พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด


พยัญชนะ  สระ มาตราตัวสะกด  และวรรณยุกต์


ทีี่มา : https://www.youtube.com/watch?v=yRCXfQykRjo


พยัญชนะ


พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด
                                                                                 พยัญชนะไทย ๔๔ ตัว                              ที่มา : https://pantip.com/topic/31764911


    พยัญชนะ ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า
'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว

          หน้าที่ของพยัญชนะ

           ๑. เป็นพยัญชนะต้น คือ  พยัญชนะซึ่งอยู่ต้นพยางค์ พยัญชนะทุกตัวทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นได้

           ๒. เป็นตัวสะกด คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์มี ๘ เสียง เรียกว่า “มาตราสะกด”

           ๓. เป็นตัวการันต์ คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายแต่ไม่ออกเสียงส่วนมากมาจากภาษาอื่น

           ๔. เป็นตัวอักษรควบ คือ พยัญชนะที่ออกเสียงกล้ำกับ ร ล ว 

           ๕. เป็นอักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวประสมกันสระเดียวกันแต่ออกเสียง ๒ พยางค์

           ๖. พยัญชนะที่เป็นรูปสระด้วย คือ ย ว อ

           ๗. พยัญชนะอัฒสระ คือ พยัญชนะที่มีเสียงกึ่งสระ ได้แก่ ย (อิ อี) ร (ฤ ฤา) ล (ฦ ฦา)
อ (อุ อู  )

           ๘. พยัญชนะที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกด ได้แก่ ฌ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ (ฃ ฅ)

           ๙. พยัญชนะที่ไม่ใช้ในปัจจุบัน คือ ฃ ฅ



สระ

          สระ หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้

          เสียงสระ  ในภาษาไทยมี ๓๒ เสียง ดังนี้

พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด

                                                                                   ที่มา : https://sites.google.com/site/phasathiynaru2559/bth-thi-1/1-2


          เมื่อเวลาออกเสียงสระ เช่น อะ อา เอะ เอ เอียะ เอีย จะออกเสียงแตกต่างกัน บางตัว

ออกเสียงสั้น บางตัวออกเสียงยาว บางตัวเหมือนมีสระสองเสียงกล้ำกัน ดังนั้น จึงจัดแบ่งเสียงสระเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้ ๕ พวกด้วยกัน คือ

          . สระเสียงสั้น ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา

          . สระเสียงยาว ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ

          . สระเดี่ยว ได้แก่ สระที่เปล่งเสียงออกมาเป็นเสียงเดียว ไม่มีเสียงอื่นประสมมี 18 ตัวได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ

          . สระประสม คือ สระที่มีเสียงสระเดี่ยว 2 ตัวประสมกัน มี 6 ตัวได้แก่

                    ๔.๑ เอียะ เสียง อิ กับ อะ ประสมกัน

                    ๔.๒ เอีย เสียง อี กับ อา ประสมกัน

                    ๔.๓ เอือะ เสียง อึ กับ อะ ประสมกัน

                    ๔.๔ อือ เสียง อื กับ อา ประสมกัน

                    ๔.๕ อัวะ เสียง อุ กับ อะ ประสมกัน

                     ๔.๖ อัว เสียง อู กับ อา ประสมกัน

          . สระเกิน คือ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระเดี่ยว ต่างกันก็แต่ว่าสระเกินจะมีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย มี ๘ ตัว ได้แก่

                    ๕.๑ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ (รึ รือ ลึ ลือ) มีเสียงพยัญชนะ ร ล ประสมอยู่

                    ๕.๒ อำ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ม สะกด

                    ๕.๓ ใอ ไอ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ย สะกด (คือ อัย)

                    ๕.๔ เอา มีเสียง อะ และพยัญชนะ ว สะกด


           *** บางตำราถือว่าภาษาไทยมี ๒๑ เสียง ทั้งนี้ คือไม่รวมสระเกินซึ่งถือว่าเป็นหน่วยเสียง
ในตัวเองโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว และไม่รวมสระประสมเสียงสั้น คือ เอียะ เอือะ อัวะ เนื่องจากมีที่ใช้ในภาษาไทยน้อยมาก และส่วนใหญ่จะเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติซึ่งไม่ได้ใช้สื่อความหมายอื่น


มาตราตัวสะกด

      มาตราตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ผสมอยู่ข้างหลังคำหรือพยางค์ในแม่ ก กา ทำให้แม่ ก กา มีตัวสะกด  
เช่น มี เมื่อประสมกับ ด กลายเป็น มีด เป็นต้น


        มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา  คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น มา เสือ ตัว มือ เสีย ดำ ฯลฯ 

                                        ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=ssa3LPmAG2g


ส่วนมาตราตัวสะกดมีทั้งหมด ๘ แม่ คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน แบ่งได้ดังนี้

๑. มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี ๔ มาตรา คือ

     แม่กง ใช้ ง สะกด เช่น หาง ปลิง สอง งง แรง ฯลฯ 

                                            ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=q_CNxXWmu40


     แม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ลม แต้ม โสม มุม งอม สนาม ฯลฯ

                                           ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=5FJpItigg64


     แม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น สาย ลอย โปรย เฉย ปุ๋ย ฯลฯ

                                              ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=pwCcgBjnUy4

     แม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น แห้ว กาว เปรี้ยว เปลว ฯลฯ

                                         ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=1nCCgnzXCuk

      

๒. มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี ๔ มาตรา คือ

     แม่กน  ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ สะกด เช่น นาน วิญญาณ วานร กาลเวลา พระกาฬ ฯลฯ

                                           ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=_lOhz5_c_ZY


     แม่กก  ใช้ ก ข ค ฆ สะกด เช่น ปัก เลข วิหค เมฆ ฯลฯ

                                           ที่มา :  https://www.youtube.com/watch?v=7b_LCWSVZgg


     แม่กด  ใช้ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น แปด ตรวจ ก๊าช บงกช กฎหมาย ปรากฏ อิฐ ครุฑ วัฒนา เปรต โอสถ บาท โกรธ กระดาษ รส เลิศ ฯลฯ

                                          ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=jGW2X08X-1Q


     แม่กบ   ใช้ บ ป ภ พ ฟ สะกด เช่น กลับ บาป ลาภ นพรัตน์ กราฟ ฯลฯ


                                        ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=1RDbkVo4yWM


วรรณยุกต์

          วรรณยุกต์ หมายถึง เครื่องหมายที่แสดงเสียงสูง ต่ำ ของคำในภาษาไทย มี ๔ รูป ๕ เสียงคือ

                 สามัญ      เอก        โท       ตรี      จัตวา

                  -ไม่มีรูป-       ่            ้          ๊           ๋

         

          ในภาษาไทยคำทุกคำเมื่อใส่วรรณยุกต์เข้าไปแล้ว จะทำให้อ่านออกเสียงต่างกัน
และความหมายของคำก็จะเปลี่ยนไปด้วย


          การผันอักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ

         อักษรกลาง พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบทั้ง ๕ เสียง คือ ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ตรีเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น

                * แต่ถ้าเป็นคำตาย จะผันได้แค่ 4 เสียง คือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา


          อักษรสูง พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท

                * แต่ถ้าเป็นคำตาย จะผันได้แค่ 2 เสียง คือ เสียงเอก และเสียงโท


                อักษรต่ำ พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี  ที่มา


พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พยัญชนะสระวรรณยุกต์มีอะไรบ้าง

เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง 1. เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน 2. เสียงเอก เช่น ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด.
อักษรสูง มี 11 ตัวคือ ข ข ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห.
อักษรกลาง มี 9 ตัวคือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.
อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ.

พยัญชนะสระตัวสะกดคืออะไร

ตัวสะกด หมายถึง พยัญชนะที่ทำหน้าที่บังคับเสียงท้ายคำให้มีเสียงและคำตามความต้องการ ในภาษาไทยแบ่งตัวสะกดออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ตัวสะกดที่เป็นรูปพยัญชนะเดี่ยว ในภาษาไทยมี ๘ เสียง ( ๘ มาตรา ) ได้แก่ ๑. แม่กก พยัญชนะในแม่กก คือ ก , ข , ค , ฆ เช่น จาก สุข นาก เมฆ ฯลฯ ๒. แม่กง พยัญชนะในแม่กง คือ ง เช่น จง ปลง กรง สรง ฯลฯ

พยัญชนะต้นอยู่ด้านใดของสระ

๓. เสียงพยัญชนะสามารถปรากฏที่ต้นคำ โดยนำหน้าเสียงสระ เรียกว่า พยัญชนะต้น และปรากฏหลังคำ โดยอยู่หลังเสียงสระ เรียกว่าพยัญชนะสะกด

พยัญชนะที่อยู่หลังตัวสะกดเรียกว่าอะไร

พยัญชนะท้าย หรือตัวสะกดตัวสะกด เป็นพยัญชนะที่ใช้บังคับเสียงท้ายคำ บางมาตราใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา บางมาตราใช้ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา มีทั้งหมด 9 มาตรา มาตราตัวสะกดที่ใช้ตัวสะกดตัวเดียวตรงตามมาตรามี 4 มาตรา มาตราแม่ กง คือ คำที่มีตัว ง สะกด เช่น โรง แห้ง ตรง