เมืองหน้าด่านในสมัยอยุธยาตอนต้น

การปกครองในสมัยอยุธยา ตอนกลาง

เมืองหน้าด่านในสมัยอยุธยาตอนต้น

การปกครองของกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาแห่งการเป็นราชธานีอันยาวนาน  มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแตกต่างกันแต่ละยุคแต่ละสมัย  ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการปกครองได้เป็น 3 ช่วง  คือ  สมัยอยุธยาตอนต้น  สมัยอยุธยาตอนกลาง  และสมัยอยุธยาตอนปลาย

สมัยอยุธยาตอนกลาง
ช่วงเวลาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 1991 – 2231)  สมัยนี้เป็นสมัยที่อาณาจักรอยุธยามีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น  และเริ่มเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่  มีอำนาจทางการเมืองการปกครองเจริญรุ่งเรืองสูงสุด  รวมทั้งมีสภาพทางเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง  มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ
ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้มีการจัดระเบียบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง  เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของอาณาจักรอยุธยาในขณะนั้นที่ขยายดินแดนกว้างออกไป
สาเหตุที่ทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองอาณาจักรอยุธยา  มีดังนี้
1.  สืบเนื่องจากการที่อยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปกว้างขวาง  และได้รวมเอาดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร  จึงจำเป็นต้องขยายอำนาจการปกครองออกไปให้ควบคุมดินแดนท้งหมดไว้ได้
2.  เกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงของอาณาจักร  จากการที่เมืองหน้าด่านมีกองกำลังป้องกันเมืองจึงมีอำนาจมาก  ทำให้เกิดการชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง
3.  ทรงต้องการปรับปรุงระเบียบการปกครองที่มีมาแต่เดิม  เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น

1.1  การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ทรงจัดแบ่งขุนนางและไพร่พลทั่วราชอาณาจักรใหม่  โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย  คือ  ฝ่ายพลเรือน  และฝ่ายทหาร
ในยามที่บ้านเมืองสงบสุข  หน้าที่ของฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารจะแยกจากกัน  เพื่อรับผิดชอบบริหารบ้านเมืองตามที่ได้รับมอบหมายให้มีประสิทธิภาพ  แต่เมื่อยามเกิดสงคราม  ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องรวมกำลังกัน  เพื่อต่อสู้ข้าศึกศัตรูและป้องกันประเทศให้มั่นคงปลอดภัย
ฝ่ายทหาร  มีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาดูแลราชการฝ่ายทหารทั่วราชอาณาจักร  เพื่อเตรียมไพร่พลและกำลังอาวุธไว้ให้พร้อมเพรียง  สามารถสู้รบในยามเกิดสงครามได้
ฝ่ายพลเรือน  มีสมุหนายกเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาดูแลรับผิดชอบงานฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร  และคอยกำกับดูแลการทำงานของเหล่าเสนาบดีจตุสดมภ์เดิม  ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเปลี่ยนชื่อ  และปรับปรุงหน้าที่ของหน่วยงานทั้ง 4 ใหม่  โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารราชการแผ่นดินแตกต่างกันไปตามที่ทรงมอบหมาย  ดังนี้
กรมเวียง  (นครบาล) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง  และรักษาความสงบสุขของราษฎรในเขตราชธานี
กรมวัง  (ธรรมาธิกรณ์)  มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับราชสำนัก  งานราชพิธี  และพิพากษาคดีความของราษฎร
กรมคลัง  (โกษาธิบดี)  มีหน้าที่ดูแลรายรับรายจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์  จัดเก็บอากรค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
กรมนา  (เกษตราธิการ)  มีหน้าที่ดูแลส่งเสริมให้ราษฎรทำไร่  ทำนา  เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง  เพื่อใช้เป็นเสบียงในยามศึกสงครามหรือยามเกิดข้าวยากหมากแพง

 1.2  การปกครองส่วนภูมิภาค
                         สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการปกครองส่วนภูมิภาคให้มีลักษณะแบบเดียวกันกับส่วนกลาง  และได้ยกเลิกเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านทั้ง 4 ทิศ  โดยแบ่งเขตของการปกครองเป็น 3 เขต  ดังนี้
1)  หัวเมืองชั้นใน  ได้แก่  เมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี  เช่น  ราชบุรี  เพชรบุรี  ชัยนาถ  นครสวรรค์  สุพรรณบุรี  ชลบุรี  เป็นต้น  เมืองเหล่านี้มีฐานะเป็นเมืองจัตวา  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางไปปกครอง  ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า  ผู้รั้ง
2)  หัวเมืองชั้นนอก  ได้แก่  เมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีออกไป  แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามขนาดและความสำคัญของแต่ละเมือง  ดังต่อไปนี้
–  เมืองชั้นเอก  เป็นเมืองใหญ่  มีประชาชนมาก  เช่น  พิษณุโลก  นครศรีธรรมราช
–  เมืองชั้นโท  เป็นเมืองที่สำคัญรองลงมา  เช่น  สุโขทัย  กำแพงเพชร  สวรรคโลก
–  เมืองชั้นตรี  เป็นเมืองที่ขนาดเล็ก  เช่น  ไชยา  ชุมพร  นครสวรรค์
3)  หัวเมืองประเทศราช  ได้แก่  เมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา  เช่น  ปัตตานี  มะละกา  เชียงกราน  ทวาย  ผู้ปกครองต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ  ต้นไม้เงิน  ต้นไม้ทอง  มาถวายกษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยา  โดยมีข้อกำหนด 3 ปีต่อหนึ่งครั้ง  และต้องส่งกองทัพมาช่วยสู้รบกับข้าศึกศัตรูเมื่อเมืองหลวงเกิดมีศึกสงครามขึ้น  วิธีการปกครองยังคงใช้วิธีเดียวกับสมัยอยุธยาตอนต้น

1.3  การปกครองส่วนท้องถิ่น
                         สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้การปกครองดูแลได้ทั่วถึงมากขึ้น  โดยเริ่มจากหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล  ตำบลมีกำนันดูแล  แขวงมีหมื่นแขวงดูแล  และเมืองมีเจ้าเมืองดูแล  การปกครองท้องถิ่นดังกล่าวได้ใช้สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

เมืองหน้าด่านสมัยอยุธยาตอนต้นประกอบด้วยเมืองอะไรบ้าง

การปกครองนอกราชธานี ประกอบด้วย เมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช โดยมีรูปแบบกระจายอานาจออกจากศูนย์กลางค่อนข้างมาก เมืองหน้าด่าน ได้แก่ ลพบุรี นครนายก พระประแดง และสุพรรณบุรี ตั้งอยู่รอบราชธานีทั้งสี่ทิศ ระยะเดินทาง จากราชธานีสองวัน พระมหากษัตริย์ทรงส่งเชื้อพระวงศ์ที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง แต่ ...

เมืองหน้าด่านในสมัยอยุธยาตอนต้นที่อยู่ทางทิศใต้คือเมืองใด

2. เมืองลูกหลวง (หัวเมืองชั้นใน) เป็นเมืองหน้าด่านาตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) ทิศใต้ ได้แก่ เมืองสระหลวง (พิจิตรเก่า)

เมืองใดเป็นเมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยาตอนต้น

1.3) เมืองต่างๆ ในดินแดนแกนกลางของอาณาจักร ซึ่งต่อมาคือเมือง ลูกหลวง ได้แก่ เมืองสุพรรณบุรี ลพบุรี สรรค์ และชัยนาท ส่วนเมืองหลานหลวง ได้แก่ เมืองอินทบุรี และพรหมบุรี ผู้ที่จะปกครองเมืองเหล่านี้ขึ้นอยู่กับ ลักษณะเมือง ถ้าเมืองไหนมีความสำคัญมาก ราชธานีจะส่ง เจ้านายชั้นสูงไปปกครอง เมืองลูกหลวงและหลานหลวงมีอำนาจในการปกครอง ...

การจัดหัวเมืองในสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นรูปแบบใด

การปกครองหัวเมือง อยุธยาเป็นเมืองหลวง เป็นจุดของศูนย์รวมอำนาจการปกครอง ล้อมรอบด้วยเมืองลูกหลวง ประกอบด้วย ทิศเหนือ เมืองลพบุรี ทิศตะวันออก เมือง นครนายก ทิศใต้ เมือง นครเขื่อนขันธ์ และทิศตะวันตก เมือง สุพรรณบุรี