เอกสารจดทะเบียนสมรสกับต่างชาติ 2565

ต้อนรับ "วันแห่งความรัก" 14 กุมภาฯ วันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day) เช็คข้อควรรู้ ก่อน "จดทะเบียนสมรส" กับชาวต่างชาติ ทำอย่างไรให้มีผลทางกฎหมายทั้ง 2 ประเทศ

สำหรับคนไทยที่พบรักชาวต่างประเทศและมีแผนจดทะเบียนสมรส ควรเช็คเอกสารและเงื่อนไขทางกฎหมายให้ละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่ามีผลทางกฎหมายทั้ง 2 ประเทศ โดยการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทย และ จดทะเบียนภายใต้กฎหมายต่างชาติ

จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทย
ณ สํานักงานเขต/ที่ว่าการอําเภอ/สํานักงานทะเบียนท้องถิ่น

เอกสารที่ใช้

  • ชาวต่างชาติขอใบรับรองความเป็นโสด ที่สถานทูตชาติของคู่สมรสในประเทศไทย กรณีบางสถานทูตไม่มีสิทธิออกใบรับรอง ต้องติดต่อสํานักงานเขตในประเทศต้นทาง
  • นําเอกสารดังกล่าวแปลเป็นภาษาไทย
  • นําเอกสารต้นฉบับ (ภาษาต่างประเทศ) และฉบับแปล (ภาษาไทย) ยื่นรับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์
  • กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
  • หนังสือเดินทางของชาวต่างชาติ
  • คนไทยต้องมีบัตรประจําตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
  • จดทะเบียนที่สํานักงานเขต/ที่ว่าการอําเภอ/สํานักงานทะเบียนท้องถิ่น
  • พยาน 2 คน (ฝ่ายละ 1 คน)
  • ชาวต่างชาติต้องมีล่ามมาด้วย (ล่ามและพยานอาจเป็นคนเดียวกันก็ได้)

จดทะเบียนภายใต้กฎหมายต่างชาติ
(กฎหมายประเทศคู่สมรส)

เอกสารที่ใช้

  • ติดต่อสถานทูตชาติของคู่สมรสที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เพื่อขอเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ
  • นําเอกสารดังกล่าวแปลเป็นภาษาอังกฤษ
  • นําเอกสารต้นฉบับ (ภาษาต่างประเทศ) และฉบับแปล (ภาษาไทย) ยื่นรับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์กรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ
  • บัตรประจําตัวประชาชนพร้อมเอกสาร ยื่นขอหนังสือรับรองการสมรสกับสถานทูตของคู่สมรส ที่อยู่ในไทยแล้วนําไปใช้ยังต่างประเทศได้

บุคคลที่สมรสได้ตามกฎหมายไทยจะต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

  • เป็นชายหรือหญิง มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
  • กรณีคู่สมรสอายุต่ำกว่า 20 ปี บิดา - มารดา ต้องมาให้ความยินยอม
  • ทั้งคู่ต้องมีสถานะโสดหรือหย่าเรียบร้อยแล้ว
  • ผู้หญิงที่ยิ่งหย่าร้างหรือสามีเสียชีวิต ต้องรอให้พัน 310 วัน

จะเห็นได้ว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ ไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยากมากนัก เพียงแค่มีเอกสารที่สำคัญอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะ "ใบรับรองความเป็นโสด" เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางกฎหมายตามมา

สํานักงานอัยการสูงสุด แนะนำเพิ่มเติมว่า กรณีมีข้อสงสัย สามารถโทรสอบถามฝ่ายจดทะเบียนสมรส/สถานทูต เรื่องเอกสารและขั้นตอนเพื่อความสะดวก รวดเร็ว และกรณีวางแผนขอวีซ่าหรือกลับต่างประเทศ แนะนําให้คัดเอกสารการจดทะเบียนสมรสเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อแจ้งประเทศของคู่สมรสให้มีผลต่อกฎหมายและเงื่อนไขต่าง ๆ

ขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ในวันและเวลาราชการ หรือโทรศัพท์ 0 2142 1532, 0 2142 1533 อีเมล [email protected]

เอกสารจดทะเบียนสมรสกับต่างชาติ 2565

เอกสารจดทะเบียนสมรสกับต่างชาติ 2565

เอกสารจดทะเบียนสมรสกับต่างชาติ 2565

การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติภายใต้กฎหมายไทย

การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติภายใต้กฎหมายไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 15 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 13 ก.ย. 2565

| 106,353 view

Happy Valentine’s Day

เชิญทางนี้ค่ะ! ชาย/หญิงไทย จดทะเบียนสมรสกับ

ชาวต่างชาติ

ชาย/หญิงไทย

1. บัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางไทย

2. พยาน 2 คน (ฝ่ายละ 1 คน)

ชาวต่างชาติ

1. ใบโสดที่ออกจากทางการของประเทศตนเอง

(กรณีจดทะเบียนที่เขต/อำเภอในประเทศไทย)

1.1 ใบโสดออกจากประเทศต้นทาง : รับรองนิติกรณ์เอกสารจากกระทรวงการต่างประเทศของประเทศต้นทาง และ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศนั้น หลังจากนั้น แปลเป็นภาษาไทย และรับรองนิติกรณ์เอกสารที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล

1.2 ใบโสดออกจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ต่างประเทศประจำประเทศไทย : แปลเป็นภาษาไทย และนำมารับรองนิติกรณ์เอกสารที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล

(กรณีจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ)

ใบโสดออกจากประเทศต้นทาง : รับรองเอกสารจากกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศต้นทาง เพื่อนำไปประกอบการจดทะเบียนสมรสกับบุคคลสัญชาติไทย ณ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศนั้น

2. หนังสือเดินทาง

3. บิดา-มารดา มาให้ความยินยอม(กรณีคู่สมรสอายุต่ำกว่า 20 ปี)

4. พยาน 2 คน (ฝ่ายละ 1 คน)

Tag


จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติภายใต้กฎหมายไทย.
ใบโสดที่ออกจากทางการของประเทศตนเอง (กรณีจดทะเบียนที่เขต/อำเภอในประเทศไทย) ... .
หนังสือเดินทาง.
บิดา-มารดา มาให้ความยินยอม(กรณีคู่สมรสอายุต่ำกว่า 20 ปี).
พยาน 2 คน (ฝ่ายละ 1 คน).

จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติใช้เวลานานไหม

ทุกขั้นตอน สะดวก รวดเร็ว ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์มากว่า 10 ปี ท่านจะได้ทะเบียนสมรส และ ใบบันทึกสมรม ภายใน 4 - 5 วันทำการ (สำหรับบางประเทศ) ท่านจะได้รับเอกสารครบถ้วนพร้อมบริการแปลเอกสารใบทะเบียนสมรส และ ใบบันทึกสมรส เพิ่ม ฟรี ประเทศที่ทางบริษัทรับบริการจดทะเบียนสมรสมีดังต่อไปนี้ ประเทศอเมริกา ประเทศอังกฤษ

จดทะเบียนสมรสต้องเตรียมเอกสารอะไรไปบ้าง

เอกสารหลักฐานเพื่อใช้ จดทะเบียนสมรส.
บัตรประชาชน ตัวจริงของทั้ง 2 ฝ่าย (ที่ยังไม่หมดอายุ) ✓.
ทะเบียนบ้าน ตัวจริงของทั้ง 2 ฝ่าย (เตรียมไปเผื่อ พร้อมถ่ายสำเนาคนละ 2 ชุด) ✓.
พยาน 2 คน (พร้อมบัตรประชาชน).
สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตร เกิดก่อนหน้าที่จะมาจดทะเบียนสมรส).

จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติได้ที่ไหน

การจดทะเบียนสมรสมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?? ต้องไปยื่นขอใบรับรองความเป็นโสดจากสถานทูตของชาวต่างชาติ ประจำประเทศไทย นำใบโสดไปแปลเป็นภาษาไทยและนำไปรับรองตราประทับจากกระทรวงการต่างประเทศ ไปที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตตามเวลาที่นัดหมายกับเจ้าหน้าที่ พร้อมล่ามและพยาน (พยานต้องนำบัตรประชาชนไปด้วย)