เอกสารหลักฐานการอ้างอิงบุคคล

สำหรับคนวัยทำงานแล้ว การสมัครงาน การสัมภาษณ์งาน และการลาออกจากงาน เรียกได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่ต้องเจอตลอดชีวิตการทำงาน ซึ่งการสมัครงานนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่กว่าจะได้งานก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน เพราะฉะนั้น คุณจึงต้องให้ความสำคัญกับการเขียน resume เมื่อต้องยื่นสมัครงานใหม่ จะใส่ข้อมูลอย่างไรให้มีประวัติที่เข้าตาผู้คัดเลือก และต้องเตรียมตัวให้พร้อมขณะไปสัมภาษณ์งานเพื่อให้ได้ตำแหน่งงานที่หมายปอง

ถ้าคุณมีประสบการณ์การสมัครงานมาก่อน หรือเคยไปกรอกประวัติเอาไว้ในเว็บไซต์หางาน เชื่อว่าจะต้องรู้จักกับ References หรือ บุคคลอ้างอิง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่หลายบริษัทต้องการทราบ แต่ก็ยังมีบางคนที่มีข้อสงสัยว่า ส่วนของบุคคลอ้างอิงนั้นคืออะไร สำคัญมากแค่ไหน แล้วจำเป็นต้องใส่หรือไม่ Rabbit Care จะพาไปไขข้อข้องใจของคนวัยทำงานไปพร้อม ๆ กัน

เอกสารหลักฐานการอ้างอิงบุคคล

ความสำคัญของ References กับการทำ resume สมัครงาน

References (บุคคลอ้างอิง) เป็นข้อมูลที่ระบุชื่อของบุคคลที่ทางว่าที่นายจ้างสามารถติดต่อเข้าไปสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้สมัครงานได้ (ไม่ใช่ญาติพี่น้อง) อาจสอบถามถึงลักษณะการทำงาน ความสามารถ และงานที่เคยทำมาก่อน เพื่อนำมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติมว่าจะตัดสินใจว่าจ้างผู้สมัครท่านนี้หรือไม่

ข้อมูลจากบุคคลอ้างอิงนั้น อาจไม่ได้สำคัญมากที่สุด แต่ก็ถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีอีกชิ้นหนึ่ง เพราะบางคนมีประวัติผลงานดีก็จริง แต่ถ้ามีความประพฤติไม่ดีในขณะปฏิบัติงาน ข้อมูลส่วนนี้ก็อาจจะถูกรายงานต่อว่าที่ผู้ว่าจ้างคนใหม่ได้ หรือในอีกกรณีหนึ่ง หากผู้สมัครงานเองยังไม่ต้องการส่งชื่อของบุคคลอ้างอิงแนบไปกับ resume ด้วยเหตุผลส่วนตัวใด ๆ ก็ตาม อาจระบุใน resume ว่าจะส่ง references ให้ ในกรณีที่ทางบริษัทแจ้งว่าต้องการ (References will be sent on request.)

ซึ่งในบางบริษัทและบางตำแหน่งอาจไม่ต้องการข้อมูลจาก References แต่จะพิจารณาจากตัว Portfolio หรือประวัติผลงานที่เคยทำมาก่อน ว่ามีลักษณะที่ตรงตามความต้องการของผู้ว่าจ้างหรือไม่

หากต้องการ References มาใส่ใน resume จะเลือกคนแบบไหนดี?

เพราะบุคคลที่เราต้องการให้เขาทำเอกสารอ้างอิง หรือบอกเล่าพฤติกรรมการทำงานของเราได้นั้น เป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วยให้เราได้ทำตำแหน่งงานที่หมายปองเอาไว้ ในทางกลับกันก็เป็นบุคคลที่อาจทำให้เราพลาดโอกาสในการได้ทำงานที่คาดหวังเอาไว้ ดังนั้น การเลือกบุคคลที่จะมา References ให้นั้น ก็ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • เป็นบุคคลที่สามารถระบุข้อดี เข้าใจลักษณะงาน และความรับผิดชอบงานของเราได้
  • หากเป็นบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งหัวหน้างานได้ก็ยิ่งส่งผลดี เพราะจะเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้น
  • ต้องไม่ใช่ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนสนิท

ที่สำคัญ ก่อนที่จะนำชื่อของบุคคลนั้น ๆ ไปใส่เป็น References ไว้ใน resume จะต้องมีการแจ้งและได้รับการยินยอมจากบุคคลนั้นก่อน แสดงถึงความมีมารยาทและความเป็นมืออาชีพของคนวัยทำงานนั่นเอง

เอกสารหลักฐานการอ้างอิงบุคคล

สิ่งที่ควรใส่ใน Resume เมื่อต้องการยื่นสมัครงานใหม่

สำหรับใครที่กำลังวางแผนเปลี่ยนงาน และมองหาองค์กรใหม่ที่น่าร่วมงานด้วย ควรเตรียมตัว เตรียม Resume เอาไว้ให้พร้อม และอย่าลืมข้อมูลสำคัญเหล่านี้

  • ชื่อ และช่องทางการติดต่อ

ชื่อ-นามสกุล และช่องทางการติดต่อ เป็นสิ่งที่ต้องระบุในเรซูเม่ เป็นอันดับแรก เพราะต่อให้ผลงานจะดี เข้าตากรรมการแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีชื่อและช่องทางการติดต่อระบุมาด้วย ก็คงพลาดโอกาสที่จะได้งานไปอย่างน่าเสียดาย เคล็ดลับก็คือการใช้ Font ที่ใหญ่และโดดเด่นกว่าข้อความอื่น ส่วนช่องทางการติดต่อเน้นเป็นช่องทางที่ติดต่อได้ง่ายที่สุด เช่น เบอร์โทรศัพท์มือถือ หรืออีเมลส่วนตัว ไม่จำเป็นต้องใส่ที่อยู่หรือชื่อของ Social media ที่เป็นส่วนตัวลงไป

  • ประสบการณ์การทำงาน

เขียนประสบการณ์การทำงาน โดยเน้นประสบการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่กำลังจะสมัครไป โดยเรียงลำดับตามช่วงเวลา เริ่มจากล่าสุดก่อน แล้วย้อนไปถึงในอดีต อาจแบ่งเป็นช่วงปีเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น หากเป็นนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังหางาน ให้ใส่เป็นประวัติการศึกษาและการฝึกงาน ฝึกอบรมต่าง ๆ ได้

  • ความสามารถทางภาษา

ปัจจุบันเหล่านายจ้างมักจะมองหาคนที่สามารถสื่อสารได้มากกว่า 1 ภาษา โดยเฉพาะกับภาษาอังกฤษที่ต้องการมากที่สุด และภาษาที่ 3 อย่างเช่น จีน, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส หรือเกาหลี ที่เป็นที่ต้องการของนายจ้างจำนวนไม่น้อย เนื่องมีชาวต่างชาติมากมายที่เข้ามาลงทุนและทำธุรกิจอยู่ในประเทศไทย จึงต้องการคนที่มีทักษะทางภาษาเข้าไปร่วมงานนั่นเอง

เมื่อต้องการระบุความสามารถทางภาษา อย่าใส่เป็นเปอร์เซ็น หรือทำเป็นหลอดวัดระดับ เพราะมาตรฐานของแต่ละคนไม่เหมือนกันจึงไม่สามารถบอกได้ว่าเราใช้ภาษานั้นได้ในระดับไหน ทางที่ดีจึงควรใส่เป็นระดับ เช่น Good (ใช้ภาษาได้ดี), Fair (พอสื่อสารได้), fluently (ใช้ภาษาได้ระดับดีมาก-คล่องแคล่ว) จะเข้าใจง่ายกว่า

  • ความสามารถทางคอมพิวเตอร์

หากเป็นสายงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์ หรือเป็นตำแหน่งงานที่ต้องการผู้ที่มีความสามารถในการใช้โปรแกรมเฉพาะทาง ก็ควรระบุความสามารถด้านนี้ลงไปด้วย ทั้งโปรแกรมพื้นฐาน ไปจนถึงโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และควรใส่เป็นระดับความสามารถคล้ายกับข้อก่อนหน้า

ถ้าคุณกำลังวางแผนที่จะหางานใหม่ หรือกำลังเขียนเรซูเม่ เพื่อยื่นสมัครงานใหม่กับองค์กรใด ๆ ก็ตาม ควรเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่การเริ่มทำ resume กับแฟ้มผลงานให้ออกมาดูดี ดูน่าสนใจมากที่สุด และที่สำคัญ ต้องให้ข้อมูลที่เป็นความจริงเสมอ หากมีการให้ข้อมูลเกินจริงไปใน resume หรือในตอนสัมภาษณ์งาน เชื่อได้เลยว่าคุณอาจพลาดโอกาสที่จะได้ทำงานนั้น ๆ ไม่ใช่เพราะเก่งไม่พอ แต่เป็นคนที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง Rabbit Care ขอให้ทุกคนที่มีความตั้งใจจริง ได้งานสมดังใจทุกท่าน