ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปล สวนโมกข์

มีจิตใจที่ผ่องใส เมื่อจิตใจผ่องใสความคิดก็ดีความจำก็ดีขึ้นมีสติไม่ทำให้เกิดอกุศลหน้าตาผ่องใสเป็นต้น(พระไตรปิฎกเล่มที่๔)
๓.พระไตรปิฎกเป็นจมูกที่วิเศษอันยิ่ง กลิ่นหอมที่ว่าหอมแม้จะลอยตามลมไปได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ แต่ไม่สามารถที่จะทวนลมได้ แต่กลิ่นของความดี กุศลนั้นสามารถจะทวนลมและกระจายออกไปได้ทุกทิศ จะเป็นมีจมูกที่ได้กลิ่นของกุศลที่กระจอนไปทุกทิศ และไม่หลงติดอยู่กับกลิ่นหอมอย่างอื่น(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
๔.พระไตรปิฎกเป็นลิ้นที่วิเศษอันยิ่ง ลิ้นคนเราแม้จะจำรสต่าง ๆ ได้ ไม่ช้าก็ลืมมีความสุขชั่วคราวทำให้คนขาดสติ แต่ลิ้นที่ลิ้มรสของพระธรรมนั้น ไม่มีความอิ่มในรสของพระธรรม เมื่อคนเราได้รับลิ้มรสของพระธรรมแล้ว จะทำให้ร่างกายผ่องใสทั้งภายในและภายนอกและจะช่วยรักษาโรคได้ทุกชนิด(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
๕.พระไตรปิฎกเป็นกายที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายแล้วทำให้มีสภาพที่ผ่องใสทั้งภายในและภายนอก มีกายที่เบาไม่เชื่องช้าเลือดลมในตัวเราที่เรียกว่าธาตุ๔นั้นก็สมบูรณ์ทำให้มีอายุยิ่งยืนนานสามารถหายจากโรคที่เกิดแต่กรรมได้
๖.พระไตรปิฎก เป็นใจที่วิเศษอันยิ่ง ใจดี ใจผ่องใส ใจเป็นหัวหน้า เมื่อใจเบิกบาน จิตใจเป็นกุศลก็สามารถเข้าถึงความเป็น โสดาบันสกทาคามีอนาคามีและพระอรหันต์ในที่สุด(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
๗.พระไตรปิฎกเป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษอันยิ่ง สามารถที่จะสอนให้เรารู้ว่าอะไรเป็นกุศลอะไรเป็นอกุศล เมื่อรู้อย่างนี้แล้วสอนให้เรานำเอาหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติอันเป็นทางที่มีความสำเร็จในชีวิตนำทางไปเพื่อเข้าถึงพระนิพพาน(พระไตรปิฎกเล่ม ๙)
๘.พระไตรปิฎก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษอันยิ่ง พ่อแม่ไม่ได้หวังค่าตอบแทนจากลูกฉันใด พระไตรปิฎกเป็นผู้ที่สอนให้เรารู้ทุกอย่างที่เรายังไม่เคยรู้ นำทางให้เราเข้าถึงความเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ แล้วแต่ทางดำเนินชีวิตอันทำให้ถึงจุดหมายปลายทางคือพระนิพพาน(พระไตรปิฎกเล่ม๑๒และ๑๔)
๙.พระไตรปิฎกเป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายก็จะมีแต่มิตรนำทางไปสู่ที่ดีนำชีวิตไปสู่ความสุขทั้งตัวเอง ครอบครัวและสังคมที่ดีนำทางไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งในทุกสถานในกาลทุกเมื่อ(พระไตรปิฎกเล่มที่๓๖)
๑๐.สมัยพระพุทธเจ้าชื่อว่ากัสสปะ พระสงฆ์สาธยายอภิธรรมในถ้ำ ค้างคาว ๕๐๐ ตัวได้ฟังเมื่อถึงคราวตายแล้วไปจุติที่ชั้นดาวดึงส์ชาติสุดท้ายมาเกิดเป็นลูกศิษย์พระสารีบุตรและเป็นอรหันต์เป็นที่สุด
๑๑.การสาธยายพระไตรปิฎกที่ว่ากรรมเก่าไม่มีใครลบล้างได้ กรรมปัจจุบันจะช่วยได้ จงจำไว้ กรรมที่ทำด้วยเจตนาไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมมีผลต่อผู้กระทำทั้งสิ้น ไม่มีพรหมเทพองค์ใดจะช่วยลบล้างกรรมนั้นได้ เธอจงช่วยตนเอง ด้วยการสวดมนต์ ภาวนาแผ่เมตตาผลแห่งบุญอันเป็นกรรมปัจจุบันจะช่วยเธอได้”ตอนหนึ่งที่กล่าวกับนางโรหิณี
๑๒.การสาธยายหรือการสวดมนต์ ย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตของตนและประโยชน์แก่จิตอื่น และสามารถที่จะทำให้ผู้ที่สวดมนต์สาธยายมีความสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้
บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่อันพึงจะเกิดขึ้นในครั้งนี้
ขอน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯผู้เป็นพ่อของแผ่นดินที่ให้อาศัยแก่เราและวงศ์ตระกูลได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขและเจริญก้าวหน้าตลอดมาขอธรรมของพระศาสดาเป็นประดุจดังธรรมโอสถทิพย์ที่จะช่วยคลายทุกข์ให้ประชาชนคนไทยได้รู้รักสามัคคีเฉกเช่นพี่น้องร่วมอุทรอันไม่พึงทำร้ายซึ่งกันและกันด้วยกาย

บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา คือ เทศนากัณฑ์แรก พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี จนทำให้เกิดพระอริยสงฆ์สาวก รูปแรกคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน วันนี้จึงเกิดพระรัตนตรัย ครบ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ ของทุกปี เราเรียกวันนี้ว่า วันอาสาฬหบูชา นั่นเอง

บทสวดมนต์
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย. ตัต๎ระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ.

ทางสุดโต่ง ๒ อย่าง ที่ไม่ควรปฏิบัติ

เท๎วเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต.

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

ทางสายกลาง (ทางออก ทางแห่งความหลุดพ้น) มรรคมีองค์ ๘

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค. เสยยะถีทัง. สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ.

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

อริยสัจ ๔

ทุกข์

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง. ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา.

สมุทัย : เหตุให้เกิดทุกข์

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง. ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัต๎ระ ตัต๎ราภินันทินี. เสยยะถีทัง. กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา.

นิโรธ : ความดับทุกข์

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง. โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย. อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง.

มรรค : ทางดับทุกข์

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค. เสยยะถีทัง. สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ.

ญาณในอริยสัจ ๔

ญาณรู้ว่า นี่คือทุกข์, ทุกข์ควรกำหนดรู้, ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ญาณรู้ว่า นี่คือ เหตุแห่งทุกข์, เหตุแห่งทุกข์ควรละ, เหตุแห่งทุกข์ละได้แล้ว

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ญาณรู้ว่า นี่คือความดับทุกข์, ความดับทุกข์ควรทำให้แจ้ง, ความดับทุกข์ ทำให้แจ้งแล้ว

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ญาณรู้ว่า นี่คือหนทางดับทุกข์, หนทางดับทุกข์ควรเจริญ, หนทางดับทุกข์ได้เจริญแล้ว

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ท๎วาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ.

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง.

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ท๎วาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ.

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง.

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ.

พระโกณทัญญะบรรลุโสดาบัน

อิทะมะโวจะ ภะคะวา. อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง. อิมัส๎มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน อายัส๎มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ.

เสียงแซ่สร้องการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าบันลือลั่นไปถึงเทวดา ๖ ชั้น และ พรหม ๑๖ ชั้น

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พ๎ราห๎มะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พ๎รัห๎มุนา วา เกนะจิ วา โลกัส๎มินติ.

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ยามานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา พ๎รัห๎มะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
พ๎รัห๎มะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา พ๎รัห๎มะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
พ๎รัห๎มะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา มะหาพ๎รัห๎มา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
มะหาพ๎รัห๎มานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา สุภะกิณหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พ๎ราห๎มะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พ๎รัห๎มุนา วา เกนะจิ วา โลกัส๎มินติ.

พระพุทธเจ้าตรัสรับรองการบรรลุธรรมของพระอัญญาโกณฑัญญะ

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พ๎รัห๎มะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ. อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ. อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง. อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ. อิติหิทัง อายัส๎มะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญเต๎ววะ นามัง อะโหสีติ.

คำแปลธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์ มาตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการ บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยค (การประพฤติตนเพื่อแสวงหาความสุขในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา) เป็นธรรม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี่อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง คือ อัตตกิลมถานุโยค (การประพฤติตนด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก) ซึ่งเป็นทุกข์อย่างเดียว ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทา ที่ไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้ อันตถาคตได้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ดี เพื่อนิพพาน.

มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ยิ่ง เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ดี เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน ? คือ มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐนี้นั่นแล.ได้แก่ข้อปฏิบัติเหล่านี้ คือ :- ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย นี่คือมัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ยิ่งแล้วนั้น อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อสงบระงับกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ดี เพื่อนิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือทุกข์นี้แล มีอยู่ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ความตายก็เป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกายไม่สบายใจ และความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์คือความยึดมั่นในขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ มีอยู่ นี้คือ ตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นเครื่องทำให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ตัณหาเหล่านี้ คือ ตัณหาคือความอยากในกามคุณ ๕, ตัณหาคือความอยากมีอยากเป็น, ตัณหาคือความอยากไม่มีไม่เป็น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่นี้คือความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้นนั่นเอง เป็นความสลัดทิ้ง เป็นความสละคืน เป็นความปล่อยเป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัยแห่งตัณหา.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่. นี่คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปด ได้แก่ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว,แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้คือทุกขอริยสัจ”. ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้ พึงกำหนดรู้”. ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้คือทุกขสมุทัยอริยสัจ”. ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ควรละ”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ ทุกขนิโรธอริยสัจ”. ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ควรกระทำให้แจ้ง”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้เรากระทำให้แจ้งแล้ว”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรเจริญ” ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้เจริญแล้ว”.

ภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะ (ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มีอาการ ๑๒ อาการอย่างนี้ยังไม่หมดจดดี ตราบใด.

เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตราบนั้น. ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดญาณทัสสนะ (ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มีอาการ ๑๒ อาการอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. ก็แล ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว.

ครั้นพระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตอยู่ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”.

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมเทวดาทั้งหลายก็ส่งเสียงบันลือข่าวขึ้นว่า นั่น วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้วณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้.

ทวยเทพชั้นจาตุมหาราช ได้สดับเสียงของเหล่าภุมเทวดาทั้งหลายแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป. ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพชั้นยามา ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นดาวดึงส์แล้วก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพชั้นดุสิต ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพชั้นนิมมานรดี ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นดุสิตแล้วก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมทั้งหลาย ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือเสียงขึ้นว่า.

นั่น วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตน-มฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้.เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่นไปทั่ว อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด.ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ.เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะ นี้ จึงเป็นชื่อของพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล.

ใจความสำคัญ : เป็นบทพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้า ว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ไม่ใช่ทางแห่งความพ้นทุกข์ เรียกว่า ทางสุดโต่ง ๒ ทาง คือ ๑) การทรมานตน ๒) การปรนเปรอตนด้วยกาม และข้อปฏิบัติที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ สัมมาวาจา การพูดจาชอบ สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ สัมมาสติ ความระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นบทสวดที่ชี้ทางแห่งความพ้นทุกข์ ซึ่งเป็นบทสวดที่ควรศึกษาให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งอย่างยิ่ง

ประวัติ : หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเสวยวิมุตติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์ ท้าวสหัมบดีพรหมลงมากราบอาราธนาให้แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ทรงรับอาราธนาและเสด็จโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หลังจบพระธรรมเทศนา พระอัญญาโกณทัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบวชเป็นภิกษุรูปแรกในพุทธศาสนา ในวันอาสาฬหบูชา วันเพ็ญเดือน ๘

ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๒๘-๕๓๒ ข้อที่ ๑๖๖๔-๑๖๗๓

ประยุกต์ใช้ : หัวใจของธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือมุ่งให้ศึกษาและเรียนรู้ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ คือ อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ ทุกข์กายทุกข์ใจ, สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์, นิโรธ ความดับทุกข์, มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ การศึกษาอริยสัจ ๔ ให้ได้ผลนั้น จำต้องรู้ให้ชัดว่า ทุกข์ คืออะไร ? ทุกข์คือความยึดมั่นในขันธ์ทั้ง ๕, ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ เป็นอย่างไร ? ถ้าเราไม่รู้ทุกข์ ไม่เห็นทุกข์ ก็ไม่มีทางที่จะออกจากทุกข์ได้ ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการศึกษาอริยสัจ ๔ ก็คือ การรู้จักทุกข์ รู้จักว่าความยึดมั่นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์อย่างไร ซึ่งความยึดมั่นในขันธ์ ๕ นี้ เกิดขึ้นในทุกขณะความคิดของเรา แต่เราไม่เคยใส่ใจไม่เคยเห็น อย่างนี้แหละท่านกล่าวว่า ไม่รู้จักทุกข์ คนที่ไม่รู้จักทุกข์ก็ไม่มีทางที่จะดับทุกข์ได้


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปล สวนโมกข์

รวบรวมเรียบเรียงโดย
ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์
น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, พธ.บ. (ภาษาไทย)
บรรณาธิการแห่งสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


เกร็ดความรู้ จากบทพระธรรมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
จากหนังสือ พุทธฤทธิ์พิชิตทุกข์ สบสุขนิรันดร์
โดย มนิจ ชูชัยมงคล คณาจารย์แห่งสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

*ส่วนที่สุด ๒ อย่างที่พระพุทธศาสนาปฏิเสธ ได้แก่

 ๑. กามสุขัลลิกานุโยค คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลายซึ่งเป็นธรรมอันเลวเป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชนไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์คือหวังสบายเกินไปไม่ทำอะไรมัวอ้อนวอนพระเจ้าหวังพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์หวังเสวยสุขโดยส่วนเดียวเป็นการดำเนินชีวิตที่ย่อหย่อนเกินไป 

๒. อัตตกิลมถานุโยค คือการประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน (เช่นบำเพ็ญทุกรกิริยา) เป็นความลำบากไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์คือการปฏิบัติตนเพื่อพ้นทุกข์โดยการทรมานตนให้ลำบากเป็นการดำเนินชีวิตที่ตึงเกินไป

“อริยสัจสี่” หรือจตุราริยสัจเป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคดมพุทธเจ้าแปลว่าความจริงอันประเสริฐความจริงของพระอริยะหรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐสี่ประการและปฏิปทาสายกลางไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้นที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งทำญาณให้เกิดซึ่งเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่งและเพื่อเข้าถึงนิพพาน