พื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว ต่างประเทศ

ทีมนักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีนานาชาติ ทั้งจากประเทศชิลีและอีกหลายประเทศในยุโรป ร่วมกันเผยหลักฐานชิ้นแรกที่ชี้ว่า แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเท่าที่เคยมีการค้นพบมา ได้แก่แผ่นดินไหวบริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือของชิลี เมื่อราว 3,800 ปีก่อน

แผ่นดินไหวที่มีขนาดหรือแม็กนิจูดถึง 9.5 ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิสูง 20 เมตร ซัดเข้าชายฝั่งของบริเวณดังกล่าว ระลอกคลื่นยังซัดไปไกลถึงฝั่งตะวันออกของประเทศนิวซีแลนด์ ทำให้ก้อนหินใหญ่ขนาดเท่ารถยนต์ที่ชายหาด เคลื่อนที่ห่างจากตำแหน่งเดิมลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่หลายร้อยกิโลเมตร

ความเสียหายอย่างมหาศาลที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ ทำให้ผู้คนไม่หวนกลับมาตั้งถิ่นฐานในแถบนั้นอีกนานถึง 1,000 ปี ทั้งยังสร้างความปั่นป่วนขัดแย้งทางสังคมให้กับชุมชนพื้นที่ใกล้เคียง ในแถบทะเลทรายอาตากามา (Atacama Desert) อีกด้วย

ก่อนหน้านี้แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดที่มีการจดบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลก ได้แก่เหตุแผ่นดินไหวขนาด 9.4 ที่เมืองวัลดิเวีย (Valdivia) ทางตอนกลางของชิลีเมื่อปี 1960 ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิแผ่ไปทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก และมีผู้เสียชีวิตไปราว 6,000 คน

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances ระบุว่าเหตุธรณีพิโรธที่เกิดขึ้นเมื่อ 3,800 ปีก่อน เป็นแผ่นดินไหวชนิดเมกะทรัสต์ (Megathrust Earthquake) ซึ่งมีความรุนแรงมากที่สุดในบรรดาแผ่นดินไหวทุกประเภท เกิดจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกบางส่วนลงไปอยู่ใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง

แรงดันที่สะสมระหว่างการมุดตัวเป็นเวลานาน ทำให้รอยเลื่อนที่มีความยาวกว่า 1,000 กิโลเมตรแตกออก ปลดปล่อยพลังงานในรูปแบบของแรงสั่นสะเทือนมหาศาลออกมาในที่สุด

ทีมผู้วิจัยทราบถึงความรุนแรงและช่วงเวลาที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวนี้ได้ หลังทำการวิเคราะห์ตะกอนดิน หิน และทรายจากท้องทะเล ที่พลัดขึ้นไปอยู่ผิดที่ผิดทางบนบก รวมทั้งใช้ไอโซโทปกัมมันตรังสีคาร์บอน-14 ตรวจหาอายุของซากพืชและสัตว์ทะเลโบราณ ซึ่งพบในพื้นที่ห่างไกลจากชายฝั่งเป็นอย่างมาก จนน่าสงสัยว่ามันถูกคลื่นยักษ์สึนามิพัดพามาในเหตุแผ่นดินไหวครั้งนั้น

ทีมนักโบราณคดียังขุดพบกำแพงหินเก่าแก่ที่มนุษย์ก่อขึ้น มีร่องรอยการล้มพังเพราะถูกน้ำพัด โดยล้มในทิศทางที่ชี้ว่ามีคลื่นซัดมาจากชายฝั่งทะเลอีกด้วย

ช่วงเวลาที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามินี้ สอดคล้องกับยุคสมัยที่เกิดความวุ่นวายขัดแย้งระหว่างชนเผ่าในทะเลทรายอาตากามา ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ไม่ไกลจากพื้นที่เกิดภัยธรรมชาติ จึงมีความเป็นไปได้ว่าผู้คนในยุคนั้นพลอยได้รับผลกระทบทางสังคมอย่างใหญ่หลวงจากเหตุดังกล่าวไปด้วย ทั้งในเรื่องของการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน และการแย่งชิงทรัพยากรที่มีจำกัด

การเคลื่อนไหวของเปลือกชั้นนอกสุดของโลกนั้นเกิดขึ้นอยู่อย่างสม่ำเสมอ เปลือกโลกที่มีอยู่หลายชิ้นเคลื่อนที่ผ่านและกระทบต่อกันและกันและสร้างความสั่นไหวของแผ่นดิน ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเขตพื้นที่รอบ ๆ มหาสมุทรแปซิฟิกอย่างบ่อยครั้ง จนพื้นที่ดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า วงแหวงแห่งไฟ (Ring of Fire) เพราะกว่าร้อยละ 90 ของปรากฏการณ์แผ่นดินไหวของโลกเกิดขึ้นในพื้นที่นี้

เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.2 ริกเตอร์ที่จังหวัดคุมะโมะโตะ บนเกาะทางตอนใต้ของเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นประมาณ 48 ชั่วโมงก็เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์ในตอนเช้าของวันที่ 16 เมษายนในพื้นที่เดียวกัน พร้อม ๆ กับแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ริกเตอร์ (มีความรุนแรงในด้านพลังงานมากกว่าแผ่นดินไหว 7.0 ริกเตอร์ถึง 15 เท่า) ในฝั่งตรงกันข้ามของวงแหวนแห่งไฟ ในแถบชายทะเลของจังหวัด Manabi และ Esmeraldas ประเทศเอกวาดอร์ ภัยพิบัติดังกล่าวส่งให้มีผู้เสียชีวิตในประเทศญี่ปุ่นกว่า 40 คนและในเอกวาดอร์คกว่า 500 คน

ความเสี่ยงที่มาจากการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่บนดินมาจากการพังทลายของอาคาร ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของแผ่นดินไหวและการกระบวนการสร้างอาคาร สามารถเห็นได้ชัดหากเปรียบเทียบสองกรณีในญี่ปุ่นและเอกวาดอร์ ในกรณีของเอกวาดอร์นั้น บ้านแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่ทำจากไม้ไผ่ที่มีความคงทนต่อการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ดีกว่าเพราะมีความยืดหยุ่นที่สูง ประชาชนที่มีฐานะยากจนจึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ในขณะที่ประชาชนที่มีฐานะสูงกว่ากลับได้รับผลกระทบรุนแรงกว่า เพราะอาศัยอยู่ในบ้านที่ทำด้วยคอนกรีตแต่ไม่ได้มาตรฐานที่รองรับแผ่นดินไหวจึงถล่มลงเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ส่วนในกรณีของญี่ปุ่นนั้น เมือง Mashiki ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากแผ่นดินไหวทั้งสองครั้ง อาคารที่ถล่มลงส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ดังเดิม วัด และศาลเจ้าชินโต รวมกว่า 20-30 หลัง ในขณะที่ตึกที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาญี่ปุ่นได้บัญญัติข้อบังคับด้านอาคารและการก่อสร้างอย่างเข้มงวด รวมทั้งผลักดันการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันผลกระทบจากแผ่นดินไหว ในปัจจุบันญี่ปุ่นมีความเข้มงวดในด้านการก่อสร้างสูงที่สุดในโลก ตึกและอาคารต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นหลังจากปี พ.ศ. 2524 จะต้องมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับความสั่นสะเทือนได้อย่างน้อยที่ระดับ “Upper 6” หรือมากกว่าตามมาตรฐานขององค์กร Japan Meteorological Agency (ที่มีมาตรฐานการวัดความแรงของแผ่นดินไหวผ่านการแกว่งของจุดแต่ละจุดหรือผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อสิ่งก่อสร้าง ในขณะที่อัตราริกเตอร์วัดความแรงของแผ่นดินไหว) ข้อบังคับดังกล่าวได้รับการปรับปรุงให้เข้มงวดขึ้นไปอีกหลักจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองโกเบในปีค.ศ. 1995 ที่มีความรุนแรงถึง 6.8 ริกเตอร์

กฎระเบียบด้านอาคารของญี่ปุ่นช่วยลดจำนวนและอัตราการถล่มของสิ่งก่อสร้าง อีกทั้งควบคุมการแผ่กระจายของไฟไหม้ ในปีค.ศ. 2011 เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ฟุกุชิม่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นใหม่โดยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รับการสูญเสียมากนัก

ในขณะที่เอกวาดอร์ได้เริ่มดำเนินการด้านกฎบังคับของตนเองหลังจากแผ่นดินไหวที่เฮติในปีค.ศ. 2010 แต่ก็ประสบกับปัญหาต่าง ๆ เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้างและนักพัฒนาไม่สนใจข้อบังคับดังกล่าว ประกอบกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้การรับรองพื้นที่ที่อยู่อาศัยเขตใหม่ ๆ โดยไม่ผลักดันให้มีการบังคับใช้มาตรฐานการป้องกันแผ่นดินไหว ประธานาธิบดีของเอกวาดอร์ นาย Rafael Correa ได้กล่าวเมื่อเยี่ยมพื้นที่ดังกล่าวหลังการเกิดแผ่นดินไหวว่าจะต้องมีการควบคุมการบังคับใช้มาตรฐานอาคารที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่รุนแรงในอนาคต

อย่างไรก็ตามข้อบังคับด้านสิ่งก่อสร้างที่เข้มแข็งอย่างเดียวก็ไม่สามารถป้องกันผลกระทบจากแผ่นดินไหวได้ทั้งหมด 1 ใน 5 ของอาคารในญี่ปุ่นถูกก่อสร้างก่อนปีพ.ศ. 2524 จึงยังมีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหว อาคารดังกล่าวในเขตเมือง Mashiki ถล่มลงหลังจากแผ่นดินไหวครั้งแรก

องค์กรและผู้เชี่ยวชาญในประเทศญี่ปุ่นได้ทำการวิจัยในด้านต่าง ๆ เพื่อคาดการณ์และเตือนภัยล่วงหน้า สถานะการณ์ที่ได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมากคือแผ่นดินไหวของแผ่นเปลือกโลก Nankai ในเขต Tokai ที่จะส่งผลให้เกิดความรุนแรงระดับ 9.1 ก่อให้เกิดซึนามิและความสูญเสียทางชีวิตของประชาชนกว่า 323,000 คน ในสถานการณ์ที่แย่ที่สุด ผู้เชี่ยวชาญบางรางได้ร้องข้อให้มีการติดตามระดับน้ำในบ่อน้ำต่าง ๆ เพราะการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกจะมีผลต่อระดับน้ำใต้ดิน

ทางด้านสหรัฐอเมริกาเองก็มีความกังวลต่อผลกระทบจากแผ่นดินไหว การจำลองสถานการณ์แสดงให้เห็นว่า แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ริกเตอร์ในเขตด้านใต้ของเปลือกโลก San Andreas Fault ที่อยู่ใกล้เมือง Los Angeles เพียง 55 วินาทีจะทำให้ประชาชนล้มตายกว่า 2,000 คน และบาดเจ็บกว่า 50,000 คน แผนแม่บทเพื่อการพัฒนาความแข็งแรงของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้รับการประกาศในปีค.ศ. 2015 แต่ยังไม่มีความคืบหน้าในด้านการดำเนินการใด ๆ มากนักเพราะการตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ไม่ลงตัว

แต่การคาดการณ์แผ่นดินไหวก็ยังไม่มีความแม่นยำมากนัก แผ่นดินไหวของญี่ปุ่นที่ผ่านมา ก็ไม่อยู่ในเขต Nankai หรือใต้กรุงโตเกียวที่ถูกกล่าวถึงโดยแบบจำลองของรัฐบาลว่ามีความเสี่ยงที่สูง นอกจากนี้แบบจำลองของรัฐบาลยังไม่สามารถคาดการณ์แผ่นดินไหวในเขตโทโฮคุปีค.ศ. 2011 อีกด้วย อย่างไรผลประโยชน์ที่ได้รับจะสูงมากหากสามารถคาดเดาเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้ล่วงหน้าเพียงครั้งเดียว

อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นมีระบบการติดตามและรายงานแผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพสูง มีระบบเตือนภัยแบบ real-time ซึ่งสามารถแจ้งเตือนเมื่อมีการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกในพื้นที่ที่อยู่ไกล และมีการสร้างระบบเตือนภัยจากซึนามิถึง 150 สถานี ระบบดังกล่าวสามารถแจ้งเตือนประชาชนให้เตรียมพร้อม แม้จะไม่สามารถแจ้งให้ประชาชนที่อยู่บนตำแหน่งแผ่นดินไหวให้ทราบ และสามารถแจ้งก่อนการเกิดเหตุการณ์เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก็ตาม (ระบบที่ดีที่สุดสามารถแจ้งเตือนได้ประมาณหนึ่งนาทีก่อนเกิดเหตุ) ระบบดังกล่าวได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดสามารถแจ้งให้บริษัทเดินรถไฟ Kyushu Railway Company ลดความเร็วของรถไฟชินคันเซ็น 9 ขบวนก่อนแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้น

กรณีศึกษาของญี่ปุ่นและเอกวาดอร์แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของมาตรฐานและการบังคับใช้มาตรฐานด้านสิ่งก่อสร้าง ประเทศไทยในปัจจุบันมีการระบุข้อบังคับ ว่าการก่อสร้างอาคารใน 22 จังหวัดที่มีความเสี่ยงด้านแผ่นดินไหว (ได้แก่ กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร กระบี่ ชุมพร พังงาน ภูเก็ต ระนอง สงขลา และสุราษฎ์ธานี) ให้มีโครงสร้างต้านแผ่นดินไหว แต่ก็ยังเป็นในกลุ่มอาคารและสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคารที่ทำการ สถานพยาบาล อาคารชุดพักอาศัย อาคารเรียน อาคารที่ทำการ และอาคารพัก เป็นต้น นอกจากนี้กรณีศึกษาดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของมาตรการเฝ้าระวังและติดตามอีกด้วย

ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศของโลก ความรุนแรงและความบ่อยครั้งของสถานการณ์อุทกภัยและภัยพิบัตินั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น การกำหนดและควบคุมมาตรฐานสิ่งก่อสร้างในภาคต่าง ๆ รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมน่าจะเป็นสิ่งที่ควรได้รับการพิจารณาเพื่อเพิ่มความ robust และ resilient ของภาคส่วนต่าง ๆ ต่อสถานการณ์ดังกล่าว

ประเทศใดเสี่ยงเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด

– ภูมิประเทศของประเทศญี่ปุ่นนั้นอาศัยอยู่บนพื้นที่ที่มีการเกิดภูเขาไฟระเบิดได้บ่อยครั้ง ทำให้เกิดการสั่นไหวและเกิดการสั่นสะเทือนได้อย่างรุนแรง จึงมีการเกิดแผ่นดินไหวได้มากครั้งที่สุด

พื้นที่บริเวณใดของโลกที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้มากสุด

บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว 1. แนวรอยต่อล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก จัดว่าเป็นบริเวณที่เกิดค่อนข้างรุนแรงและมากที่สุด (80 %ของการเกิดแผ่นดินไหนทั่วโลก) 2. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในยุโรปและหิมาลัยในเอเชีย (15 %) 3. แนวรอยต่อบริเวณแนวสันกลางมหาสมุทรต่างๆ (5%) เช่น เทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และ อาร์กติก

บริเวณใดเป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว

แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะอยู่ตรง- บริเวณขอบหรือรอยตะเข็บของแผ่นเปลือกโลก (แผ่นธรณีภาค) ในกรณีของประเทศไทย และสุมาตรา แนวแผ่นดินไหวโลกที่ใกล้ ๆ ได้แก่ แนวเกาะอันดามัน-นิโคบา ในมหาสมุทรอินเดีย- แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ได้แก่ แนวรอยเลื่อนมีพลังในประเทศ ...

ภูมิภาคใดมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุดเพราะเหตุใด

ผศ.ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ หัวหน้าโครงการวิจัย “โครงการปรับปรุงแผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหวในประเทศไทยแบบบูรณาการข้อมูล” ระบุว่า แม้ประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้ขอบแผ่นเปลือกโลก แต่จริงๆ แล้วเรามี “รอยเลื่อนมีพลัง” อยู่เป็นจำนวนมาก แผ่นดินไหวจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ โดยบริเวณที่มีความเสี่ยงส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือกับตะวันตก