อันตรายทางกายภาพของสารเคมี

สารเคมีอันตราย หมายถึง สารเคมีที่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งผลกระทบอย่างฉับพลันหรือเรื้อรัง มักรวมถึงสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (carcinogen) สารพิษ สารพิษที่ก่อให้เกิดผลต่อระบบสืบพันธุ์ (reproductive toxins) สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (irritants)  สารที่ส่งผลต่อระบบเลือด ระบบประสาท เป็นต้น ทั้งนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ได้ ให้ความหมายของ สารเคมีอันตราย ว่าหมายถึง สาร สารประกอบ สารผสม ซึ่งอยู่ในรูปของของแข็ง ของเหลวและแก๊ส ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้

  1. มีพิษ กัดกร่อน ระคายเคือง ทำให้เกิดอาการแพ้ ก่อมะเร็งหรือทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อนามัย
  2. ทำให้เกิดการระเบิด เป็นตัวทำปฏิกิริยาที่รุนแรง เป็นตัวเพิ่มออกซิเจนหรือไวไฟ
  3. มีกัมมันตภาพรังสี

ประเภทของสารเคมีอันตราย

ในประเทศไทยการแบ่งประเภทของสารเคมีอันตราย ได้ยึดระบบสหประชาชาติ ที่ใช้อยู่แล้วกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก (international classification system) ซึ่งแบ่งสารเคมีอันตรายออกเป็น 9 ประเภท

  1. สารที่ก่อให้เกิดการระเบิดได้ (explosives
  2. แก๊ส : ในรูปของเหลวอัดความดันหรืออยู่ในรูปของสารละลายภายใต้ความดัน
  3. ของเหลวไวไฟ
  4. ของแข็งไวไฟ ซึ่งสามารถลุกไหม้ได้เอง และสารที่เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วจะปล่อยแก๊สไวไฟออกมา
  5. สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์
  6. สารพิษ และสารที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ
  7. สารกัมมันตรังสี
  8. สารที่ทำให้เกิดการกัดกร่อน
  9. สาร หรือวัตถุอื่น ที่อาจเป็นอันตรายได้

 

ตารางการจัดหมวดหมู่ของสารเคมีอันตราย

ประเภทรหัสคำจำกัดความตัวอย่างสารที่ก่อให้เกิดการระเบิดได้1.1สาร หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย จากการระเบิดอย่างรุนแรงวัตถุระเบิด, ยุทธภัณฑ์1.2สาร หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย โดยการกระจายของสะเก็ด เมื่อเกิดการระเบิด แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย จากการระเบิดอย่างรุนแรงพลุ, ดอกไม้ไฟบางชนิด1.3สาร หรือสิ่งซึ่งก่อให้เกิดอันตราย จากเพลิงไหม้ ตามด้วยการระเบิด หรืออันตราย จากการกระจายของสะเก็ดบ้าง หรือเกิดอันตรายทั้งสองอย่าง แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย จากการระเบิดอย่างรุนแรงพลุ, ดอกไม้ไฟบางชนิด1.4สาร หรือสิ่งซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนัก ผลของการระเบิดจำกัดอยู่ในเฉพาะหีบห่อ ไม่มีการกระจายของสะเก็ดประทัด, ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในการฝึกซ้อม1.5สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่ถ้าเกิดการระเบิด จะก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับสารในข้อ 1.1Explosive slurries, emulsion, water gel (type E explosives)1.6สารที่ไม่ว่องไว หรือเฉื่อยชามาก ต่อการระเบิด ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรง จากการระเบิดแก๊ส2.1แก๊สไวไฟแก๊สหุงต้ม2.2แก๊สไม่ไวไฟ ไม่เป็นพิษ และไม่กัดกร่อนแก๊สไนโตรเจน2.3แก๊สพิษ (Poisonous gas)คลอรีน, ไซยาไนด์2.4แก๊สกัดกร่อนซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของเหลวไวไฟ3.1ของเหลวที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า -18°CGasoline3.2ของเหลวที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า -18 ถึง 23°Cแอซิโตน3.3ของเหลวที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า 23 ถึง 61°Cเมทานอลของแข็งไวไฟ4.1ของแข็งซึ่งขนส่งในสภาวะปกติ เกิดติดไฟ และลุกไหม้อย่างรุนแรง ซึ่งมีสาเหตุจากการเสียดสี หรือจากความร้อนที่ยังหลงเหลืออยู่ จากกระบวนการผลิต หรือปฏิกิริยาของสารเองฟอสฟอรัส หรือไม้ขีดไฟ4.2สารที่ลุกติดไฟได้เอง ภายใต้การขนส่งในสภาวะปกติ หรือเมื่อสัมผัสกับอากาศแล้ว เกิดความร้อน จนถึงลุกติดไฟฟอสฟอรัสขาว4.3สารที่เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้ว จะปล่อยแก๊สไวไฟออกมา หรือเกิดการลุกไหม้ได้เอง เมื่อสัมผัสกับน้ำ หรือไอน้ำแคลเซียมคาร์ไบด์สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์5.1สารซึ่งทำให้ หรือช่วยให้สารอื่นติดไฟได้ โดยการให้ออกซิเจน หรือสารออกซิไดซ์อื่น ซึ่งตัวมันจะติดไฟหรือไม่ก็ตามไนเตรท, ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์5.2สารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้าง "-O-O-" ซึ่งเป็นสารออกซิไดซ์ที่รุนแรง และสามารถระเบิดสลายตัว หรือไวต่อความร้อน การกระทบกระเทือน หรือการเสียดสีเมธิล เอธิล คีโตนเปอร์ออกไซด์สารพิษ และสารที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ6.1(a)สารพิษไซยาไนด์ อาเซนิก6.1(b)สารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสารประกอบของแคดเมียม6.2สารที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อวัคซีน, จุลินทรีย์สารกัมมันตรังสีสารกัมมันตรังสีทุกประเภทยูเรเนียม, ไอโซโทปของรังสีสารที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนสารที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนกรดซัลฟูริก กรดเกลือสาร หรือวัตถุอื่น ที่อาจเป็นอันตรายได้9.1สารที่เป็นอันตราย ซึ่งยังไม่จำกัดอยู่ในประเภทใด ใน 8 ประเภทข้างต้น แต่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้น้ำแข็งแห้ง (dry ice)9.2สารที่ก่อให้เกิดอันตราย ต่อสภาวะแวดล้อม9.3ของเสียอันตราย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ
ปรับปรุงล่าสุด : 7 มีนาคม 2564
[email protected]

สัญลักษณ์แสดงอันตราย (Hazard pictogram)

ระบบสัญลักษณ์แสดงอันตราย  (Hazard pictogram) ที่รู้จักและนิยมใช้มีหลายระบบ เช่น ระบบ UN, ระบบ NFPA, ระบบ EEC และ ระบบ GHS

อันตรายทางกายภาพของสารเคมี

 

ระบบ EEC

ตามข้อกำหนดของประชาคมยุโรป ที่ 67/548/EEC สัญลักษณ์แสดงอันตราย (hazard pictogram) จะแบ่งออกตามประเภทของอันตราย โดยใช้รูปภาพสีดำเป็นสัญลักษณ์แสดงอันตรายบนพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีส้ม และมีอักษรย่อกำกับที่มุมขวา

อันตรายทางกายภาพของสารเคมี

สัญลักษณ์ข้อควรระวัง

อันตรายทางกายภาพของสารเคมี
วัตถุระเบิดได้ (E: Explosive) สารเคมีที่เกิดปฏิกิริยาแล้วให้ความร้อนและแก๊สอย่างรวดเร็ว หรือ เมื่อได้รับความร้อนในสภาวะจำกัดจะเกิดการระเบิด หรือ เผาไหม้อย่างรุนแรง
หลีกเลี่ยงการกระแทกเสียดสี แหล่งกำเนิดประกายไฟ และความร้อน
อันตรายทางกายภาพของสารเคมี
วัตถุไวไฟสูงมาก (F+: Extremely Flammable) ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 0°Cและจุดเดือดไม่เกิน 35°C แก๊ส และแก๊สผสมซึ่งไวไฟในอากาศที่อุณหภูมิและความดันปกติควรเก็บให้ห่างจากแหล่งที่มีเปลวไฟ, ประกายไฟ และความร้อน
อันตรายทางกายภาพของสารเคมี
วัตถุไวไฟมาก (F: Highly Flammable) ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 0°Cและจุดเดือดไม่เกิน 35°C แก๊ส และแก๊สผสมซึ่งไวไฟในอากาศที่อุณหภูมิและความดันปกติควรเก็บให้ห่างจากแหล่งที่มีเปลวไฟ, ประกายไฟ และความร้อน
อันตรายทางกายภาพของสารเคมี
สารออกซิไดส์ (O: Oxidizing) สารเคมีซึ่งโดยปกติไม่ลุกไหม้เอง แต่เมื่อสัมผัสกับสารซึ่งลุกไหม้ได้สามารถให้ออกซิเจน แล้วเร่งการลุกไหม้ได้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่ไวไฟ ระวังอันตรายจากการจุดติดไฟ เมื่อเกิดไฟไหม้สารนี้จะเร่งไฟไหม้มากขึ้น และทำให้การดับไฟยากขึ้น
อันตรายทางกายภาพของสารเคมี
สารพิษ (T+/T: Toxic) การสูดดม กลืนกิน หรือดูดซึมผ่านผิวหนังแม้เพียงปริมาณเล็กน้อยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรืออาจถึงตายได้ ในกรณีที่ได้รับสารเข้าไปในปริมาณมากหรือสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานานจะปรากฏอาการรุนแรง และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างถาวร โดยเฉพาะผลการก่อมะเร็ง การทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ และก่อการกลายพันธุ์ควรหลีกเลี่ยงการการสัมผัสกับร่างกายทุกรูปแบบ ถ้ารู้สึกไม่สบายให้ปรึกษาแพทย์ทันที ระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับสารก่อมะเร็ง สารที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือสารก่อการกลายพันธุ์ เมื่อจำเป็นต้องใช้ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะของแต่ละสาร
อันตรายทางกายภาพของสารเคมี
สารอันตราย (Xn : Harmful) การสูดดม การกลืนกิน หรือซึมผ่านผิวหนังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพ ถ้าใช้อย่างไม่เหมาะสม โดยเฉพาะสารซึ่งน่าสงสัยว่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง สารก่อการกลายพันธุ์ และสารที่มีพิษต่อระบบสืบพันธุ์ การสูดดมอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับร่างกายทุกรูปแบบ ให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ สำหรับสารก่อมะเร็ง สารก่อการกลายพันธุ์ สารที่มีพิษต่อระบบสืบพันธุ์
อันตรายทางกายภาพของสารเคมี
สารกัดกร่อน (C : Corrosive) สารซึ่งโดยปฏิกิริยาเคมีจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตและกัดกร่อนอุปกรณ์ปฏิบัติการป้องกันไม่ให้สารกัดกร่อนเข้าตา สัมผัสผิวหนังและเสื้อผ้าเป็นพิเศษ รวมทั้งอย่าสูดดมไอของสารกลุ่มนี้ ในกรณีอุบัติเหตุหรือเมื่อรู้สึกไม่สบาย ให้ปรึกษาแพทย์ทันที
อันตรายทางกายภาพของสารเคมี
สารระคายเคือง (Xi : Corrosive) แม้จะไม่ได้มีคุณสมบัติกัดกร่อน หากผิวหนังหรือเยื่อเมือกสัมผัสสารนี้ ซ้ำๆ กันหรือเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดอาการบวม หากสัมผัสกับผิวหนังอาจก่อให้เกิดอาการแพ้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดวงตา ผิวหนัง และการสูดดมไอของสาร
อันตรายทางกายภาพของสารเคมี
สารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (N : Dangerous for the environment) การปล่อยสู่สภาพแวดล้อม จะทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทันทีอย่าปล่อยสู่ระบบสุขาภิบาล ดิน หรือสิ่งแวดล้อม ให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของการกำจัดพิเศษเฉพาะแต่ละสาร

รหัสความเสี่ยง (Risk phase)

รหัสที่ใช้บ่งบอกลักษณะของความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดจากสารเคมี ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 59 แบบ โดยใช้อักษร R นำหน้า ตามด้วยตัวเลข 1 ถึง 59

  • รหัสเดี่ยว เช่น R20 เป็นสารที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดม
  • รหัสแบบผสม เช่น R 20/21 เป็นสารอันตรายที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดมและสัมผัสทางผิวหนัง
    R20/21/22  สารที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดมสัมผัสทางผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไปเป็นต้น  <More Detial>

รหัสความปลอดภัย (Safety phase)

รหัสที่แสดงคำแนะนำด้านความปลอดภัยจากสารเคมีต่าง ๆ ปัจจุบันมีอยู่ 60 แบบ โดยใช้อักษร S นำหน้าตามด้วยตัวเลข 1- 60

  • รหัสเดี่ยว เช่น S1 เป็นสารที่ต้องเก็บให้มิดชิด
  • แสดงรหัสผสม เช่น S1/2 เป็นสารที่ต้องเก็บให้มิดชิดและห่างจากเด็ก
    S3/9/14 เป็นสารที่ต้องเก็บไว้ในที่เย็น มีการระบายอากาศที่ดีและเก็บห่างจาก… (สารที่อยู่ใกล้กันไม่ได้ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตจะเป็นผู้ระบุไว้) <More Detial>

 

ระบบ UN

United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods จำแนกสารที่เป็นอันตรายและเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตได้ หรือก่อให้เกิดความเสียหาย ออกเป็น 9 ประเภท (UN-Class) ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย

อันตรายทางกายภาพของสารเคมี

ประเภท 1 : ระเบิดได้
Class 1 : Explosivesของแข็งหรือของเหลว หรือสารผสมที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวมันเอง ทำให้เกิดแก๊สที่มีความดัน และความร้อนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายแก่บริเวณโดยรอบได้ ซึ่งรวมถึงสารที่ใช้ทำดอกไม้เพลิงและสิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย แบ่งเป็น 6 กลุ่มย่อย ได้แก่

1.1 สารหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรงทันทีทันใดทั้งหมด (Mass Explosive) เช่น เชื้อปะทุ ลูกระเบิด เป็นต้น
1.2 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใด ทั้งหมด เช่น กระสุนปืน ทุ่นระเบิด ชนวนปะทุ เป็นต้น
1.3 สารหรือสิ่งของที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และอาจมีอันตรายบ้าง จากการระเบิด หรือการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด เช่น กระสุนเพลิง เป็นต้น
1.4 สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด หากเกิดการปะทุหรือปะทุในระหว่างการขนส่ง จะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุ เช่น พลุอากาศ เป็นต้น
1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด
1.6 สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมากและไม่ระเบิดทันทีทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจำกัด เฉพาะในตัวสิ่งของนั้นๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการปะทุหรือแผ่กระจาย

ประเภทที่ 2 : แก๊ส
Class 2 : Gases

สารที่อุณหภูมิ 50°C มีความดันไอมากกว่า 300 kP หรือมีสภาพเป็นแก๊สอย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 20°C และมีความดัน 101.3 kP ได้แก่ แก๊สอัด แก๊สพิษ แก๊สในสภาพของเหลว แก๊สในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ และรวมถึงแก๊สที่ละลายในสารละลายภายใต้ความดัน เมื่อเกิดการรั่ว ไหลสามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการลุกติดไฟและ/หรือเป็นพิษและแทนที่ออกซิเจนในอากาศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้

2.1 แก๊สไวไฟ (Flammable Gases) หมายถึง แก๊สที่อุณหภูมิ 20°C  และมีความดัน 101.3 kP สามารถติดไฟได้เมื่อผสมกับ อากาศ 13% หรือต่ำกว่าโดยปริมาตร หรือมีช่วงกว้างที่สามารถติดไฟได้ 12% ขึ้นไป เมื่อผสมกับอากาศโดยไม่คำนึงถึง ความเข้มข้นต่ำสุดของการผสม โดยปกติแก๊สไวไฟ หนักกว่าอากาศ ตัวอย่างของแก๊สกลุ่มนี้ เช่น อะเซทิลีน ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจี เป็นต้น
2.2 แก๊สไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable Non-toxic Gases) หมายถึง แก๊สที่มีความดันไม่น้อยกว่า 280 กิโลปาสคาล ที่อุณหภูมิ 20°C หรืออยู่ ในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่เป็นก๊าซหนักกว่าอากาศ ไม่ติดไฟและ ไม่เป็นพิษหรือแทนที่ออกซิเจนในอากาศและทำให้เกิด สภาวะขาดแคลน ออกซิเจนได้ ตัวอย่างของแก๊สกลุ่มนี้ เช่น ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน เป็นต้น
2.3 แก๊สพิษ (Poison Gases) หมายถึง แก๊สที่มีคุณสมบัติเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือถึงแก่ชีวิตได้จาก การหายใจ โดยส่วนใหญ่หนักกว่าอากาศ มีกลิ่นระคายเคือง ตัวอย่างของแก๊สในกลุ่มนี้ เช่น คลอรีน เมทิลโบรไมด์ เป็นต้น

ประเภทที่ 3 : ของเหลวไวไฟ
Class 3 : Flammable Liquidsของเหลวหรือของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่เกิน 60.5°C  จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด หรือไม่เกิน 65.6°C จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด ไอของเหลวไวไฟพร้อมลุกติดไฟเมื่อมีแหล่งประกายไฟ เช่น แอซีโตน น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ เป็นต้นประเภทที่ 4 : ของแข็งไวไฟ
Class 4 : Flammable solidสารที่ลุกไหใ้ได้เองและสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้แก๊สไวไฟ
4.1 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) หมายถึง ของแข็งที่สามารถติดไฟได้ง่ายจากการได้รับความร้อน จากประกายไฟ/เปลวไฟ หรือเกิดการลุกไหม้ได้จากการเสียดสี เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไนโตรเซลลูโลส เป็นต้น หรือเป็นสารที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรง เช่น เกลือไดอะโซเนียม หรือเป็นสารระเบิดที่ถูกลดความไวต่อการเกิดระเบิด เช่น แอมโมเนียมพิเครต (เปียก) ไดไนโตรฟีนอล (เปียก) เป็นต้น
4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion) หมายถึง สารที่มีแนวโน้มจะเกิดความร้อนขึ้นได้เองในสภาวะการขนส่งตามปกติ หรือเกิดความร้อนสูงขึ้นได้เมื่อ สัมผัสกับอากาศและ มีแนวโน้มจะลุกไหม้ได้
4.3 สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with Water Emit Flammable Gases) หมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้ว มีแนวโน้มที่จะเกิดการติดไฟได้เองหรือทำให้เกิด แก๊สไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตรายประเภทที่ 5 :สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
Class 5 : Oxidizing and Organic peroxide5.1 สารออกซิไดส์ (Oxidizing) หมายถึง ของแข็ง ของเหลวที่ตัวของสารเองไม่ติดไฟ แต่ให้ออกซิเจนซึ่งช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้และอาจจะก่อให้เกิดไฟ เมื่อสัมผัสกับสารที่ลุกไหม้และ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง เช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ โซเดียมเปอร์ออกไซด์ โซเดียมคลอเรต เป็นต้น
5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่มีโครงสร้าง ออกซิเจนสองอะตอม -O-O- และช่วยในการเผาสารที่ลุกไหม้ หรือทำปฏิกิริยากับสารอื่นแล้วก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือเมื่อได้รับความร้อนหรือลุกไหม้แล้วภาชนะบรรจุสารนี้อาจระเบิดได้ เช่น แอซีโตนเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น

ประเภทที่ 6 : สารพิษและสารติดเชื้อ
Class 6 : Toxic 

 

 6.1 สารพิษ (Toxic Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่สามารถทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ รุนแรงต่อสุขภาพของคน หากกลืน สูดดมหรือหายใจรับสารนี้เข้าไป หรือเมื่อสารนี้ได้รับความร้อนหรือลุกไหม้จะ ปล่อยแก๊สพิษ เช่น โซเดียมไซยาไนด์ กลุ่มสารกำจัดแมลงศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น
6.2 สารติดเชื้อ (Infectious Substances) หมายถึง สารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนหรือสารที่มีตัวอย่าง การตรวจสอบของพยาธิ สภาพปนเปื้อนที่เป็นสาเหตุของ การเกิดโรคในสัตว์และคน เช่น แบคทีเรียเพาะเชื้อ เป็นต้น

ประเภทที่ 7 : วัสดุกัมมันตรังสี
Class 7 : Radioactivity

วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม เช่น โมนาไซด์ ยูเรเนียม โคบอลต์-60 เป็นต้นประเภทที่ 8 : สารกัดกร่อน
Class 8 : Corrosionของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดย ปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหาย ต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรงหรือ ทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่ง เมื่อเกิดการรั่วไหลของสารไอระเหยของ สารประเภทนี้ บางชนิดก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อจมูกและตา เช่น HCl, H2SO4, NaOH เป็นต้น

ประเภทที่ 9 : วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด
Class 9 : Miscellaneous Dangerous Substances and Articles

สารหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตรายซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึง 8 เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต เป็นต้น และให้รวมถึงสารที่ต้องควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100°C ในสภาพของเหลวหรือมีอุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 240°C  ในสภาพของแข็งในระหว่างการขนส่

 

ระบบ NFPA

The National Fire Protection Association ของสหรัฐอเมริกา กำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตราย (hazard pictogram) เป็นรูปเพชร (Diamond-shape) เพื่อใช้ในการป้องกันและตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ สัญลักษณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อย ขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่

  •  สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ (Flammability)
  •  สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health)
  •  สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกิริยาของสาร (Reactivity)
  •  สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลข 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย

อันตรายทางกายภาพของสารเคมี

ระดับพื้นที่สีแดงพื้นที่สีน้ำเงินพื้นที่สีเหลืองพื้นที่สีขาวอันตรายจากไฟ (Flammability)อันตรายต่อสุขภาพ (Health)ความไวต่อปฏิกริยา (Reactivity)แสดงข้อควรระวังพิเศษ (Special notice)4สารไวไฟมาก ได้แก่ สารที่ระเหยเป็นไอได้รวดเร็วที่อุณหภูมิห้องที่ความดันบรรยากาศ เมื่อกระจายตัวผสมกับอากาศแล้วติดไฟได้ หรือของเหลวที่มีจุดวาบไฟ (Flash point) ต่ำกว่า 22.8oC จุดเดือดน้อยกว่า 37.8oC รวมทั้งสารที่ติดไฟได้เอง เมื่อสัมผัสกับอากาศสารที่ได้รับเพียงเล็กน้อยจะทำให้ตายได้ หรือเป็นอันตรายรุนแรงได้รวมทั้งสารที่จะเป็นอันตรายอย่างมาก ถ้าใช้งานโดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกันสารที่สามารถย่อยสลายตัวหรือระเบิดได้ด้วยตัวเองที่อุณหภูมิห้องและความดันปกติ รวมถึงสารที่ไวต่อความร้อน และแรงสั่นสะเทือนสารบางชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวที่ควรสนใจเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ คุณสมบัติของสารเหล่านี้จะแสดงด้วยอักษรย่อ หรือสัญลักษณ์ ดังนี้
OXY: เป็นสารออกซิไดส์ (สารเหล่านี้เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีจะให้ออกซิเจน หรืออิเล็กตรอน)
ACID : กรด
ALK : เบส
W: เป็นสารที่ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ3ของเหลวหรือของแข็งที่ติดไฟได้ในอากาศ ที่อุณหภูมิปกติ ได้แก่ สารที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า 22.8oC และมีจุดเดือดมากกว่า 37.8oCสารที่เมื่อสูดดมในเวลาสั้น ๆ หรือสัมผัสผิวหนัง ประมาณเล็กน้อยจะเป็นอันตรายร้ายแรงชั่วคราว หรือมีผลตกค้างได้สารที่สลายหรือเกิดระเบิดได้ เมื่อได้รับความร้อนหรือแรงสันสะเทือนที่สูงพอ รวมถึงที่เกิดระเบิดได้เมื่อถูกน้ำ2สารที่ต้องใช้ความร้อนปานกลางก่อนจะติดไฟในอากาศ ถ้ามีปริมาณมากพออาจก่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นพิษได้ ได้แก่ของเหลวที่มีจุดวาบไฟ สูงกว่า 37.8oC แต่ไม่เกิน 93.4oCสารที่เมื่อได้รับในปริมาณที่มากพอจะทำให้เกิดทุพพลภาพชั่วคราว หรือถาวรได้ รวมถึงสารที่ต้องใช้เครื่องป้องกันอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจสารที่จะเกิดปฏิกิริยารุนแรงในอุณหภูมิและความดันปกติ รวมถึงสารที่เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ1สารประเภทที่ต้องให้ความร้อนสูงก่อนจะติดไฟและเผาไหม้ในอากาศได้ ได้แก่สารที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 93.4oCสารที่เมื่อได้รับในระยะเวลาสั้น ๆ จะเกิดการระคายเคืองได้สารประเภทนี้ จะมีความคงตัวในสภาวะปกติ แต่ไม่มีความคงตัวเมื่ออุณหภูมิหรือความดันเพิ่ม รวมถึงสารที่สลายตัวเมื่อถูกอากาศ แสงสว่าง หรือความชื้น0วัตถุที่ไม่ติดไฟในอากาศ แม้ว่าจะให้ความร้อนสูงถึง 815.5oC นานถึง 5 นาทีสารประเภทนี้ ไม่เป็นอันตราย นอกจากเวลาติดไฟสารประเภทนี้มีความคงตัวสูง แม้ว่าจะได้รับความร้อนก็ตาม รวมถึงสารที่ไม่ทำปฏิกริยากับน้ำ

 

ระบบ GHS

ระบบ GHS (Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals)  คือระบบสากลการจัดกลุ่มความเป็นอันตรายและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก พัฒนาขึ้นโดยองคNการสหประชาชาติเพื่อให้ทั่วโลกมีการจัดกลุ่มความเป็นอันตรายของสารเคมีที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคํานึงถึงความเป็นอันตรายทางด้าน

ความเป็นอันตรายทางกายภาพมีอะไรบ้าง

อันตรายทางกายภาพ (physical hazard) ได้แก่ ความสั่นสะเทือน (vibration), ความร้อน (heat), เสียง (noise), รังสี (radiation) และการบาดเจ็บ (trauma) อันตรายจากชีววัตถุ (biological hazard) ได้แก่ การติดเชื้อโรค เช่น โรคไวรัสลงตับ, โรคเอดส์ และวัณโรค เป็นต้น

สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง

1. ของเสียที่เป็นพิษร้ายแรง ได้แก่ของเสียที่เกิดจากขยะประเภทโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมี่ยม โครเมียม สารหนู ยาฆ่าแมลง ซึ่งของเสียเหล่านี้จะก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายของมนุษย์และสัตว์ หากเข้าไปสัมผัสโดยตรง นอกจากนั้นยังสามารที่จะคงตัวอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานมากอีกด้วย

ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีอะไีบ้าง

การจำแนกประเภทความเป็นอันตรายทางสุขภาพ.
ความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute toxicity).
การกัดกร่อนการระคายเคืองต่อผิวหนัง (Skin corrosion/irritation).
การทำลายดวงตาอย่างรุนแรง / การละคายเคืองต่อดวงตา ... .
ความไวต่อการแพ้กับระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง ... .
การกลายพันธ์ุของเซลล์สืบพันธ์ุ (Germ cell mutagenicity).