จงอธิบายลักษณะการทำงานของอุปกรณ์โมเด็ม modem

1.MODEM ชนิดติดตั้งภายนอก [ External Modem ] โดยจะต่อกับ Serial Port โดยใช้หัวต่อที่เป็น DB-25 หรือ DB-9 ต่อกับ Com1, Com2 หรือ USB ข้อดีคือสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ ติดตั้งได้ง่าย ไม่เพิ่มความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากติดตั้งอยู่ภายนอกและใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก สามารถใช้ งานกับเครื่อง NoteBook ได้เนื่องจากต่อกับ Serial Port หรือ Parallel Port มีไฟแสดง สภาวะการทำงานของโมเด็ม

ข้อดี
เคลื่อนย้ายได้สะดวก ติดตั้งง่าย ไม่เปลือง Slot
ข้อเสีย
เสีย Port ไปหนึ่ง Port ต้องใช้ไฟเลี้ยง

2.MODEM ชนิดติดตั้งภายใน [ Internal Modem ] เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบกับสล็อตของเครื่องอาจจะเป็นแบบ ISA หรือPCI ติดตั้งยากกว่าแบบภายนอก เนื่องจากติดตั้งภายในเครื่องทำให้ใช้ไฟในเครื่องอันส่งผลให้เพิ่มความร้อน ในเครื่อง เคลื่อนย้ายได้ไมสะดวกยาก ใช้ได้เฉพาะ PC Computer แบบตั้งโต๊ะ เท่านั้นไม่สามารถใช้งานกับ NoteBook ได้

ข้อดี
ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยง ทำงานเร็วกว่า (สำหรับเครื่องสเปกต่ำ) ราคาถูกกว่า
ข้อเสีย
ติดตั้งยาก (ต้องถอด case) เสียSlot และ IRQ เพิ่มความร้อนภายใน

ในการเลือกใช้จึงต้องดูหลายประการเช่น ความสะดวกในการใช้งาน คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ก็ควรใช้แบบ internal Modem หากต้องการเคลื่อนย้ายไปใช้กับ เครื่องอื่นอยู่เรื่อยก็ต้องใช้แบบ external modem

ในบรรดาอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่มีอยู่มากมาย โมเด็ม (Modem), เราเตอร์ (Router) และสวิตช์ (Switch) น่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ใครหลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคย ด้วยความที่มันเป็นอุปกรณ์เน็ตเวิร์กสุดพื้นฐาน มีใช้โดยทั่วไปในที่อยู่อาศัย และที่ทำงาน

บทความเกี่ยวกับ Modem อื่นๆ

ในบทความนี้เราจะมาแนะนำให้คุณผู้อ่านรู้จักกับเจ้าอุปกรณ์ทั้ง 3 ชนิดนี้ให้มากขึ้น มีเราเตอร์แล้ว จำเป็นต้องมีโมเด็มหรือเปล่า ? หรือมีสวิตช์แล้ว เราเตอร์ยังจำเป็นอยู่ไหม ? หากสงสัยล่ะก็ มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันครับ

โมเด็ม คืออะไร ? (What is a Modem ?)

คำว่า "โมเด็ม" (Modem) ความจริงเป็นคำย่อที่มาจากคำเต็มว่า "Modulator+Demodulator" มันเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างบ้านของคุณกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet service provider (ISP))

บางคนอาจจะมีคำถามว่า "แล้วทำไมต้องมีโมเด็มด้วยล่ะ ?"

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าโมเด็มก็มีอยู่หลายชนิด อย่างเช่น โมเด็มแบบ DSL (Digital Subscriber Line) รองรับการถ่ายทอดสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านสายทองแดง, โมเด็มแบบ Cable รองรับการถ่ายทอดสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านสาย Coax cable, โมเด็มแบบ Fiber รองรับการถ่ายทอดสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านสาย Fiber optic และโมเด็มแบบ Satellite ก็จะรองรับการถ่ายทอดสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านคลื่นดาวเทียม จะเห็นได้ว่าโมเด็มแต่ละชนิดก็จะรองรับชนิดของสัญญาณที่แตกต่างกัน เนื่องจากมันใช้โปรโตคอลในการสื่อสารคนละมาตรฐานกัน 

หากพิจารณาเทียบกับกับ Open Systems Interconnection (OSI) ตำแหน่งของโมเด็มก็จะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ใน Layer 1 โดยโมเด็มจะทำหน้าที่รับส่งข้อมูลในรูปแบบของ บิต (Bit) ซึ่งโดยพื้นฐานของมันแล้ว ก็คือ "1" และ "0" นั่นเอง ซึ่งถือเป็นรูปแบบพื้นฐานที่สุดของข้อมูล

จงอธิบายลักษณะการทำงานของอุปกรณ์โมเด็ม modem

โมเดล Open Systems Interconnection (OSI)
ภาพจาก : : https://www.bmc.com/blogs/osi-model-7-layers/

เราเตอร์ คืออะไร ? (What is a Router ?)

มีความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นบ่อยมากว่าเราเตอร์ กับโมเด็ม ว่ามันเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน แต่อันที่จริงมันก็ไม่เชิงว่าผิดไปทั้งหมด เพราะว่าปัจจุบันนี้ โมเด็ม และเราเตอร์ ถูกผลิตมารวมกันเข้าไว้เป็นอุปกรณ์ตัวเดียวกันแล้ว (สมัยก่อนจะแยกโมเด็ม กับเราเตอร์)

แต่หากกล่าวถึงหน้าที่ของเราเตอร์แล้ว หน้าที่การทำงานของมันแตกต่างจากโมเด็มโดยสิ้นเชิง

โดยเราเตอร์มีหน้าที่ในการกำหนดเส้นทางระหว่างเครือข่ายภายในของคุณ กับเครือข่ายของ ISP โดยใช้ Network Address Translated ( NAT) ในการควบคุมเครือข่าย นี่เป็นเหตุผลว่าทำไม IP address ภายในบ้าน แตกต่างจาก Public IP address ที่ทาง ISP กำหนดให้ผู้ใช้ โดย NAT จะจำลองเครือข่ายภายในขึ้นมา เพื่อให้อุปกรณ์ภายในเครือข่ายเชื่อมต่อไปยังอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน, เครื่องเกมคอนโซล, IoT ฯลฯ

หากเปรียบให้เห็นภาพง่าย ๆ สมมติให้ โมเด็มเป็นคนสร้างถนนเชื่อมเส้นทางระหว่างคุณ และ ISP เราเตอร์ก็จะเป็นผู้ควบคุมการจราจรบนถนนเส้นดังกล่าว 

บางคนคิดว่าเราเตอร์ คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ปล่อยสัญญาณ Wi-Fi อันนี้ไม่จริงเสมอไปนะ เราเตอร์ไม่จำเป็นต้องปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ได้ อาจจะรองรับแค่การเชื่อมต่อผ่าน ระบบ LAN เพียงอย่างเดียวก็ได้เช่นกัน

หากพิจารณาเทียบกับกับ Open Systems Interconnection (OSI) ตำแหน่งของโมเด็มก็จะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ใน Layer 3 โดยเราเตอร์จะทำหน้าที่รับส่งแพ็คเกจข้อมูลไปยังเครือข่ายต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตตรงที่เราเตอร์สำหรับผู้ใช้ตามบ้านจะผลิตออกมาโดยบิวท์อินสวิตช์ (Switch) มาให้ในตัวเลย เพื่อให้รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้เป็นจำนวนมากบนเครือข่ายเดียวกัน ในขณะที่เราเตอร์ที่เป็นระดับใช้ในธุรกิจ หรือองค์กรจะไม่นิยมบิวท์อินสวิตช์มาให้ จำเป็นต้องซื้อสวิตช์แยกแต่างหาก

จงอธิบายลักษณะการทำงานของอุปกรณ์โมเด็ม modem

ภาพจาก : https://www.asus.com/th/Networking-IoT-Servers/WiFi-Routers/ASUS-Gaming-Routers/RT-AX82U/

เน็ตเวิร์กสวิตซ์ คืออะไร ? (What is a Network Switch ?)

เน็ตเวิร์กสวิตช์ (Network Switch) เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งบนเครือข่าย ที่ใช้ในการเชื่อมต่อหลายอุปกรณ์ที่อยู่บนเครือข่ายเดียวกัน มีจุดที่แตกต่างจากเราเตอร์ คือ มันมีความสามารถในการสร้าง และกำหนดเส้นทางระหว่างเครือข่าย TCP/IP หลายเครือข่าย โดยจะมีการส่งข้อมูลแบบ Frame เพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารสำหรับอุปกรณ์ในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาเหตุที่เรียกว่า Network Switch ก็เพราะว่า ถ้าเรียก "Switch" อย่างเดียว จะไปสับสนกับสวิตซ์ไฟบ้านได้

หากพิจารณาเทียบกับกับ Open Systems Interconnection (OSI) ตำแหน่งของสวิตช์จะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ใน Layer 2 อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีในสวิตช์รุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบัน ได้เพิ่มคุณสมบัติการทำงานเข้าไป เช่น Routing, Web switching, Cookie switching ฯลฯ ทำให้การทำงานของสวิตช์ในยุคนี้อยู่ตั้งแต่ Layer 2 - Layer 7 เลยทีเดียว

จงอธิบายลักษณะการทำงานของอุปกรณ์โมเด็ม modem

ภาพจาก : https://aimaxsolutions.com/products/network-swicthes/

ความแตกต่างระหว่างโมเด็ม กับเราเตอร์(What is the difference between Modem and Router ?)

อย่างที่กล่าวไปในหัวข้อข้างต้นว่าเราเตอร์ทำงานอยู่บน Layer 3 ของระบบเน็ตเวิร์ก และทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ หมายเลขที่อยู่ไอพี (IP Address) สำหรับรูปแบบการทำงานของผู้ใช้ทั่วไป เราเตอร์จะเชื่อมต่อเครือข่ายภายในบ้านของคุณเข้ากับเครือข่ายของ ISP ผ่านโมเด็ม และมีสวิตช์สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครือข่าย

ในการใช้งานโมเด็มเราเตอร์ เราจะต้องต่อสายหนึ่ง เข้าช่องโมเด็ม ซึ่งอาจจะเป็นสาย LAN, สาย Coax หรือสาย Fiber แล้วแต่ประเภทของอินเทอร์เน็ตที่คุณใช้งาน โดยช่องที่เหลือบนเราเตอร์ก็จะทำหน้าที่เป็นสวิตช์

ความแตกต่างระหว่างเราเตอร์ กับสวิตช์(What is the difference between Router and Switch ?)

จุดแตกต่างที่เด่นชัดที่สุด คือ การที่เราเตอร์ทำงานอยู่บน Layer 3 ของ Open Systems Interconnection (OSI) ในขณะที่สวิตช์ทำงานอยู่บน Layer 2 ทำให้รูปแบบการทำงานของทั้งคู่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้