีการคำนวณออกมาแล้วว่า ในช่วงชีวิตหนึ่ง ผู้หญิงต้องหมดเงินไปกับค่าผ้าอนามัยคนละประมาณ 5,000 ยูโร กรณียุโรป ส่วนอเมริกา คนละ 2,200 เหรียญ


ฉันต้องการบอกหรือเรียกร้องอะไรจากการให้ข้อมูลเหล่านี้?


จะให้ผ้าอนามัยเป็นสวัสดิการรัฐ? อืม ก็ไม่เลวนะ อาจจะดีกว่าแจกโฟลิก, ให้เอาค่าใช้จ่ายในเรื่องผ้าอนามัยไปหักภาษีได้? เหล่านี้คงเป็นข้อเสนอที่เพี้ยนที่สุด และคนจำนวนมากคงบอกว่า เฮ้ย มดลูกตัวเอง รังไข่ตัวเอง จะมาโยนภาระให้รัฐผิดชอบได้อย่างไร


ก็คงต้องถามกลับว่า รัฐยังพยายามจะมาควบคุมปอดเรา ตับเรา ผ่านนโยบายเหล้า บุหรี่ รัฐยังมายุ่งกับมดลูกของเราเรื่องยาคุมกำเนิด เรื่องควรมีลูกกี่คน หนักกว่านั้นยังห้ามเราทำแท้งอีกด้วย ในเมื่อรัฐก็ยุ่งกับร่างกายและอวัยวะภายในเรามากขนาดนี้ ทำไมถึงคิดว่าเรื่องประจำเดือนเป็นเรื่องส่วนตั๊ว ส่วนตัว ที่ผู้หญิงต้องดูแลเอง รับผิดชอบเอง


สิ่งที่ฉันอยากจะบอกคือ ในขณะที่ผู้หญิงถูกทำให้เชื่อว่าประจำเดือนเป็นของสกปรก เป็นความลับสุดยอด เป็นสิ่งที่ต้องซ่อนเร้น ปิดบังให้มิดชิด มีมารยาทมากมายเกี่ยวกับการพูดถึงประจำเดือนและผ้าอนามัย มีความอับอายอย่างสาหัสหากไม่สามารถเก็บซ่อนประจำเดือนของเธอให้มิดชิดเรียบร้อยได้ ในหลายกรณี ผู้หญิงยังไม่กล้าแม้แต่จะทิ้งผ้าอนามัยใช้แล้วปะปนไปกับ ‘ขยะ’ อื่นๆ ต้องแยกมันออกมาต่างหาก


แต่ในเวลาเดียวกัน สังคมต่างเอื้อมมือเข้ามายุ่มย่ามกับประจำเดือนผู้หญิงได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น ห้ามไม่ให้เธอเข้าศาสนสถาน ห้ามไม่ให้เธอทำโน่นทำนี่ และความสุดยอดของมันก็คือ แม้กระทั่งความเหลื่อมล้ำในระบอบเศรษฐกิจเสรีอย่างที่เป็นอยู่ ประจำเดือนก็ยัง ‘ห้าม’ ไม่ให้ผู้หญิงจำนวนมากในโลกนี้ได้รับการศึกษา เพียงเพราะเธอไม่มีผ้าอนามัยใส่ไปโรงเรียน เพียงเพราะว่าประจำเดือนที่ไหลออกมาโดยไม่มีอะไรรองรับในที่สาธารณะนั้นเป็นที่น่าอายเหลือจะทน


ถ้าจะมีใครสักคนตะโกนออกมาดังๆ ว่า “เลิกกลัวประจำเดือนเสียที” ก็น่าจะเป็นคนนี้


คิรัน คานธี (Kiran Gandhi) หญิงสาวในลอนดอนมาราธอนที่ตัดสินใจวิ่งจนถึงเส้นชัยพร้อมเลือดประจำเดือนที่ไหลเป็นทาง


เธอให้สัมภาษณ์ว่า เธอคิดอยู่นานมากว่าจะทำอย่างไรดี มาราธอนนี้เป็นมาราธอนที่สำคัญที่สุด และประจำเดือนของเธอต้องมาแน่นอนในวันนั้น เธอพยายามหาวิธีจัดการกับมัน จะใส่ผ้าอนามัยแบบสอด แบบแผ่น หรือแบบอะไร ใส่กับกางเกงแบบไหน สรุปแล้วทุกแบบล้วนแต่เป็นอุปสรรคต่อการวิ่งของเธอทั้งสิ้น ในที่สุดเธอตัดสินใจว่า ‘ปล่อย’


เธอให้สัมภาษณ์ว่า “การตัดสินใจเช่นนั้นต้องแข่งกับตราบาปที่สังคมมองประจำเดือน ต้องฝ่าฟันความละอายที่สังคมสอนเรามาทั้งชีวิตให้อาย และไม่น่าเชื่อเลยว่าการปลดปล่อยครั้งนี้มันสร้างพลังให้แก่ตัวฉันเองอย่างไม่น่าเชื่อ และการวิ่งพร้อมประจำเดือนโดยไม่ต้องมีผ้าอนามัยก็สบายอย่างไม่น่าเชื่อ”

ฉันไม่ได้บอกว่าผู้หญิงทุกคนจงลุกขึ้นปาผ้าอนามัยทิ้งและเดินให้เลือดไหลลงหว่างขา สร้างความเปรอะเปื้อนให้กับถนนหนทางกันเถอะ แต่ฉันกำลังจะตั้งคำถามว่า ที่ผ่านมามันยุติธรรมหรือไม่ที่ ‘ประจำเดือน’ ของผู้หญิงทุกคนมีสถานะ ‘พิเศษ’ และ ‘ลี้ลับ’ เกินกว่าที่จะเป็นแค่อาการหนึ่งทางชีววิทยาที่เราต้องจัดการไปอย่างที่มันควรเป็น นั่นคือสามารถพูดถึงมันได้อย่างสบายๆ เท่ากับการพูดถึงการแปรงฟัน สามารถถือผ้าอนามัยได้อย่างเปิดเผยพอๆ กับการถือยาสีฟัน และสามารถผิดพลาด เปรอะเปื้อนได้ ไม่ว่าจะห้องเรียน ในห้องสอบ ในห้องประชุม ในทุกแห่งหนบนโลกใบนี้


ยังไม่นับว่าภาษีผ้าอนามัยที่ถูกจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยในหลายประเทศนั้นต้องได้รับการตั้งคำถามว่า ตั้งแต่เมื่อไรที่การซับระดูของผู้หญิงเป็นของฟุ่มเฟือย


ผู้หญิงไม่ได้ถูกกดดันจากประจำเดือนของเธอเฉพาะเรื่องการเข้าวัดเท่านั้น แต่ผู้หญิงยังถูกกีดกันจากหลายสถานการณ์และโอกาสของชีวิตจาก ‘ความละอาย’ ที่มาพร้อมกับ ‘ประจำเดือน’ ของพวกเธอ ซึ่งการเรียกตัวเองว่ามนุษย์เมนส์เพื่อสร้างเงื่อนไขว่า เมื่อผู้หญิงเป็นเมนส์จะสามารถไร้เหตุผลเท่าไรก็ได้ และทุกคนต้อง ‘ตามใจ’ และให้อภัยมนุษย์เมนส์อย่างไม่มีเงื่อนไข ก็ยิ่งตอกย้ำว่าหากประจำเดือนไม่ใช่ความละอาย มันคือความป่วยไข้และ ‘ความบ้าคลั่ง’ เท่านั้น

เป็นประจําเดือนไปทําบุญได้ไหม

ข้อห้ามที่ไม่ให้ผู้หญิงมีประจำเดือนทำนั้นมีตั้งแต่ห้ามไปวัด ห้ามสวดมนต์ ห้ามประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใด ห้ามสระผม ห้ามทำอาหาร ห้ามมีเซ็กซ์ ห้ามแตะต้องภาชนะ เครื่องครัว จานชาม ห้ามกินของแสลงต่างๆ

มีประจำเดือนเข้าโบสได้ไหม

ไขข้อข้องใจเหตุผลที่ ผู้หญิงมีประจำเดือนไม่ควรเข้าไปในโบสถ์ แต่หากดูแลตัวเองมิดชิดเรียบร้อยก็คงไม่เป็นไร ควรพิจารณาให้เหมาะกับสถานที่ บางพื้นที่ก็มีประเพณีที่ไม่อนุญาตให ผู้หญิง เข้าไปในโบสถ์ไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยมีความเชื่อว่าผู้หญิงไม่ควรไปยุ่งในสถานที่ที่ทำสังฆกรรมของพระสงฆ์ เพราะเพศสตรีเป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์ของนักบวช

เป็นประจําเดือนห้ามทำอะไรบ้าง

เสียเลือด อ่อนเพลีย ขาดธาตุเหล็ก เวียนศีรษะง่าย มดลูก มีการบีบตัว อาจทำให้ปวดท้อง (ปวดประจำเดือน).
อาหารเค็ม / เกลือ ... .
ของหวาน / อาหารน้ำตาลสูง ... .
คาเฟอีน / ชา / กาแฟ ... .
แอลกอฮอล์ ... .
อาหารรสจัด / เผ็ด ... .
เนื้อสัตว์ / เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู.

ทำไมมีประจำเดือนเข้าวัดไม่ได้

แม้กระทั่งเนื้อตัวสกปรก พุทธศาสนาก็ไม่ถือเป็นข้อห้ามไม่ควรเข้าวัด, เนื้อตัวสกปรกเพราะทำงานหนัก ไม่มีเวลาชำระร่างกาย แต่จิตใจดี ทำกรรมดี อย่างนี้ถือว่าสะอาดจริง ฉะนั้น การมีประจำเดือน ในพุทธศาสนาไม่ถือว่าเป็นเรื่องไม่สะอาด ไม่ถือเป็นเรื่องหม่นหมอง มีราคี