ในสมัยราชวงศ์ชิง มีการ ประกาศ ห้าม ฝังเข็ม เพื่อ การรักษาโรค เพราะ เหตุ ใด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในสมัยราชวงศ์ชิง มีการ ประกาศ ห้าม ฝังเข็ม เพื่อ การรักษาโรค เพราะ เหตุ ใด

การฝังเข็ม (จีน: 針灸; อังกฤษ: Acupuncture) เป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง โดยการฝังเข็มเข้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การฝังเข็มสามารถระงับอาการเจ็บปวด ช่วยเรื่องภาวะมีบุตรยาก (ภาวะไม่เจริญพันธุ์) ป้องกันโรคบางชนิด รวมถึงเสริมสุขภาพ การฝังเข็มเป็นแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนจีน ซึ่งสามารถสืบย้อนประวัติได้ยาวนานหลายพันปี[ต้องการอ้างอิง] และยังมีรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย

การฝังเข็มเป็นการใช้เข็มปักลงไปตามจุดต่างๆบนร่างกายของทั้งมนุษย์และสัตว์ ตามจุดสำคัญๆที่มีการบันทึกไว้ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า มีความสำคัญและสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆในร่างกาย จุดฝังเข็มบนร่างกายมนุษย์มีอยู่หลายร้อยจุด แต่จุดที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน ในเอกสารตำราแพทย์จีนโบราณและในเอกสารอ้างอิง ขององค์การอนามัยโลก (WHO) จะมีอยู่จำนวน 349 จุด บนเส้นลมปราณ (meridian) หลักๆ 12 เส้นหลักและอีก 2 เส้นรอง จำนวนเส้นลมปราณในร่างกายแต่ละข้าง (ขวา-ซ้าย) มี 12 เส้น โดยแบ่งเป็นส่วนของแขน 6 เส้น และส่วนของขาอีก 6 เส้น (ส่วนอีก 2 เส้นรองจะอยู่ตรงกลางหลังและตรงกลางหน้าท้อง) ในส่วนของแขน 6 เส้น ก็จะจับคู่กันเองเป็น 3 คู่ เช่นเดียวกับขาก็จะจับคู่กันเองเป็น 3 คู่ แต่ละเส้นจะมีชื่อเรียกและหน้าที่ของมันอย่างชัดเจน ขอยกตัวอย่าง 2 เส้นใน 6 เส้นบนแขน เส้นของปอดและ ลำไส้ใหญ่ โดยเส้นของปอดจะสิ้นสุดที่ข้างหัวนิ้วโป้ง ส่วนเส้นของลำไส้ใหญ่ จะเริ่มบริเวณด้านข้างปลายนิ้วชี้ทั้ง2เส้น นี้คือเส้นของปอดและลำไส้ใหญ่จะ สัมพันธ์กันแบบภายนอกและภายใน เป็นแบบ External & Internal relationship เส้นของปอดมีชื่อเรียกว่า เส้นไท่อินปอด (Taiyin lung meridian) เส้นของลำไส้ใหญ่มีชื่อเรียกว่า เส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่ (Yangming large intestine meridian)

ในเส้นลมปราณแต่ละเส้น จะมีจุดฝังเข็ม (Acupunture points) หลายจุดจำนวนแตกต่างกันไปมากบ้าง น้อยบ้าง เช่น บนเส้นไท่อินปอดจะมีอยู่ 11 จุด บนเส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่จะ มีอยู่ 20 จุด แต่ละจุดก็จะมีชื่อเรียกของตัวเองทุกจุดชื่อของจุดจะแตกต่าง กันออกไป และทุกชื่อก็จะมีความหมายของตัวเอง ชื่อทั้งหมดเป็นชื่อในภาษาจีนกลาง เช่นจุดที่บริเวณด้านข้าง ปลายนิ้วโป้งของเส้นไท่อินปอด มี ชื่อเรียกว่า จุดเซ่าซาง (Shao Shang) หรือจุดแรกของเส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่ ที่ปลายนิ้วชี้ด้านข้างมีชื่อว่าจุดซางหยาง (Shang Yang) สำหรับคนต่างชาติการจะไปจำชื่อจุด ฝังเข็มนับร้อยจุดเป็นชื่อจีนกลางเป็นเรื่องยาก ทางองค์การอนามัยโลกจึงกำหนดรหัสขึ้นมาแทนชื่อจุดเหล่านั้น เช่นจุดเซ่าซางมีรหัสเป็น LU-11 จุดซางหยางมีรหัสเป็น LI-1 เป็นต้น

"การเตรีมตัวก่อนการรักษา" 1.ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดจนเกินไปและเป็นเสื้อผ้าที่สามารถแยกเสื้อส่วนบนกับกางเกงหรือกระโปรงส่วนล่างได้ เพื่อความสะดวกในการฝังเข็ม 2.หากฝังเข็มบริเวณต้นคอ ต้องรวบผมขึ้นให้เรียบร้อย เพราะการฝังเข็มบริเวณต้นคอ ต้องใช้ความแม่นยำให้การฝังเป็นอย่างมาก 3.ทำจิตใจให้สบาย ไม่ต้องเครียด เพราะความเครียดจะทำให้โลหิตหมุนเวียนไม่ดี 4.ชำระร่างกายให้สะอาด 5.ควรต้องพักผ่อนร่างกายมาเพียงพอ​ไม่อดหลับอดนอน 6.ควรจะทานอาหารรองท้องมาบ้าง​อย่าปล่อยให้ท้องว่างก่อนมาฝังเข็ม

โรคที่ได้ผลดีกับการรักษา[แก้]

การฝังเข็มได้ผลดีกับอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดประจำเดือนรุนแรง อาการอ่อนแรง ปวดหัว ไมเกรน โรคเส้นเลือดในสมองตีบ อัมพฤกษ์/อัมพาต อาการชาจากโรคเบาหวาน ความดัน และโรคภูมิแพ้[1]

อ้างอิง[แก้]

  • ไทยหยินหยางดอตคอม Archived 2010-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • สมาคมแพทย์ฝังเข็มและสมุนไพร
  • ชุมทางแพทย์แผนจีน
  1. รักษาโรคด้วยวิธีฝังเข็ม

การฝังเข็ม ..ว่าด้วยเข็ม

คนที่เคยเห็นเข็มสำหรับฝังเข็มมาแล้ว อาจรู้สึกว่าเป็นเข็มเล็ก ๆ ธรรมดาไม่น่าจะมีฤทธิ์รักษาโรคอะไรได้เลย แต่สำหรับผู้ป่วยที่เคยตระเวนหาหมอรักษาไปทั่ว แล้วกลับหายจากโรคได้ด้วยการฝังเข็ม จะรู้สึกว่ามันเหมือนกับเป็นเข็มวิเศษ แน่นอน มันย่อมมิใช่เข็มที่วิเศษจริง ๆ แต่ก็มิใช่เป็นเข็มที่ธรรมดาเสียทีเดียวนัก ความจริงแล้วมันมีวิวัฒนาการความเป็นมาที่ยาวนาน และแฝงด้วยความหมายที่หลายคนอาจจะคาดไม่ถึง การทำความรู้จักเกี่ยวกับเข็มจะช่วยให้เราเข้าใจเวชกรรมฝังเข็มได้มากยิ่งขึ้น

สมัยบุรพกาล บรรพบุรุษของชาวจีนได้รู้จักกดนวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรืออาการไม่สบายต่าง ๆ ต่อมาในยุคหิน พวกเขาก็รู้จักใช้เศษินมาทำเป็นเครื่องมือสำหรับกดนวดหรือแทงหรือกรีดระบายหนอง..

            ในยุคหินใหม่เมื่อราว ๆ 4,000 กว่าปีก่อน พวกเขาได้รู้จักเทคนิคฝนขัดหินได้อย่างช่ำชองและละเอียดปราณีตมากขึ้น จนสามารถฝนเศษหินให้เล็กลงและแหลมคมขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาโรคดีขึ้นด้วย
ในประเทศจีนมีการขุดค้นทางโบราณคดีหลายแห่ง สามารถพบเครื่องหินที่ใช้สำหรับรักษาโรคอยู่เป็นจำนวนมากมาย มีลักษณะตรงกับคำจารึกในพงสาวดานโบราณที่เรียกว่า เปียนเสือ (Bian stone) ซึ่งหมายถึงเข็มที่ทำจากหิน

            เข็มหินในยุคแรกนั้นไม่เพียงแต่ใช้ทิ่มแทงเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ใช้สำหรับกดนวดและกรีดระบายหนองอีกด้วย รูปร่างของมันตึงมีทั้งเป็นวัตถุแหลม, วัตถุแบนคมเหมือนมีดและวัตถุกลมเหมือนถ้วย เป็นต้น หินเหล่านี้ถือเป็น “สมบัติล้ำค่า” อย่างหนึ่งเลยทีเดียว

            นอกจากหินแล้ว บรรพบุรุษขาวจีนในกลุ่มแม่น้ำฮวงโหยังรู้จักใช้วัสดุอื่น ๆ มาประดิษฐ์เป็นเข็มอีกด้วย เช่น กิ่งไม้ กระดูก เครื่องเคลือบดินเผา

             ตั้งแต่ในยุคราชวงศ์ชางเมื่อประมาณ 2,400 ปีก่อน สังคมจีนได้พัฒนาเข้าสู่ยุคโลหะ ชาวจีนโบราณได้เรียนรู้เทคนิคการหล่อหลอมโลหะจึงเริ่มปรากฏมีเข็มที่ทำมาจากโลหะชนิดต่าง ๆ อันได้แก่ เข็มสำริด เข็มเหล็ก เข็มทองคำ และเข็มเงินเกิดขึ้นมาเป็นลำดับ

             จากคัมภีร์อายุรเวทของกษัตริย์หวงตี้หรือ “หวงตี้เน่ยจิง” ซึ่งมีอายุยาวนานราว 2,200 ปีนั้นได้ทำให้เราทราบว่า ในยุคสงครามระหว่างแคว้นชาวจีนโบราณสามารถประดิษฐ์เข็มโลหะที่มีรูปร่างต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้ได้ถึง 9 ชนิด ดังต่อไปนี้

ในสมัยราชวงศ์ชิง มีการ ประกาศ ห้าม ฝังเข็ม เพื่อ การรักษาโรค เพราะ เหตุ ใด

ภาพวาดเข็มบราณทั้ง 3 ในสมัยราชวงศ์หมิง

1. เข็มหัวลูกศร ใช้แทงผิวหนังตื้น ๆ เพื่อเจาะระบบเลือด
2. เข็มปลายมน ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับกดนวด
3. เข็มปลายทู่ ใช้สำหรับกดเส้นลมปราณ
4. เข็มปลายแหลมขอบเหลี่ยม ใช้แทงเพื่อเจาะระบายเลือด
5. เข็มกระบี่ ใช้สำหรับกรีดหนอง
6. เข็มปลายแหลมขอบมน ใช้สำหรับแทงรักษาอาการปวดที่อยู่ลึก
7. เข็มเส้นขน ใช้ปรับการไหลเวียนลมปราณรักษาอาการปวดต่าง ๆ
8. เข็มยาว ใช้ปักรักษาพยาธิสภาพที่อยู่ส่วนลึก ๆ ของร่างกาย
9. เข็มใหญ่ ใช้เจาะน้ำในข้อ

             อย่างไรก็ตาม กระทั่งถึงทุกวันนี้ นักโบราณคดีของจีนก็ยังไม่สามารถขุดค้นพบเข็ม 9 ชนิดที่เป็นวัตถุโบราณจริง ๆ ได้เลย เข็มทองคำที่ขุดได้จากสุสานฝังศพเจ้าชายหลิวเซิ่งแห่งราชวงศ์ซีฮั่น ที่มณฑลเหอเป่ย เมื่อ ปี ค.ศ.1968 นั้น ก็มิได้มีรูปร่างตรงกับคำบรรยายในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง

              รูปร่างของเข็มโบราณทั้ง 9 จึงเป็นแต่รูปภาพที่แพทย์รุ่นต่อ ๆ มาจินตนาการและวาดออกมาเท่านั้นเอง ซึ่งมีอยู่หลายแบบตามแต่ละยุคสมัยของผู้วาด

               ด้วยเหตุนี้ในปี ค.ศ.1986 สถาบันวิจัยการแพทย์แผนโบราณจีนพร้อมทั้งสถาบันวิจัยเอกสารประวัติศาสตร์ และโรงงานผลิตอุปกรณ์การแพทย์แห่งมณฑลซูโจว จึงได้ร่วมมือกันจำลองสร้างเข็ม 9 ชนิดขึ้นมาใหม่โดยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ มาประกอบ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะสืบทอดมรดกทางประวัติศาสตร์มิให้มีการสูญหายไป

               เมื่อการแพทย์แผนตะวันตกได้เผยแพร่ไปทั่วไป เข็มบางชนิดก็เสื่อมความนิยมลงและไม่ได้ใช้อีกต่อไป เพราะมีอุปกรณ์อย่างอื่นที่ดีกว่ามาทดแทนเช่น ใช้มีดผ่าตัดมากรีดระบายหนองแทนการใช้เข็มกรีดเจาะ เป็นต้น

              ปัจจุบันนี้เข็มที่ยังนิยมใช้กันเป็นประจำได้แก่ เข็มเส้นขน เข็มฝังคา ในผิวหนังหรือใต้ผิวหนัง เข็มดอกเหมยหรือเข็มเคาะผิวหนัง และเข็มสามเหลี่ยมสำหรับเจาะปล่อยเลือด เป็นต้น

               อย่างไรก็ตาม ยังมีการพัฒนาสร้างเข็มรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาอีกเรื่อย ๆ เช่น เข็มที่ทำมาจากแม่เหล็ก เข็มเลาะผังพืด หรือใช้แสงเลเซอร์มากระตุ้นจุดแทนการปักเข็มเป็นต้น ซึ่งยังต้องการข้อมูลการศึกษาวิจัยอีกมาก เพื่อมายืนยันว่า จะใช้ได้ผลในการรักษาจริงหรือไม่

               เข็มที่นิยมใช้มากที่สุดคือ “เข็มเส้นขน (Filiform needle)”

               ที่เรียกว่าเข็มเส้นขนนั้น เนื่องจากมันมีลักษณะเป็นเส้นโลหะขนาดเล็กมาเหมือนกับ “เส้นขน” นั่นเอง เมื่อปักลงไปตามร่างกาย จะทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อได้รับการบาดเจ็บน้อยมาก สามารถปักได้ลึกและปักได้และทุกตำแหน่งทั่วร่างกาย จึงมีประโยชน์ใช้รักษาโรคได้กว้างขวาง

              แพทย์ฝังเข็มทุกคนจะต้องรู้จักการใช้เข็มชนิดนี้ โดยทั่วไปแล้วถ้าไม่มีการระบุเป็นอย่างอื่น เมื่อกล่าวถึง “เข็ม” ในทางเวชกรรมฝังเข็มแล้วก็จะหมายถึงเข็มชนิดนี้เป็นลำดับสำคัญเสมอ

              รูปร่างของเข็มที่ใช้สำหรับฝังเข็มนั้นจะไม่ต่างไปจากเข็มฉีดยาทั่ว ๆ ไป เข็มสำหรับฝังเข็มจะมีส่วนประกอบอยู่ 5 ส่วน คือ ปลายเข็ม ตัวเข็ม โคนเข็ม ด้ามเข็มและหางเข็ม ตามลำดับ

               ด้ามเข็มมักจะมีลวดเล็ก ๆ พันเป็นเกลียวอีกชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยให้จับได้สะดวกและกระชับนิ้วมือไม่ให้ลื่น เข็มบางยี่ห้อที่ใช้แบบครั้งเดียวทิ้ง อาจใช้พลาสติกหลอมเป็นด้ามเข็มแทนเพื่อประหยัดต้นทุนผลิต

ในสมัยราชวงศ์ชิง มีการ ประกาศ ห้าม ฝังเข็ม เพื่อ การรักษาโรค เพราะ เหตุ ใด

 โครงสร้างของเข็มเส้นขน

              ส่วนปลายสุดของด้ามเข็ม ซึ่งเรียกว่า “หางเข็ม” นั้น มีประโยชน์สำหรับใช้ติดสมุนไพรรมยาประกอบการรักษา และเป็นเครื่องหมายช่วยบอกทิศทางการหมุนเข็มว่า หมุนทวนหรือตามเข็มนาฬิกา

               ชนิดของโลหะที่เอามาใช้ทำเข็มนั้น ก็มีความสำคัญมากเช่นกัน ขึ้นกับว่าความก้าวหน้าทางด้านโลหะศาสตร์ในแต่ละยุคนั้นเป็นอย่างไร สังคมยุคนั้นมีความสามารถในการหล่อหลอมโลหะได้ดีแค่ไหน ในสมัยโบราณจึงปรากฏหลักฐานของเข็มที่ทำจากโลหะหลายชนิดด้วยกัน เช่น สำริด ทองแดง ทองคำ เงิน เหล็ก เป็นต้น

               เข็มที่ทำจากเหล็กเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะเกิดสนิม จึงเปราะหักได้ง่าย เข็มที่ทำด้วยทองคำมีข้อด้อย คือ เนื้อโลหะค่อนข้างอ่อนและมีราคาแพง ส่วนเข็มเงินนั้น เนื้อเข็มจะเกิดปฏิกิริยาเคมีกับออกซิเจนในอากาศ ทำให้เปลี่ยนเป็นสีดำได้ง่าย และโลหะเงินก็มีราคาแพงเช่นกัน
เข็มฝังเข็มที่ใช้กันในปัจจุบัน นิยมทำด้วยโลหะเหล็กกล้าสแตนแลส เพราะมีข้อดีหลายอย่าง คือ เนื้อโลหะแข็งพอเหมาะจึงมีความยืดหยุ่นและเหนียวไม่เปราะหักง่าย ไม่ขึ้นสนิม ไม่ทำปฏิกิริยาอันตรายหรือเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของร่างกาย ทนทานต่อสารเคมีและความร้อนได้ดี จึงสะดวกในการทำความสะอาด และราคาก็ไม่แพงจนเกินไป

               ผู้ป่วยมักสงสัยว่า ในเข็มนั้นใส่ยาหรือสมุนไพรอะไรเอาไว้หรือไม่ ความจิรงแล้ว เข็มที่ใช้ฝังเข็มนั้นเป็นโลหะเนื้อตัน ไม่มีการใส่หรือชุบน้ำยาอะไรทั้งสิ้น ผลการรักษาโรคอยู่ที่การปักและวิธีการกระตุ้นเข็มเป็นสำคัญ

               เมื่อเปรียบเทียบกับเข็มฉีดยา เข็มที่ใช้ฝังเข็มจะมีขนาดเล็กกว่ามาก ตัวอย่างเช่น เข็มฉีดยาสำหรับเด็กเล็กเบอร์ 25 มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 มิลลิเมตร เข็มฉีดยาสำหรับผู้หใญ่เบอร์ 23 มีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 0.28 มิลลิเมตร เท่านั้นเอง ซึ่งเล้กกว่าเข็มฉีดยาเด็กถึงเกือบครึ่ง

             ข้อแตกต่างระหว่างเข็มฉีดยาและเข็มที่ใช้สำหรับฝังเข็มที่สำคัญมากกว่าก็คือว่า

                เข็มฉีดยามีลักษณะเป็นโลหะท่อกลวง ปลายแหลมบากตัดคล้ายขวากไม้ไผ่ในหลุมดักสัตว์ ส่วนเข็มที่ใช้สำหรับฝังเข็มเป็นเส้นลวดเนื้อตัน มีปลายแหลมมนหรือเปลี่ยมตัด เมื่อปักเข็มลงในเนื้อเยื่อ เข็มฉีดยาจะ “บาดตัด” ทำอันตรายต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อมากกว่าเข็มสำหรับฝังเข็มที่จะเป็นลักษณะ “แทงแหวกผ่าน” ผิวหนังและเนื้อเยื่อลงไป ดังนั้นเมื่อถอนเข็มฉีดยาขึ้นมา ผิวหนังและเนื้อเยื่อจะถูกทำลายขาดรุ่งริ่งมากกว่า ผู้ป่วยที่ถูกฉีดยาจึงรูสึกเจ็บมากกว่าการถูกฝังเข็มเสียอีก

ในสมัยราชวงศ์ชิง มีการ ประกาศ ห้าม ฝังเข็ม เพื่อ การรักษาโรค เพราะ เหตุ ใด

เข็มฉีดยาจะทำลายเนื้อเยื่อของร่งกายมากกว่าเข็มฝังเข็ม


               จากความรู้ทางการแพทย์ เราทราบแล้วว่า กลไกอย่างหนึ่งที่ทำให้การฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้นั้นก็คือ เข็มสามารถกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาท (receptor) ทำให้เส้นประสาททำงาน กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว และทำให้หลอดเลือดขนายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น ตัวรับสัญญาณประสาทเหล่านี้มักจะอยู่ใต้ผิวหนังชั้นลึก อุปกรณ์ที่จะสามารถกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาทนี้ได้ จะต้องสามารถสอดใส่หรือปักแทงให้ลึกไปในร่างกายได้โดยไม่เกิดอันตราย

                การกดนวด การใช้คลื่นความถี่สูง เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่มีขั้วเป็นแบบแผ่นโลหะ การประคบร้อนประคบเย็น ไม่สามารถสร้างแรงกระตุ้นที่ลงไปในชั้นลึกได้เพียงพอสำหรับการรักษา

                ส่วนเข็มฉีดยานั้นก็ไม่เหมาะสมที่จะใช้เพราะว่า หากปักลงไปลึก จะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่ออวัยวะได้

เข็มสำหรับการฝังเข็มที่มีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ และยาวเพียงพอจึงมีความเหมาะสมมากกว่าอุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ ในการที่จะปักลงไปลึก ๆ เพื่อกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาทให้ได้

ในคัมภีร์อายุรเวทของกษัตริย์หวงตี้บันทึกเอาไว้ว่า เข็มเส้นขนมีปลายแหลมเล็กเท่า “ปากยุง” ซึ่งเป็นเบาะแสหลักฐานที่บ่งบอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 2,000 กว่าปีก่อนนั้น อารยธรรมของชาวจีนโบราณต้องสูงมาก กระทั่งสามารถรีดหรือหล่อโลหะให้กลายเป็นเส้นลวดที่เล็กเท่า “ปากยุง” สำหรับปักลึกเข้าไปในร่างกายของคนเราได้ โดยไม่มีอันตรายร้ายแรงเกิดขึ้น

กฎเกณฑ์ธรรมชาติของร่างกายมนุษย์เราที่ว่า เมื่อทำการกระตุ้นตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกายสามารถจะบำบัดอาการไม่สบายหรือโรคนั้นได้ ความจริงแล้ว ชนชาติอื่น ๆ นอกจากชาวจีนก็รู้จักกฎเกณฑ์ข้อนี้เหมือนกัน ดังจะเห็นตัวอย่างว่าการนวด การใช้ไฟจี้ หรือการใช้วัตถุแหลมแทงเพื่อกระตุ้นร่างกายนั้น ก็พบได้ในแถบทุกชนชาติ

แต่ ภูมิปัญญาของประชาชาติจีนโบราณ อยู่ที่ว่า

               ประการที่ 1 ชาวจีนได้ค้นพบวิธีการกระตุ้น ส่วนลึกของร่างกายโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายและพัฒนาความรู้เป็นทฤษฎีที่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติที่เป็นจริงออกมาได้

               ประการที่ 2 มีระดับเทคโนโลยีการผลิตที่สูงเพียงพอจนสามารถสร้างอุปกรณ์มาใช้กระตุ้นร่างกายตามวิธีการดังกล่าวได้เมื่อเพียบพร้อมด้วยเงื่อนไขทั้ง 2 ประการดังกล่าวข้างต้น ชาวจีนโบราณจึงสามารถประดิษฐ์เข็มชนิดต่าง ๆ ออกมาได้ และนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้จีนเป็นชนชาติแรกที่ทำให้กำเนอศาสตร์เวชกรรมฝังเข็มขึ้นมาได้ในโลกนั่นเอง

ราชวงศ์ใดของจีนมีการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม *

สมัยราชวงศ์อินซัง ประมาณ 3,000 กว่าปีก่อนเริ่มมีบันทึกเกี่ยวกับการ รักษาพยาบาลและโรค 10 กว่าชนิด พอ ถึง ราชวงศ์โจว ก็เริ่มมีการใช้วิธีการตรวจวินิจฉัย 4 อย่างคือ ดู ฟัง ถามและแมะ โดยมีวิธีการ รักษา โรคแบบต่างๆ เช่น การจ่ายยา การ ฝังเข็มและการผ่าตัดเป็นต้น ในยุคส มัย ราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่น ได้มีการประพันธ์ ตําราชื่อ”ห ...

ฝังเข็มรักษาโรคได้จริงไหม

การฝังเข็มมีฤทธิ์ในการรักษาโรค 4 ประการ คือ แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด ปรับสภาพความสมดุลการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในสมดุล กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และช่วยในการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ

การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง

การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง กลุ่มอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดเอว ปวดไหล่ ปวดคอ โรคซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ ปวดศีรษะจากความเครียด ปวดไมเกรน โดยร่วมกับการทำจิตบำบัด เลิกยาเสพติด อดบุหรี่ ลดความอ้วน โดยร่วมกับการทำพฤติกรรมบำบัด

การฝังเข็ม เกิดในยุคสมัยใด

วิชาฝังเข็มมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ อันยาวนานนับพันปี จากหลักฐานทางโบราณคดียุคหินใหม่ ที่ขุดค้นพบเข็มที่ฝนมาจากแท่งหิน ในลักษณะ รูปร่างต่าง ๆ เช่น เข็มกลม เข็มสามเหลี่ยม และเข็ม รูปร่างคล้ายมีดสั้นนั้น ทำให้เป็นที่ยอมรับว่า การฝังเข็มมีต้นกำเนิดมาจากสังคมบุรพากาลจีนมาเป็นเวลายาวนาน ไม่ต่ำกว่า 4 พันปีมาแล้ว ...