กระบวนการ ผลิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม

การผลิตและการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Products)

เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจระดับโลกและของประเทศไทยที่มีการนำแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มาเปลี่ยนการผลิตและการบริโภคสู่สังคมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production : SCP) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ดังนั้นกลไกหนึ่งที่สำคัญนำไปสู่ SCP คือ การส่งเสริมให้ผู้ผลิตและประชาชน

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กว้างขวางขึ้นนั้น และช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Products) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและแพร่หลายในทุกๆ ภาคส่วน โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

กระบวนการ ผลิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 1
การส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ด้านอุปสงค์)

1.1 ผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใน ส.อ.ท.
ส.อ.ท. มีนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดทะเบียนรายการสินค้าและบริการ ที่ส่งเสริมให้มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 10 สินค้า และ 2 บริการ ได้แก่

  1.  ตลับหมึกเครื่องถ่ายเอกสารเครื่องพิมพ์และเครื่องโทรสาร
  2. กระดาษถ่ายเอกสารหรืองานพิมพ์ทั่วไป
  3. แฟ้มเอกสาร
  4. ซองบรรจุภัณฑ์
  5. ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด
  6.  กระดาษชำระ
  7. เครื่องพิมพ์
  8. ถ่านไฟฉาย
  9. ปากกาไวต์บอร์ด
  10. บริการเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร
  11. เครื่องนุ่งห่ม
  12. บริการโรงแรม

1.2 ผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับ สมาชิก ส.อ.ท.
1.3 ผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของภาครัฐให้มากขึ้น ผ่านคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)

ยุทธศาสตร์ที่ 2
การส่งเสริมการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ด้านอุปทาน)

2.1 ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้ผู้ผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมและคลัสเตอร์ผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ตามฉลากหรือการรับรองที่มีอยู่)
ให้ความรู้ในเรื่องฉลากสิ่งแวดล้อมให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมและคลัสเตอร์เพื่อจูงใจให้มีความต้องการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

2.2 สนับสนุนและส่งเสริมการขยายชนิดรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งฉลากและการรับรองที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีเพิ่มขึ้น
จัดทำรายการบัญชีสินค้าเสนอภาครัฐเพื่อพิจารณาเข้ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของภาครัฐ

2.3 โครงการนำร่องการส่งเสริมการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  • 2.3.1 โครงการบ้านเขียว ส.อ.ท.
  • 2.3.2 โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารให้ได้รับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์

ยุทธศาสตร์ที่ 3
การสร้างจิตสำนึกและสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิต การบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3.1 สร้างและอำนวยความสะดวกในการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม
3.2 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดำเนินโครงการส่งเสริมบัตรเดียวเขียวทั่วไทย (Green Card Application) เพื่อส่งเสริมการบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชันในการให้ข้อมูลสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสะสมคะแนนจากการซื้อสินค้าดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • แอปเดียวเขียวทั่วไทย (Green Card Application) เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยในการค้นหาสินค้าและบริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในธีม 24hours Eco Life และสามารถสะสมคะแนนจากการซื้อสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปแลกรับสิทธิพิเศษมากมายจากผู้ผลิต ร้านค้า และ โรงแรม ที่เข้าร่วมรายการ

กระบวนการ ผลิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม

กระบวนการ ผลิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม

กระบวนการ ผลิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม

กระบวนการ ผลิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม

3.3 จัดทำฐานข้อมูลของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ได้มีการดำเนินการจัดทำ เว็บไซต์ Thai Eco Products โดยร่วมกับหน่วยงานให้การรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย มูลนิธิใบไม้เขียว บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดทำเว็บไซต์ Thai Eco Products ที่รวบรวมสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคได้โดยง่าย โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ให้ความสะดวก รวดเร็ว ในการเข้าถึงข้อมูลสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อส่งเสริมตลาดสินค้าสีเขียวในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าและบริการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

กระบวนการ ผลิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคืออะไร

ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ สินค้าที่ผลิตจากกระบวนการและเทคโนโลยีที่ใส่ใจกับ ผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบในการผลิต จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์เป็นสินค้าหรือ ผลิตภัณฑ์ รอการบรรจุลงในหีบห่อและบรรจุภัณฑ์ส าหรับเตรียมการขนส่งและจัดจ าหน่ายให้กับผู้บริโภคต่อไป รวมถึง ...

การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมส่งผลดีอย่างไร

ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างร่วมมือร่วมใจกันผลิตและบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว ก็จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม คือ ช่วยลดผลกระทบต่าง ๆ ในการผลิตที่อาจเกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งช่วยลดการปล่อยมลพิษที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนอีก ...

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีประโยชน์อย่างไร

ข้อดีในการใช้ "ผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ผลดีต่อผู้บริโภค ผู้บริโภคจะได้ใช้สินค้าที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ในกระบวนการผลิต เป็นการลดการ ใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองและสารที่เป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ทำให้มีผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยรวมรวมทั้งช่วยปลูกฝังค่านิยมให้สังคมร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปในตัว

เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม อย่างไร

บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ บริการต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ร้นอาหาร สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ร้านซักแห้ง ร้านซักรีด ฯลฯ เน้นดำเนิธุรกิจอย่างใส่ใจต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเลือกอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ มีการจัดการคัดแยกขยะที่ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ชวย ...