การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน

“ร้อยพ่อ พันแม่” ถือเป็นสำนวนไทยที่ไม่ล้าสมัยเลย  เมื่อต่างคนต่างที่มา ความคิดเห็นย่อมต่างกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดความขัดแย้งขึ้น แม้ว่านายจ้างจะพยายามคัดสรรบุคคลมาแล้วจากการสัมภาษณ์งานก็ตาม

ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวเสียทีเดียว เพราะบางความขัดแย้งอาจก่อให้เกิดผลดี คือ เกิดการแข่งขัน  สร้างความท้าทายให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ทำให้องค์กรอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในปัจจุบัน แต่บางความขัดแย้งอาจฉุดความก้าวหน้าขององค์กร  ซึ่งในกรณีนี้จะต้องหาสาเหตุที่เกิดขึ้น  ตลอดจนผลกระทบเพื่อหาเทคนิคและรูปแบบที่จะนำมาแก้ไขให้ปัญหาให้เหมาะสมโดยยึดหลักความถูกต้อง  ยุติธรรม และการยอมรับเหตุผลด้วยกันทุกฝ่าย

และนี่คือ 6 กลยุทธ์ที่จะช่วยแก้ไขความขัดแย้งในที่ทำงาน

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน

1.อ้าแขนรับปัญหา | เจรจาด้วยเหตุผล

เมื่อเกิดปัญหาขึ้น “อย่าหนีปัญหา” หรือทำเฉยเพื่อให้เรื่องจบๆ ไป เพราะจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายลงไปกว่าเดิม การไม่สะสางปัญหาอาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความรู้สึกแย่ๆ ระหว่างคู่กรณี รวมไปถึงสร้างความตึงเครียดให้กับผู้ร่วมงานคนอื่นด้วย

การเผชิญหน้ากันในช่วงเวลาที่เกิดปัญหาขึ้นนี่แหละคือเวลาที่เหมาะ เพียงแต่ต้องเลือกช่วงเวลาที่ควร ที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะเจรจาเพื่อหาข้อยุติด้วยเหตุผลไม่ใช่อารมณ์

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน

2.หันหน้าคุยกัน | เลี่ยงคำพูดรุนแรง

เจรจาเพื่อหาสาเหตุของความขัดแย้งให้เจอ เช่น มาจากความแตกต่างของเป้าหมาย หรือเป็นเพราะข้อมูลที่แต่ละคนได้รับมานั้นต่างกัน  เมื่อถึงเวลาคุยกันก็จงสื่อสารในสิ่งที่เกิดขึ้นให้มากๆ จนได้รับคำตอบและข้อสรุปจากสิ่งที่เกิด

เปลี่ยนวิธีพูด วิธีถาม และหลีกเลี่ยงคำพูดรุนแรงที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์จนนำไปสู่การโต้แย้ง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการเจรจารวมไปถึงลองนั่งลงคุยกันดีๆ เพราะการนั่งคุยกันจะช่วยลดการใช้ภาษากาย หรืออารมณ์โกรธจากการโต้แย้งได้

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน

3.ฟังอย่างตั้งใจ | ป้องกันตีความผิด

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปัญหาความขัดแย้งลุกลาม คือ การไม่รับฟังกันอย่างจริงใจ ลองฟังคำตอบจากอีกฝ่ายบ้างเพราะอาจจะทำให้ค้นพบสาเหตุของความขัดแย้งว่าอาจมาจากการตีความที่ผิดพลาดหรือการรับรู้ข้อมูลที่ต่างกันมาก็ได้

ตระหนักให้ดีว่าในการทำงานกับคนส่วนรวมนั้นต้องอาศัยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันจึงจะทำให้งานสำเร็จไปได้ และจงลดความยุ่งเหยิง ความมั่นใจ  ความเครียด ความไม่มีเวลาพอที่จะรับฟังลง เพราะนั่นคืออุปสรรคสำคัญที่ทำให้สูญเสียสมรรถะในการฟัง

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน

4.หาข้อตกลง | ยึดงานเป็นที่ตั้ง

กำหนดประเด็นที่เห็นด้วยและบอกสาเหตุที่ไม่เห็นด้วยให้อีกฝ่ายได้รับรู้อย่างชัดเจน  เพื่อหาทางออกร่วมกันโดยยึดเป้าหมายหลักของการทำงานเป็นที่ตั้ง และเมื่อร่วมมือกันแล้วก็พยายามผ่อนปรนเงื่อนไขข้อเรียกร้องระหว่างกันเพื่อหาข้อยุติที่ทุกฝ่ายยอมรับได้

เมื่อได้ข้อตกลงร่วมกันแล้วอาจทำข้อตกลงออกมาในรูปของสัญญา แล้วให้แต่ละฝ่ายนำข้อตกลงไปปฏิบัติเพื่อตรวจสอบว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้หรือไม่ อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือหารือร่วมกันแก้ปัญหาใหม่อีกครั้งเพื่อปรับปรุงข้อตกลงให้เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน

5.หาคนกลาง | ไกล่เกลี่ยปัญหา

การมีคนกลางเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งนับเป็นทางออกอีกวิธีที่น่าสนใจไม่น้อย ซึ่งผู้ไกล่เกลี่ยจะทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้ทั้งสองฝ่าย ช่วยกำหนด วิเคราะห์และสร้างความเข้าใจในความจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยรับฟังเงื่อนไขของปัญหาเพื่อนำไปสู่การสร้างความปรองดองโดยไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน

6.ขอโทษให้เป็น | อภัยให้เร็ว

คงต้องยอมรับว่า “ข้อตกลงร่วม” นั้นคงไม่ใช่วิธีการที่ถูกใจใครไปเสียทั้งหมด แต่ก็ต้องยอมรับอีกด้วยว่านั่นคือวิธีที่ดีที่สุดในขณะนั้นที่จะทำให้ปัญหาต่างๆคลี่คลายลง และทำให้ทุกอย่างเดินหน้าต่อไปได้

คำแนะนำที่จะช่วยทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็ว คือ

“ขอโทษ” ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกคน หากรู้ตัวแล้วก็จงกล่าวคำขอโทษให้เป็นด้วยความจริงใจ เพราะการกล่าวคำขอโทษไม่ใช่เรื่องที่น่าละอาย แต่เป็นการแสดงความกล้าหาญที่น่ายกย่องต่างหาก

“ให้อภัย” การแสดงน้ำใจที่น่านับถือที่สุด คือ การรู้จักให้อภัยผู้อื่น เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด เพื่อที่ทั้งสองฝ่ายที่เคยเกิดปัญหาจะได้กลับมาทำงานร่วมกันได้อย่างสบายใจและพร้อมเดินไปข้างหน้าด้วยกัน

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต้องมาจากส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนที่มาจากตัวของวัยรุ่นเอง และ ส่วนที่มาจากองค์ประกอบของปัจจัยต่างๆ
1.การป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยตัวของวัยรุ่นเอง 
           1.) วัยรุ่นต้องรู้จักนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งและวิธีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์มาใช้ ด้วยการฝึกวิเคราะห์ให้มองเห็นถึงลักษณะความรุนแรง พฤติกรรมความรุนแรง ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถูกกระทำและผู้กระทำ ดังตัวอย่างตารางความเชื่อมโยงของลักษณะพฤติกรรมความรุนแรงและผลกระทบจากหน้า 64 เมื่อวิเคราะห์และมองเห็นถึงสิ่งที่จะขึ้นแล้ว ต้องพยายามปรับพื้นฐานทางด้านทัศนคติของตนเองให้เกิดคุณลักษณะที่ดีในตนเอง ได้แก่ คุณลักษณะที่ไม่นิยมการใช้ความรุนแรง มีเมตตากรุณา มีความเป็นธรรม รู้จักนับถือตนเองและผู้อื่น ฝึกการนำทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์มาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดข้อขัดแย้ง เช่น การรู้จักพูดจาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การรู้จักปฏิเสธเมื่อถูกชักชวนให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
            2.) ต้องรู้จักป้องกันความรุนแรงที่เกิดจากอิทธิพลความเชื่อหรือค่านิยมบางอย่าง เช่น ค่านิยมในวิธีการแสดงความรักต่อสถาบันหรือเพื่อนร่วมสถาบันที่ผิดวิธี หรือค่านิยมในการฟุ้งเฟ้อตามกระแสนิยมของสังคม ในขณะที่สภาพความพร้อมทางด้สนเศรษฐกิจของตนเองยังไม่เอื้ออำนวยโดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ได้แก่ ความรักเพื่อนไม่ใช่การยอมทำตามใจเพื่อนทุกอย่าง ศักดิ์ศรีของลูกผู้ชายไม่ใช่อยู่ที่วิธีการใช้ความรุนแรง ความผิดหวังเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต หรือการถอยคนละก้าวดีกว่าการเดินหน้าชนกัน

             3) ต้องพยายามฝึกตรวจสอบความเชื่อของตนเองโดยวิธีดึงข้อดีข้อเสียของความคิด ความเชื่อในเรื่องนั้น ๆ ออกมาพิจารณาหรือไตร่ตองให้ถี่ถ้วน
             4) ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ พยายามหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง
             5) วัยรุ่นต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือสนับสนุนให้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในทุกสถาน6) เมื่อประสบปัญหาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งจนนำไปสู่พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงต้องรู้จักแหล่งที่จะขอคำแนะนำหรือการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  เช่น  พอแม่ผู้ปกครอง  ครูอาจารย์ในสถานศึกษา แหล่งขอรับบริการทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตหรือสถานีตำรวจในท้องที่ประสบเหตุ

 2.การป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ปัจจัยสนับสนุน 
             สภาพพื้นฐานของครอบครัวสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา  สื่อสารมวรชนแหนงต่างๆตลอดจนสภาพทางเศรษฐกิจถือว่าเป็นปัจจัยสนับที่มีส่วนให้วัยรุ่นเกิดความขัดแย้งขึ้นในจิตใจ ดังนั้นการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีแนวทางปฎิบัติที่เป็นปัจจัยต่าง ๆ ในภาพรวม ดังนี้
                 1.) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว แนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่การสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดแก่สมาชิกในครอบครัว พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องหมั่นพูดคุย รับฟังปัญหา ให้คำปรึกษาที่ดีแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว และในกรณีที่สมาชิกอยู่ในระหว่างการศึกษาต้องให้ความสำคัญในการสื่อสารระหว่างสถานที่ศึกษากับบ้าน เพื่อรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสามชิก และปัญหาต่าง
                 2.) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา แนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ คณะครูทุกคนต้องคอยดูแลให้คำแนะนำนักเรียนในกรณีที่พบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงทั้งในฐานะที่เป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำ ควรสอดแทรกความรู้ในเรื่องโทษของการใช้วิธีการรุนแรงหรือแสดงพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงผลเสียดังกล่าว หรือควรให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะชีวิต (life skills) ที่จำเป็นแก่นักเรียน การสร้างความเข้มแข็งระหว่างบ้าน ชุมชน และโรงเรียนให้เกิดขึ้น
                 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับสื่อนั้นๆต้องมีจิตสำนึกที่ดีในเรื่องการนำเสนอสื่อโดยเฉพาะภาพลักษณ์ของพฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม นอกจากนี้รัฐควรออกมาตรการที่คอยดูแลควบคุมสื่อให้มีความเหมาะสมในการนำเสนอข่าวสาร กระตุ้นและชี้แนะให้วัยรุ่นได้เข้าใจถึงข้อดีข้อเสีย หรือการเลือกรับพิจารณาข้อเท็จจริงจากสื่อ
                4.) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจ แนวทางปฏิบัติท่สำคัญ ได้แก่ ส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความเข้าใจ และรู้จักนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิต ส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักการใช้ความสามารถของตนเอง หรือใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการนำมาซึ่งรายได้ที่ถูกต้องเหมาะสมโดยไม่ผิดศีลธรรม ประเพณี และกฎหมาย

เรียนรู้...สู่...ปฏิบัติ

1. ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้งจากปัจจัยจากตัวบุคคล การเลี้ยงดูของครอบครัว และสิ่งแวดล้อม แล้วนำมาสรุปผล
             2. หาข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้ง แล้วนำมาวิเคราะห์สาเหตุ และแนวทางในการแก้ไขปัญหา
             3. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน ระดมสมองวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งของวัยรุ่นทั้งต่อตัวผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ

แหล่งสืบค้น ความรู้
• นักเรียนสามารถค้นคว้าความรู้เรื่อง ความขัดแย้งในวัยรุ่น เพิ่มเติมได้จากการสอบถามครู อาจารย์ นักจิตวิทยา หรือศึกษาจากสื่อ/เอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง และที่เว็บไซต์
 http://www.thaimental.com หรือ http://www.kapook.com/hilight/education/3080.htm http://www.ffc.or.th/thml/docu/violent.htm

ข้อใดเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

คำแนะนำที่จะช่วยทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็ว คือ.
อ้าแขนรับปัญหา | เจรจาด้วยเหตุผล ... .
หันหน้าคุยกัน | เลี่ยงคำพูดรุนแรง ... .
ฟังอย่างตั้งใจ | ป้องกันตีความผิด ... .
หาข้อตกลง | ยึดงานเป็นที่ตั้ง ... .
หาคนกลาง | ไกล่เกลี่ยปัญหา ... .
ขอโทษให้เป็น | อภัยให้เร็ว.

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมวิธีใดเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ผู้เขียนมองว่าโดยทั่วไปการแก้ไขความขัดแย้งด้วยการเผชิญหน้า เป็นวิธีที่มี ประสิทธิภาพมากที่สุดจากวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ยินยอมที่จะหันหน้าเข้าหารือกันเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยกันบริหารความขัดแย้ง การร่วมมือกัน

แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักเรียนและเยาวชนในชุมชนมีอะไรบ้าง

แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักเรียนและเยาวชนในชุมชน 1.การเจรจา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2.ใช้บุคคลที่ 3 มาช่วยไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้ง 3.แก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง

สิ่งใดที่จะช่วยลดความขัดแย้งในสังคมได้มากที่สุด

การให้อภัยและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น จะช่วยลดความขัดแย้งในสังคมได้มากที่สุด เพราะหากทุกคนมีการให้อภัย เข้าใจและยอมรับความแตกต่างซึ่งกันและกัน ก็ย่อมส่งผลให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข และมีความปลอดภัย