คุณลักษณะ ของ ผู้ บริหาร ที่ ดี

การเป็น “ผู้บริหารโรงเรียน” ในแต่ละวันจะต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของเด็ก ๆ ในโรงเรียน ยิ่งโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ และมีนักเรียนหลายระดับชั้นก็ยิ่งมีความท้าทายมากขึ้น หรือปัญหาในการบริหารโรงเรียน ปัญหาของผู้ปกครอง เป็นต้น 

จะเห็นได้ว่า งานของผู้บริหารเป็นงานที่หนัก แต่เป้าหมายที่สำคัญก็คือ เด็ก ๆ จะต้องได้รับการศึกษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ วันนี้ Starfish Labz ขอนำเสนอ “10 คุณสมบัติของการเป็นผู้บริหารโรงเรียนที่ดี” เพื่อการบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

อันดับ 1 มีจิตวิญญาณที่นึกถึงเด็กเป็นที่หนึ่ง การบริหารงานเป็นที่สอง : ผู้บริหารมักให้ความสำคัญกับงบประมาณของโรงเรียน และงานอื่น ๆ ที่ต้องรับผิดชอบ แต่อย่าลืมนึกถึงจิตวิญญาณความเป็นครูที่อยู่ในตัวเอง ดังนั้น ผู้บริหารที่ดีจะต้องให้ความสำคัญกับ“ความสำเร็จของนักเรียน” อีกทั้งนักเรียน ครูผู้ปกครอง และชุมชนต่างก็ต้องการที่จะพึ่งพาผู้บริหาร

อันดับ 2 ส่งเสริมวิสัยทัศน์อยู่เสมอ : ผู้บริหารที่ดีต้องสร้างวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และต้องสื่อสารกับบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่อทุกคนทำสำเร็จ ไม่เพียงแต่จะทำให้ทุกคนมีแรงจูงใจที่มากขึ้น แต่ยังทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เพราะทุกคนได้เชื่อมโยงความรับผิดชอบของตนเองไปกับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร 

อันดับ 3 สื่อสารได้อย่างชัดเจน : การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนทำให้การทำงานออกมาไร้ประสิทธิภาพ ถ้าผู้บริหารสื่อสารไม่ชัดเจนและไม่สามารถทำให้บุคลากรในโรงเรียนเข้าใจได้ก็จะทำให้บุคลากรทำงานได้ไม่ดี ดังนั้น การสื่อสารที่ชัดเจนเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของการเป็นผู้บริหารที่ดี 

อันดับ 4 กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง : ผู้บริหารที่ดีจะต้องยืนหยัดในการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนใกล้เคียง

อันดับ 5 ลงมือทำอย่างเด็ดขาด มั่นใจ : ผู้บริหารที่ดีจะใช้เวลาในการเข้าใจปัญหาก่อนเป็นอย่างแรก และลงมือแก้ไขปัญหาอย่างเด็ดขาด มั่นใจ แต่จะต้องรักษาความสมดุลระหว่างการทำโดยไม่คิด และการคิดอย่างถี่ถ้วนเกินไปจนไม่ได้ลงมือทำ 

อันดับ 6 กระจายงานให้ผู้อื่นได้ : ธรรมชาติของผู้บริหารมักจะทำอะไรด้วยตัวเอง แต่การกระจายงานให้ผู้อื่นทำเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะทำให้ผู้บริหารควบคุมคุณภาพงานได้ และยังได้พัฒนาทักษะของบุคลากรในโรงเรียน เพื่อช่วยกันไปให้ถึงเป้าหมายและเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ที่สำคัญคือ การกระจายงานจะช่วยให้ผู้บริหารทำงานได้สำเร็จมากกว่าการทำงานคนเดียว 

อันดับ 7 ให้กำลังใจผู้อื่นได้ : ผู้บริหารที่ดีจะมองเห็นข้อดีของผู้อื่น และส่งเสริมให้ข้อดีนั้นเปร่งประกายออกมาก เช่น ครูจะเก่งขึ้นก็ต่อเมื่อผู้บริหารให้อำนาจครูตัดสินใจ รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ เป็นต้น 

อันดับ 8 บริหารจัดการ เรียงลำดับความสำคัญเป็น : ผู้บริหารที่ดีจะจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ และสิ่งนั้นต้องเกี่ยวข้องกับนักเรียนและโรงเรียนเป็นหลัก 

อันดับ 9 รับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ : ผู้บริหารที่ดีจะสามารถ “รับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ” มองเห็นและเปิดใจรับฟังสิ่งต่าง ๆ ที่นอกเหนือมุมมองตัวเอง มีการตรวจสอบความเข้าใจของตัวเองต่อสิ่งอื่น ๆ เสมอ จดจ่อกับสิ่งที่ตัวเองกำลังรับฟัง ใส่ใจ และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ในมุมมองของผู้อื่น เช่น การเปิดใจรับฟังปัญหาของครูโดยที่ไม่เอามุมมองของตัวเองตัดสิน เป็นต้น

อันดับ 10 บริหารความเสี่ยงได้ดี : ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องตัดสินใจเพียงเสี้ยวนาที ขณะเดียวกันต้องชั่งน้ำหนักต้นทุน ประโยชน์ที่โรงเรียนจะได้รับ คำนวณความเป็นไปได้ต่าง ๆ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง ดังนั้น ผู้บริหารที่ดีจะต้องมองไปข้างหน้า นึกถึงความเสี่ยงและโอกาสที่จะเข้ามาที่มีผลต่อโรงเรียน

ดังนั้น หากผู้บริหารสามารถพัฒนาคุณสมบัติทั้ง 10 เรื่องนี้ได้ในทุกวันก็จะสามารถเป็นผู้บริหารโรงเรียนที่ดีและประสบความสำเร็จในการเป็นผู้บริหารโรงเรียนได้


1. การเป็นผู้รู้จักตนเอง(Self realization) 

          • รู้ถึงความต้องการแห่งตน
          • รู้ถึงวิธีการสร้างเป้าหมายแห่งตน ไม่ว่าในชีวิตส่วนตัว หรืองาน
          • รู้ถึงขีดความสามารถแห่งตน ที่จะกระทำการใดๆ ได้เพียงใด 
          • รู้ถึงวิธีการควบคุมตนเอง การมีวินัยในการใช้ชีวิต และการทำงาน
          • รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อตน และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น
          • รู้ว่าตนจะต้องลงทุนอะไร เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งต้องการ
          • รู้สึกได้ถึงความสุข ความทุกข์ ที่สัมผัสได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้ไดมาชี้นำ
          • ยอมรับความจริงได้ทุกอย่าง ไม่หลอกตัวเอง 

2.การเป็นผู้รู้จักการวิเคราะห์หาเหตุและผล(Analytical Mind)
          • มองทุกสิ่งที่ปรากฏต่อหน้า(Appearance)อย่างลึกซึ้ง คิดถึงที่ไป ที่มา ไม่ใช่แค่ที่เห็น
          • มองทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลึกถึงเหตุปัจจัย(Cause)และสามารถคาดคะเนผลที่เกิดตามมา(Consequence)ใน ปัจจุบัน และในอนาคตได้
          • เป็นผู้ที่ตั้งคำถามตลอดเวลา “ใคร(Who)? ทำอะไร(What)? ที่ไหน(Where)? เมื่อไร(When)? ทำไม(Why) อย่างไร(HOW)? ” (5-W 1H)
          • เข้าใจถึง หลักการ “อริยสัจ” ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี 
          • เป็นผู้ที่ช่างสังเกต ให้ความสนใจในรายละเอียดเพื่อเก็บมาเป็นข้อมูล 
          • มองพฤติกรรมบุคคล(Person) เหตุการณ์(Event) สามารถโยงถึงหลักการ(Principle)ได้ และใช้หลักการ(Principle)สร้างวิธีการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา และป้องกันปัญหา เพื่อให้เกิดเหตุการณ (Event)ที่ต้องการ และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล(Person)ให้อยู่ภายไต้การควบคุม
ด้ 

3. การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดกาล(Life long learning)

          • มีความรู้สึกว่าตนไม่รู้อะไรอีกมาก และตระหนักถึงความเป็นผู้ใฝ่รู้ตลอดเวลา
          • เข้าใจดีกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้สิ่งที่เคยรู้เมื่อวันวานอาจไม่ใช่ในวันนี้อีกต่อไป
          • มองเห็น สิ่งของ ผู้คน เหตุการณ์ เป็นสื่อสอนตนได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดี หรือสิ่งเลวและสามารถเลือกเก็บมาจดจำ และหยิบออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
          • ใฝ่ค้นหา ติดตาม ความรู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และการดำรงชีวิต
          • มุ่งเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและจริงจังให้เป็นผู้รู้และเข้าใจในแต่ละเรื่องอย่างแท้จริง
          • สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ถูกเวลา และเหมาะสม
          • การเรียนรู้มี 2 อย่าง เรียนรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้และเรียนรู้สิ่งที่เรารู้ให้รู้มากขึ้น
          • นักปราชญ์บอกไว้ว่า ความรู้ที่แท้จริง คือการ “รู้ว่าเรารู้อะไร” และ “รู้ว่าเราไม่รู้อะไร”เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นให้ค้นหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ

กระบวนการเรียนรู้ของบุคคล เริ่มจาก

            ความปรารถนาของตน(Personal vision) ถูกตั้งไว้และกำหนดเป็นเป้าหมายในขั้นตอนของชีวิต
         
เรียนรู้รูปแบบ ความคิดแห่งตนและผู้อื่น (Mental model) อย่างเข้าใจ
         
ให้ความสำคัญกับ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน (Shared vision)อย่างเปิดใจกว้าง และรับฟัง
         
ร่วมแรงร่วมใจทำงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จร่วมกัน (Team learning)
         
รู้จักการคิดเชิงระบบ(System thinking) มีทักษะการวิเคราะห์ มองเหตุผลและมองเห็น คาดการณ์ ผลลัพธ์ในอนาคตได้ และสามารถสังเคราะห์กระบวนการที่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จที่ต้องการ ได้
          • ความรู้ดังกล่าวของบุคคลในกลุ่มที่อยู่ร่วมกัน สามารถ นำไปสู่การพัฒนาภาวะผู้นำ และสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) ได้ในที่สุด อันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมโลกยุคใหม่ (New society) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวดเร็วและไม่สิ้นสุด

คุณลักษณะ ของ ผู้ บริหาร ที่ ดี

4. ความเข้าใจในจิตวิทยาการบริหาร
     ในการบริหารงาน คงจะไม่ผิดนักหากจะพูดว่าพูด “คือการบริหารคน” นั่นเอง เพราะ คน เป็นผู้กำหนดวิธีการหรือระบบ(System) การได้มาและการบริหารการใช้ไปของทรัพยากร(Resource Management)เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผลสำเร็จของงาน การที่จะบริการคนซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ มีอารมณ์และการแสดงออกที่ซับซ้อน ไม่ตรงไปตรงมา และมักมี “เป้าหมายซ่อนเร้นแห่งตน(Hidden Agenda)” อยู่ภายในเสมอ ทำให้การบริหารยากและไม่อาจกำหนดผลลัพธ์อย่างตรงไปตรงมาได้ ผู้นำที่เข้าใจจิตใจของมนุษย์ หากสามารถวิเคราะห์ผลกระทบของเหตุการณ์ต่อจิตใจของคนได้ ก็จะสามารถคาดเดาพฤติกรรมแสดงออกของคนคนนั้นได้ไม่อยาก และสามารถที่จะสร้างสถานการณ์รองรับไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันผลเสียหายจากปฏิ กริยาตอบโต้ของคนได้

5.การเป็นคนดี“GoodPerson”
      คนเก่งและคนดีเป็นของคู่กันแต่บางครั้งไม่ไปด้วยกัน“คนเก่ง”สร้าง ได้ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งแก่เฒ่าโดยการเรียนรู้ทุ่มเท แต่ “คนดี”สร้างได้ยากกว่านักจนบางครั้งก็สร้างไม่ได้เลย คนเรามีการพัฒนา Super ego ซึ่งได้แก่ มโนธรรม และอุดมคติแห่งตนในช่วงวัยเด็ก 5-10 ขวบจากนั้นสิ่งที่ได้รับมาจะกลายเป็นโครงสร้างพฤติกรรมของคนๆนั้น(Frameof Reference)เขาจะใช้มันปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสโดยใช้กระบวนการ ที่ซับซอ้นมากขึ้น การเป็นคนดีจะต้องมีการพัฒนาส่วนของ Super ego ของคนๆนั้นมาแล้วเป็นอย่างดีโดยพ่อแม่ครูอาจารย์ในช่วงปฐมวัย เมื่อเติบใหญจะเป็นคนที่สามารถปรับสมดุลในตนเองให้ได้ระหว่าง “กิเลส”จากจิตเบื้องต่ำขับเคลื่อนด้วยสัญชาติญาณแห่งความต้องการที่รุนแรง ที่ไม่ต้องการเงื่อนไขและข้อจำกัดไดๆ กับ “มโนธรรม” ที่ขับเคลื่อนด้วย ความปารถนาในอุดมคติแห่งตนที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดคนดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้

     1. มีความรู้ ไหวพริบ เฉลียวฉลาด (IQ= Intelligence Quatient) รู้แจ้งถึงความดีความชั่วรู้ที่จะเอาตัวรอดจากเล่ห์อุบายของตัณหา คนชั่ว และนำพาตนเองและผู้คนให้เห็นแจ้งในทางที่ดีควรประพฤติปฏิบัติได้

     2. มีความอดกลั้น สติตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งยั่วยุ (EQ= Emotional Quatient)จนตกอยู่ในห้วง“กิเลส” คือ โลภะ โทษะ และโมหะ และเกิดปัญญาในการแก้ไข สร้างสรรค์ และเล็งเห็นผลเลิศในระยะยาวได้

     3. มีความอดทน มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (AQ= Adversity Quatient)พร้อมที่จะเสียสละแรงกายเพื่อให้ได้มาซึ่งอุดมคติแห่งตน และความดีที่ยึดมั่น ไม่หวั่นไหวต่อความลำบากและอุปสรรคไดๆ