บทอาขยาน ม.1 นิราศภูเขาทอง

( ๑ )

มาถึงบางธรณีทวีโศก                         ยามวิโยคยากใจให้สะอื้น

โอ้สุธาหนาแน่นเป็นแผ่นพื้น                           ถึงสี่หมื่นสองแสนทั้งแดนไตร

เมื่อเคราะห์ร้ายกายเราก็เท่านี้                           ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย

ล้วนหนามเหน็บเจ็บแสบคับแคบใจ               เหมือนนกไร้รังเร่อยู่เอกา

………………………………

ถึงเกร็ดย่านบ้านมอญแต่ก่อนเก่า        ผู้หญิงเกล้ามวยงามตามภาษา

เดี๋ยวนี้มอญถอนไรจุกเหมือนตุ๊กตา                 ทั้งผัดหน้าจับเขม่าเหมือนชาวไทย

โอ้สามัญผันแปรไม่แท้เที่ยง                            เหมือนอย่างเยี่ยงชายหญิงทิ้งวิสัย

นี่หรือจิตคิดหมายมีหลายใจ                            ที่จิตใครจะเป็นหนึ่งอย่าพึงคิด

…………………………………

            ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์                  มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต

แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร                             จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา

……………………………

นิราศภูเขาทอง ( สุนทรภู่ )

( ๒ )

เพื่อนกิน          สิ้นทรัพย์แล้ว              แหนงหนี

หาง่าย              หลายหมื่นมี                             มากได้

เพื่อนตาย         ถ่ายแทนชี-                              วาอาตม์

หายาก             ฝากผีไข้                                   ยากแท้จักหา

…………….………………………….

โคควายวายชีพได้               เขาหนัง

เป็นสิ่งเป็นอันยัง                             อยู่ไซร้

คนเด็ดดับสูญสัง-                            ขารร่าง

เป็นชื่อเป็นเสียงได้                          แต่ร้ายกลับดี

………………………………………

พระสมุทรสุดลึกล้น                คณนา

สายดิ่งทิ้งทอดมา                                 หยั่งได้

เขาสูงอาจวัดวา                                   กำหนด

จิตมนุษย์นี้ไซร้                                    ยากแท้หยั่งถึง

……………………………………

ก้านบัวบอกลึกตื้น                  ชลธาร

มารยาทส่อสันดาน                              ชาติเชื้อ

โฉดฉลาดเพราะคำขาน                       ควรทราบ

หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ                       บอกร้ายแสลงดิน

……………………………………..

โคลงโลกนิติ

( ๓ )

บุษเอยบุษบกแก้ว                สีแววแสงวับฉายฉาน

ห้ายอดเห็นเยี่ยมเทียมวิมาน                        แก้วประพาฬกาบเพชรสลับกัน

ชั้นเหมช่อห้อยล้วนพลอยบุษย์      บัลลังก์ครุฑลายเครือกระหนกคั่น

ภาพรายพื้นรูปเทวัญ                                    คนธรรพ์คั่นเทพกินนร

………………………………………

เลื่อนเมฆลอยมาในอากาศ             อำไพโอภาสประภัสสร

ไขแสงแข่งสีศศิธร                           อัมพรเอี่ยมพื้นโพยมพราย

ดั่งพระจันทร์เดินจรส่องดวง         แลเฉิดลอยช่วงจำรัสฉาย

ดาวกลาดดาษเกลื่อนเรียงราย        เร็วคล้ายรีบเคลื่อนเลื่อนลอยมา

……………………………………………..

รามเกียรติ์ ตอนศึกอินทรชิต

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

( ๔ )

ใครแทนพ่อแม่ได้                ไป่มี    เลยท่าน

คือคู่จันทร์สุรีย์ศรี                        สว่างหล้า

สิ้นท่านทั่วปฐพี                           มืดหม่น

หมองมิ่งขวัญซ่อนหน้า             นิ่งน้ำตาไหล

………………………………….

พ่อแม่เสมอพระเจ้า        บนสวรรค์

ลูกนิ่งน้อมมิ่งขวัญ                      กราบไหว้

น้ำตาต่างรสสุคันธ์                      อบร่ำ  หอมฤา

หอมค่าน้ำใจไซร้                         ท่านให้หมดเสมอ

………………………………….

ถึงตายเกิดใหม่ซ้ำ           ไฉนสนอง

คุณพ่อแม่ทั้งสอง                        สั่งฟ้า

น้ำนมที่ลูกรอง                             ดูดดื่ม

หวานใหม่ในชาติหน้า                กี่หล้าฤาสลาย

………………………………..

รอยเท้าพ่อแม่ได้             เหยียบลงใดแล

เพียงแค่ฝุ่นธุลีผง                         ค่าไร้

กราบรอยท่านมิ่งมง-                  คลคู่    ใจนา

กายสิทธิ์ใส่เกล้าไว้                     เพื่อให้ขวัญขลัง

…………………………………..

.

บุพการี ( อังคาร กัลยาณพงศ์ )

( ๕ )

อย่า     นิยมสิ่งร้ายชอบ        ชมชัว

เห็น     สนุกทุกข์ถึงตัว                     จึ่งรู้

กง       จักรว่าดอกบัว                      บอกรับ          เร็วแฮ

จักร     พัดเศียรร้องอู้                                    จึงรู้ผิดตน

อย่า     นิยมสิ่งทุกข์              เห็น     สนุกกลับทุกข์ทน

กง       จักรว่าบัวจน                         จักร     พัดตนจึ่งรู้ตัว

…………………………………….

ว่า        โอ้เรานี้ชั่ว                 ชอบกรรม      ชั่วนา

เป็น     อกตัญญูทำ                            โทษไว้

ดอก    บัวยั่วเนตรนำ                        นึกชอบ

บัว       กลับเป็นจักรได้                    ดั่งนี้กรรมสนอง

ว่า        โอ้ตัวเรานั้น              เป็น     อกตัญญูมัวหมอง

ดอก    บัวยั่วจิตจอง                         บัว       ผิดปองเป็นจักรไป

……………………………………….

อย่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว

พระยาอุปกิตศิลปสาร  ( นิ่ม กาญจนาชีวะ )