หลัก ธรรม เกี่ยว กับ จิต อาสา

จิตอาสา จิตสาธารณะ การเป็นคนจิตอาสา ต้อง อา-สา รับทำด้วยความเต็มใจ ด้วยความสมัครใจ ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆทั้งสิ้น เช่นดูแลคนชรา ดูแลเด็ก ดูแลคนยากไร้ด้อยโอกาส สัมผัสกันด้วยความรักความเมตตาและหัวใจความเป็นมนุษย์ การอาสาเพื่อให้คนอื่นพ้นทุกข์ และมีความสุข ผู้อาสา ต้องได้รับการฝึกฝน ทั้งด้านความรู้ ความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่จะอาสา ทักษะที่จำเป็น ฝึกให้มองไกลเหมือนพญาเหยี่ยว ไม่ใช่มองใกล้เหมือนเจ้าหน้าที่ที่มีจุดอ่อนด้านนี้ มักมองเห็นแต่สิ่งที่ใกล้ตัว อาสาต้องใช้ปากอย่างมธุรสวาจา ถามด้วยความห่วงใย แนะนำ ช่วยผ่อนคลายทุกข์ คลายเครียดและความวิตกกังวลรวมทั้งทำกิจกรรมที่ช่วยให้ความสุขเช่นเล่นดนตรี อาสาต้องใช้หูฟังอย่างตั้งใจและเข้าใจ ดังเช่นอาสาใน ร.พ.อาจใช้ประโยชน์โดยการฟังได้มากกว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่มีเวลาน้อยไม่สามารถฟังได้อย่างตั้งใจเพราะคนไข้มีจำนวนมาก อาสาจึงเป็นผู้เติมส่วนขาดด้านนี้ทำหน้าที่รับฟังอย่างตั้งใจ อาสามีหัวใจต้องมีพรมวิหาร อันเป็นธรรมะของผู้มีใจอันประเสริฐมีความรักเป็นปกติ มีความสงสารเป็นปกติและ มีจิตอ่อนโยนไม่อิจจาริษยาใคร พลอยยินดีกับบุคคลอื่นที่ได้ดีเป็นปกติ   สำหรับอุเบกขาความวางเฉย รู้จักปล่อยวางเมื่อช่วยเหลืออะไรไม่ได้พรหมวิหาร คือ ธรรมอันเป็นที่อาศัยของพรหมมี 4 อย่างคือ ทำ พูด คิด ทำจิตให้มี- เมตตา  ปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข- กรุณา  ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
- มุทิตา  ยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุขและ/หรือพ้นทุกข์- อุเบกขา ปล่อยวางได้ เมื่อไม่สามารถช่วยให้ผู้อื่นมีสุขและ/หรือพ้นทุกข์ได้ นอกจากนี้อาสาต้องมี สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลายร่วมทุกข์ร่วมสุข คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้าง ความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

หน่วยงานสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาล มีปัญหา Classic คือขาดคน คนไม่พอ ขณะเดียวกันคนที่มีอยู่บางส่วนยัง  ขาดความเป็นคน ไม่รับรู้ความทุกข์ยากของคนไข้ ว่ากว่าที่คนไข้จะมาถึง ร.พ.ผ่านความยุ่งยากตั้งแต่การตัดสินใจมา ร.พ. ที่มีแต่ระบบระเบียบกฎเกณฑ์ การเดินทาง ดังนั้นคนในระบบต้องเติมความเป็นคนเข้าไปด้วย คนที่ทำหน้าที่เป็นอาสา มีแรงบันดาลใจอะไร สิ่งที่ได้คือความปิติ เกิดความอิ่มใจ ปราบปลื้ม ก่อให้เกิดความสุขทางใจ เป็นอาหารใจยิ่งกินมากเท่าใดยิ่งเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ยิ่งอิ่มยิ่งกินยิ่งมีความสุข ต่างกับอาหารทางกายยิ่งกินมากยิ่งเกิดทุกข์เป็นพิษภัยต่อตนเอง ทั้งหลายเหล่านี้เป็นข้อคิดของแพทย์อาวุโสแห่งเมืองน่านที่เป็นต้นแบบแห่งการมีจิตอาสา นายแพทย์บุญยงค์ วงศ์รักมิตรที่มอบแด่เจ้าหน้าที่สาธารณสุจังหวัดน่าน

 

สัปดาห์นี้เอ่ยถึงกระแสคำว่า “จิตอาสา” ในมิติของการให้และการเสียสละ สอดคล้องกับคำสอนเรื่องทาน และเวยยาวจมัย เป็นข้อธรรมในบุญกิริยาวัตถุ 10 มีอะไรบ้างไปติดตามกัน พุธที่ 4 กรกฎาคม 2561 เวลา 10.00 น.

หลัก ธรรม เกี่ยว กับ จิต อาสา

ช่วงหลังๆ นี้กระแสคำว่า “จิตอาสา” ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในสังคมไทย ทั้งเกิดจากภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งภาคประชาสังคม อันเนื่องจากด้วยพระปรีชาสามารถของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่ต้องการเห็นประชาชนและสังคมไทยมีจิตเมตตาต่อเพื่อนร่วมสังคมกันมากขึ้น มิใช่ต่างคนต่างอยู่มิใช่ต่างคนต่างเอาตัวรอดอันเป็นไปสู่ความเห็นแก่ตัว

ความหมายของคำว่า “จิตอาสา”ตามหลักการทางพระพุทธศาสนา คือการอาสาเข้าไปช่วยเหลือผู้อื่นด้วยจิตใจที่มีธรรมะ คือความ เมตตา และกรุณา โดยไม่หวังผลตอบแทน การมีจิตที่ประกอบไปด้วยความเมตตาและกรุณา และ ปรารถนาจะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ และเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทนแก่ตน จิตอาสาในมิติของ “การให้” “การเสียสละ”สอดคล้องกับคำสอนเรื่อง “ทาน” และ “เวยยาวจมัย” เป็นข้อธรรมใน

“บุญกิริยาวัตถุ 10 ”

หลัก ธรรม เกี่ยว กับ จิต อาสา

“บุญ”ในทางพุทธศาสนา หาใช่เกิดขึ้นได้ด้วยการเสียสละทรัพย์สินเงินทองเพียงอย่างเดียวอย่างที่หลายคนเข้าใจผิดๆ การสละแรงกาย สละเวลา และความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะตัว ด้วยการทำงาน “จิตอาสา” นั้นก็เป็น 1 ในการทำบุญตามความหมายแห่ง บุญกริยาวัตถุ 10 แปลว่าสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ 10 ประการ คือ

1.ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย)
2.รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะลด ละ เลิก ความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น เป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงาม และพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ
3.เจริญภาวนาก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจ และปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง
4.การอ่อนน้อมถ่อมตน (อปจายนมัย) ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม รวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกัน

หลัก ธรรม เกี่ยว กับ จิต อาสา

5.ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง (ไวยาวัจจมัย) ช่วยเหลือสละแรงกายเพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้าน ที่ต้องการความช่วยเหลือก็เป็นบุญ
6.เปิดโอกาสให้คนอื่น(ปัตติทานมัย) มาร่วมทำบุญกับเรา หรือในการทำงาน ก็เปิดโอกาสให้คนอื่น มีส่วนร่วมทำ - ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญ ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ
7.ยอมรับและยินดีในการทำความดี (ปัตตานุโมทนามัย) ของผู้อื่นเป็นการเปิดโอกาสร่วมใจอนุโมทนา ในการกระทำความดีของผู้อื่นก็เป็นบุญ
8.ฟังธรรม (ธรรมสวนมัย) บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดี มีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ
9.แสดงธรรมให้ธรรมะ(ธรรมเทศนามัย) และข้อคิดที่ดี กับผู้อื่น แสดงธรรม นำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ
10.ทำความเห็นให้ถูกต้อง (ทิฏฐุชุกรรม ) และเหมาะสม มีการปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น- ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญก็เป็นบุญ
ในศาสนาพุทธ มีหลักธรรมที่พูดถึงการให้ที่เรียกว่าบุญ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการทำบุญคือการให้เงินหรือสิ่งของ ถวายสังฆทาน รักษาศีลแต่เพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้ว การทำบุญมีความหมายมากกว่านั้น

หลัก ธรรม เกี่ยว กับ จิต อาสา

ผมจึงเชิญชวนให้ชาวพุทธและคนไทยทุกคนได้ร่วมกันสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งจิตอาสาเพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์รัชกาลที่ 10 ด้วย เพื่อเจริญตามหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนาในข้อที่ 5 ว่าด้วยหลักแห่ง “ไวยาวัจจมัย” คือ การช่วยเหลือสังคมรอบข้างด้วย และเวลาช่วยเหลืออย่าไปเลือกว่าเป็นคนชาติเดียวกันตนเอง ศาสนาเดียวกับตนเองหรือเป็นญาติพี่น้องตนเองเท่านั้น จึงจะเข้าไปช่วยเหลือ

เราจะต้องมีหัวใจแห่ง “พระโพธิสัตว์” คือช่วยเพราะเห็นแก่ความเป็นมนุษย์ ช่วยเพราะเป็นสัตว์ร่วมโลกด้วยกัน ผมคิดว่าหากชาวพุทธเราตั้งมั่นคิดได้แบบนี้สังคมเรา สังคมโลกก็สงบสุข สำหรับผมในขณะที่ทุกท่านกำลังอ่านบทความนี้ กำลังอยู่ที่ประเทศเพื่อนบ้านร่วมกับคณะสงฆ์กลุ่มหนึ่งในนาม “มูลนิธิรามัญรักษ์” เดินทางไปบริจาคสิ่งของและบริจาคเงินเพื่อซ่อมแซมบ้านเรือนให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม และเด็กนักเรียนที่ยากจน ผมก็ทำหน้าที่ของชาวพุทธตามหลักบุญกิริยาวัตถุเหมือนกัน...
…...................................
คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง
โดย “เปรียญ10” :
ขอบคุณแหล่งภาพ : มูลนิธิรามัญรักษ์ : www.volunteerspirit.org, รอยยิ้มบ้านดินสระแก้ว www.royyimbaandin.com

คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่

  • เห็นด้วย

    100%

  • ไม่เห็นด้วย

    0%