เล่นหุ้นอเมริกาต้องเสียภาษีไหม

ปัจจุบันนักลงทุนไทย ไปลงทุนในต่างประเทศกันมากขึ้นทั้งทางตรงโดยการซื้อหุ้นรายตัวหรือลงทุนทางอ้อม เช่น ซื้อกองทุน ซึ่งผู้ที่ลงทุนทางตรงอาจไม่ได้วางแผนเรื่องภาษี ทำให้เมื่อนำเงินกลับมาในประเทศจะต้องจ่ายภาษีแบบเต็ม ๆ ทำให้กำไรหดหายไปพอสมควร

ก่อนอื่น ขอยกตัวอย่างประเทศที่นักลงทุนไทยนิยมไปลงทุน เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และจีน (ผ่านตลาดหุ้นฮ่องกง) และเวียดนาม ว่าเมื่อนักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนแล้วมีกฎระเบียบเรื่องภาษีอย่างไร

ภาษีในการลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกา

  • เงินปันผล (Dividends) จะหักภาษี ณ ที่จ่ายกับนักลงทุนไทย 30% ซึ่งถ้าอยากได้ภาษีคืนจะต้องทำเอกสารเรื่องภาษี โดยปัจจุบันโบรกเกอร์ในประเทศไทยจะลดเหลือ 15% (ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมในการจัดทำเอกสาร)
  • กำไรจากการขายหุ้น (Capital gain) สหรัฐอเมริกาค่อนข้างสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น จึงไม่มีการเก็บภาษีจากส่วนนี้
  • หุ้นปันผล (Stock dividend) นักลงทุนไทยไม่ต้องเสียภาษี

ภาษีในการลงทุนหุ้นฝรั่งเศส

  • เงินปันผล (Dividends) หากนักลงทุนไปลงทุนในตลาดหุ้นฝรั่งเศสแล้วได้เงินปันผลก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 30% และถ้าไปลงทุนในนามบริษัทแล้วไม่ได้ทำสนธิสัญญา เมื่อได้เงินปันผลก็จะเสียภาษีสูงถึง 55%
  • กำไรจากการขาย (Capital gain) ตลาดหุ้นฝรั่งเศสไม่มีการเก็บภาษีส่วนต่างกำไรจากการซื้อขาย
  • หุ้นปันผล (Stock dividend) นักลงทุนต่างชาติ ไม่มีสิทธิได้รับหุ้นปันผล

ภาษีในการลงทุนหุ้นจีน และเวียดนาม

ภาษีในการลงทุนหุ้นในจีน ส่วนใหญ่นักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นจีนและซื้อผ่านตลาดฮ่องกง ที่เรียกกันว่า H-Share ซึ่งทั้งเงินปันผล กำไรจากการขายหุ้น และหุ้นปันผล นักลงทุนไทยไม่เสียภาษี และถ้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม ก็ไม่เสียภาษีทั้ง 3 กรณีเช่นเดียวกัน

เมื่อเห็นอัตราภาษีกับการออกไปลงทุนในประเทศตัวอย่าง ก็ต้องพิจารณาต่อว่าถ้าลงทุนแล้วมีกำไรจากการซื้อขายหุ้นต่างประเทศ และต้องการโอนเงินกลับเข้ามาในประเทศไทยจะต้องจ่ายภาษีอย่างไร

  • กรณีที่ 1 ถ้านำเงิน 10 ล้านบาทไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศในเดือนมกราคมปี 2564 ผ่านไป 6 เดือน (มิถุนายน) จนพอร์ตลงทุนโตเป็น 16 ล้านบาท และนำเงินกลับเข้ามาในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กำไรจำนวน 6 ล้านบาทจะถูกรวมเป็นเงินได้และก็จะต้องเสียภาษีตามฐานภาษีที่เพิ่มขึ้นจากเงินได้ส่วนนี้ (นำเงิน 6 ล้านบาทมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2564)
  • กรณีที่ 2 ถ้านำเงิน 10 ล้านบาทไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศในเดือนมกราคมปี 2564 ผ่านไป 6 เดือน (มิถุนายน) ขาดทุนเหลือเงินในพอร์ต 9.8 ล้านบาท แล้วต้องการนำกลับมาในประเทศไทย กรณีนี้ คือ ขาดทุน ก็จะไม่ถูกคิดภาษีเงินได้ ไม่ต้องนำมาคำนวณภาษี เพราะถือว่าเป็นการโอนเงินตัวเองกลับมา
  • กรณีที่ 3 ถ้านำเงิน 10 ล้านบาทไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศในเดือนมกราคมปี 2564 ผ่านไป 6 เดือน (มิถุนายน) จนพอร์ตลงทุนโตเป็น 16 ล้านบาท แต่ยังไม่โอนเงินกลับเข้ามา จนกระทั่งปี 2565 ถึงตัดสินใจโอนเงินกลับเท่ากับว่าโอนเงินกลับคนละปีถ้าทำแบบนี้ก็จะทำให้ไม่เสียภาษีในประเทศไทยตามกฎหมาย

ในเบื้องต้น ก่อนตัดสินใจนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศควรศึกษาข้อมูลอัตราภาษีของประเทศที่สนใจไปลงทุน เพราะแต่ละประเทศก็จะมีกฎระเบียบแตกต่างกัน จากนั้นต้องดูข้อมูลกฎหมายของประเทศว่าเมื่อต้องการโอนเงินกลับ มีภาษีอะไรบ้างที่ต้องจ่ายและจ่ายด้วยอัตราเท่าไหร่ แปลว่าควรวางแผนการซื้อขายแต่ละตลาดอย่างไร กำไรเท่าไรถึงจะคุ้มค่ากับภาษีที่จะต้องเสียในแต่ละประเทศและควรนำเงินกลับเข้ามาประเทศไทยเมื่อไรจึงจะประหยัดภาษี

ผู้มีเงินได้จากแหล่งเงินได้ต่างประเทศ ซึ่งเป็นเงินได้ประเภทกำไรจากการขายหลักทรัพย์ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ เงินปันผล และดอกเบี้ยเงินฝาก

2. ผู้อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมทั้งหมดถึง 180 วัน

3. มีเงินได้จะต้องนำเงินที่ได้รับในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกันกับปีที่เกิดเงินได้

**อย่างไรก็ตาม นักลงทุนมีหน้าที่ต้องศึกษาและปฎิบัติกฎหมายและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับภาษีอากรโดยเคร่งครัด**

Global Investing Tips!

1. เงินได้จากการลงทุนต่างประเทศ หากนำเงินดังกล่าวกลับไทยในปีถัด ไม่ต้องนำมานับรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2. เงินได้ที่ได้จากการลงทุนต่างประเทศ สำหรับการพิจารณาภาษี คือ กำไรที่เกิดขึ้นจริง (Realized Gain)

เล่นหุ้นอเมริกาต้องเสียภาษีไหม

เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจเรื่องภาษีกับการลงทุนต่างประเทศมากขึ้น เราลองมาดูตัวอย่างง่ายๆ กันค่ะ

ตัวอย่างสำหรับภาษีกับการลงทุนต่างประเทศ

1.) นักลงทุนโอนเงินไปลงทุนต่างประเทศ 500,000 บาท ได้กำไรจากหุ้น 500,000 บาท

ดังนั้นรวมเงินสุทธิเท่ากับ 1,000,000 บาท หากถอนเงินกลับประเทศไทย 100,000 บาท จะต้องเสียภาษีหรือไม่ ?

ตอบ ไม่ต้องเสียภาษีค่ะ เพราะถือว่าเป็นการนำเงินต้นกลับประเทศ โดยขณะนี้เงินในบัญชีหลักทรัพย์ต่างประเทศเหลือสุทธิ 900,000 บาท (คิดเป็นเงินต้น 400,000 บาท และ กำไร 500,000 บาท)

2.) ต่อจากข้อ 1 หากนักลงทุนถอนเงินกลับประเทศเพิ่มอีก 400,000 บาท จะต้องเสียภาษีหรือไม่??

ตอบ ไม่ต้องเสียภาษี เพราะยังถือว่าเป็นการนำเงินต้นกลับประเทศค่ะ โดยขณะนี้เงินในบัญชีหลักทรัพย์ต่างประเทศเหลือสุทธิ 500,000 บาท (คิดเป็นเงินต้น 0 บาท , กำไร 500,000 บาท)

ดังนั้นหากนักลงทุนถอนเงินกลับประเทศเพิ่มอีกหลังจากนี้ (ตั้งแต่ 0 – 500,000 บาท) ต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมานับรวมเป็นเงินได้ เพื่อเสียภาษี เพราะถือเป็นส่วนของกำไรทั้งหมดที่ถอนกลับค่ะ

3.) ปี 2563 นักลงทุนโอนเงินไปลงทุนต่างประเทศทั้งหมด 500,000 บาท โดยเกิดกำไรจากหุ้น 500,000 บาท รวมเงินสุทธิ 1,000,000 บาท ต่อมาปี 2564 วันที่ 1 ม.ค. หากถอนเงินกลับประเทศไทย ตั้งแต่ 0 – 1,000,000  บาท จะต้องเสียภาษีหรือไม่

ตอบ ไม่ต้องเสียภาษี  เพราะเงินได้เกิดขึ้นในปีภาษี 2563 แต่มีการนำเข้าในปี 2564 ซึ่งเป็นคนละปีภาษีกัน จึงไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคิดภาษีสำหรับปี 2563 ค่ะ

ใหม่!! ฟีเจอร์เด็ดโดนใจ จาก BLS Global Investing กับ รายงานความเคลื่อนไหวเงินทุน  (Capital Movement Report For Tax Reference)

รายงานความเคลื่อนไหวเงินทุน (Capital Movement Report For Tax Reference) ที่จะทำให้นักลงทุนทุกท่าน สบาย หมดกังวล เรื่องข้อมูลยื่นภาษี เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการยื่นภาษีได้ด้วยตนเอง ซึ่งท่านสามารถดูได้ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. ผ่าน Smartphone ในApplication Streaming เลือกเมนู Global Investing > หัวข้อ E-Documents
  2. ผ่านเว็บไซต์ของหลักทรัพย์บัวหลวง www.bualuang.co.th เลือกเมนู Global Investing > หัวข้อ E-Documents

โดยกรอกข้อมูลแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป (ภ.ง.ด.90) ในรายการเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) ข้อ 3