ปก โครงการ โรงเรียน ปลอด ขยะ

ปก โครงการ โรงเรียน ปลอด ขยะ

13 ธ.ค. 60 อ่าน 1520 ครั้ง

          กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)  ปี 2561 ขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้น รณรงค์เสริมสร้างจิตสำนึกและความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางในการลดปริมาณขยะ การแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งการรวบรวมขยะเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีให้กับเครือข่ายสถานศึกษา และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถานศึกษาทั่วประเทศได้มีโอกาสพัฒนาการเรียนการสอนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดกิจกรรมโดยใช้เยาวชนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของครูอาจารย์ ผู้เรียนและชุมชนโดยรอบสถานศึกษา

         สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรี จึงใคร่ขอเชิญชวนโรงเรียน สมัครเข้าร่วมโครงการประกวดโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)  ปี 2561 ทั้งนี้ สามารถ Download ใบสมัครและแนวทางการจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาโครงการประกวดโรงเรียนปลอดขยะได้ทางเว็บไซด์ www.mnre.go.th/phetchaburi/th/ โดยสามารถส่งใบสมัครและเล่มรายงานการดำเนินงานมายังสำนักงานฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
จนถึงวันที่
14 กุมภาพันธ์ 2561 และติดต่อสอบถามเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ 032 425028 โทรสาร 032 425802  

เอกสารแนบ

2โรงเรียนขยะปก

ขนาดไฟล์:7.30 Mb | ประเภทไฟล์: .jpg | ดาวน์โหลด: 72 ครั้ง

แผ่นพับโรงเรียนปลอดขยะแนวตั้ง

ขนาดไฟล์:3.28 Mb | ประเภทไฟล์: .pdf | ดาวน์โหลด: 73 ครั้ง

แนวทางการจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาปี61 โรงเรียน

ขนาดไฟล์:0.05 Mb | ประเภทไฟล์: .docx | ดาวน์โหลด: 84 ครั้ง

ใบสมัครโรงเรียนปลอดขยะ61

ขนาดไฟล์:2.41 Mb | ประเภทไฟล์: .jpg | ดาวน์โหลด: 73 ครั้ง

  • ตัวอย่างคู่มือการจัดการขยะในสถานศึกษา
  • วิธีการลดปริมาณขยะในโรงเรียน
  • Rethink (คิดใหม่)
  • Reduce (ลดการใช้)
  • Reuse (ใช้ซ้ำ)
  • Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่)
  • Repair (ซ่อมแซม)
  • Reject (ปฏิเสธ)
  • Return (ตอบแทน)

สวัสดีครับ วันนี้ ปันสื่อฟรี ขอนำเสนอ คู่มือการจัดการขยะในสถานศึกษา โรงเรียนปลอดขยะ
(Zero Waste School) จัดทำโดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างคู่มือการจัดการขยะในสถานศึกษา

ปก โครงการ โรงเรียน ปลอด ขยะ
ตัวอย่างคู่มือการจัดการขยะในสถานศึกษา

ปก โครงการ โรงเรียน ปลอด ขยะ
ตัวอย่างคู่มือการจัดการขยะในสถานศึกษา

วิธีการลดปริมาณขยะในโรงเรียน

โรงเรียนในฐานะที่เป็นแหล่งให้ความรู้ และปลูกฝังวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนซึ่งจะเติบโตเป็นอนาคตของชาติต่อไป จึงมีแนวคิดที่จะให้นักเรียนลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวันลง โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ฝึกการคัดแยกขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ วิธีการนี้นอก จากจะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำเข้าเตาเผาได้แล้ว ยังเป็นการฝึกทักษะการทำงานให้กับนักเรียน และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งของอีกด้วย

Rethink (คิดใหม่)

เป็นการเปลี่ยนความคิดเรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้องเหมาะสมไม่ได้ทำตามกระแสแต่อย่างเดียว  แต่ทำจากใจหรือจากจิตสำนึกที่ดี  เช่น

  –  การซื้อสินค้าที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Reduce (ลดการใช้)

เป็นการลดใช้ทรัพยากรให้เหลือเท่าที่จำเป็นหรือนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  เช่น

–  ใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าหวายเลิกง้อถุงพลาสติก

–   ใช้กล่องข้าวหรือปิ่นโตลดการใช้โฟม

–   ใช้แก้วน้ำส่วนตัวงดใช้แก้วที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

–   พยายามอย่าใช้กระดาษสิ้นเปลือง ควรพิมพ์และถ่ายเอกสารเท่าที่จำเป็น จะช่วยลดการตัดต้นไม้และลด

Reuse (ใช้ซ้ำ)

เป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือใช้อีกครั้ง หรือหลายๆครั้ง เช่น

–  แยกประเภทกระดาษที่ใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อย่างเหมาะสมกระดาษดีนำมาใช้พิมพ์ใหม่เป็นกระดาษ 2 หน้าสำหรับเอกสารร่าง กระดาษยับนำมาตัดเป็นกระดาษโน้ต  กระดาษ 2 หน้าทำเป็นถุงใส่ของ

–  บริจาคสิ่งของที่เลิกใช้แล้วแต่มีสภาพดีให้กับผู้ที่ขาดแคลน

–  ประกวดนวัตกรรมนำขยะกลับมาใช้ซ้ำ เช่น การนำกระดาษมาเป็นซองใส่ยา ฯลฯ

–  ใช้ถุงพลาสติกซ้ำหลายๆครั้งตามสภาพความเหมาะสม

Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่)

 เป็นการนำวัสดุที่หมดที่หมดสภาพแล้วหรือที่ใช้แล้วมาแปรสภาพด้วยกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาใช้หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่  เช่น

  –   คิดก่อนทิ้งว่าขยะช่วยกันแยกประเภทขยะเพื่อให้ได้ขยะรีไซเคิลมากที่สุดและเพื่อช่วยลดขั้นตอนและลดพลังงานในการกำจัดขยะ  เนื่องจากขยะแต่ละชนิดมีวิธีการกำจัดที่ไม่เหมือนกัน

Repair (ซ่อมแซม)

เป็นการซ่อมแซมให้ใช้การได้ใหม่  เช่น

  –  กระป๋องพลาสติก ที่แตกร้าวหรือเป็นรูใช้กาวประสานหรืออุดรูเหล่านั้นมันก็ยังใช้ได้เหมือนเดิมทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น การกลายเป็นขยะก็ยืดเวลาออกไป

Reject (ปฏิเสธ)

เป็นการปฏิเสธการใช้ทรัพยากรแบบครั้งเดียวทิ้งหรือหารนำเข้าจากแดนไกล  หรือการปฏิเสธใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำลายโลก  เช่น พลาสติก  กล่องโฟมบรรจุอาหาร

Return (ตอบแทน)

เป็นการตอบแทนสิ่งที่พวกเราได้ทำลายไปคืนสู่โลก เช่น

  – ปลูกต้นไม้กันเยอะ ๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวคืนแก่โลก ช่วยโลกสดใส ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดปัญหาโลกร้อน