ลัทธิจักรวรรดินิยมมีผลต่อการเผยแพร่การใช้คริสต์ศักราชในดินแดนต่างๆ หรือไม่ อย่างไร

การขยายลัทธิจักรวรรดินิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 19

เป็นผลกระทบโดยตรงจากการสำรวจทางทะเลที่ทำให้มีการยึดครองอาณานิคมในดินแดนต่างๆ และการปฏิวัติอุตสาหกรรม  

              ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองที่เกิดจากการครอบครองอาณานิคมได้ส่งผลให้ประเทศต่างๆในยุโรปแข่งขันกันขยายลัทธิจักรวรรดินิยม เพื่อแย่งชิงอาณานิคมในเอเชียและแอฟริกา

ปัจจัยที่ส่งเสริมในการขยายตัวจักรวรรดินิยม

ด้านเศรษฐกิจ

             การแสวงหาวัตถุดิบ  ความก้าวหน้าในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่หลากหลาย  ทำให้ประเทศต่างๆ ในยุโรปต้องการแสวงหาวัตถุดิบในดินแดนโพ้นทะเล เช่น แร่เพื่อผลิตวัสดุประเภทเหล็กผสม (Alloy steel) แร่ทองแดงสำหรับผลิตสายไฟ และยางพารา นอกจากนี้ยังต้องการนำเข้าสินค้าที่ชาวยุโรปต้องการบริโภค เช่น ชา กาแฟ และเครื่องเทศด้วย

             การขยายตลาด สินค้าอุตสาหกรรมที่ประเทศต่างๆ ผลิตได้ล้วนมีปริมาณมากเกินความต้องการบริโภคในประเทศ ทำให้ประเทศอุตสาหกรรมเหล่านั้นต้องการหาตลาดใหม่ๆ รองรับสินค้าของตน

 เช่น แอฟริกา เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออเฉียงใต้

             การลงทุน นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนมหาศาลได้ขยายการลงทุนในต่างแดน เช่น การทำเหมืองแร่ การทำไร่ขนาดใหญ่ (Plantation) และการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม  นอกจากนี้รัฐบาลและธนาคารในประเทศยุโรปยังให้ผู้ปกครองท้องถิ่นในเอเชียและแอฟริกากู้เงินเพื่อพัฒนาประเทศ  เช่น การสร้างทางรถไฟ และเขื่อนชลประทาน โดยให้นักธุรกิจจากประเทศของตนเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง

ด้านการเมือง

            กระแสชาตินิยมสมัยใหม่ที่แพร่กระจายอยู่ในยุโรปในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในฝรั่งเศสเยอรมันและอิตาลี ประชาชนในดินแดนเหล่านั้นมีความภาคภูมิใจในเกียรติภูมิเชื้อชาติ และประวัติศาสตร์ของตน ความรู้สึกชาตินิยม   ทำให้ชาวฝรั่งเศสสนับสนุนจักรพรรดินโปเลียนโบนาปาร์ตหรือ

นโปเลียนที่ 1 (Napoleon Bonaparte) ทำสงครามเพื่อครอบครองยุโรปในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19    อิตาลีรวมประเทศอิตาลีได้สำเร็จใน ค.ศ. 1870

เยอรมันรวมประเทศได้สำเร็จในปีถัดมา

            ประเทศเหล่านี้เห็นว่าการขยายลัทธิจักรวรรดินิยม เพื่อยึดครองอาณานิคมจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและการเมืองให้ประเทศของตน ทั้งยังเป็นการเพิ่มพูนเกียรติภูมิของชาติด้วย ดังนั้นจึงส่งเสริมให้รัฐบาลของตนขยายลัทธิจักรวรรดินิยมแข่งขันกับอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้นเป็นจักรวรรดิที่มีอาณานิคมมากที่สุด

ด้านวัฒนธรรม

         ชาวยุโรปภูมิใจในความเป็นชนผิวชาวที่นับถือศาสนาคริสต์ของตน ว่ามีความเหนือกว่าชนชาติอื่น   ซึ่งแตกต่างจากตนทั้งเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนาธรรม เป็นพวกล้าหลัง ต้องได้รับการช่วยเหลือให้คนเหล่านั้นได้เข้าถึงศรัทธาในพระเจ้าของตนและเรียนรู้อารยธรรมของชาวตะวันตก เป็น “ภาระของคนผิวขาว(White man’s burden)” และยังเป็นการสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่ให้กับผู้เผยแผ่ศาสนาด้วย ดังนั้นมิชชันนารีชาวยุโรปจำนวนมากจึงยินดีอุทิศตนทำงานช่วยเหลือชาวพื้นเมืองควบคู่กับการเผยแผ่ศาสนาในดินแดนที่ห่างไกลความเจริญ ทั้งในเอเชียและแอฟริกา   มิชชันนารีบางกลุ่มมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการขยายลัทธิจักรวรรดินิยมด้วย เช่น กรณีบาทหลวงฝรั่งเศสชักนำให้กองทัพฝรั่งเศสยึดครองเวียดนาม

การขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจตะวันตก

 อังกฤษ   หลังจากได้รับชัยชนะเหนือฝรั่งเศสในสงครามเจ็ดปี (ค.ศ. 1756 – 1763) 

ทำให้อังกฤษมีอาณานิคมเอเชีย ได้แก่ อินเดีย ลังกา พม่า คาบสมุทรมลายู (ประกอบด้วยปีนัง  มะละกา รัฐมลายู สิงคโปร์และบรูไน )

แอฟริกา ได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของแอฟริกา ได้แก่ แอฟริกาใต้ แอฟริกาเหนือ แอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตะวันตก

ออสเตรเลีย อังกฤษได้อ้างสิทธิ์ยึดเข้ายึดครองทวีปออสเตรเลียในปลายทศวรรษ 1820 และได้จัดส่งนักโทษเป็นคนกลุ่มแรกที่เข้าไปบุกเบิก จนได้รับสมญานามว่า “ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดินในจักรวรรดิอังกฤษ”

ฝรั่งเศส

              แอฟริกาเหนือ  แอฟริกาตะวันตกและแอฟริกาตะวันออก

             เอเชีย  อินโดจีนของฝรั่งเศส ลาว กัมพูชา เวียดนาม

เยอรมนี

             แอฟริกาตะวันตก แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้และแอฟริกาตะวันออก และได้พยายามขยายอิทธพลด้านเศรษฐกิจในตะวันออกกลางและจีน แต่ไม่สามารถยึดครองดินแดนได้

อิตาลี

              แอฟริกาบางส่วนได้แก่ เอริเทีย (Eritrea)  โซมาลีแลนด์ (Somaliland)  ตริโปลี (Tripoli)และเอธิโอเปีย (Ethiopia)

รัสเซีย

             ได้ขยายอิทธิพลเข้าสู่เอเชียกลางและเอเชียตะวันออก ได้ลงทุนสร้างทางรถไฟสายทรานไซบีเรีย(Trans Siberian Railroad )เชื่อมภาคตะวันตกของรัสเซียกับเมืองท่าวลาดิวอสต็อก(Vladivostcok) ต่อมาทำสงครามกับญี่ปุ่นในเรื่องแมนจูเรีย ในปี ค.ศ 1904-1905

ผลกระทบที่ต่อการพัฒนาการของทวีปอเมริกา แอฟริกาและเอเชีย

ทวีปอเมริกา

            อเมริกาเหนือตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ฝรั่งเศส

           อเมริกาใต้ตกเป็นอาณานิคมของสเปน (ยกเว้นประเทศบราซิลเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส)

ด้านการเมือง

             การขยายอำนาจของชาวสเปนในทวีปอเมริกา ทำให้อาณาจักรโบราณของชาวพื้นเมืองดั้งเดิม (อาณาจักรมายา แอชเต็กและอินคา) ที่เจริญรุ่งเรืองถูกทำลายไปจนหมดสิ้น หลังจากนั้นชาวผิวขาวได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณานิคม ต่อมาได้กลายเป็นประเทศเอกราช

ด้านเศรษฐกิจ

              ชาวยุโรปได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและจัดทำเกษตรกรรมในไร่ขนาดใหญ่ (plantation) ชาวสเปนจะจ้างชาวพื้นเมืองเป็นแรงงาน ส่วนชาวอังกฤษจะใช้ทาสผิวดำมาเป็นแรงงาน

ด้านสังคม

             ดินแดนที่เป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกชาติใดก็จะรับเอาวัฒนธรรมของนั้น

             อเมริกาใต้ก็จะเป็นวัฒนธรรมของสเปน (ลาตินอเมริกา)

             อเมริกาเหนือจะเป็นวัฒนธรรมของอังกฤษและฝรั่งเศส

ทำให้วัฒนธรรมและความเป็นชนพื้นเมืองแทบจะสูญหายไป

ทวีปแอฟริกา

ด้านการเมือง

              ดินแดนในแอฟริกาถูกแบ่งแยกเป็นเขตอาณานิคมของประเทศยุโรปชาติต่างๆ ที่เข้ามาปกครองอาณานิคมในแอฟริกาโดยตรง    ทำให้ระบอบปกครองดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองในแอฟริกาที่เคยอยู่ใต้การปกครองของผู้นำชนเผ่าซึ่งเป็นกษัตริย์หรือหัวหน้าเผ่าถูกทำลายไป แต่ละอาณานิคมประกอบด้วยชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ ที่ขาดเอกภาพเพราะมีความแตกต่าง   ทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ดังนั้นเมื่อดินแดนเหล่านั้นได้รับเอกราชและก่อตั้งเป็นประเทศต่างๆ ที่ไม่ยอมรับอำนาจ และการเป็นผู้นำประเทศของชนเผ่าอื่น ส่งผลให้เกิดสงครามกลางเมืองในประเทศเหล่านั้นและยังคงเป็นปัญหาเรื้องรังมาถึงปัจจุบัน

 ด้านเศรษฐกิจ

             ในสมัยอาณานิคม ชาวยุโรปได้ลงทุนพัฒนาเศรษฐกิจในบางพื้นที่ที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เพื่อกอบโกยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากอาณานิคม เช่น การทำเหมืองแร่ธาตุทองคำและเหมืองเพชรในแอฟริกาใต้ และเหมืองทองแดงในคองโก เป็นต้น ผลประโยชน์จากการลงทุนทั้งหมดตกอยู่กับนายทุนชาวผิวขาว ในขณะที่ชนพื้นเมืองไม่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงแม้กระทั่งโอกาสในการฝึกฝนเรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆ ดังนั้นหลังจากได้รับเอกราชแล้ว ประเทศในแอฟริกาส่วนใหญ่จึงประสบปัญหาความยากจนและการขาดแคลนทรัพยากร ซึ่งส่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว

ด้านสังคม

            ชาวยุโรปไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวอาณานิคมพื้นเมือง ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงไม่ได้ส่งเสริมด้านการศึกษามากนัก ทำให้ชนพื้นเมืองเหล่านั้นขาดโอกาสทางการศึกษาในสมัยอาณานิคม ผู้ที่อ่านออกเขียนได้จึงเป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งมักเล่าเรียนจากพวกมิชชันนารีของกลุ่มศาสนาต่างๆ ที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาและสอนหนังสือให้กับชนพื้นเมือง อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองแอฟริกาไม่ได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมของชาวยุโรปมากนัก เนื่องจากชาวยุโรปไม่สนใจ ผสมผสานทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมพื้นเมืองแอฟริกา

เอเชีย

ด้านการเมือง

            อาณานิคมของยุโรปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ได้รับผลกระทบด้านการเมืองการปกครองอย่างมาก เนื่องจากระบอบการปกครองแบบเดิมถูกล้มล้างโดยเฉพาะการล้มเลิกสถาบันกษัตริย์ในบางประเทศ ดังกรณีของอินเดียและพม่า ส่วนบางประเทศแม้ยังคงมีสถาบันกษัตริย์หรือสุลต่านอยู่ แต่ก็ปราศจากอำนาจในการปกครองและบริหารประเทศ ดังเช่น เขมร ลาว เวียดนามและมลายู ส่วนประเทศอื่นที่ยังคงรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ก็ต้องยินยอมผ่านปรนตามนโยบายของชาติตะวันตกเพื่อความอยู่รอด เช่น จีนและญี่ปุ่นต้องยินยอมทำสนธิสัญญาเปิดเมืองท่าให้เรือของชาติตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขาย ส่วนไทยก็ต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนเพื่อรักษาอธิปไตยของประเทศ

ด้านสังคม

            การขยายอิทธิพลของยุโรปทำให้ประเทศในเอเชียรับวัฒนธรรมและความเจริญก้าวหน้าแบบตะวันตกผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัดเจน เช่น  การพัฒนาด้านคมนาคม สาธารณูปโภค การศึกษา สาธารณสุข สถาปัตยกรรม และการเผยแผ่ศาสนาคริสต์   การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาความเจริญด้านวัตถุที่เมืองแม่นำเข้ามายังอาณานิคมของตน ซึ่งยังคงปรากฏร่องรอยอยู่จนถึงปัจุบัน โดยเฉพาะอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ นอกจากนี้ดินแดนที่เป็นเอกราช เช่นไทยก็มีการปรับปรุงประเทศให้ก้าวหน้าตามแบบตะวันตก เช่น การจัดการศึกษาแบบตะวันตก การแต่งกาย การพัฒนาด้านการสื่อสาร คมนาคมขนส่ง การสร้างถนน โรงพยาบาล ฯลฯ จึงกล่าวได้ว่าการขยายอิทธิพลของยุโรปในสมัยอาณานิคมได้ส่งผลให้วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาผสมผสานอยู่ในสังคมเอเชียต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

ความคลั่งชาติ

              ความรักชาติและเผ่าพันธุ์อย่างรุนแรงของผู้นำประเทศบางคนที่ต้องการสร้างประเทศของตนให้เป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ ทำให้กลายเป็นความคลั่งชาติและมีการปลุกกระแสนิยมในหมู่ประชาชนให้คล้อยตาม ความคิดและปฏิบัติตามผู้นำ เช่น

             อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำพรรคนาซี (Nazi) เยอรมันต้องการสร้างประเทศเยอรมณีให้เป็นจักรวรรดิไรท์ที่ยิ่งใหญ่ และต่อต้านชาวยิว เพราะฮิตเลอร์เชื่อว่าชาวยิวเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของชนเผ่าอารยัน แนวคิดดังกล่าวส่งผลให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในระหว่างสงครามดังกล่าว

ความเชื่อมั่นในอุดมการณ์การเมือง

              ความยึดมั่นในลัทธิการเมืองของผู้นำแต่ละประเทศก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดลัทธิชาตินิยมด้วย โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็น ที่มีการเผชิญหน้ากันระหว่างประเทศที่ยึดถืออุดมการณ์การเมืองแตกต่างกัน ผู้นำบางประเทศได้ปลุกกระแสชาตินิยมให้ประชาชนคล้อยตามอุดมการณ์ที่เชื่อว่าเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ และให้ต่อต้านอุดมการณ์ที่แตกต่างจากตนอย่างรุนแรง เช่น กรณีเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ซึ่งต่างยึดมั่นในอุดมการณ์ของตนจนไม่สามารถปรองดองกัน (เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ถูกแบ่งเป็น 2 ประเทศบริเวณเส้นขนานที่ 38 บริเวณหมู่บ้านปันมุนจอม)

การขยายตัวของลัทธิชาตินิยม

              ลัทธิชาตินิยมเริ่มขึ้นในทวีปยุโรปและขยายตัวในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากนั้นลัทธิชาตินิยมได้ ขยายตัวในทวีปต่างๆ อย่างรวดเร็วในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

             ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ ถูกย่ำยีจากกองทัพของต่างชาติ เช่น กองทัพนาซีเข้ารุกรานประเทศยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก

             กองทัพของญี่ปุ่นกดขี่ข่มเหงประชาชนในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามมหาเอเชียบรูพา  

             ส่งผลให้มีการขยายตัวของลัทธิชาตินิยม ต่อมาลัทธิชาตินิยมได้พัฒนาอย่างรวดเร็วในประเทศเกิดใหม่หลังสงครามและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ในดินแดนเหล่านั้น การขยายตัวของลัทธิชาตินิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 3 มีสาเหตุดังนี้

ประการที่หนึ่ง 

              หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนต่างๆ ที่เคยเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจ ตลอดจนชนกลุ่มน้อยที่เคยถูกปกครองและถูกกดขี่ข่มเหงจากประชากรส่วนใหญ่ในประเทศเดียวกันได้ใช้ลัทธิชาตินิยมเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหว ขอแยกตัวเป็นอิสระ ส่งผลให้มีประเทศเกิดใหม่เนื่องจากแรงผลักดันด้านชาตินิยมเป็นจำนวนมากในเอเชีย แอฟริกา และคาบสมุทรบอลข่าน

ประการที่สอง

              ประชาชนในประเทศเกิดใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เป็นอดีตอาณานิคมของต่างชาติถูกกระตุ้นให้มีความนึกคิดแบบชาตินิยม เนื่องจากผู้นำประเทศต้องการใช้จิตสำนึกนี้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ เช่น เวียดนาม และเกาหลีใต้

ประการที่สาม

              หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายต่างพยายามพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า และอาศัยความช่วยเหลือจากชาติมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเงินทุนและเทคโนโลยี ชาติมหาอำนาจจึงฉวยโอกาสเอารัดเอาเปรียบและเรียกร้องสิ่งตอบแทน เช่น การขอตั้งฐานทัพเพื่อขยายอิทธิพลทางการทหารและการเอาเปรียบด้านการค้า กรณีเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสชาตินิยมต่อต้านประเทศมหาอำนาจ เช่น การประท้วงขับไล่ทหารอเมริกันในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ การประท้วงสินค้าญี่ปุ่นในประเทศไทย ฯลฯ

ผลของลัทธิชาตินิยม

            การต่อสู้และเรียกร้องเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเนื่องมาจากการขยายตัวของลัทธิชาตินิยมได้ส่งผลกระทบที่สำคัญคือ

ประการแรก

              ทำให้เกิดสงครามเรียกร้องเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเจ้าของอาณานิคมเดิม หรือผู้ปกครองประเทศไม่ยินยอมให้ชนกลุ่มน้อยแบ่งแยกดินแดน กลุ่มชาตินิยมจึงผลักดันให้ประชาชนลุกขึ้นต่อต้าน เช่น สงครามระหว่างฝรั่งเศสกับอาณานิคมในอินโดจีน สงครามระหว่างกลุ่มเรียกร้องเอกราชในอินโดนีเซียกับรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ และสงครามระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลประเทศต่างๆ ในแหลมบอลข่าน แอฟริกา พม่า อิหร่าน และอิรัก

 ประการที่สอง

              ทำให้มหาอำนาจในสงครามเย็นฉวยโอกาสแทรกแซงการต่อสู้ของกลุ่มชาตินิยมในประเทศที่กำลังมีความขัดแย้งเป็นผลให้ปัญหาบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมือง และประชาชนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ดังเช่น กรณีสงครามกลางเมืองในกัมพูชา สงครามเวียดนาม และสงครามเกาหลี

โดยสรุป

              เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกลางต่อเนื่องถึงสมัยใหม่ ได้ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติทั้งในทวีปยุโรปและประชาคมโลก

ลัทธิจักรวรรดินิยมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติอย่างไร

ลัทธิจักรวรรดินิยม มีผลกระทบต่อการเมือง การปกครองของประเทศต่างๆ มีดังนี้ 1 ทำให้ชาติมหาอำนาจขัดแย้งในผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ส่งผลให้บรรยากาศทางการเมืองของโลกเข้าสู่ภาวะตึงเครียด และนำไปสู่สงครามในที่สุด

ลัทธิจักรวรรดินิยมใช้ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีจุดประสงค์หลักเพื่ออะไร

การขยายตัวของระบบอุตสาหกรรมในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้สร้างพลังผลักดันให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมที่จะขยายตัวเข้าไปรุกรานอาณาบริเวณ “ที่ยังด้อยกว่าในเชิงอุตสาหกรรม” เพื่อแสวงหาวัตถุดิบไปป้อนโรงงาน “ที่หิวกระหายที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว” และเพื่อแสวงหาตลาดสำหรับรองรับสินค้าอุตสาหกรรมจากโรงงานเหล่านั้นที่มีปริมาณ ...

ลัทธิจักรวรรดินิยมหมายถึงอะไร

ลัทธิจักรวรรดินิยม คือ นโยบายขยายอำนาจในการเข้าควบคุมหรือมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือดินแดนต่างชาติ อันเป็นวิถีทางเพื่อการได้มาและ/หรือการรักษาจักรวรรดิให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ทั้งจากการขยายอำนาจเข้ายึดครองดินแดน โดยตรง และจากการเข้าคุมอำนาจทางอ้อมในด้านการเมือง และ/หรือทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ บางคนใช้คำศัพท์นี้เพื่ออธิบาย ...

การตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

การเกิดรัฐสมัยใหม่ที่ประกอบด้วยประชากร ดินแดน บุคคลและอำนาจอธิปไตย.
การเกิดสถาบันการเมืองแบบตะวันตก คือรัฐบาลกลาง ทำหน้าที่บริหารราชการตามแบบวิธีการสมัยใหม่แทน วิธีการแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์.
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ... .
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม.