เรียงความ เรื่อง ขยะใน โรงเรียน

เรียงความ เรื่อง ขยะใน โรงเรียน

  โรงเรียนในฐานะที่เป็นแหล่งให้ความรู้ และปลูกฝังวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนซึ่งจะเติบโตเป็นอนาคตของชาติต่อไป จึงมีแนวคิดที่จะให้นักเรียนลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวันลง โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ฝึกการคัดแยกขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ วิธีการนี้นอก จากจะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำเข้าเตาเผาได้แล้ว ยังเป็นการฝึกทักษะการทำงานให้กับนักเรียน และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งของอีกด้วย

การจัดการขยะด้วยแนวคิด 7 R

  1. Rethink   (คิดใหม่)

  เป็นการเปลี่ยนความคิดเรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้องเหมาะสมไม่ได้ทำตามกระแสแต่อย่างเดียว  แต่ทำจากใจหรือจากจิตสำนึกที่ดี  เช่น

  -  การซื้อสินค้าที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. Reduce   (ลดการใช้)

  เป็นการลดใช้ทรัพยากรให้เหลือเท่าที่จำเป็นหรือนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  เช่น

-  ใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าหวายเลิกง้อถุงพลาสติก

-   ใช้กล่องข้าวหรือปิ่นโตลดการใช้โฟม

-   ใช้แก้วน้ำส่วนตัวงดใช้แก้วที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

-   พยายามอย่าใช้กระดาษสิ้นเปลือง ควรพิมพ์และถ่ายเอกสารเท่าที่จำเป็น จะช่วยลดการตัดต้นไม้และลด

3. Reuse (ใช้ซ้ำ)

เป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือใช้อีกครั้ง หรือหลายๆครั้ง เช่น

-  แยกประเภทกระดาษที่ใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อย่างเหมาะสมกระดาษดีนำมาใช้พิมพ์ใหม่เป็นกระดาษ 2 หน้าสำหรับเอกสารร่าง กระดาษยับนำมาตัดเป็นกระดาษโน้ต  กระดาษ 2 หน้าทำเป็นถุงใส่ของ

-  บริจาคสิ่งของที่เลิกใช้แล้วแต่มีสภาพดีให้กับผู้ที่ขาดแคลน

-  ประกวดนวัตกรรมนำขยะกลับมาใช้ซ้ำ เช่น การนำกระดาษมาเป็นซองใส่ยา ฯลฯ

-  ใช้ถุงพลาสติกซ้ำหลายๆครั้งตามสภาพความเหมาะสม

4. Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่)

  เป็นการนำวัสดุที่หมดที่หมดสภาพแล้วหรือที่ใช้แล้วมาแปรสภาพด้วยกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาใช้หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่  เช่น

  -   คิดก่อนทิ้งว่าขยะช่วยกันแยกประเภทขยะเพื่อให้ได้ขยะรีไซเคิลมากที่สุดและเพื่อช่วยลดขั้นตอนและลดพลังงานในการกำจัดขยะ  เนื่องจากขยะแต่ละชนิดมีวิธีการกำจัดที่ไม่เหมือนกัน

5. Repair (ซ่อมแซม)

  เป็นการซ่อมแซมให้ใช้การได้ใหม่  เช่น

  -  กระป๋องพลาสติก ที่แตกร้าวหรือเป็นรูใช้กาวประสานหรืออุดรูเหล่านั้นมันก็ยังใช้ได้เหมือนเดิมทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น การกลายเป็นขยะก็ยืดเวลาออกไป

6. Reject (ปฏิเสธ)

  เป็นการปฏิเสธการใช้ทรัพยากรแบบครั้งเดียวทิ้งหรือหารนำเข้าจากแดนไกล  หรือการปฏิเสธใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำลายโลก  เช่น พลาสติก  กล่องโฟมบรรจุอาหาร

7. Return (ตอบแทน)

  เป็นการตอบแทนสิ่งที่พวกเราได้ทำลายไปคืนสู่โลก เช่น

  - ปลูกต้นไม้กันเยอะ ๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวคืนแก่โลก ช่วยโลกสดใส ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดปัญหาโลกร้อน

เรียงความ เรื่อง ขยะใน โรงเรียน

นักเรียน บ้านหนองม่วง เปลี่ยน “ขยะ” ให้มีคุณค่า กิจกรรมที่ให้อะไรมากกว่าที่คิด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในทุกๆ วันของการดำเนินชีวิต กิจกรรมของมนุษย์ล้วนก่อให้เกิดขยะขึ้นมากมาย จนกระทั่งได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องร่วมกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิมิตชูบิชิ อิเล็คทริคไทย จึงนำทีมพนักงานจิตอาสากว่า 500 คน ร่วมกิจกรรมปลูกป่า สร้างฝาย และเปิด “ธนาคารขยะรีไซเคิล” โดยจัดตั้งร่วมกับโรงเรียนบ้านหนองม่วง ต.ชุมแสง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ที่ได้รับการความร่วมมืออย่างดีจากผู้คนในท้องที่ และเด็กเยาวชนในโรงเรียน

เป็นการปลุกจิตสำนึกเยาวชน ให้รักษาสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงปัญหาขยะในชุมชนและโรงเรียน

ครูสามารถ บุญโสม หรือครูมารถ ที่ปรึกษาโครงการ เล่าว่า ก่อนหน้านี้โรงเรียนมีปัญหาเรื่องการจัดการขยะ ทั้งการทิ้งขยะไม่เป็นที่ ทิ้งขยะไม่ลงถัง และไม่มีการคัดแยกขยะ ทำให้บรรยากาศโดยรวมในโรงเรียนไม่สะอาด จนมีโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลเข้ามาช่วยวางแผนการดำเนินโครงการ ทำให้นักเรียนรู้จักแยกขยะตามหมวดหมู่ และช่วยกันประชาสัมพันธ์โครงการไปยังครอบครัว พร้อมเก็บขยะจากบริเวณโรงเรียน บ้าน และชุมชน นำกลับมาขายให้กับธนาคาร จากนั้นร้านรับซื้อของเก่าในชุมชนก็จะเข้ามาซื้อต่อขยะจากธนาคาร เป็นการสร้างรายได้ ช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง และยังเป็นการสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้ติดตัวพวกเขาไปตลอด

เรียงความ เรื่อง ขยะใน โรงเรียน
เรียงความ เรื่อง ขยะใน โรงเรียน

ด.ช.คมกริบ ชื่นจิตต์ หรือน้องโชกุน อายุ 12 ปี เจ้าหน้าที่คัดแยกและชั่งน้ำหนัก ที่เล่าด้วยน้ำเสียงสดใสว่า สำหรับผมธนาคารขยะรีไซเคิลต่างจากธนาคารทั่วไป เพราะสมาชิกไม่ต้องนำเงินมาฝากที่ธนาคารแต่เอา “ขยะ” ที่คิดว่าไม่มีค่า เข้ามาฝากในธนาคาร และถอนออกไปเป็น “เงิน” ได้ ทำให้ผม และเพื่อนๆ ในโรงเรียน รวมถึงผู้ปกครอง เห็นประโยชน์ของขยะมากขึ้น ทุกคนช่วยกันเก็บ ช่วยกันคัดแยกประเภท ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง ทำให้โรงเรียน ชุมชน สะอาด และน่าอยู่

ส่วน ด.ช.สดาศิวะ นาตาแสง หรือน้องเจโฟน อายุ 12 ปี เจ้าหน้าที่คิดคำนวณราคา เผยว่า การได้ทำหน้าที่นี้ ทำให้ผมได้ฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ต้องมีสมาธิ และความละเอียดรอบคอบในการคิดคำนวณเงินให้กับทุกคน เพราะหากคิดพลาดไปเพื่อนๆ อาจจะเสียเงินที่ควรจะได้ หรือถ้าผมคิดเกินไปก็อาจจะส่งผลกระทบต่อธนาคารได้

“สำหรับผมธนาคารขยะรีไซเคิลเป็นส่วนช่วยสำคัญในการฝึกวินัย และความรับผิดชอบต่อส่วนรวมให้กับพวกเรา ด้วยวิธีการง่ายๆ คือการคัดแยกขยะใส่ลงในถังขยะที่ได้แบ่งแยกประเภทไว้อย่างชัดเจน” ด.ช.สดาศิวะบอก

ปิดท้ายด้วย เจ้าหน้าที่จดบันทึกคนเก่ง ด.ญ.เน นน หรือน้องเนอายุ 13 ปี เล่าว่า ขยะรีไซเคิลที่มีคนนำมาขายมากที่สุด คือ พลาสติก ขวดแก้ว กระดาษ และลังกระดาษ ซึ่งเป็นขยะที่พบได้มากในบริเวณโรงเรียน และชุมชนโดยรอบ นอกจากนี้ การเก็บขยะมารีไซเคิลเป็นส่วนหนึ่งในการลดปริมาณ ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้อากาศเป็นพิษ น้ำเน่าเสีย เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เป็นที่อยู่ของสัตว์มีพิษ ส่งกลิ่นเหม็น และทำให้โรงเรียน ตลอดจนชุมชนไม่น่าอยู่ด้วย

เสียงจากตัวแทนธนาคารขยะรีไซเคิลตัวน้อย ที่พร้อมจะปฏิบัติหน้าที่ในการขับเคลื่อนแก้ปัญหาขยะในโรงเรียน และชุมชน ด้วยการลดปริมาณขยะ คัดแยกให้ถูกประเภท จัดเก็บอย่างเหมาะสม เรียนรู้การรีไซเคิลขยะอย่างถูกวิธีและสร้างจิตสำนึกที่ดีในการออม

เรียงความ เรื่อง ขยะใน โรงเรียน
เรียงความ เรื่อง ขยะใน โรงเรียน

เรียงความ เรื่อง ขยะใน โรงเรียน
ครูสามารถ บุญโสม
เรียงความ เรื่อง ขยะใน โรงเรียน
น้องเจโฟน สดาศิวะ
เรียงความ เรื่อง ขยะใน โรงเรียน
น้องโชกุน คมกริบ
เรียงความ เรื่อง ขยะใน โรงเรียน
น้องเน นน