บท ที่ 2 งาน วิจัย ที่ เกี่ยวข้อง

บท ที่ 2 งาน วิจัย ที่ เกี่ยวข้อง

  1. การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่งของ การวิจัย ซึ่งใช้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงระดับคุณภาพของงานวิจัยในเรื่องนั้นๆได้ เป็นอย่างดี
  2. การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ช่วยทำให้ผู้วิจัยทราบข้อมูลมากมายในเรื่องที่จะทำวิจัยตั้งแต่ขั้นเริ่ม ต้นจนถึงขั้นสุดท้ายของการวิจัย
  3. ปัญหาที่สำคัญของกิจกรรมในการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
    3.1 การไม่รู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสมสำหรับการค้นคว้าเอกสาร
    3.2 ไม่รู้จักแหล่งของเอกสารและข้อมูล
    3.3 ไม่รู้จักหลัก และเทคนิคของการสกัดข้อมูลที่สำคัญออกมาจากเอกสาร และงานวิจัยที่อ่าน
    3.4 ไม่รู้จักวิธีเขียนเรียบเรียงเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดจากเอกสารเข้าด้วยกัน
  4. สรุปขั้นตอนการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    ขั้นแรก อ่านราบละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ ให้รู้เรื่องทั้งหมด
    ขั้นที่สอง วิเคราะห์เรื่องที่อ่าน โดยจับประเด็นใหญ่ๆมาสรุปเป็นตาราง ดังนี้
    ก. ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ สมมติฐาน
    ข. รูปแบบการวิจัย ขนาดตัวอย่าง ตัวแปรที่สำคัญ
    ค. เครื่องมือวัดวิธีเก็บข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูล
    ง. ผลการวิจัย
    ขั้น ที่สาม เขียนเรียบเรียงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเรียบเรียงเรื่องที่อ่านในขั้นที่สองให้ต่อเนื่องกัน ลักษณะของความต่อเนื่องอาจพิจารณาได้หลายลักษณะ ลักษณะที่สำคัญและพบมากในการเขียนรายงานวิจัยลงในวารสารวิชาการ ก็คือ ลักษณะการต่อเนื่องของผลการวิจัยและตัวแปรสำคัญๆที่มีบทบาทต่อผลการวิจัย สำหรับหัวข้ออื่นๆที่จะนำมาเขียนขึ้นอยู่กับว่า ผู้วิจัยต้องการนำประเด็นนั้นมาเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะทำมากน้อยแค่ไหน เช่น ขนาดของตัวอย่าง หรือวิธีสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวัด หรือแบบการทดลอง เป็นต้น

ข้อเตือนใจในการเขียนเรียบเรียงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  1. การเขียนเรียบเรียงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ให้เลือกเอาเฉพาะข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่จะศึกษาจริงๆ เท่านั้นมาเขียน ไม่ใช่เป็นการเอาเอกสารและงานวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อยเท่านั้นมาเขียนเรียงใส่เข้าไป เพื่อให้งานวิจัยดูหนามากขึ้น
  2. การเขียนเรียบเรียงต้องเน้นในลักษณะของการเชื่อมโยง และความต่อเนื่องของเนื้อหาในประเด็นที่เป็นปัญหาการวิจัย ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญมากกว่าที่จะเขียนในลักษณะเรียงต่อเนื่องกันตามระยะ เวลาก่อนหลังของผู้ที่ศึกษาวิจัย และจุดอ่อนข้อนี้มักจะพบบ่อยๆในรายงานวิจัยทั่วๆไป คือ จะเอางานวิจัยของแต่ละคนมาเรียงต่อกันตามระยะเวลาก่อนหลังที่ทำการวิจัยใน แต่ละย่อหน้าไปเลย โดยไม่ได้มีการเชื่อมโยงในเนื้อหาที่สำคัญๆแต่อย่างใด
  3. ต้องมีการเขียนสรุปในตอนท้ายด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้ข้อความขาดตอนทิ้งค้างไว้เฉยๆ ข้อความที่สรุปจะเป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่างการวิจัยที่ศึกษามาแล้วกับงาน วิจัยที่จะศึกษานี้นั้นมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ถ้าไม่สามารถสรุป เพื่อชี้จุดตรงนี้ให้เห็นได้ การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่ทำมาแล้ว ก็แทบจะไม่มีความหมายอะไรเลย แนวทางของการเขียนสรุปสามารถเขียนได้ในหลายลักษณะ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเด็นสำคัญๆที่ได้จากการอ่านเอกสารและรายงานนั่นเอง

Share:

ขอคำปรึกษา

บท ที่ 2 งาน วิจัย ที่ เกี่ยวข้อง

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

บท ที่ 2 งาน วิจัย ที่ เกี่ยวข้อง

7 เทคนิคพรีเซนต์งานยังไงให้ดูเป็นมืออาชีพ

ทักษะการนำเสนอและพูดในที่สาธารณะนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตของการทำงานเนื่องจากเรามักต้องพรีเซนต์งานหรือเรียนอยู่เสมอๆ และวันนี้เราได้รวบรวม 7 เทคนิคพรีเซนต์งานยังไงให้ดูเป็นมืออาชีพ มาให้คุณได้เตรียมพร้อมกัน เทคนิคเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารของการนำเสนองานให้ดูมั่นใจและน่าเชื่อถือในการพูดต่อหน้าคนอื่นมากยิ่งขึ้น 1. เริ่มด้วย “ทำไม” วัตถุประสงค์ในการนำเสนอครั้งนี้คืออะไร คุณต้องการจะโน้มน้าวผู้ฟังให้เชื่อคุณเรื่องอะไร หรืออยากให้เขาทำอะไร และประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้รับจากคุณคืออะไร 2. ทำความรู้จักกับกลุ่มผู้ฟัง การทำการบ้านเกี่ยวกับกลุ่มผู้ฟังก่อนเสมอ หากคุณรู้ว่าพวกเขาเชื่อและสนใจในสิ่งใดบ้าง มันจะเอื้อประโยชน์เป็นอย่างมากในการนำเสนอและโน้มน้าวผู้ฟัง และคุณสามารถปรับสไตล์การพูด คำพูดที่ใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังได้อีกด้วย 3. นำเสนอด้วยภาพและคงความเรียบง่าย ควรใช้ภาพเป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูลแทนข้อความยาวๆและตัวเลขทางสถิติต่างๆ เพราะข้อมูลที่คุณต้องการนำเสนอนั้นจะเป็นที่จดจำมากกว่าหากเป็นภาพที่น่าสนใจ และควรหลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลที่มากเกินไป พยายามใช้ข้อความในแต่ละสไลด์ให้ กระชับและชัดเจน 4. บอกเล่าด้วยเรื่องราว และเป็นตัวเอง การพรีเซนต์งานด้วยข้อมูลหนักๆและตัวเลขทางสถิติอาจจะทำให้คุณดูมีความรู้แต่แน่นอนว่าอาจไม่มีใครจำสิ่งที่คุณพูดได้ ในทางกลับกัน การบอกเล่าด้วยเรื่องราว อารมณ์ และมุ่งเน้นความสนใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้ผู้ฟังจดจำได้ดีกว่า 5. ฝึกซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมเสมอ หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “Practice makes perfect” กันมาแล้ว ฉะนั้นคุณควรฝึกซ้อมการพรีเซนต์ให้มากเท่าที่คุณทำได้ พร้อมทั้งทบทวนเนื้อหาและจดจำลับดับของสไลด์ให้ดี คุณอาจใช้วีดีโอบันทึกภาพขณะที่ฝึกซ้อมเอาไว้ เพื่อดูจุดบกพร่องและนำมาแก้ไขต่อไป นอกจากนั้นแล้ว คุณไม่ควรอ่านจากสไลด์หรือสคริปท์โดยตรง แต่ควรใช้เพียงโน๊ตสั้นๆและเล่าด้วยจังหวะที่เป็นธรรมชาติ 6. ลองใช้กฎ “10 นาที” ผู้ฟังอาจหมดความสนใจหากคุณพูดนานเกินไป ลองใช้กฎ “10 นาที” มาปรับใช้กับการพรีเซนต์งานของคุณ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนไม่ควรพูดนานเกิน 10 นาที จากนั้นอาจเว้นด้วยการให้รับชมภาพประกอบ หรือวีดีโอ แล้วจึงนำเสนอเนื้อหาในส่วนถัดไป 7. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง หากคุณพูดเพียงคนเดียวเป็นเวลานานๆ ผู้ฟังอาจเกิดความเบื่อหน่ายได้ ฉะนั้นคุณอาจลองให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมโดยการเปิดโอกาสให้ออกความเห็นหรือตั้ง คำถามบ้าง เพื่อดึงสติผู้ฟัง และเช็กว่าผู้ฟังยังคงจดจ่ออยู่กับการนำเสนอของคุณ

บท ที่ 2 งาน วิจัย ที่ เกี่ยวข้อง

เทคนิคแก้ภาวะ BURNOUT SYNDROME

เชื่อว่าทุกคนต้องเคยเจอปัญหานี้อย่างแน่นอน หรือถ้าใครไม่รู้ว่าอาการมันเป็นยังไงมาทำความรู้จักกัน BURNOUT SYNDROME ภาวะการหมดไฟคืออะไร? BURNOUT SYNDROME คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียด จนบางครั้งรู้สึกมีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เบื่อหน่าย ไม่หยิบจับทำอะไร รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ มองงานที่กำลังอยู่ในเชิงลบ ขาดความสุข สนุกในเนื้องาน หมดแรงจูงใจประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง บางรายอาจรู้สึกเหินห่างจากเพื่อนร่วมงาน จนทำให้ความมีความรู้สึกหมดเรี่ยวแรงไม่อยากทำอะไร ไม่มีอารมณ์เขียนงานวิจัย พฤติกรรมที่จะทำให้เราเป็น BURNOUT SYNDROME  มันเป็นความอ่อนล้าทางอารมณ์ จิตใจ และร่างกายจากการที่เราต้องเผชิญหน้ากับงานที่หนักมากก และเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น

บท ที่ 2 งาน วิจัย ที่ เกี่ยวข้อง

มุมมองการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยแนวคิด บัว 4 เหล่า

เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินหลักคำสอนจากพระพุทธเจ้า เรื่อง บัว 4 เหล่า มาก่อน พระองค์ได้ทรงพิจารณาแล้วเห็นพระธรรมที่ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อนและยากต่อบุคคลทั่วไปจะเข้าใจ รับรู้ และสามารถปฏิบัติได้ พระองค์จึงทรงพิจารณาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง และพบว่าบุคคลทั้งหลายบนโลกใบนี้ มีหลากหลายจำพวก บางคนสามารถสอนธรรมให้บรรลุธรรมได้ง่าย บางคนอาจต้องได้รับการชี้แนะหรือฝึกฝน และบางคนก็สอนไม่ได้เลย ซึ่งความแตกต่างของแต่ละบุคคลเหล่านี้ พระพุทธเจ้าจึงได้นำมาเปรียบเทียบกับลักษณะของดอกบัว 4 เหล่า ซึ่งวันนี้เราจะมาไขข้อสังสัยกันว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มไหน และหากอยากจะพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเรา วิธีไหนเหมาะสมที่สุด 1. อุคฆฏิตัญญู คือ

บท ที่ 2 งาน วิจัย ที่ เกี่ยวข้อง

พีระมิดแห่งการเรียนรู้ เรียนแบบไหนดีที่สุดสำหรับคุณ

พีระมิดแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning Pyramid เริ่มต้นศึกษาและพัฒนาโดยNational Training Laboratories ตั้งแต่ช่วงปี 1960s เป็นเหมือนแนวคิดที่ทำให้เราเห็นภาพว่า ‘กิจกรรมแบบไหน’ ทำให้เราสามารถเรียนรู้ ซึมซับ และจดจำข้อมูลได้ดีที่สุด ถ้ารู้เรื่อง Learning Style ของแต่ละคน จะช่วยให้เข้าใจเรื่องนี้ได้ดียิ่งขึ้น เพราะนอกจากพีระมิดนี้แล้ว ความถนัดของแต่ละคนก็ย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 1. Visual เรียนรู้ผ่านการมอง 2. Auditory เรียนรู้ผ่านการฟัง 3. Read/Write เรียนรู้ผ่านการเขียน-อ่าน 4. Kinesthetic เรียนรู้ผ่านการลองทำ เอาล่ะ เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่า จากแนวคิด Learning Pyramid พฤติกรรมแบบไหนที่จะช่วยให้เราเรียนรู้ได้ดีที่สุด การเรียนในห้อง (Lecture) <10% การเรียนรู้ที่เราทำกันเป็นประจำคือการเรียนในห้อง อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมที่เราได้เรียนรู้น้อยที่สุด การนั่งฟังอาจารย์สอนอาจไม่ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพเสมอไป ซึ่งเราก็น่าพอมีประสบการณ์ในส่วนนี้กันดี แต่ถ้าอยากให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้เรียนควรเตรียมตัวมาอย่างดี ควรมีการถกเถียงในห้องและมีการจดข้อมูลที่เป็นระบบ การอ่าน (Read) 10% การอ่านเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ แต่ดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมที่ไม่ค่อยให้ผลลัพธ์ที่ดีเท่าไหร่นัก อาจเป็นเพราะว่าคนไม่ค่อยชอบการอ่านหนังสือเชิงวิชาการกันอยู่แล้ว (ยกเว้นคนที่เป็น Visual Learner การอ่านจะมีประสิทธิภาพมากกว่าคนในกลุ่มอื่น) การได้ฟังและได้เห็น (Audio/Visual) 20% ไม่ว่าจะเป็นภาพ วิดีโอ เสียง หรือแผนภูมิ นับว่าเป็นตัวช่วยสำคัญที่ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนกันมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นการเรียนรู้เพียงแค่ 20% แต่ในอนาคตการเรียนรู้แบบนี้น่าจะเติบโตอีกมากตามเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามากขึ้น ที่สำคัญ สื่อเหล่านี้ยังช่วยให้เราเข้าใจในเนื้อหาที่มีความซับซ้อนหรือยากได้ดีขึ้นเช่น สารคดีที่หยิบยกการนำเสนอแบบภาพมาใช้ ด้วยการผนวกภาพจริง กราฟิกและโมชั่นเข้าด้วยกัน อย่าง Vox (https://bit.ly/2Dhu1ZY) หรือซีรีส์ Explained (https://bit.ly/2QF8Eok) การสาธิต (Demonstration) 30% ถ้าเราได้เห็นตัวอย่างจริง จะทำให้การเรียนรู้ของเราได้ผลมากขึ้น อาทิ การดูสาธิตวิธีสำรวจในพื้นที่การทำงานจริง การสาธิตอาจเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดในกรณีที่เป็นเรื่องการลงมือทำ ถกเถียง–หารือ (Discussion) 50%

บทที่ 2 ของงานวิจัยประกอบด้วยอะไรบ้าง

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎี ความรู้ใน เรื่องนั้น ๆ จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หัวข้อในบทที่ 2 ได้แก่ ทฤษฎี ความรู้เบื้องต้นในเรื่อง นั้น ๆ ความหมาย ประวัติความเป็นมาของปัญหาที่วิจัย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและ งานวิจัยต่างประเทศ

วิธีการเขียนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์ในการตรวจสอบการเขียนรายงานเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.
ข้อเขียนทุกตอนมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัย.
ข้อเขียนแต่ละตอนมีจุดมุ่งหมายว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไร มิใช่เพียงเสนอให้ผู้อ่านมีความรู้.
ข้อเขียนเสนอภาพรวมกว้างๆตะล่อมไปสู่การสร้างกรอบความคิดการวิจัย.
แต่ละตอนมีการสรุปด้วยถ้อยคำหรือความคิดของนักวิจัยเอง.

โครงงานวิจัย 5 บท มี อะไรบ้าง

หัวข้อ เอกสารวิจัย 5 บท ให้จัดทำโดยแบ่งเป็น 5 บท ดังนี้ บทที่ 1 บทนำา บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดาเนินการวิจัย บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

โครงงานวิจัยมีอะไรบ้าง

ความหมายและส่วนประกอบของเค้าโครงวิจัย.
ชื่อเรื่องหรือหัวข้อปัญหาวิจัย.
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัยหรือภูมิหลัง.
วัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือความมุ่งหมายของการวิจัย.
แนวคิดสำคัญ หรือสมมติฐานของการวิจัย (ถ้ามี).
ขอบเขตของการวิจัย.
ข้อตกลงเบื้องต้น.
ประโยชน์ของการวิจัย.