สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 2563

ต้นเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมีหลากหลายสาเหตุและปัจจัย ประกอบด้วย “โรคติดต่อ” ที่เกิดจากการติดเชื้อ อาทิ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบมากในกลุ่มวัยรุ่นอันเกิดจากความคึกคะนองไม่รู้จักวิธีป้องกันตัวเอง ต่อมาเป็น “โรคไม่ติดต่อ” ยมทูตที่พรากชีวิตคนไทย เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคปอด โรคหลอดเลือดในสมอง เบาหวาน ฯลฯ

แนวโน้มสถิติดังกล่าวเกิดจากการศึกษาวิจัย “สถิติสุขภาพคนไทย” โดยสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ทำการสำรวจสถิติ เมื่อปี 2561 พบว่า อัตราอุบัติการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สถิติระบุว่า ช่วงวัยรุ่นอายุ  15-19 ปี และช่วงอายุ 20-24 ปี เป็นช่วงวัยที่พบการติดเชื้อโรคจากการมีเพศสัมพันธ์สูงมากจนน่าเป็นห่วง

จากสถิติพบว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่พบมากในกลุ่มเพศชาย โรคที่พบสูง คือ ซิฟิลิส 17.8%  เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงอายุ 15-19 ปี พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ขณะที่ช่วงวัย 20-24 ปี กลับพบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง จากนั้นตั้งแต่ช่วงอายุสูงขึ้นไป 25 - 60 ปี กลับไม่พบการติดโรคทางเพศสัมพันธ์

สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 2563

ขณะที่โรคหนองใน 22.7%  พบมากที่สุดในช่วงอายุ 15-19 ปี ตามมาติด ๆ ช่วงอายุ 20-24 ปี จากนั้นค่อย ๆ ลดน้อยลงไป ส่วนใหญ่พบมากในเพศชาย แต่พอมาพิจารณาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ตัวเลขกลับสูงถึง 35.2 % เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนใหญ่พบมากในเพศหญิงแบบผิดสังเกต โดยเฉพาะช่วงอายุตั้งแต่ 15 - 49 ปี สถิติสูงมาก ก่อนจะมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ

สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 2563

สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 2563

“โรคไม่ติดต่อ” ที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับต้น ๆ คือ โรคมะเร็ง อัตราตายจากโรคมะเร็งทุกชนิด เพศชายครองแชมป์มาตลอด ทั้งมะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ในภาพรวมเป็นที่น่าสังเกตว่า อัตราตาย เริ่มโผล่และค่อย ๆ เพิ่มอัตราตายสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงอายุ 40-44 ปี เพิ่มขึ้น ๆ จนทุบสถิติอัตราตายจากโรคมะเร็งสูงสุดในช่วงอายุ 65+ ปี ขึ้นไป

ขณะที่เพศหญิง อัตราการเสียชีวิตและเป็นโรคไม่ติดต่อน้อยกว่าเพศชาย แม้จะมีอัตราตายจากโรคมะเร็งในเพศหญิง มีเพียง 2 โรค คือ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น โดยส่วนใหญ่พบการเสียชีวิตในช่วงวัย 55 - 64 ปี มากที่สุด

สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 2563

หากพิจารณาโรคไม่ติดต่อ อัตราตายจากโรคไม่ติดต่อ 4 โรค อาทิ หลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือด เบาหวาน และปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในภาพรวมเพศชายเสียชีวิตมากกว่าเพศหญิง แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะรายโรค พบว่า เพศชาย ตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยหัวใจขาดเลือด ขณะที่เบาหวานและปอดอุดกั้นเรื้อรังสถิติใกล้เคียงกันไม่สูงมากนัก ขณะที่ เพศหญิง โรคหลอดเลือดสมองสูงเป็นอันดับหนึ่ง หัวใจขาดเลือด กับเบาหวานมีสถิติอัตราตายใกล้เคียงกัน ส่วนปอดอุดกั้นเรื้อรังต่ำสุดแทบไม่มีนัยสำคัญ

“ปัจจัยเสี่ยง” ที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง 2 สาเหตุ คือ การสูบบุหรี่ สัดส่วนการสูบบุหรี่จำแนกอายุ พบว่าสถิติปี 2560 บ่งชี้ว่า กลุ่มช่วงอายุ 25-40 ปี ติดบุหรี่สูงสุด รองลงมาเป็นช่วงอายุ 41-59 ตามมาด้วยช่วงอายุ 19-24 ปีกับช่วงอายุ 15-18  ปี ตามมาเป็นลำดับ

สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 2563

ขณะที่ การดื่มสุรา สัดส่วนการดื่มสุราจำแนกตามอายุ สถิติปี 2558 พบว่าช่วงอายุ 25-59 ปี ดื่มสุราจัดเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนช่วงวัย 15-24 ปี เด็กและเยาวชนตามมาติด ๆ เป็นอันดับรองลงมา 

สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 2563

“อุบัติเหตุ” เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต อัตราตายจากอบุัติจราจรรายอายุ ตัวเลขปี 2561 พบว่าช่วงวัย 15-19 ปี ตายบนท้องถนนมากเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยช่วงอายุ 20-24 ปี มาเป็นอันดับสอง ส่วนช่วงอายุอื่น ๆ อัตราการตายน้อยมาก ขณะที่อุบัติเหตุจากการจมน้ำตาย ตัวเลขปี 2561 พบว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก เนื่องจากตัวเลขสูงมาก โดยในช่วงวัยอายุ 0 - 4 ปี และช่วงวัย 5-9 ปี มากเป็นอันดับต้น ๆ เด็กเล็กเป็นช่วงที่เปราะบางต่ออุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิต

สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 2563

อีกสาเหตุที่ทำให้คนไทยตายแบบผิดธรรมชาติ คือ ปัญหาสุขภาพจิตและสังคม อัตราตายจากการฆ่าตัวตาย ปี 2561 ระบุชัดเจนว่าช่วงวัยอายุ 35-39 ปี กับช่วงอายุ 30-34 และช่วงเกษียณอายุ 60-65 ปี สถิติการฆ่าตัวตายสูงพอ ๆ กัน หากจำแนกตามเพศพบว่า เพศชายมากกว่าเพศหญิง จึงอาจพอสรุปได้ว่าช่วงคนวัยทำงานกับผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่สุ่มเสี่ยงต่อการเผชิญปัญหาสุขภาพจิตที่อาจคิดสั้นฆ่าตัวตาย

สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 2563

ขณะที่อัตราตายจากการถูกทำร้าย พิจารณาโดยการจำแนกอายุ พบว่า ช่วงเด็กและเยาวชน ช่วงอายุ 0 - 14 ปี พบน้อยมากปราศจากสถิติการถูกทำร้ายร่างกาย แต่ตัวเลขกลับกระโดดสูงขึ้นแบบผิดสังเกตในช่วงอายุ 15-19 ปี จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นจนถึงในช่วง 30-34 ปี สูงที่สุด ส่วนใหญ่พบมากเป็นเพศชาย   

สถิติสุขภาพคนไทย บ่งชัดว่าสาเหตุการตายของคนไทยส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรม และปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะการดื่มสุราและสูบบุหรี่ ซึ่งถือเป็นวายร้ายตัวฉกาจบ่อนทำลายสุขภาพให้ทรุดโทรม เช่นเดียวปัญหาสุขภาพจิต ปัจจุบันพบว่าคนไทยมีสถิติคิดสั้นฆ่าตัวตายสูงมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทำงานกับผู้สูงอายุที่สูงพอ ๆ กับสถิติอัตราการตายบนท้องถนนหรือจมน้ำเสียชีวิตที่ชุกมากในกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งอาจเป็นเพราะขาดการเอาใจใส่ดูแลจากผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด

ดังนั้น การแก้ปัญหาเชิงระบบและโครงสร้าง จำเป็นต้องวางมาตรการป้องกันในเชิงพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยง เพื่อพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการลดปัญหาด้านสุขภาพโดยเร่งด่วนเพื่อหยุดหรือชะลอสถิติการตายก่อนวัยอันควรในทุกช่วยวัย

คนไทยเสียชีวิตจากอะไรมากที่สุด

โรคมะเร็ง ถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของประชากรไทยตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมะเร็งมีโอกาสเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากผลกระทบภายในและภายนอกร่างกาย ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้น ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้

คนไทยเสียชีวิตจากโรคใดมากที่สุด 2565

1. มะเร็งร้ายครองอันดับ 1.

คนไทยเสียชีวิตจากโรคใดมากที่สุด 2564

โรคมะเร็ง ถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของประชากรไทยตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง จากสถิติพบว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นของประเทศ โดยข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขเมื่อปี 2564 พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ 381 คนต่อปี หรือ 139,206 คนต่อปี และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต ...

สาเหตุการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของคนไทยมีโรคอะไรบ้างในปี 2564

1. โรคมะเร็ง ... .
2. โรคหัวใจ ... .
3. โรคเบาหวาน ... .
4. โรคความดันโลหิตสูง ... .
5. โรคไต.