ข่าวจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์

29 ธันวาคม 2017

ข่าวจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์

ที่มาของภาพ, Getty Images

ในรอบปีนี้มีข่าวคราวด้านเทคโนโลยีที่สำคัญเกิดขึ้นมากมาย ตั้งแต่เรื่องมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่สร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลก ไปจนถึงเรื่องบิทคอยน์ ที่มีมูลค่าพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่มีความรุดหน้าอย่างมากจนสร้างความวิตกกังวลให้คนหลายวงการ

มัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตีทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของมัลแวร์ WannaCry ยุติลงได้ หลังหนุ่มนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ชาวอังกฤษ วัย 22 ปี คนหนึ่ง ซึ่งใช้นามแฝงในการเขียนบล็อกและเป็นชื่อบัญชีทวิตเตอร์ว่า "มัลแวร์เทค" (MalwareTech) ค้นพบรหัสทำลายตนเองที่เรียกกันว่าคิลสวิตช์ (kill switch ) ที่แฝงอยู่ในมัลแวร์ตัวนี้

ที่มาของภาพ, WEBROOT

คำบรรยายภาพ,

มัลแวร์เรียกค่าไถ่ชื่อ WannaCry เข้าปิดล็อกระบบคอมพิวเตอร์ในหลายประเทศและเรียกร้องเงินค่าไถ่เพื่อปลดล็อก

ในเวลาต่อมา สื่ออังกฤษเปิดเผยว่าวีรบุรุษผู้หยุดยั้ง WannaCry ได้คือนายมาร์คัส ฮัตชินส์ แม้เจ้าตัวจะไม่ต้องการเปิดเผยตัวตนก็ตาม ส่งผลให้ในเวลาต่อมาเขาถูกสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ จับกุมขณะเดินทางไปนครลาสเวกัส โดยทางการสหรัฐฯ กล่าวหาว่าเมื่อหลายปีก่อนเขาได้พัฒนามัลแวร์โจมตีระบบธนาคารแล้วนำไปขายในเว็บมืด ซึ่งเป็นข้อหาที่นายฮัตชินส์ ปฏิเสธ ขณะนี้เขาได้รับการประกันตัวและกำลังรอขึ้นศาลสู้คดีในนครลอสแอนเจลิส

กรณีที่เกิดขึ้นกับนายฮัตชินส์ สร้างกระแสไม่พอใจให้กลุ่มผู้มีอาชีพด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ซึ่งบางคนประกาศจะไม่ให้ความช่วยเหลือแก่ทางการอีกต่อไป

เฟซบุ๊กมีผู้ใช้งาน 1 ใน 4 ของประชากรโลก

ขณะที่ เฟซบุ๊ก ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ของโลกประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญหลังจากเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้รายเดือนของเฟซบุ๊กพุ่งสูงกว่า 2 พันล้านคน หรือคิดเป็นกว่า 1 ใน 4 ของประชากรโลก นับเป็นแรงดึงดูดรายได้โฆษณาที่สำคัญ ซึ่งทางบริษัทระบุว่ารายได้ระหว่างเดือน เม.ย.-มิ.ย. ปีนี้ สูงถึง 9,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (312,000 ล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้น 45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มาของภาพ, Getty Images

ความสำเร็จครั้งนี้มีขึ้นหลังจากนายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ก่อตั้งเฟซบุ๊กเมื่อ 13 ปีก่อน ทั้งยังหมายความว่าเฟซบุ๊กมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในระยะเวลามาถึง 5 ปีด้วย

บิทคอยน์ มูลค่าพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์

บิทคอยน์ทำสถิติมูลค่าพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน ธ.ค. 2017 เงินสกุลดิจิทัลนี้มีมูลค่าแตะระดับ 19,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากที่เมื่อช่วงต้นปี มีมูลค่าไม่ถึง 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ มูลค่าการซื้อขายที่ผันผวนนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเตือนว่า บิทคอยน์กำลังจะเข้าสู่ภาวะคล้ายกับ 'ดอทคอม บูม' (dotcom boom) ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ซึ่งตลาดหุ้นทะยานขึ้นเพราะการลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เนตเพิ่มขึ้นอย่างมาก

แต่ขณะเดียวกันก็มีคนจำนวนมากแย้งว่า มูลค่าบิทคอยน์กำลังเพิ่มขึ้นเพราะว่า มันกำลังจะกลายเป็นสกุลเงินหลัก (เขาสู่กระแสหลักของการเงิน)

ที่มาของภาพ, Getty Images

แม้นักลงทุนจำนวนมากจะยินดีที่มูลค่าบิทคอยน์พุ่งทะยานขึ้น แต่หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่ง กำลังพยายามหาหนทางในการทำความเข้าใจกับบิทคอยน์อยู่

ธนาคารกลางของจีนสั่งปิดตลาดซื้อขายบิทคอยน์ออนไลน์ไปแล้ว อินโดนีเซียและบังกลาเทศห้ามการใช้บิทคอยน์เป็นเครื่องมือในการชำระเงิน ด้านรัฐบาลอินเดียประกาศชัดเจนว่า ไม่ยอมรับว่าบิทคอยน์เป็น "เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" แต่ยังไม่มีหลักเกณฑ์แน่ชัด ในการกำกับการซื้อขายบิทคอยน์

ไอโฟนรุ่นใหม่กับระบบจดจำใบหน้า

คำบรรยายวิดีโอ,

บริษัทเวียดนามทำหน้ากากหลอก Face ID ของ iPhone X

หน้ากากดังกล่าวเป็นการผสมผสานกันของโครงหน้าจากการพิมพ์สามมิติ การแต่งหน้า จมูกที่ทำจากซิลิโคน และภาพสองมิติ สามารถใช้ปลดล็อกหน้าจอโทรศัพท์ได้สำเร็จ

เอไอ ภัยคุกคามมนุษย์?

รอบปีที่ผ่านมามีข่าวคราวความคืบหน้าด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่น่าทึ่งหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น "โซเฟีย" หุ่นยนต์ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายมนุษย์ และถูกพัฒนาให้สามารถพูดคุยตอบโต้กับมนุษย์ได้เอง และได้รับสิทธิ์ให้เป็นซาอุดีอาระเบีย

คำบรรยายวิดีโอ,

รู้จักหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์รุ่นล่าสุด

ที่มาของภาพ, Getty Images

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า กระแสข่าวดังกล่าวไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดที่ว่า เอไอเริ่มประดิษฐ์ภาษาของตัวเองที่มนุษย์ไม่เข้าใจขึ้นใช้งานได้แล้ว ทั้งที่จริงเรื่องนี้เป็นผลมาจากการทำงานของ Neural Network (ระบบคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นโดยเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์) ที่พยายามดัดแปลงภาษาคนเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในสายตาของระบบเท่านั้น

สาเหตุที่ทำให้ผู้คนหวั่นวิตกกับข่าวดังกล่าวนั้น ส่วนหนึ่งอาจมาจากกรณีที่ผู้นำในแวดวงเทคโนโลยี เช่น นายอีลอน มัสก์ กับ นายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เคยปะทะคารมกันในเรื่องที่ว่าเอไอจะให้คุณหรือให้โทษในอนาคต โดยนายซักเคอร์เบิร์ก แสดงความไม่เห็นด้วยกับวิสัยทัศน์ของนายมัสก์ ที่มองว่าเทคโนโลยีเอไอนั้น จะเป็นอันตรายต่อมนุษยชาติในอนาคต และควรมีการควบคุมกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวเสียแต่บัดนี้ ขณะที่กลุ่มบุคคลและองค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเอไอ 116 ราย ได้เข้าชื่อกันยื่นร้องเรียนต่อองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ให้พิจารณาวางมาตรการป้องกันการคิดค้นและใช้งาน "หุ่นยนต์สังหาร" หรือเทคโนโลยีที่ควบคุมตนเองได้โดยอัตโนมัติใด ๆ ซึ่งใช้ทำอันตรายต่อชีวิตมนุษย์โดยเร่งด่วน