รถ ไม่มี ป้ายทะเบียน ออกต่างจังหวัด 2565

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 18 ก.ค. 65 เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม และกำหนดแบบใบอนุญาตสมุดคู่มือประจำรถ และลักษณะเครื่องหมายพิเศษ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยร่างกฎกระทรวงฯ มีสาระสำคัญหลายข้อ มีค่า นิวส์ สรุปรายละเอียดได้ดังนี้

1.ปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์ หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม

2.กำหนดอายุของใบอนุญาตและเงื่อนไขให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องรายงานการใช้เครื่องหมายพิเศษ (ป้ายแดง) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

3.ปรับปรุงแบบใบอนุญาตคู่มือประจำรถและลักษณะเครื่องหมายพิเศษ เพื่อให้ทางราชการสามารถควบคุม กำกับ ดูแลการใช้เครื่องหมายพิเศษ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดปัญหาการหลีกเลี่ยงการใช้รถโดยไม่จดทะเบียน  

การปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวง ประกอบด้วย

1. กำหนดอายุของใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและเครื่องหมายพิเศษให้ชัดเจน (จากเดิมไม่ได้กำหนดไว้) โดยกำหนดให้ใบอนุญาต (ใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม) คู่มือประจำรถ(ที่นายทะเบียนออกให้แก่ผู้ได้รับอนุญาต) และเครื่องหมายพิเศษ (ป้ายแดงที่นายทะเบียนออกแก่ผู้ได้รับใบอนุญาต) มีอายุ 5 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต 

2. กำหนดสถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ชัดเจน (จากเดิมไม่กำหนดไว้) โดยให้ผู้ที่มีรถยนต์ไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ถ้าจะขับเองหรือให้ผู้อื่นขับ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ ซึ่งสถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ ทั้งนี้ สามารถยื่นคำขอรับใบอนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กรมขนส่งทางบกกำหนดได้

3. การปรับปรุงใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและลักษณะเครื่องหมายพิเศษ ให้เป็นปัจจุบัน และมีความชัดเจนยิ่งขึ้น และกำหนดให้ในการออกใบอนุญาตให้นายทะเบียนออกเครื่องหมายพิเศษหนึ่งคู่ซึ่งมีหมายเลขเดียวกันและสมุดคู่มือประจำรถ โดยมีรายละเอียด 

3.1 แบบใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม มีการเพิ่มข้อมูลเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือเลขทะเบียนนิติบุคคลและอีเมลของผู้ได้ใบอนุญาต ระบุวันสิ้นสุดอายุใบอนุญาตไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งตรากรมการขนส่งทางบกเป็นพื้นหลังใบอนุญาต 

3.2 สมุดคู่มือประจำรถ เพิ่มคิวอาร์โค้ด เพื่อให้สามารถตรวจสอบว่ากรมการขนส่งทางบกเป็นผู้ออกสมุดคู่มือประจำรถนั้น  ๆ 

3.3 ลักษณะเครื่องหมายพิเศษ (ป้ายแดง) ปรับขนาดแผ่นป้ายให้มีขนาดกว้าง 15 ซม. ยาว 30 ซม. (เดิม 34 ซม.) และแผ่นป้ายแบบใหม่จะแบ่งเป็น 3 บรรทัด จากเดิม 2 บรรทัด โดยบรรทัดที่ 1 ประกอบด้วยตัวเลขประจำหมวดตัวที่ 1 ตัวอักษรประจำหมวดตัวที่ 2 และหมายเลขทะเบียนไม่เกิน 4 หลัก (เดิมประกอบด้วยตัวอักษรบอกหมวด ขีดตามทางยาวและตามด้วยตัวเลข)  บรรทัดที่ 2 เป็นตัวอักษรบอกชื่อจังหวัด เว้นแต่กรณี อำเภอเบตง จังหวัดยะลาให้ใช้คำว่า เบตง  และบรรทัดที่ 3 เป็นตัวอักษา “เพื่อขายหรือซ่อม” 

4. กำหนดเงื่อนไขการใช้และการรายงานข้อมูลการใช้เครื่องหมายพิเศษของผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติ  ได้แก่ 4.1) ติดเครื่องหมายพิเศษ (ป้ายแดง) ที่ด้านหน้าและท้ายรถด้านละ 1 แผ่นให้สามารถมองเห็นชัดเจน 4.2) จัดทำรายงานการใช้เครื่องหมายพิเศษในระบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกครั้งที่มีการหมุนเวียนไปใช้กับคันอื่น ตามที่กรมขนส่งทางบกกำหนด โดยหากผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนายทะเบียนมีอำนาจพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตได้ 

5. การขอใบอนุญาต กรณีใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ ให้ยื่นคำขอพร้อมหลักฐานล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันที่ใบอนุญาตเดิมสิ้นสุด โดยในการพิจารณาต่อใบอนุญาตนายทะเบียนต้องตรวจสอบว่าผู้ยื่นคำขอได้จัดทำรายงานการใช้เครื่องหมายพิเศษในระบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกครั้งที่มีการหมุนเวียนไว้กับรถคันอื่นหรือไม่ 

6. กำหนดเหตุที่ใบอนุญาตสิ้นสุดตามกรณี ดังต่อไปนี้  6.1) ใบอนุญาตครบ 5 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต 6.2) ผู้ได้รับอนุญาตตายหรือสิ้นสภาพนิติบุคคล 6.3) ผู้ได้รับอนุญาตเลิกประกอบกิจการ 6.4) กรมขนส่งทางบกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งในกรณีที่ใบอนุญาตสิ้นสุด ผู้ได้รับอนุญาตต้องคืนใบอนุญาต เครื่องหมายพิเศษและสมุดคู่มือประจำรถภายใน 15 วันนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด 

7. กำหนดเงื่อนไขการขอใบแทน ใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและเครื่องหมายพิเศษ กรณีสูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญ โดยกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นคำต่อนายทะเบียนภายใน 15 วันนับแต่วันทราบการสูญหายหรือชำรุด 

8. บทเฉพาะการกำหนดให้บรรดาใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและเครื่องหมายที่จัดทำไว้แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับ ซึ่งนายทะเบียนจะออกให้หรือได้ออกให้แล้วแก่ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้ได้ต่อไปไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

  • 24 ส.ค. 2565
  • 0

ลูกค้าซวยซื้อรถใหม่ป้ายแดง แต่โดนตำรวจจับ โทร.ถามเซลส์ยิ่งพีค ซ้ำช่วยค่าปรับแค่นิดหน่อย ที่เหลือต้องออกเอง ตกลงเรื่องนี้ความผิดใคร?

ลูกค้าซวย ซื้อรถใหม่ป้ายแดง แต่โดนตำรวจจับ โทร.ถามเซลส์ยิ่งพีค กำลังเป็นที่พูดถึงในโลกออนไลน์อย่างมาก เมื่อผู้ใช้ TikTok รายหนึ่งได้ออกมาแชร์เรื่องราวของตนเอง กับประสบการณ์ซื้อรถใหม่ป้ายแดง มีเล่มสีน้ำตาลครบทุกอย่าง แต่ตอนที่ขับบนถนนกลับถูกตำรวจเรียกให้จอด แล้วบอกว่า "ป้ายทะเบียนปลอม" เมื่อถูกทักแบบนี้ ทางเจ้าของคลิปก็งงเล็กน้อย เพราะว่า เซลส์ขายรถไม่เคยแจ้งอะไรมาเลย และถ้ามันเป็นป้ายทะเบียนปลอมจริงๆ ก็ไม่ใส่แน่นอน

รถ ไม่มี ป้ายทะเบียน ออกต่างจังหวัด 2565

 

ทว่าสุดท้าย ทางตำรวจยึดป้ายทะเบียน เสียค่าปรับ 1,400 บาท ตนเจ็บใจถูกเซลส์ขายรถต้มมานาน เมื่อโทรศัพท์ไปแจ้งอีกฝ่ายเพื่อให้รับผิดชอบ เซลส์บอกว่า ขอรับผิดชอบแค่ 400 บาท ที่เหลือคือความผิดของตนที่ไม่รีบจดทะเบียนรถเอง


โดยความคิดเห็นชาวเน็ตเจอแบบนี้ไปก็อึ้ง แนะนำว่า ให้แจ้งความเอาผิดเซลส์คนดังกล่าว ข้อหาทำเอกสารราชการปลอมให้ลูกค้า แต่ก็มีคนไม่เข้าใจว่า ป้ายจริงกับป้ายปลอม ต่างกันยังไง ดูกันตรงไหน เรื่องนี้ก็มีคนออกมาเฉลยว่า "ป้ายทะเบียนจริงจะมีคำว่า ขส ติดอยู่ในป้ายด้วย เป็นการยืนยันว่ามาจากกรมการขนส่งทางบก ส่วนป้ายปลอมจะไม่มีคำนี้ติดอยู่"

รถ ไม่มี ป้ายทะเบียน ออกต่างจังหวัด 2565


นอกจากนี้ เจ้าของคลิปยืนยันว่า ป้ายทะเบียนที่ตัวเองใช้มีคำว่า "ขส" ติดอยู่ และที่สำคัญคือตอนรับรถก็ย้ำกับเซลส์แล้วว่า ขอไม่เอาป้ายปลอม และเซลส์ก็ติดป้ายอันดังกล่าวให้โดยที่ไม่ได้พูดอะไรเลย จนกลายเป็นการหลอกลวง ถูกจับขึ้นมาลูกค้าซวย
 

รถ ไม่มี ป้ายทะเบียน ออกต่างจังหวัด 2565

จากนั้น มีความคิดเห็นอีกอันหนึ่ง ระบุว่า สิ่งที่แตกต่างระหว่างป้ายปลอมกับป้ายจริงคือ ป้ายจริงจะมีลายน้ำ ต่อให้มีคำว่า "ขส" แต่ไม่มีลายน้ำ ตำรวจอาจจะมองจากจุดนี้ก็ได้ แต่ทางที่ดีที่สุดคือ จ่ายค่ามัดจำป้ายไปโอกาสได้ของปลอมก็น้อยลง

ทั้งนี้ เหตุผลที่เมื่อซื้อรถใหม่แล้วได้ป้ายแดงปลอมนั้น เนื่องมาจากรถออกจากศูนย์เยอะจนลงทะเบียนทำป้ายแดงไม่ทัน ซึ่งการใช้ป้ายแดงปลอมนั้น ถือว่ามีความผิดฐานใช้รถไม่เสียภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท โทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 5 ปี

รถ ไม่มี ป้ายทะเบียน ออกต่างจังหวัด 2565

ก่อนหน้านี้ อธิบดีกรมขนส่งทางบก เคยออกมาเผยถึงกรณีป้ายแดงปลอมว่า  การติดป้ายแดงปลอมถือว่าผิดกฎหมาย และทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากค่าภาษีรถประจำปี และยังยากต่อการตรวจสอบกรณีรถหาย ดังนั้น ขอความร่วมมือคนที่ออกรถใหม่ ให้รีบนำรถมาจดทะเบียนให้ถูกต้อง ใช้เวลาในการจดทะเบียนไม่นาน


อย่างไรก็ตาม ป้ายแดง ถือเป็นเครื่องหมายพิเศษที่กรมการขนส่งทางบก ออกให้บริษัทจำหน่ายรถเพื่อใช้ติดรถตอนนำไปส่งลูกค้าหรือซ่อมแซมเท่านั้น ป้ายแดงที่ถูกต้อง ต้องมีตัวย่อนูน ขส ที่มุมด้านขวาล่างของรถ 1 คันต้องใช้ 2 ป้ายติดหน้าหลัง และมีการผ่อนผันให้ใช้ป้ายแดงกับรถที่อยู่ระหว่างการจดทะเบียนไม่เกิน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ซื้อรถ หรือใช้งานไม่เกิน 3,000 กม. รวมทั้งต้องมีสมุดคู่มือจากทางราชการ ระบุหมวดอักษรและตัวเลขเดียวกับป้ายทะเบียนทั้งหมด

รถ ไม่มี ป้ายทะเบียน ออกต่างจังหวัด 2565

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Thainewsonline