โรมันฝั่งตะวันออก

โรมันฝั่งตะวันออก

Show

อย่างที่เรารู้กันว่ากรุงโรม (Rome) เป็นเมืองหลวงของประเทศอิตาลี แต่ในอดีตกรุงโรมคือศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมัน (Roman) อันเกรียงไกร เป็นหนึ่งในอารยธรรมยุคโบราณที่ขยายดินแดนจนกว้างใหญ่ที่สุด รวมถึงเป็นต้นแบบของปรัชญาและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ชาวยุโรปในยุคต่อมานำคำว่า Rome มาเป็นส่วนหนึ่งของสำนวน (idiom) เพื่อกล่าวอ้างถึงความยิ่งใหญ่ของโรมัน

โรมันฝั่งตะวันออก
ภาพ: Ancient Origins

All roads lead to Rome: ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม

        ความหมาย: ไม่ว่าจะทำด้วยวิธีการไหนก็มุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน สำนวนนี้สื่อถึงการทำงานที่วางเป้าหมายและผลลัพธ์ไว้ชัดเจน โดยวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้นมีหลากหลาย เพราะขึ้นอยู่กับความถนัด ลักษณะนิสัย และต้นทุนด้านทรัพยากรของแต่ละคน เช่น จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ มีวิธีเดินทางหลายวิธี ทั้งขับรถไปเอง นั่งรถทัวร์ นั่งรถไฟ หรือนั่งเครื่องบิน ซึ่งแต่ละวิธีต่างใช้ทรัพยากรที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นแรงกาย เวลา หรือเงินทุน หากต้องการความรวดเร็วก็ควรเลือกเครื่องบิน แต่หากต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายอาจเลือกนั่งรถทัวร์หรือรถไฟ

        ที่มา: ในสมัยโบราณ จักรวรรดิโรมันแผ่อาณาเขตกว้างไกลครอบคลุมตั้งแต่คาบสมุทรไอบีเรียทางตะวันตก ถึงดินแดนตะวันออกกลางทางตะวันออก เพื่อความสะดวกในการเดินทางจึงสร้างถนนโรมัน (Via Romana) เพื่อเชื่อมต่อเมืองต่างๆ ในจักรวรรดิ ซึ่งทุกสายล้วนมีทิศทางมุ่งสู่กรุงโรมทั้งสิ้น ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ส่วนไหนของแผ่นดินโรมัน คุณสามารถเดินทางมายังกรุงโรมเมืองหลวงได้ทั้งหมด

        ตัวอย่าง: All roads lead to Rome, so you can approach the puzzle any way you like, as long as you solve it.

โรมันฝั่งตะวันออก
ภาพ: Ancient Times/Costumes of All Nations (1882)

When in Rome, do as the Romans do: เมื่ออยู่ในโรม จงทำตามที่ชาวโรมันทำ

        ความหมาย: ตรงกับสำนวนไทยว่า ‘เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม’ คือเมื่อไปยังสถานที่ใด ก็ต้องปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับข้อกำหนด กฎเกณฑ์  และวัฒนธรรมของที่แห่งนั้น หากยังคงทำตัวให้แตกต่างหรือไม่สอดคล้อง อาจไม่ได้รับการยอมรับหรือกลายเป็นคนน่ารังเกียจในสายตาของคนที่นั่น ทำให้การใช้ชีวิตในต่างแดนเป็นเรื่องยากขึ้นมาทันที

        ส่วนคำว่า ตาหลิ่ว ในสำนวนไทย หมายถึง ตาบอดข้างเดียว ดังนั้น ถ้าหากเข้าไปในเมืองที่มีแต่คนตาเดียว ก็ต้องหลิ่วตาตาม หรือหรี่ตาข้างหนึ่งลงเพื่อเลียนแบบคนอื่นๆ

        ที่มา: สำหรับคนโรมันแล้ว ถือว่าตัวเองมีอารยธรรมเหนือชนชาติอื่น และมองคนต่างชาติที่อยู่นอกเขตแดนโรมันเป็น Barbarian หรือคนเถื่อน ซึ่งคนเหล่านี้มักจะเข้าปะทะกับโรมันเป็นระยะๆ สำนวนนี้จึงเปรียบเปรยว่าหากคุณอยากมีอารยธรรม จงทำตัวแบบชาวโรมัน ไม่ใช่คนเถื่อน

        ตัวอย่าง: Having travelled so many countries, the only advice that this author regularly gives out is that when in Rome, do as the Romans do.

โรมันฝั่งตะวันออก
ภาพ: stefano.pellicciari/Fotolia

Rome wasn’t built in one day: กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว

        ความหมาย: หากจะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ต้องใช้เวลานาน ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ถึงเป้าหมายที่ต้องการ ทั้งผลงานหรือความสำเร็จใดๆ ที่มีคุณค่า ล้วนต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนานในการสร้างและความพยายามนับไม่ถ้วน สำนวนนี้ใช้ได้กับความพยายามทุกรูปแบบ ซึ่งแฝงไว้ด้วยคุณค่าทางจิตใจที่เปี่ยมล้นหากทำได้สำเร็จ เพราะสิ่งที่ได้มันมาง่ายๆ ย่อมมองเห็นคุณค่าน้อยกว่าสิ่งที่ได้มาอย่างยากเย็น

       อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสำนวนนี้จะมีจุดมุ่งหมายให้ทำอะไรโดยไม่รีบร้อน แต่ถ้าหัวหน้าต้องการงานในวันพรุ่งนี้ กรุงโรมที่คุณสร้างก็ต้องเสร็จภายในคืนเดียวเท่านั้น

        ที่มา: แม้ว่าจักรวรรดิโรมันจะยิ่งใหญ่มากในยุคโบราณ แต่กว่าจะเป็นมหาอำนาจชื่อก้องโลกได้นั้นต้องใช้เวลานานกว่า 500 ปีเลยทีเดียว จากจุดเริ่มต้นเป็นเมืองเล็กๆ ริมแม่น้ำ Tiber บนคาบสมุทรอิตาลี โรมันค่อยๆ สั่งสมกองกำลังและต่อสู้ขยายดินแดนเป็นเวลาตลอดหลายร้อยปี กว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นมหาจักรวรรดิที่ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งหนี่งในโลกยุคโบราณได้

        ตัวอย่าง: Just as Rome wasn’t built in one day, you are not going to pass this exam by studying for just one day.

โรมันฝั่งตะวันออก
ภาพ: Tataryn (2012)/Wikimedia

โรมัน: เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และคงเหลือไว้เพียงประวัติศาสตร์

        โรมันโบราณแบ่งออกเป็น 3 ยุคตามรูปแบบการปกครอง

        ยุคที่ 1 ราชอาณาจักรโรมัน (Roman Kingdom): ช่วงเวลา 753-509 ปีก่อนคริสตกาล ตามตำนานกล่าวไว้ว่า กรุงโรมถูกก่อตั้งโดยสองฝาแฝด Romulus และ Remus ที่มีเชื้อสายจากเทพมาร์ส เมื่อ 753 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคแรกเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์

        ยุคที่ 2 สาธารณรัฐโรมัน (Roman Republic): ช่วงเวลา 509-27 ปีก่อนคริสตกาล ยุคนี้โรมันเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐ ผู้นำสูงสุดคือกงสุล และมีสภา Senate พิจารณานโยบายต่างๆ รวมถึงตรากฎหมาย 12 โต๊ะอันเป็นรากฐานของกฎหมายในปัจจุบัน และเป็นยุคที่โรมันแผ่ขยายอำนาจจนยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง จากชัยชนะของ จูเลียส ซีซาร์ ที่ได้ทำสงครามกับดินแดนอื่นๆ ทำให้โรมันมีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล แต่เขากลับก็ถูกลอบสังหารในเวลาต่อมาเมื่อ 44 ปีก่อนคริสตกาล เกิดความวุ่นวายในโรมันอีกครั้ง ก่อนที่จะได้ออกัสตุสเข้ามายุติปัญหา

        ยุคที่ 3 จักรวรรดิโรมัน (Roman Empire): ช่วงเวลา 27 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 476 หลังจากจัดการปัญหาภายในเสร็จแล้ว ออกัสตุสจึงแต่งตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิและมีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว เพราะระบอบสภาก่อนหน้านั้นมีแต่ความวุ่นวาย โดยในช่วง 200 ปีแรกนับว่าเป็นยุครุ่งเรืองของโรมัน สามารถขยายดินแดนได้กว้างไกลที่สุด ครอบคลุมตั้งแต่อังกฤษจนถึงตะวันออกกลาง และได้สร้างสิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่อลังการ เช่น โคลอสเซียม (Colosseum) สนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม, วิหารแพนธีออน (Pantheon) เทวสถานสำหรับเทพโบราณตามความเชื่อโรมัน, สะพานไวอะดักต์ (viaduct) หรือสะพานที่ใช้ในการขนส่งน้ำ และถนนโรมัน

        แต่ทุกสิ่งก็ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไป เวลาต่อมาจักรวรรดิโรมันแตกออกเป็น 2 ส่วนคือฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษสุดท้ายโรมันและยุโรปถูกบุกโจมตีโดยชาวฮั่น จากเอเชียกลาง ประกอบการเมืองภายในก็วุ่นวาย ทำให้จักรวรรดิโรมันอ่อนแอลงอย่างมากจนถึงคราวสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 476

        มรดกที่อารยธรรมโรมันได้สร้างไว้ยังคงเป็นรากฐานของวิทยาการต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรม วิศวกรรม กฎหมาย ทำให้โลกพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจนถึงปัจจุบัน


แหล่งข้อมูล:

  • www.theidioms.com
  • www.history.com/topics/ancient-rome/ancient-rome 
  • www.ancient.eu/article/758/roman-roads

โรมันตะวันออกคือประเทศอะไร

จักรวรรดิไบแซนไทน์ หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม เป็นจักรวรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิ ...

โรมันฝั่งตะวันออกเมืองหลวงคือเมืองใด

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 395 จักรพรรดิเธโอดอซุสที่ 1 ทรงแบ่งแยกจักรวรรดิโรมันเป็น 2 ส่วน เพื่อให้พระโอรสทั้งสองพระองค์ คือ เจ้าชายอาร์คาดิอุส ได้ครองจักรวรรดิโรมันตะวันออกโดยมีกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง ในขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกได้ถูกทำลายและล่มสลายไปในปี ค.ศ. 476 ซึ่งนำไปสู่ยุคมืดของยุโรป จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้หัน ...

ข้อใดคือศูนย์กลางของโรมันตะวันออก

คอนสะแตนตินมหาราช (Constantine II / Constantine The Great) → ค.ศ. 312-337 - สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ของโรมันที่ไบแซนติอุม(Byzantium) → ตอนหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น คอนสะแตนติโนเปิล (Constantinople) → ต่อมาเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันตะวันออก(จักรวรรดิไบแซนไทน์) - เป็นจักรพรรดิคนแรกของโรมมันที่หันมานับถือศาสนาคริสต์ - ค.ศ. ...

อาณาจักรโรมันล่มสลายลงเพราะเหตุใด

ชนเผ่าเยอรมัน กลุ่มชนเยอรมันหลากหลายเผ่าซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้จักรวรรดิโรมันตะวันตกสูญสิ้นอำนาจไปจากบริเวณยุโรปตะวันตก ก่อนที่ดินแดนแถบนี้จะกลายเป็นบริเวณที่กลุ่มชนเยอรมันทั้งหลายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน สร้างรัฐและกลุ่มอาณาจักรขนาดเล็กขึ้นมาแทนที่