โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง โรคซึมเศร้า

รายงาน

เรื่อง.. การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โรคเครียด

จัดทำโดย

นางสาวจิราภรณ์ นาเมืองรักษ์    เลขที่ 37

นางสาวปาณิศา  วรวงค์    เลขที่ 18

นางสาวอาภาวดี  เพิ่มพูล  เลขที่ 43

นางสาวสุกัญญา  ไชยดำ    เลขที่ 33

นางสาวสุภาพร  กรมบัววภา  เลขที่ 30

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2

เสนอ

คุณครูกฤติยา  พลหาญ

โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต27

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

 บทคัดย่อ

     ''โรคเครียด''นี้เป็นโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Education Media Development) ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ซึ่งผู้จัดทำจะใช้เว็บไซต์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาเรื่อง “โรคเครียด” เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลาย โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน

 กิตติกรรมประกาศ

                โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างดียิ่งของ คุณครูกฤติยา  พลหาญ ครูที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้ให้คำแนะนำ และข้อคิดเห็นต่างๆมาโดยตลอด และ ขอขอบคุณ และขอบใจ ครอบครัวและเพื่อนๆของผู้จัดทำโครงงาน ที่คอยให้กำลังใจ และถามไถ่ความเป็นไปของโครงงานอยู่เสมอ ทำให้ผู้จัดทำโครงงานมีกำลังใจที่จะพัฒนาโครงการจนสำเร็จได้ ผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

บทคัดย่อ

     ''โรคเครียด''นี้เป็นโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Education Media Development) ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ซึ่งผู้จัดทำจะใช้เว็บไซต์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาเรื่อง “โรคเครียด” เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลาย โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน

 กิตติกรรมประกาศ

                โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างดียิ่งของ คุณครูกฤติยา  พลหาญ ครูที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้ให้คำแนะนำ และข้อคิดเห็นต่างๆมาโดยตลอด และ ขอขอบคุณ และขอบใจ ครอบครัวและเพื่อนๆของผู้จัดทำโครงงาน ที่คอยให้กำลังใจ และถามไถ่ความเป็นไปของโครงงานอยู่เสมอ ทำให้ผู้จัดทำโครงงานมีกำลังใจที่จะพัฒนาโครงการจนสำเร็จได้ ผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                         หน้า

  บทที่1 บทนำ                                                                                                                            1 

 บทที่2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง                                                                                         3

           2.1 โรคเครียด     

           2.2 สร้างเว็บบล็อก

  บทที่3 วิธีดำเนินการ                                                                                                                13

 บทที่4 ผลการดำเนินการ                                                                                                          14

 บทที่5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ                                                                                              15

ภาคผนวก                                                                                                                                 16

อ้างอิง                                                                                                                                       18

บทที่ 1

บทนำ

 แนวคิดที่มาของโครงงาน

                     เทคโนโลยีทางการสื่อสาร เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน เริ่มมีบทบาทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และมีส่วนช่วยสนับสนุนสื่อทางด้านการศึกษาอีกด้วยโดยสื่อสมัยใหม่นิยมเป็น สื่อการเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพราะ สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย

          โรคเครียดจัดเป็นปัญหาหลักทางสาธารณสุขที่พบมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศไทย อีกทั้งยังมีปัญหาการเจ็บป่วยต่าง ๆ มากมายสืบเนื่องมาจากโรคเครียด

วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก เรื่อง โรคเครียด

2.2 เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2.3 เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป               

ขอบเขตของโครงงาน

1.    ศึกษาสาเหตุการเกิดโรคเครียด

2.      ศึกษาพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคเครียด

3.     เพื่อศึกษาโรคที่มาพร้อมกับโรคเครียด

4.      ศึกษาวิธีการป้องกัน และรักษาการเกิดโรคเครียด

วิธีการดำเนินงาน

1. กำหนดปัญหา เพื่อที่จะศึกษาโรคเครียด

2.ขอคำแนะนำจากครูที่ปรึกษาโครงงาน

3.ประชุมกลุ่มแบ่งหน้าที่การหาข้อมูล

4.ประชุมการวางแผนเบื้องต้น

5.ลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้

6.รวบรวมข้อมูล

7.ประเมินผลการศึกษา

5. ระยะเวลาในการดำเนินงาน

            การดำเนินงานครั้งนี้ใช้ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2558  ถึงวันที่  28กุมภาพันธ์ 2559

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ได้ทราบสาเหตุที่ทำให้โรคเครียด

2. ได้ทราบวิธีการป้องกันการเกิดโรคเครียด เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตนที่ถูกต้องต่อไป

3. ได้สื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับโรคเครียด

บทที่ 2

เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

            การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องโรคเครียด คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้                                

ความเครียด  

ความเครียดสามารถเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลาอาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอกเช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงานความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว หรืออาจจะเกิดจากภายในผู้ป่วยเอง เช่นความต้องการเรียนดี ความต้องการเป็นหนึ่งหรือความเจ็บป่วย

    ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกาย ให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่  เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดี มันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิต ซึ่งมี่ทั้งผลดีและผลเสีย

ชนิดของความเครียด

1.             Acute stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันที และร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกัน โดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด

·         เสียง

·         อากาศเย็นหรือร้อน

·         ชุมชนที่คนมากๆ

·         ความกลัว

·         ตกใจ

·         หิวข้าว

·         อันตราย

2.             Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวัน และร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง

·         ความเครียดที่ทำงาน

·         ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

·         ความเครียดของแม่บ้าน

·         ความเหงา

ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด

เมื่อมีภาวะกดดันหรือความเครียดร่างกายจะฮอร์โมนที่เรียกว่า cortisol และ adrenaline ฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วเพื่อเตรียมพร้อมให้ร่างกายแข็งแรง และมีพลังงานพร้อมที่จะกระทำเช่นการวิ่งหนีอันตราย การยกของหนีไฟถ้าหากได้กระทำฮอร์โมนนั้นจะถูกใช้ไป ความกดดัน หรือความเครียดจะหายไป แต่ความเครียดหรือความกดดันมักจะเกิดขณะที่นั่งทำงาน ขับรถ กลุ่มใจไม่มีเงินค่าเทอมลูก ความเครียดหรือความกดดันไม่สามารถกระทำออกมาได้เกิดโดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้ฮอร์โมนเหล่านั้นสะสมในร่างกายจนกระทั่งเกิดอาการทางกายและทางใจ

ผลเสียต่อสุขภาพ

ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครียดนั้นเกิดจากความกลัวหรืออันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการทีปรากฏก็เป็นเพียงทางกายเช่นความดันโลหิตสูงใจสั่น แต่สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์ อ่านรายละเอียดที่นี่

 คุณมีความเครียดหรือไม่

ถามตัวคุณเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่

อาการแสดงทางร่างกาย

มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังให้หู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง

อาการแสดงทางด้านจิตใจ

วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

อาการแสดงทางด้านอารมณ์

โกรธง่าย วิตกกังวล ร้องไห้ ซึมเศร้า ท้อแท้ หงุดหงิด ซึมเศร้า มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็บหรือดึงผมตัวเอง

อาการแสดงทางพฤติกรรม

รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่สุรา โผงผาง เปลี่ยนงานบ่อย แยกตัว

หากท่านมีอาการเครียดมากและแสดงออกทางร่างกายดังนี้

·         อ่อนแรงไม่อยากจะทำอะไร

·         มีอาการปวดตามตัว ปวดศีรษะ

·         วิตกกังวล

·         มีปัญหาเรื่องการนอน

·         ไม่มีความสุขกับชีวิต

ให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำ 10 ประการ

1.             ให้นอนเป็นเวลาและตื่นเป็นเวลา เวลาที่เหมาะสมสำหรับการนอนคือเวลา 22.00น.เมื่อภาวะเครียดมาก จะทำให้ความสามารถในการกำหนดเวลาของชีวิต( Body Clock )เสียไป ทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับหรือตื่นง่าย การกำหนดเวลาหลับและเวลาตื่นจะทำให้นาฬิกาชีวิตเริ่มทำงาน และเมื่อความเครียดลดลง ก็สามารถที่จะหลับได้เหมือนปกติ ในการปรับตัวใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ บางครั้งเมื่อไปนอนแล้วไม่หลับเป็นเวลา 45 นาที ให้หาหนังสือเบาๆมาอ่าน เมื่อง่วงก็ไปหลับ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือให้ร่างกายได้รับแสงแดดยามเช้า เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายปรับเวลา

2.             หากเกิดอาการดังกล่าวต้องจัดเวลาให้ร่างกายได้พัก เช่นอาจจะไปพักร้อน หรืออาจจะจัดวาระงาน งานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วนก็ให้หยุดไม่ต้องทำ

3.             ให้เวลากับครอบครัวในวันหยุด อาจจะไปพักผ่อนหรือรับประทานอาหารนอนบ้าน

4.             ให้เลื่อนการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆในช่วงนี้ เช่นการซื้อรถใหม่ การเปลี่ยนบ้านใหม่ การเปลี่ยนงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดความเครียด

5.             หากคุณเป็นคนที่ชอบทำงานหรือชอบเรียนให้ลดเวลาลงเหลือไม่เกิน 40 ชม.สัปดาห์

6.             การรับประทานอาหารให้รับประทานผักให้มากเพราะจะทำให้สมองสร้าง serotoninเพิ่มสารตัวนี้จะช่วยลดความเครียด และควรจะได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ

7.             หยุดยาคลายเครียด และยาแก้โรคซึมเศร้า

8.             ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอาจจะมีการเต้นรำด้วยก็ดี

หากปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวแล้วยังมีอาการของความเครียดให้ปรึกษาแพทย์

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเครียด

·         ความเครียดเหมือนกันทุกคนหรือไม่ สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดในแต่ละคนไม่เหมือนกัน และการตอบสนองต่อความเครียดก็แตกต่างในแต่ละคน

·         ความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีจริงหรือไม่ ความเครียดเปรียบเหมือนสายกีตาร์ตึงไปก็ไม่ดี หย่อนไปเสียก็ไม่ไพเราะ เช่นกันเครียดมากก็มีผลต่อสุขภาพเครียดพอดีจะช่วยสร้างผลผลิต และความสุข

·         จริงหรือไม่ที่ความเครียดมีอยู่ทุกแห่งคุณไม่สามารถจัดการกับมันได้ แม้ว่าจะมีความเครียดทุกแห่งแต่คุณสามารถวางแผนที่จะจัดการกับงาน ลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนของงานเพื่อลดความเครียด

·         จริงหรือไม่ที่ไม่มีอาการคือไม่มีความเครียด ไม่จริงเนื่องจากอาจจะมีความเครียดโดยที่ไม่มีอาการก็ได ้และความเครียดจะสะสมจนเกินอาการ

·         ควรให้ความสนใจกับความเครียดที่มีอาการมากๆใช่หรือไม่ เมื่อเริ่มเกิดอาการความเครียดแม้ไม่มากก็ต้องให้ความสนใจ เช่นอาการปวดศีรษะ ปวดท้องเพราะอาการเพียงเล็กน้อยจะเตือนว่าคุณต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิตเพื่อลดความเครียด

·         ความเครียดคือโรคจิตใช่หรือไม่ ไม่ใช่เนื่องจากโรคจิตจะมีการแตกแยกของความคิด บุคลิคเปลี่ยนไปไม่สามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติ

·         ขณะที่มีความเครียดคุณสามารถทำงานได้อีก แต่คุณต้องจัดลำดับก่อนหลังและความสำคัญของงาน

·         ไม่เชื่อว่าการเดินจะช่วยผ่อนคลายความเครียด การเดินจะช่วยผ่อนคลายความเครียดนั้น

·         ความเครียดไม่ใช่ปัญหาเพราะเพียงแค่สูบบุหรี่ความเครียดก็หายไป การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราจะทำให้ลืมปัญหาเท่านั้น นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

เมื่อใดต้องปรึกษาแพทย์

·         เมื่อคุณรู้สึกเหมือนคนหลงทางหาทางแก้ไขไม่เจอ

·         เมื่อคุณกังวลมากเกินกว่าเหตุและไม่สามารถควบคุม

·         เมื่ออาการของความเครียดมีผลต่อคุณภาพชีวิตเช่นการนอน การรับประทานอาหารงานที่ทำความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้าง

สาเหตุที่เกิดจากความเครียดก็มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องครอบครัว เรื่องคนรัก หรือว่าปัญหาจิปาถะที่เกิดขึ้นระหว่างวันซึ่งทำให้จิตใจของเราตึงเครียด ส่งผลให้ร่างกายมีสภาวะเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจและในบางครั้งที่เราเครียดเราก็อาจจะไม่รู้ตัว แต่อาจจะมีอาการของคนที่นอนไม่หลับแทนก็เป็นได้

·         บางคนคิดว่าการที่เราเครียดก็คือเวลาที่เรามีปัญหาหนักๆ ต่ความเป็นจริงแล้วเรื่องเล็กๆ ก็ทำให้เราเครียดได้ แม้ว่าจะในปริมาณมากๆ แต่หากว่าสะสมมากขึ้นก็เป็นผลเสียต่อร่างกายและจิตใจของเราได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การอ่านหนังสือสอบไม่ทัน รถติด ตื่นสาย หาของไม่เจอ ติดต่อเพื่อนหรือญาติสนิทไม่ได้ มาไม่ทันรถเมล์ เถียงกับแม่ค้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราหงุดหงิดใจ และเป็นความเครียดต่างๆ ที่เราสะสมเอาไว้ ซึ่งหากว่ามากขึ้นไป ก็อาจจะทำให้เราเสียสุขภาพได้

·         ตัวอย่างของภาวะร่างกายและจิตใจที่บ่งบอกว่าเราเครียดมาก จนถึงขั้นอันตรายก็ได้แก่ มีอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแขน ขา คอ ไหล่ หลัง เพราะเมื่อเราเครียด กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายก็จะตึงเครียดขึ้นมาโดยที่เราไม่รู้ตัว นอกจากนั้นเราอาจจะมีปัญหาเรื่องของความดันเลือดที่สูงขึ้น ปวดหัว ปวดท้อง กระเพาะ หรือที่เรียกว่าเครียดลงกระเพาะนั่นเอง นอนไม่หลับ หัวใจเต้นแรง และหอบ อ่อนเพลีย เป็นลมง่าย และอาจจะส่งผลต่อสภาพจิตใจ ทำให้เราหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า ซึ่งอาการทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้จะส่งผลให้ร่างกายของเราอ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ง่ายในที่สุด

การรักษาโรคเครียดนั้นมีหลายวิธี ทางแรกเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือการจัดการกับปัญหาทั้งหลายทั้งปวงให้เรียบร้อย การแก้ปัญหานั้นก็แล้วแต่เรื่องว่าเรื่องใดควรแก้ปัญหาด้วยวิธีใด ซึ่งก็มีอยู่ 3 วิธี ก็คือ การสู้ การหนี และการปล่อยให้มันเป็นไป การจะเลือกใช้วิธีไหนนั้นเราก็ต้องดูความเหมาะสม เพราะบางครั้งการวิ่งเข้าชนปัญหาก็ดูเหมือนว่าจะทำให้ความเครียดของเรายุติลงไปง่ายกว่าวิธีอื่นๆ   นอกจากการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแล้วเราก็ควรที่จะรู้จักการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจของเราให้กลับมาสู่ภาวะปกติโดยเราอาจจะออกไปเดินเล่นชมสวน หรือว่าทำงานอดิเรกที่เราชอบ ตามใจตัวเองบ้างตามสมควร โดยที่ไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยให้รับประทานอาหารจำพวกผักผลไม้เยอะๆ และงดอาหารที่ทำให้ร่างกายเสียสมดุล หรือตกอยู่ในความเครียดมากขึ้นอย่างบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด กาแฟ ชา ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ ออกกำลังกาย ฟังเพลงพื่อคลายเครียด เต้นรำ เป็นต้น  นอกจากที่กล่าวมาแล้วการรำไทเก็ก และการเล่นโยคะก็ช่วยทำให้ความเครียดของเราลดลง เพราะการออกกำลังกายทั้งสองอย่างนี้จะช่วยทำให้จิตใจของเราสงบ และผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ

·         อาหารกับโรค   อย่างที่บอกไปว่าอาหารนั้นเกี่ยวพันกับสุขภาพของเรา ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไรที่อาหารนั้นจะมีความสัมพันธ์กับโรคกล่าวคือ อาหารบางชนิดนั้นจะช่วยป้องกันโรคได้ และที่ดีไปกว่านั้นก็คือ อาหารบางชนิดช่วยบรรเทาอาการของโรคต่างๆ นั้นเช่นกัน

·         ฟักทองกับโรคเบาหวาน  เราอาจจะรู้จักกับฟักทองในแง่ของการบำรุงสายตา แต่น้อยคนนักที่จะรู้จักฟักทองในแง่ของการช่วยป้องกันโรคเบาหวาน กล่าวคือ ในฟักทองนั้นมรีวสารอาหารที่ช่วยในการช่วยการทำงานของอินซูลิน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น หากว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน อย่างเช่นมีคนในบ้านเป็นโรคเบาหวานมาก่อนโดยเฉพาะพ่อแม่ก็ควรจะรับประทานฟักทองเป็นประจำ

·         พริกฟอกปอด   เราอาจจะรู้จักพริกในแง่ของการช่วยรักษาโรคหวัดเนื่องด้วยพริกมีวิตามินซีอยู่สูงนั่นเอง แต่นอกจากจะรักษาโรคหวัดแล้ว พริกยังเหมือนกับเจ้าหน้าที่ที่คอยทำความสะอาดปอดของเราอีกด้วย เพราะการกินอาหารที่มีพริกมากๆ ช่วยทำให้เราหายใจได้โล่งขึ้น ระบบทางเดินหายใจของเราทำงานดีขึ้น ดังนั้นคนที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือว่าโรคหืดหอบควรรับประทานพริกเผ็ดๆเป็นประจำ จะช่วยทำให้อาการดีขึ้น

·         ขิงกับคอเรสเตอรอล  ถ้าพูดถึงขิง เราคงจะนึกถึงน้ำขิงที่เรามักจะรับประทานกันในรูปของเต้าฮวย ซึ่งมีเต้าหู้สีขาวอยู่ในน้ำขิง รสชาติของขิงแม้ว่าจะมีรสเผ็ด แต่ก็ช่วยในเรื่องของสุขภาพไม่น้อยทีเดียวเพราะการรับประทานขิงหรือน้ำขิงเป็นประจำ จะช่วยลดปริมาณคอเรสเตอรอลได้ โดยเฉพาะคอเรสเตอรอลในตับนั่นเอง ดังนั้น หากเราต้องการจะลดคอเรสเตอรอลในตับ ขิงก็เป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง

·         อาหารที่ควรระวัง  อาหารบางชนิดนั้น แม้ว่าจะมีรสชาติอร่อย แต่ก็เป็นความอร่อยที่เคลือบยาพิษ เพราะหากว่าเรารับประทานในปริมาณมากๆ ก็อาจจะทำให้เราเป็นโรคต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะป็นโรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคตับ และอีกสารพัดโรค ดังนั้นทางที่ดีก็ควรจะระวังในเรื่องการกินอาหารเหล่านี้ด้วย

·         เกลือเพลาๆ ลงหน่อย  อาการติดอาหารรสเค็มก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นกันแต่รู้หรือไม่ว่าการกินอาหารรสเค็มมากๆ นั้น เป็นสาเหตุของโรความดันเลือดสูง ดังนั้น หากเราไม่อยากจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคความดันเลือด หรือว่าเป็นโรคความดันเลือดสูงอยู่ ก็ให้ลดการกินเค็มเป็นดี

·         ผลไม้รสหวาน  แน่ล่ะว่าผลไม้มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะมีกากใยและวิตามินอยู่มาก แต่อย่างไรก็ตาม เราควรจะระวังผลไม้ที่มีรสชาติหวาน เพราะมีหลายคนเหลือเกินที่คิดว่ากินผลไม้ทุกชนิดจะดี แล้วเผลอไปกินผลไม้รสหวานเป็นจำนวนมากอย่างนี้เบาะๆ ก็น้ำหนักขึ้น แต่หากว่าหนักหน่อยก็มีปัญหาเรื่องน้ำตาลในเลือดสูง ดังนั้น เราควรจะเลือกกินแต่ผลไม้ที่หวานน้อยๆ จะเป็นดี ผลไม้ที่ควรรับประทานแต่น้อยเพราะมีน้ำตาลอยู่สูงก็ได้แก่ มะม่วงสุก ทุเรียนสุก ขนุน เป็นต้น

สร้างเว็บบล็อก  (Blogger)

      1.  เข้าไปที่ http://www.blogger.com/   จะเจอหน้าจอแบบนี้ ให้คลิกที่ สร้างเว็บบล็อกของท่านเดี๋ยวนี้ ดังรูป

http://2.bp.blogspot.com/-tuPoZHzjibE/Upr5tutcDiI/AAAAAAAAAKk/OqUd9nrp7sQ/s1600/1.jpg

2.  เมื่อท่านคลิกนี้ จะปรากฎดังรูปด้านล่าง

http://3.bp.blogspot.com/-9QUS0drEZqs/Upr54o1R2GI/AAAAAAAAAKs/8lJnvhBm2P4/s1600/2.jpg

           3. ให้ใส่รายละเอียดดังรูป
               -ที่อยู่อีเมล : (จากที่ท่านได้สมัคร Gmail)
               -Enter Password : (ใส่รหัสผ่าน)-พิมพ์รหัสผ่านอีกครั้ง
               -Displya name (ตั้งชื่อที่จะให้แสดงตอนโพสเว็บบล็อก)
               -พิมพ์ตามอักษรที่ปรากฎให้ถูกต้อง
                -คลิกดำเนินต่อไป

http://3.bp.blogspot.com/-jNUXcWi8BgM/Upr6ZgglvcI/AAAAAAAAAK0/PIafq-gnkrc/s1600/3.jpg

            4.  จากนั้นให้ตั้งชื่อ เว็บบล็อกของท่าน
              -คลิกที่ตรวจสอบ เพื่อตรวจเช็คดูว่า มีใครใช้ชื่อนี้ไป หรือยัง ถ้ามีแล้วระบบจะแจ้งเตือนว่าใช้ไม่ได้       และจะมีตัวเลือกให้เราโดยอัตโนมัติ ถ้าชอบใจตัวไหน ก็คลิกที่ชื่อด้านล่างตัวนั้นได้ แต่ถ้าต้องการชื่ออื่นอีกก็ตรวจสอบจนกว่าจะได้ชื่อที่คุณพอใจ เมื่อได้ชื่อตามที่ต้องการแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไป

http://1.bp.blogspot.com/-xwkpBp8qxk0/Upr6u8yKFII/AAAAAAAAAK8/n2vFUO8Hd0Q/s1600/4.jpg

           5.  จากนั้นจะเข้าสู่การเลือกแม่แบบว่า เราต้องการเว็บบล็อกรูปแบบไหน มีให้เลือกมากมายตาม ต้องการสามารถคลิกเพื่อดูตัวอย่างแม่แบบได้ เมื่อได้แม่แบบตามที่เราชอบแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไปถึงตอนนี้คุณก็จะมีบล็อกกับกูเกิลแล้ว  อย่าลืมจดจำคือ
           1  อีเมล์ของ Gmail
           2  URL เว็บบล็อก

http://1.bp.blogspot.com/-qWjQtlUDSJQ/Upr7icdFo6I/AAAAAAAAALE/doJgQfMLFdI/s1600/5.jpg

http://3.bp.blogspot.com/-3KwCx4_1r-E/Upr7oNmG_NI/AAAAAAAAALM/3tdLdR5OLOY/s1600/5.1.jpg

บทที่3

วิธีการดำเนินโครงงาน

      3.1 โปรแกรมที่ใช้ในการทำโครงงาน

            3.1.1 โปรแกรม Power Point

            3.1.2 โปรแกรม Microsoft Word 2007

            3.1.4 เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com, www.gmail.com,   www.google.com

   3.2 วิธีการดำเนินโครงงาน

ลำดับที่

กิจกรรม

ระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน

สัปดาห์

ที่1

สัปดาห์

ที่2

สัปดาห์

ที่3

สัปดาห์

ที่4

สัปดาห์

ที่5

สัปดาห์

ที่6

สัปดาห์

ที่7

สัปดาห์

ที่8

1

กำหนดชื่อโครงงาน

2

กำหนดวัตถุประสงค์โครงงาน

3

กำหนดขั้นตอนในการทำโครงงาน

4

สืบค้นข้อมูลเพื่อจำทำโครงงาน

5

จัดทำโครงงาน

6

ลงมือทำโครงงาน

7

การเขียนรายงาน

8

การนำเสนอและแสดงผลงาน

บทที่ 4

ผลการดำเนินงาน

             4.1) ผลการดำเนินงาน

   คณะผู้จัดทำสามารถดำเนินการได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีโดยการวางแผนวิธีดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน และมีการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการทำโครงงาน เช่น

1.การรวบรวมข้อมูล “โรคเครียด” จากทางอินเตอร์เน็ต

2.การศึกษาวิธีการสร้างเว็บบล็อกเพื่อใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้เรื่อง “โรคความอ้วนจากทางอินเตอร์เน็ต

บทที่ 5

สรุป   อภิปรายและข้อเสนอแนะ

การจำทำโครงงานโรคเครียด นี้สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้

 วัตถุประสงค์ของโครงงาน

       1.   เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก เรื่อง โรคเครียด

       2.  เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

       3.  เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป

  วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา  

            1.   โปรแกรม Power Point

            2. โปรแกรม Microsoft Word 2007

            4.   เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com, www.gmail.com,   www.google.com

สรุปผลการดาเนินงานโครงงาน

     จากการดำเนินงานโครงงานการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง โรคเครียด               ในครั้งนี้สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้

       ทำให้ได้เว็บบล็อกเรื่อง โรคเครียด เป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป   ส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคเครียด

ข้อเสนอแนะ 

ควรมีการจัดทาเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้

 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา

        1.  เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการทาโครงงาน และบางครั้งอินเทอร์เน็ตมีปัญหา

        2.  สมาชิกในกลุ่มบางคนให้ความร่วมมือน้อยเพราะไม่ค่อยใส่ใจกับโครงงานนักจึงทำให้เสียเวลาและทำให้โครงงานเสร็จช้า

ภาคผนวก

ที่อยู่เว็บบล็อกของผู้จัดทำ

บรรณนานุกรม

     http:/www.siamhealth.ne