ปรับโครงสร้างหนี้ เสียประวัติ pantip

เมื่อเกิดเหตุที่ทำให้รายรับลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น หรือทั้ง 2 อย่างพร้อมกัน แม้จะลองลดค่าใช้จ่ายแล้ว แต่ก็มีแววว่าจะเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหว จะหาเงินก้อนมาปิดทันทีก็เป็นไปไม่ได้ ถ้าคุณกำลังเจอปัญหานี้ สิ่งแรกที่ต้องรีบดำเนินการคือ รีบติดต่อกับสถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้ที่มีอยู่

          การปรับโครงสร้างหนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญากู้เงินที่เคยทำไว้กับเจ้าหนี้ได้อีกต่อไปได้  ด้วยการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ให้เหมาะสมกับรายรับที่ลดลงหรือความสามารถในการชำระหนี้ที่เปลี่ยนไป โดยที่ไม่ต้องรอให้เป็นหนี้เสีย (Non-Performing Loan : NPL) เพราะหากปล่อยปัญหาหนี้ไว้นานเกินไปอาจส่งผลเลวร้ายกว่าที่คิด เช่น ถูกฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ และหาทางออกได้ยากยิ่งขึ้น

          ก่อนจะเริ่มกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ เราควรเริ่มต้นจากการศึกษาทางเลือกในการปรับโครงสร้างหนี้และลองคิดไว้ล่วงหน้าว่าแบบไหนที่เหมาะกับความสามารถในการผ่อนชำระของเรามากที่สุด ตัวอย่างรูปแบบของการปรับโครงสร้างหนี้มีดังนี้

1. ขอขยายเวลาชำระหนี้ หรือการยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไปซึ่งจะทำให้ค่างวดลดลง เช่น สัญญาฉบับเดิมมีระยะเวลาการกู้อยู่ที่ 10 ปี ค่างวดอยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน ผ่อนชำระมาแล้ว 7 ปี เหลือระยะเวลาผ่อนอยู่ 3 ปี แต่เมื่อเริ่มผ่อนไม่ไหว จึงขอเจรจาขยายเวลาชำระหนี้กับเจ้าหนี้ออกไปจาก 3 ปีเป็น 5 ปี เพื่อให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนลดลงต่ำกว่า 10,000 บาท เพื่อลดภาระในการจ่ายค่างวดแต่ละเดือนให้แก่ลูกหนี้ได้ 

2. รีไฟแนนซ์ (refinance) คือ "การเปลี่ยนเจ้าหนี้"หรือการ "ปิดหนี้" จากเจ้าหนี้รายเดิมมาเป็นเจ้าหนี้รายใหม่หรือทำสัญญาใหม่กับเจ้าหนี้เดิมที่เงื่อนไขดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยถูกลง แล้วนำเงินที่ได้มาปิดหนี้ก้อนเดิมที่มีอยู่  แต่ก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์ ควรคำนึงถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ค่าจดจำนอง ค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ ค่าประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเจ้าหนี้ การทำสัญญาใหม่ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้กับเจ้าหนี้

           รู้หรือไม่ ปัจจุบัน ธปท.  มีโครงการ "คลินิกแก้หนี้" เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน โดยรวมหนี้เสียจากเจ้าหนี้หลายเจ้ามาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และเหลือผ่อนชำระกับเจ้าหนี้รายเดียวคือ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางเชื่อมโยงระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ทุกราย โดยสามารถผ่อนชำระนานสูงสุดถึง 10 ปี ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงมาก ควบคู่กับการให้ความรู้ทางการเงิน  สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ //www.debtclinicbysam.com/

3. ขอลดอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ค่างวดที่เราจ่ายในแต่ละเดือนสามารถนำไปตัดเงินต้นได้มากขึ้น หมดหนี้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ เจ้าหนี้อาจมีเงื่อนไขการพิจารณาอนุมัติปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่แตกต่างกัน เช่น พิจารณาจากอายุของลูกหนี้ ประวัติการผ่อนชำระ และความสามารถในการชำระหนี้หลังปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 

          นอกจากที่กล่าวมา การปรับโครงสร้างหนี้หรือเงื่อนไขการชำระหนี้ยังมีอีกหลายรูปแบบ โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  //www.bot.or.th/covid19/Pages/content/retail/restructuring/default.aspx

          หากไม่รู้ว่าจะเริ่มกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้อย่างไรดี เริ่มจากติดต่อสถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นเจ้าหนี้ของเราเสียก่อน เพื่อสอบถามแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ร่วมกัน จากนั้น ลองศึกษาวิธีการหรือเงื่อนไขในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รูปแบบต่าง ๆ จัดเตรียมเอกสารหรือข้อมูลตามที่กำหนดก่อนเข้าสู่กระบวนการขอเจรจาปรับโครงสร้างหนี้  ที่สำคัญที่สุดคือ ควรประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของเราให้ดีเสียก่อน และไม่รับเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ทำไม่ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการผ่อนชำระหนี้ไม่ไหวตามมาอีก ทั้งนี้ เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ต้องไม่ลืมตรวจสอบสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้แก่ จำนวนเงินต้น อัตราดอกเบี้ย หรือระยะเวลา ว่าเป็นไปตามที่เจรจาตกลงไว้หรือไม่และในอนาคต หากปรับโครงสร้างหนี้แล้วแต่สถานการณ์ยังแย่ลงอีก ก็สามารถติดต่อเจรจาเจ้าหนี้ได้อีกครั้งเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป


มีประวัติปรับโครงสร้างหนี้ ธนาคารไม่ปล่อยกู้ ???

รบกวนขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ทุกท่านหน่อยนะคะ
เนื่องจากเราจะกู้ร่วม ซื้อบ้านกับสามี(ผู้กู้หลัก) แต่ธนาคารแจ้งว่าของเรามีประวัติการปรับโครงสร้างหนี้ ธนาคารไม่สามารถปล่อยกู้ให้ได้
แนะนำให้ยื่นของสามีคนเดียว.. สิ่งที่ไม่เข้าใจมีดังนี้ค่ะ
1.เรามีประวัติปรับโครงหนี้เมื่อปี 57 โทรเข้าไปขอปรับเอง เนื่องจากการเงินสะดุด (ณ เวลานั้น) และชำระดีมาตลอด และปัจจุบันชำระหมดแล้ว (หมดเมื่อเดือน ตค.61) ที่ผ่านมา / มีการยื่นกู้ร่วมซื้อบ้านกับสามี (ราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท) แต่ธนาคารไม่ปล่อยของเราแจ้งว่ามีประวัติการปรับโครงสร้างหนี้มาก่อน หลังจากปิดยอดหนี้ใช้ระยะเวลา 1 ปี ถึงทำธุรกรรมอื่นๆได้ / เลยแอบเสียใจว่าที่เราโทรเข้าไปแสดงความต้องการปรับเอง และ จ่ายตรงจ่ายดีมาตลอด ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆเลยใช่มั้ย (เพราะอยากรักษาเครดิตของตัวเองไว้) อยากขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้หน่อยค่ะ พอจะมีวิธีแนะนำอย่างไรได้บ้างคะ
(สามีกู้คนเดียว เค้ามีภาระต้องผ่อนรถด้วยกลัวจะไม่ได้ยอดเต็มจำนวนค่ะ)
ขอบคุณค่ะ


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ