ต่อ ทีวี กับ ลํา โพ ง

ปัญหาเรื่องการอัพเกรดระบบเสียงในทีวีเริ่มมีคนให้ความสนใจกันมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีทีวีที่เป็นจอแบนทั่วไปซึ่งเริ่มต้องการคุณภาพของเสียงให้ดีมากกว่าที่เป็นอยู่ อาจเริ่มต้นตั้งแต่การนำอุปกรณ์ขยายเสียงของเก่าของคุณมาปัดฝุ่น หรือหยิบฉวยเอาเครืองเสียงอื่น ๆ ที่คิดว่าน่าจะอัพเกรดเสียงของทีวีได้

การเพิ่มคุณภาพเสียงของทีวีจึงเป็นสิ่งที่เราจะมาพูดถึงกัน เราแบ่งทางเลือกออกเป็น 4 ทางเลือกที่จะสามารถอัพเกรดคุณภาพของเสียงจากทีวีนั้นได้โดยจะเริ่มต้นจากทางเลือกที่ให้คุณภาพเสียงที่ดีที่สุดลดหลั่นกันลงไปจนถึงการเชื่อมต่อแบบอะนาล็อก และแบบไร้สาย เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

เสียงของทีวี ไม่มีก็ไม่ได้
คงเป็นเรื่องตลกนะครับถ้าซื้อทีวีมาเครื่องนึงแล้วไม่ให้ระบบเสียงมาด้วย คุณคงอาจไม่หันไปมองทีวีตัวนั้นด้วยซ้ำ แต่เราก็ไม่ได้ใส่ใจว่าระบบเสียงที่มากับทีวีนั้นมันจะสร้างคุณค่าได้ขนาดไหน เสียงในทีวีหลาย ๆ ตัวจะมักทำขึ้นมาเพียงเพื่อให้รับชมรายการข่าว หรือละครช่วงหัวค่ำได้อย่างมีอรรถรสเท่านั้น ยิ่งเมื่อพื้นที่ที่ทีวีถูกจำกัดให้น้อยลง บางลง การที่จะให้เสียงจากลำโพงทีวีตอบสนองความถี่ได้ครบมันยิ่งยากเข้าไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงความถี่ต่ำ ๆ ซึ่งถูกทิ้งไปตั้งแต่ระดับหลักร้อยเฮิรตซ์ลงมา

แต่สิ่งที่ทีวีรุ่นใหม่ ๆ หรือถ้าคุณจะซื้อทีวีรุ่นใหม่ ๆ ต้องใส่ใจน่าจะเป็นเรื่องของภาคถอดรหัส ทั้ง Dolby Digital และ DTS ที่ถึงแม้จะเป็นแบบ 2 แชนเนล เป็นอย่างน้อย เพราะปัจจุบันนี้คอนเทนต์วิดีโอต่าง ๆ ที่เข้ารหัสเสียงมาต้องการการถอดรหัสก่อนที่จะเข้าสู่ภาคขยาย ถ้าทีวีถอดรหัสได้การนำเสียงออกมาขยายภายนอกก็ทำได้ง่ายขึ้น ออกจากทีวีทางช่องต่อต่าง ๆ ที่เราจะมาอธิบายถึงคุณสมบัติโดยละเอียดของแต่ละชนิดกัน

ต่อ ทีวี กับ ลํา โพ ง

ต่อ ทีวี กับ ลํา โพ ง
การต่อทีวีกับ Soundbar ทางช่อง HDMI (ARC) ใช้สาย HDMI เส้นเดียว
ต่อ ทีวี กับ ลํา โพ ง
การต่อทีวีกับ Soundbar ทางช่อง HDMI ที่ไม่มี (ARC) ต้องใช้สาย ดิจิทัลอีกเส้นเพื่อนำเสียงจากทีวีมาเข้าที่ Soundbar

ทางเลือกที่ 1 HDMI Audio Return Channel (ARC)
ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าทีวีรุ่นใหม่ ๆจะมีช่อง HDMI หนึ่งช่องที่ระบุไว้ข้าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ตัวย่อว่า ARC หมายความว่าช่อง HDMI ช่องนี้สามารถส่งสัญญาณเสียงจากทีวีกลับมายังอุปกรณ์ภาคขยายที่เป็น AV receiver หรือ sound bar รุ่นใหม่ ๆ ที่มีอินพุต HDMI (ARC) ที่รองรับฟังก์ชั่น Audio Return Channel ทางช่อง HDMI เช่นกันทำให้เราไม่ต้องต่อพ่วงสายสัญญาณเสียงจากทีวีเข้ามาที่ภาคขยาย เพิ่มเติมนับว่าเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด และได้คุณภาพสัญญาณที่ดีที่สุดจากทีวี

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
– เพียงแต่คุณต้องเช็คให้แน่ใจว่าที่ทีวีมีฟังก์ชันนี้รองรับ และเสียบช่องต่อให้ถูกต้องตามช่อง อินพุตที่ระบุจะต้องมี av receiver หรือ sound bar ที่สามารถรองรับฟังก์ชั่น HDMI (ARC) นี้ด้วย

ทางเลือกที่ 2 Digital Output (S/PDIF)
ทีวีจอแบนส่วนใหญ่ปัจจุบันนี้ต้องมีเอาต์พุตของระบบเสียงที่เป็นดิจิทัลให้มาด้วยทุกตัว ทีวีบางเครื่องเรียกช่องต่อนี้ว่า S/PDIF (Sony/Philips Digital Interface Format) ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพียงพอกับการใช้งานกับเสียงที่เป็นสเตอริโอ หรือเสียงในระบบ 5.1 แชนเนลจากทีวี เพื่อส่งผ่านให้อุปกรณ์ขยายเสียงภายนอกในการถอดรหัส และขับลำโพง จะมีขั้วต่อดิจิทัลอยู่ 2 ชนิดที่นิยมใช้กัน

อย่างแรกจะเป็นขั้วต่อแบบ Optical นำแสง หรือบางทีเราก็เรียกว่าสาย fiber optic คือใช้แสงเป็นตัวนำในการส่งผ่านเสียงดิจิทัลมาที่ปลายทาง ขั้วต่ออีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้กันด้านหลังทีวีก็คือขั้วต่อ Coaxial ที่ใช้สายแกนเดี่ยว 75 โอห์มเป็นตัวนำในการส่งผ่านสัญญาณดิจิทัล การเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับว่าที่ทีวีของคุณจะเป็นขั้วต่อประเภทไหนซึ่งส่วนใหญ่ทีวีมักจะให้ขั้วต่ออย่างใดอย่างหนึ่งมาให้เลือกใช้

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
– ดูที่หลังทีวีว่ามีขั้วต่อดิจิทัลประเภทใด เป็น Optical หรือ Coaxial ที่ปลายทาง ต้องมีอินพุตสำหรับขั้วต่อ Optical หรือ Coaxial เช่นเดียวกัน
– ทีวีบางรุ่นอาจจะต้องเลือกเปิดใช้งานฟังก์ชั่นที่เขียนว่า S/PDIF ด้วย ถ้าต่อออกมาเข้าแอมป์แล้วเสียงเงียบ ก็ต้องลองปรับที่ทีวีให้ปล่อยสัญญานเป็น PCM ออกมาทางช่องเอาพุตนี้ดู
– บางทีเสียง และภาพอาจไม่ตรงกัน ต้องปรับแต่งด้วยฟังก์ชั่นลิปซิงค์ที่ตัวทีวีช่วย
– ส่วนใหญ่แล้วการเชื่อมต่อทางดิจิทัลมักจะไม่ผ่านวอลลุ่มที่ตัวทีวี อุปกรณ์ที่เอามาเชื่อมต่อทางช่องนี้ควรมีภาคปรีฯเพื่อสามารถเพิ่มหรือลดวอลลุ่มได้ด้วย

ทางเลือกที่ 3 การเชื่อมต่อด้วยสัญญาณอะนาล็อกต่างขั้วต่อ RCA
ในกรณีที่ไม่สามารถเชื่อมต่อระบบเสียงจากทีวีออกทางช่องต่อดิจิทัลได้การใช้ขั้วต่ออะนาล็อก RCA ก็เป็นทางเลือกที่สามารถนำเสียงในแบบ stereo 2 แชนแนล ไปสู่ av receiver หรืออุปกรณ์ที่สามารถรองรับสัญญาณอะนาล็อก เพื่อนำเสียงที่เราต้องการจากทีวีไปขยายออกลำโพงอีกที

ต่อ ทีวี กับ ลํา โพ ง

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
– ในกรณีที่จำเป็นต้องเชื่อมต่อแบบอะนาล็อก 2 channel เข้ากับ av receiver และอยากฟังเสียงที่เป็นเซอร์ราวเราสามารถเลือกใช้ฟังก์ชั่นการสร้างเสียงเซอร์ราวด์จากต้นฉบับที่เป็น 2 channel ใน av receiver ก็ได้ อย่างเช่น ฟังก์ชันของ Dolby ที่ใช้ชื่อ Dolby ProLogic IIx หรือของ DTS ที่ใช้ชื่อ DTS NEO 6
– ทีวีบางรุ่นอาจจะใช้ขั้วต่อเอ้าพุตแบบมินิแจ๊ค 3.5 ม.ม. ออกมาจากทีวีต้องใช้สายที่เป็นมินิแจ๊ค และอีกด้านหนึ่งเป็นขั้วต่อแบบ RCA

ทางเลือกที่ 4 การเชื่อมต่อแบบไร้สายทาง bluetooth
ทีวีบางรุ่นสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ไร้สายที่รองรับระบบเสียงในรูปแบบของ bluetooth audio ได้ด้วย ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มความดังของเสียงจากทีวีแต่อย่างเดียว อาจจะเป็นอุปกรณ์อย่างเช่นหูฟังไร้สายที่เชื่อมต่อด้วยสัญญาณ bluetooth ทำให้การดูภาพยนตร์หรือการฟังเสียงจากทีวี ไม่ไปรบกวนผู้อื่น แต่ปัจจุบันไม่ได้หมายความว่าทีวี ที่มี bluetooth ทุกตัวจะสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รับสัญญาณประเภทบลูทูธได้เหมือนกันหมด ที่เราได้ลองมาทีวีหลายตัว เลือกที่จะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์บลูทูธ เฉพาะบางรุ่นบางยี่ห้อเท่านั้น

สรุปทิ้งท้าย
ถ้าคุณทำตามคำแนะนำของเราอย่างใดอย่างหนึ่ง คุณก็จะได้เสียงที่ออกมาจากทีวีที่สมบูรณ์ขึ้นในทุกอินพุตที่เชื่อมต่อกับทีวี แต่อย่าลืมว่า การนำเสียงเข้าไปฝากไว้ในทีวีแล้วต่อมามันไม่ใช่ทางเลือกดีไปทั้งหมด ถ้าคุณมีเอวีรีซีฟเวอร์หรือซาวน์ดบาร์ที่สามารถรับอินพุตได้เอง การต่อเชื่อมอินพุตทั้งหมดไปที่อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าที่จะได้คุณภาพเสียงที่ดีที่สุด