ผู้นําการเปลี่ยนแปลง change agent

ผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม Change Agent หรือ นวัตกรประชาสังคม (Innovation) ซึ่งเรามักจะมองเฉพาะ แต่ในเชิงเทคนิค เทคโนโลยี
แต่จริง ๆ แล้ว อะไรก็ตามที่เราคิดขึ้นมาใหม่ สร้างขึ้นมาใหม่ จัดเป็นนวัตรกรรมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม วัฒนธรรม การเมือง ฯลฯ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาทั้งสิ้น โดยเฉพาะเรื่องการเมือง ที่เป็นเรื่องที่มนษย์คิดขึ้นมาเพื่อรับใช้สังคมให้อยู่อย่างเป็นสุข ดังนั้น “นวัตกรรมทางสังคม” จึงใช้หลักวิธีคิดที่ว่า อะไรที่ดีอยู่แล้ว จะทำอย่างไรให้ดีขึ้น ไม่จำเป็นว่าเมื่อเห็นคนอื่นเค้าทำกันแล้วเราทำไม่ได้ แต่เราจะต้องคิดว่า เราก็ทำได้และต้องทำให้ดีขึ้น เหตุผลที่เราต้องมาตีความหมายของคำว่า “นวัตกรรม” ให้แตก เพราะว่าโลกเราปัจจุบันนี้ไม่มีตำราไหนมาสอนเราได้อีกต่อไปแล้ว สภาพแวดล้อมมีความสบับซับซ้อนเปลี่ยนแปลงไปมาก ดังนี้น เราต้องใช้จินตนาการ ต้องกล้าคิด กล้าทำอะไรใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ผิดหรือสิ่งถูก ซึ่งวิธีคิดสิ่งเหล่านี้สังคมไทยยังขาดอยู่มาก เพราะฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนแปลงสังคมใหม่ กระตุ้น ส่งเสริม ให้มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นให้ได้

การต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางความคิด เป็นการลงทุนทางความคิดทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย เพราะการลงทุนที่ยากที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงความคิดของมนุษย์ การทำงานที่เกี่ยวข้องกับ “นวัตกรสังคม” หรือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสังคม ต้องลงทุน ลงรอน ทุ่มเททั้งกำลังกายและแรงใจ ในการเปลี่ยนแปล ทางความคิด และวถีทางปฏิบัติ ซึ่งการเรียนรู้แบบนี้จะต้องเรียนไปด้วย ทำไปด้วยและจะต้องเรียนให้ทันเวลา หัวใจสำคัญ คือจะต้องเรียนรู้ด้วย ตัวเองก่อนถึงจะสอนคนอื่นได้ หากว่าจะอุปมาอุปไมย “นวัตกรสังคม” ก็เหมือนกับอาจารย์เซนที่จะสอนให้ลูกศิษย์นั่งสมาธิ ตัวอาจารย์เซนเองก็ต้องเคยนั่งสมาธิมาก่อนถึงจะสอนคนอื่นได้ การเป็น “นวัตกรสังคม” นั้น เป็นเรื่องของการฝึกฝนตัวเองและผู้อื่น ต้องเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับธรรมชาติ เพราะธรรมชาติสอนอะไรเรามากมาย “นวัตกรสังคม” ต้องการทั้งความละเอียดอ่อนและ ความแข็งแกร่ง ซึ่งมนุษย์จะแข็งแกร่งได้จะต้องมีเวลาที่จะอยู่กับตัวเอง เรียนรู้ตัวเอง ท่ามกลางความสันโดด เพื่อสร้างความละเอียดอ่อนทางจิตใจ ในการพัฒนาตัวเองให้มีคุณค่า

ทำไมถึงต้องเน้น : การคิดใหม่ ทำใหม่
ในภาวะปัจจุบันสังคมไทยเกิดทางตันแล้ว เช่น ไม่ว่าใครทำอะไรใหม่ ๆ ขึ้นมาก็มักจะถูกคอยจับผิด หากเปรียบสังคมไทยเหมือนกับผักบุ้งลอยฟ้า นั่นหมายความว่า เมื่อผรั่งเห็นคนไทยผัดผักบุ้งลอยฟ้าก็นึกชมเชยว่าเก่ง เมื่อรับได้ก็ปรบมือให้ ในทางตรงกันข้ามกับคนไทยที่คอยจ้องจับผิดว่าเมื่อไหร่รับผักบุ้งไม่ได้ ก็จะคอยสมน้ำหน้า เพราะฉะนั้นคนไทยจึงยังไม่กล้าคิดกล้าทำในสิ่งใหม่ ๆ มากนัก และที่สำคัญที่ทำให้สังคมไทยยังเปลี่ยนแปลงไปได้ไม่มากนักเพราะ

1. หาผู้นำการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงต้องคิดใหม่แต่สังคมไทยยังคิดซ้ำแล้วซ้ำอีก
2. คนใหม่ยังไม่ปรากฎ
3. องค์กรใหม่ยังไม่ปรากฎ

สังคมไทยอยู่ได้ด้วยการทำลายล้าง ขุดค้ยว่าใครเลวมากกว่ากัน หากสังคมไทยยังเป็นแบบนี้อยู่สังคมก็อยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีชนชาติใด อยู่ได้ด้วยการทำลายล้าง แต่อยู่ได้ด้วยความสามัคคี รวมพลัง สังคมจะพัฒนาไปได้จะต้องมีการสรุปบทเรียน ความผิดพลาดของสิ่งที่เกิดขึ้น และพร้อมที่จะแก้ไขซึ่งก็เหมือนกับ “นวัตกรสังคม” ที่มีศูนย์รวมอยู่ที่ความสามัคคี ความใฝ่ดี และพร้อาที่จะก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของผู้คิดใหม่ สร้างสรรค์ใหม่ คือ การสร้างภาพลักษณ์ให้ได้รับการยอมรับแต่ต้องเป็นการยอมรับแบบถาวร ผู้คิดใหม่ต้องคิดแบบ Win-Win คือต้องชนะด้วยกันทั้งคู่ แล้วสังคมจะเกิดการสร้างสรรค์ ในการคิดใหม่ เพราะสังคมมักตัดสินทุกอย่างเพียงแค่สีขาวกับสีดำ ไม่แพ้ก็ชนะ แต่ถ้าเราคิดแบบใหม่คือคิดแบบ Win-Win ได้สังคมก็จะดีเอง

หัวใจของการเปลี่ยนแปลง “ประชาสังคม”
ประชาสังคม คือ การทำให้มนุษย์อยู่อย่างมนุษย์ มีศักดิ์ศรี เคารพสิทธิของกันและกัน และอยู่กันอย่างสันติ เป้าหมายที่สำคัญคือ การคิดสร้างสรรค์
ประชาสังคมไม่ใช่การยึดอำนาจรัฐ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยเริ่มจากตัวเราเองก่อน แล้วค่อย ๆ ขยับไปถึงการเปลี่ยนแปลงสังคม เพราะตัวเราเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ถ้าเราสามารถเปลี่ยนตัวเราเองได้ เราก็สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ที่จะต้องสร้างให้ประชาชนคิดเป็น ทำเป็น เข้าใจหลักการ ให้ดูแลตัวเองได้ และถูกปกครองน้อยที่สุด เพราะถ้าคนเราดูแลตัวเองได้ก็เท่ากับว่าไม่ต้องให้ใครมาปกครอง ดังคำกล่าวที่ว่า “การปกครองที่ดีที่สุด คือ การปกครองที่ไม่มีการปกครองใด ๆ เลย”

ประชาคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1. การตัดแปลงตัวเอง (Personnel Mastery) เรียนรู้เพื่อขยายความสามารถของตัวเองเพื่อสร้างสรรค์เพื่อเอาชนะเป้าหมายที่ตัวเองตั้งไว้ โดยการฝึกฝนตัวเองไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เช่น ศิลป ดนตรี การนั่งสมาธิ
2. แบบจำลองทางความคิด (Mental Model) สะท้อนภาพภายในตัวเองให้เด่นชัดตลอดเวลา พัฒนาภาพไปเรื่อย ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาจิตใจ
3. วิสัยทัศน์ร่วม (Share vision) ด้วยการสร้างความรู้สึกแห่งภารกิจ (Commitment) ที่มีชีวิตชีวา และทำให้สำเร็จ เพราะจะเป็นแนวทางและหลักการที่จะนำไปสู่เป้าหมาย
4. มีการเรียนรู้เป็นทีม (Team learning) เป็นเทคนิคที่สำคัญ เป็นการรู้จักดัดแปลงการเรียนรู้ ที่จะทำให้เราฉลาดขึ้น
5. การคิดเชิงกระบวนระบบ (System thinking) ที่จะทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ เป็นวิธีคิดที่จะทำให้เกิดความเข้าใจความสัมพัน์ของสรรพสิ่งอย่างเป็นระบบ

หลักคิดสร้างสรรค์
*Error! Filename not specified.มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในการสร้างสรรค์ เพียงแต่ต้องสนใจสังเกต
อย่ากลัวกับความคิดใหม่ของตัวเอง

*Error! Filename not specified.ความคิดสร้างสรรค์ไม่เกี่ยวกับอายุ ตรงกันข้ามมันทำให้เราเป้นหนุ่มเป็นสาวตลอดเวลา
ยึดนักสร้างสรรค์เป็นตัวอย่าง

*Error! Filename not specified.อย่าหยุดนิ่ง คือกฎข้อแรกของการเป็นมนุษย์

*อย่าไว้ใจประสบการณ์เก่า ๆ แต่ให้ใช้ประสบการณ์เก่า ๆ ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา

* ประสบการณ์จะมีค่าเมื่อได้รับการประเมินว่าใช้ได้หรือไม่

*เอาไอเดียใหม่ ๆ ไปสู้กับความเคยชินเก่า ๆ

*จงรักการเปลี่ยนแปลง หยุดอยู่กับที่คือคนที่น่าเบื่อ

*สะสมความรู้ สนใจทุกอย่างที่พบเจอ และจัดสภาพแวล้อมรอบตัวให้มีสีสัน

*ความรู้เป้นผู้ผลิตความสร้างสรรค์ มองดูสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เพราะในนั้นซ่อนไอเดียไว้นับพัน

*เมื่อเกิดจินตนาการอะไรเด็ด ๆ ต้องรีบพูดมาเลย เพราะพรุ่งนี้มันจะเป็นเรื่องเก่าไปแล้ว

*บางครั้งเราต้องอยู่กับปัญหาก่อนที่จะแก้มันได้สำเร็จ

*บางครั้งปัญหามันมหาศาล คุณต้องแบ่งมันออกให้เป้นคำเฉลยหลาย ๆ ครั้ง

*ถ้าไม่มีทางออกสำหรับปัญหานี้ ให้นิยามปัญหานั้นเสียใหม่

*ต้องหัดคิดค้นสิ่งที่เป้ฯไปไม่ได้ และตั้งคำถามที่ไม่มีคำตอบ

*อะไรที่ขาดหายไป ก็เติมให้เต็มด้วยแรงบันดาลใจ

*กฎระเบียบเป็นเสมือนกฎของการเล่นเกม เราเปลี่ยนแปลงมันได้

*ต้องคิดถึงอนาคตไว้ก่อน เพราะปัจจุบันมีหลุดมือเราไปแล้ว

*ทุกไอเดียมีดีเสมอ เมื่อนำไปใช้อย่างเหมาะสม

*การสร้างสรรค์จะริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ แล้วจุดใหญ่ ๆ ก็จะตามมาเอง

*ความคิดสร้างสรรค์สามารถแก้ข้อติดขัดต่าง ๆ ได้

*ความคิดที่คาดไม่ถึงบ่อยครั้งมักเป็นพื้นฐานของความสำเร็จ

*รู้จักวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ เข้าร่วมการถกเถียงทุกครั้งแล้วอย่าลืมเรียนรู้จากคนอื่น

*จงขันติธรรมกับผู้อื่น เพราะเขาอาจถูกก็ได้

*จงอย่ารอคนอื่น ลงมือทำเองเลย

*ทางออกต้องค้นหา แต่อย่าไปบังคับมัน อย่าเอาความสร้างสรรค์มาปนกับความทะเยอทะยาน

*อย่ายอมแพ้อะไรง่าย ๆ ขอให้เริ่มต้นใหม่ เพราะการเริ่มต้นใหม่ก็เป็นการสร้างสรรค์อย่างหนึ่ง

*ข้อคิด ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของโลก ส่วนมากจะอยู่กับตัวเอง มีเวลาทบทวนตัวเอง และที่สำคัญไม่เคยใช้อำนาจกับใคร

ที่มา:
www.thaicivicnet.com

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หมายถึงใคร

ตัวแทนการเปลี่ยนแปลงดูแลการดำเนินการเปลี่ยนแปลงในองค์กร พวกเขาคือคนที่ทำให้แน่ใจว่าทุกคนจะปฏิบัติตามกลยุทธ์ใหม่ เนื่องจากพวกเขามีอำนาจที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

Change Agent คัดเลือกจากใคร

ซึ่งโดยปกติ Change Agent จะถูกสรรหาจากภายในองค์กร มักเป็นคนที่ดีที่สุดในแต่ละสายงาน ซึ่งมีรังสีความเป็นผู้นำและมากด้วยประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งกระบวนการและเทคโนโลยี เพราะพวกเขาจะสามารถใช้ความรู้ และความสัมพันธ์ที่มีอยู่ ในการตรวจสอบว่ามีประเด็นการเมืองหรืออุปสรรคใดที่จะขัดขวางการเปลี่ยนแปลงนี้ได้

Change Advocate คืออะไร

หมายถึงผู้ที่ให้การผลักดันและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งสามารถสื่อสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในองค์กร ผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Advocate ควรที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับองค์กร และการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างดี รวมทั้งมีทักษะในการบริหาร ...

ผู้นำที่มีการเก่งคิดมีลักษะแบบใด

เก่งคิด คือ ต้องเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ และ รู้จัก คิดวิเคราะห์ ให้เป็น เก่งเปลี่ยนแปลง ผู้นำต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง หากเก่งงาน เก่งคน เก่งตน เก่งคิด แต่ไม่เก่งเปลี่ยนแปลงจะกลายเป็นผู้นำที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยม ไม่กล้าออกนอน Comfort Zone การเติบโตก็จะไม่มี