โครง งาน ภาษา อังกฤษ เรื่อง คํา ศัพท์

Just for you: FREE 60-day trial to the world’s largest digital library.

The SlideShare family just got bigger. Enjoy access to millions of ebooks, audiobooks, magazines, and more from Scribd.

Read free for 60 days

Cancel anytime.

โครงงานเรื่อง  การพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  โดยใช้สื่อตัวอักษร          

                           ผสมกิจกรรมประกอบจังหวะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ชื่อโครงงาน  การพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  โดยใช้สื่อตัวอักษร          

                  ผสมกิจกรรมประกอบจังหวะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

1.               ชื่อผู้ทำโครงงาน

1.            นางสาวณัฏฐนิช                 เรืองโอชา             เลขที่  0403

2.            นางสาวสิริรัตน์                   ศรีสุขเจริญพร      เลขที่  3988

3.            นางสาวอุไร                          ยึดหมู่                     เลขที่  1808

4.            นางบงกช                             สุนันต๊ะ                 เลขที่  2418

5.            นางจิตตรัตน์                        เย็นสุข                   เลขที่  0719

6.            นางสาวจรัสแสง                 เหมาเพชร            เลขที่  1715

7.            นางสาวพรรณราย               ธัญลักษณ์กุล        เลขที่  0928

2.               ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน     อ.ดร.เจนศึก  โพธิศาสตร์

3.               หลักการและเหตุผล

                ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นเต็มไปด้วยจังหวะและทำนองเพลงมากมาย เพลงมีความผูกพันต่อมนุษย์อย่างมาก  เริ่มตั้งแต่ทารกในครรภ์มารดา เมื่อได้ยินเสียงดนตรีจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงดนตรี  ขึ้นอยู่กับความดังค่อย เสียงสูงต่ำ และจังหวะของดนตรี และเมื่อทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาแล้วนั้น ทารกจะรู้สึกเพลิดเพลินชื่นชมและแสดงความพอใจจากการได้ยินเสียงขับกล่อมของมารดา  โดยธรรมชาติเด็กสนใจเพลงและดนตรีตั้งแต่เด็กเล็กๆ จะสังเกตได้จากพฤติกรรมแสดงความพอใจ เช่น ใช้ช้อนเคาะโต๊ะ เคาะจานและทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ บางครั้งก็เลียนเสียงเพลงที่ได้ฟังจากวิทยุ โทรทัศน์ เทป และทำท่าทางประกอบไปด้วย ปฏิกิริยาที่เด็กเล็กมีต่อเพลงขึ้นอยู่กับวัยของเด็ก ประเภทของเพลง  ความไพเราะ และอารมณ์ร่วมของเด็กในขณะนั้น บางคนชอบและแสดงความรู้สึกด้วยการนั่งฟังได้อย่างเพลิดเพลินเป็นเวลานาน บางคนแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหว บางคนแสดงออกด้วยการร้องเพลง แต่ที่ทุกๆ คนแสดงออกเหมือนกันคือ        มีใบหน้าที่ยิ้มแย้ม มีท่าทางที่แสดงถึงความสุข ความพอใจ  จึงกล่าวได้ว่าเพลงมีอิทธิพลต่อชีวิต เป็นอย่างยิ่ง เพลงมีบทบาททางอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย  เพลงเป็นสื่อการสอนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้เรียนและเพลงยังช่วยเร้าความสนใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจ สร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่ดี นอกจากนี้ รองเนือง ศุขสมิติ (2537:49) กล่าวว่าเพลงช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นและช่วยให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ

                การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กโดยการใช้บทเพลงเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง เนื่องจากเด็กเป็นผู้ที่ชื่นชอบเพลงอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ชอบเคลื่อนไหวกระโดดโลดเต้นไปตามจังหวะ หากเรานำเพลงมาประกอบการสอนโดยให้เด็กมีโอกาสได้ร้องเล่นหรือได้ฟังก็จะเกิดความสนุกสนานได้พักผ่อนจิตใจ ได้เปลี่ยนอิริยาบถ ได้ความรู้ เพลงที่มีความหมายดีมีคุณค่าช่วยพัฒนาในด้านสังคม และจะเกิดทัศคติที่ดีต่อเรื่องราวต่างๆที่บรรจุไว้ในบทเพลงโดยไม่ต้องบังคับแต่อย่างใด เสียงเพลงจึงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนา ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา และที่สำคัญคือเสียงเพลงช่วยให้การเรียนรู้ภาษาของเด็กเจริญอย่างรวดเร็วสอดคล้องกับวิลคอกซ์ (Wilcox 1995 : 67-69) ที่กล่าวว่าเพลงควรมีอยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก การร้องเพลงเป็นความสนุกอย่างมากสำหรับเด็ก เด็กๆควรจะร้องเพลงให้บ่อยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อเขาร้องเพลง เพลงจะช่วยเด็กในการพัฒนาภาษาและความจำได้อย่างดีเยี่ยม เกรนัฟ (Grenough 2000 : 1) ศึกษาเกี่ยวกับเพลงช่วยสร้างความกระตือรือร้น ช่วยกระตุ้นในส่วนของสมองที่ใช้ความจำ ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว

                ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะทางภาษาทั้งทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน การที่จะเรียนรู้ได้ทั้ง 4 ทักษะ ผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญและเป็นส่วนสำคัญในองค์ประกอบที่เกี่ยวกับความรู้ความสามารถทางภาษาที่สอง เพราะการเรียนรู้ศัพท์ทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช่ในการฟัง พูด อ่านและเขียนได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และคล่องแคล่วย่อมช่วยให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้ผลดียิงขึ้น ฮาร์เมอร์ (Harmer 991 : 153) ได้กล่าวเปรียบเทียบคำศัพท์กับโครงสร้างภาษาว่า ถ้าภาษาเป็นร่างกาย คำศัพท์ก็เปรียบเหมือนอวัยวะ และเนื้อของภาษา ถ้าไม่รู้คำศัพท์ที่ถูกต้องจะไม่แสดงศักยภาพของการใช้โครงสร้างภาษาได้ในขณะที่คาตามบา (Katamba 2005 : 2) เปรียบเทียบคำศัพท์เหมือนวัตถุอันล้ำค่าสำหรับผู้เรียนที่ใช้เปิดประตูสู้ความเข้าใจในธรรมชาติของภาษาและยังช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นมุมกว้างของภาษาเพราะคำศัพท์มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงสร้างภาษาในทุกๆ ด้าน

                การขาดความรู้ด้านคำศัพท์มีผลต่อการสื่อสาร หากผู้เรียนที่รู้คำศัพท์ไม่มากจะพบปัญหาระหว่างการใช้ทักษะรับสารและส่งสารในภาษาต่างประเทศ (Nation 1990 : 1-2) สอดคล้องกับแมกคาร์ที (McCarthy 1992: IX) กล่าวว่าไม่ว่าผู้เรียนภาษาต่างประเทศเป็นภาษาที่สองจะมีความสามารถทางไวยากรณ์หรือการออกเสียงดีขนาดไหนแต่ถ้าขาดความรู้ด้านคำศัพท์ก็จะไม่มีทางสื่อสารได้อย่างสมบูรณ์ ความคิดนี้สัมพันธ์กับ วิลคินส์ ( wilkins , อ้างถึงใน Scott Thornbury2002:13) ที่ระบุว่าผู้เรียนขาดความสามารถทางไวยากรณ์ยังสามารถสื่อสารได้เล็กน้อยแต่หากขาดความรู้ด้านคำศัพท์จะไม่สามารถสื่อสารได้เลย การไม่รู้คำศัพท์จึงเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาการอ่านไม่เข้าใจ ฟังไม่รู้เรื่อง ไปจนถึงพูดและเขียนไม่ได้ ดังนั้นผู้เรียนที่ต้องการเรียนภาษาเพื่อให้สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารได้ จำเป็นต้องรู้คำศัพท์จำนวนมากพอ และผู้สอนจึงมีบทบาทสำคัญในการที่จะหาวิธีต่างๆ ที่จะสอนศัพท์ให้ได้ผล (อมตา เวชพฤติ ,นิภาวรรณ ชูรัตนสิทธิ์ และวีนา เกีรยติ์อนุพงษ์ 2547:!!!)

                สาเหตุที่นักเรียนขาดความรู้ทางด้านคำศัพท์ส่วนหนึ่งมาจากการสอนของครูผู้สอนโดย กุสุมา ล่านุ้ย (2538: 89) ระบุว่าครูส่วนใหญ่ยังใช่วิธีการสอนโดยแปลให้นักเรียนฟังแล้วจึงให้นักเรียนท่องจำความหมาย ซึ่งวิธีนี้นักเรียนจะสามารถจำคำศัพท์ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้นทำให้เกิดปัญหาในการเรียนภาษาได้ (ดวงเดือน แสงชัย 2533 : 67) ในขณะที่งานวิจัยของมอร์แกนและรินโวลักรี (Morgan and Rinwolucri 2004: 5)ระบุว่าครูเน้นการสอนด้านไวยากรณ์และการออกเสียงมากเกินไปซึ่งเป็นสาเหตุทำให้นักเรียนมีความสามารถด้านคำศัพท์ในระดับต่ำ

เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน สำหรับประเทศไทยการเรียนภาษาอังกฤษมีการตื่นตัวเป็นอย่างมาก เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีพุทธศักราช  2558  ซึ่งปัญหาระบบการศึกษาภาษาอังกฤษในห้องเรียนส่วนใหญ่จะเน้นผู้สอนเป็นสำคัญ โดยใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย ดังนั้น ผู้เรียนจึงท่องจำแต่ภายในห้องเรียนด้วยวิธีการเรียน การสอนแบบเดิม ๆ

ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำสื่อ การใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกิจกรรมประกอบจังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

4.               วัตถุประสงค์

4.1          เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกิจกรรมประกอบจังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

4.2          เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกิจกรรมประกอบจังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

5.                วิธีดำเนินงาน

5.1         ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโดยศึกษาขอบข่ายของคำอธิบายรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

5.2          ศึกษาและเลือกคำศัพท์ที่จะใช้สอนจำนวน 19 คำ ที่ประกอบด้วยคำเดี่ยว เช่น SUNDAY, MONDAY,APRIL ฯลฯ โดยคัดเลือกคำศัพท์ที่อยู่ในแบบเรียน Smile 4 ตลอดจนคัดเลือกเพลง จำนวน 2 เพลง แล้วจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยสื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกิจกรรมประกอบจังหวะ

5.3         นำคำศัพท์และเพลงที่เลือกมาตรวจสอบความถูกต้อง เพลงที่คัดเลือกมามีความยากง่าย สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของทางโรงเรียนเพียงใด

5.4         เตรียมสื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษ A-Z ที่ใช้ในกิจกรรม

5.5         จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับกิจกรรมประกอบจังหวะ จำนวน 19 คำ และเพลง 2 เพลง โดยมีการจัดการเรียนรู้ดังนี้

ขั้นที่ 1  ขั้นเร้าความสนใจ (Warm-up activity)

ขั้นที่ 2  ขั้นนำ เสนอเนื้อหา (Presentation)

ขั้นที่ 3  ขั้นการฝึกทักษะ (Practice)

ขั้นที่ 4  ขั้นนำไปใช้ (Production)

ขั้นที่ 5  ขั้นสรุป (Wrap up)\

5.6         การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 จำนวน 30 คน

5.7         เครื่องมือการวัดผล

6.7.1 การเรียน โดยใช้แบบทดสอบ

6.7.2 ความพึงพอใจ โดยใช้แบบสอบถาม

6.8 ผลจากวัดประเมิน

                6.8.1  ร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์

                6.8.2  ใช้เกณฑ์ 3 ระดับ คือ พึงพอใจมาก ปานกลาง และ ไม่พึงพอใจ

6.9  สรุปผลการใช้สื่อ

                6.9.1  ผลของการใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกิจกรรมประกอบจังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4

                6.9.2  ผลความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกิจกรรมประกอบจังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

6.10 นำเสนอผลงาน

6.               แผนปฏิบัติงาน

ลำดับ

วิธีดำเนินงาน

ระยะเวลา

1

ค้นหาข้อมูล เนื้อหา จากหนังสือ Smile4 และเพลง

15-17 เม.ย.57

2

หาอุปกรณ์ทำสื่อการสอน

18-20 เม.ย.57

3

ลงมือสร้างสื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษจากฝาขวดน้ำ

จำนวน 6 ชุด

21-23 เม.ย.57

4

เตรียมเพลงที่จะใช้ในการสอนลงในแผ่นซีดี

24 เม.ย.57

5

ปฏิบัติตามวิธีดำเนินงาน

19-21 พ.ค.57

6

สรุปผลการดำเนินงาน

22 พ.ค.57

7

ประเมินผลการดำเนินงาน

23 พ.ค.57

7.               ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.             นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำคำศัพท์ที่ได้เรียนด้วยวิธีการใช้สื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษประกอบเพลงเข้าจังหวะได้มากขึ้น

2.             ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการเรียนภาษาอังกฤษและมีความพึงพอใจในระดับที่ดีขึ้น

8.               เอกสารอ้างอิง

พรรณนที  โชติพงศ์.  การใช้กิจกรรมประกอบจังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์และความคงทน

         ในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4. 2552. [Cited 16 เม.ย.57]

รองเนือง  ศุขสมิติ.  ผลของการใช้เพลงเสริมบทเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

         ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.  วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต  สาขาการสอนภาษาอังกฤษ

         บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  2537.

             Wilcox, Ella.  Unlock The Joy of  Music. The Education Digest  11, 7 (January 1995) : 67-69