เรียงความเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

                จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ดิฉันเห็นถึงความสำคัญของประเทศชาติ หากเราทุกคนเป็นบุคคลหนึ่งที่ทำตามหลักปรัชญาและเป้าหมายการพัฒนา ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน ซึ่งจะทำให้ประเทศไม่เดือดร้อน มีแต่ความสงบสุขทั้งเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ รัฐบาลได้สร้างรากฐานของชุมชนให้เข้มแข็งด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง และองค์การสหประชาชาติยังคงต่อยอดความสำเร็จยิ่งๆขึ้นไป เมื่อชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ประเทศชาติก็เกิดความมั่นคง นั่นคือสิ่งที่จะแสดงให้เห็นว่า ประเทศชาติของเราเป็นประเทศที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยแท้จริง เรียบเรียงโดย นางสาวภาวิณี คงร้อย

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

        แนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี 

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะอยู่บนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มัชฌิมปฏิปทา หรือทางสายกลาง

แนวคิดหลักของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ การตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง  ไม่ประมาท  โดยที่จะต้องคำนึงถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ  และคุณธรรม  ไม่สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง  ซึ่งทั้งหมดนี้รวมกันเป็นหลักที่ปฏิบัติได้

                                                            

                                                                                //dit.dru.ac.th/ka/a04.php

ประกอบด้วย 3 สิ่ง โดยมีเงื่อนที่ช่วยเกื้อหนุนให้เราสามารถอยู่ในความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี 2 เงื่อนไข

3 สิ่งที่ว่า มี

1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 

2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ 

3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่นยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คือเงินออม ที่เก็บไว้ใช้ยามจำเป็นนั่นเอง

2 เงื่อนไข มี

1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ 

2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

         เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้เราอยู่อย่างมีความสุข เศรษฐกิจพอเพียงมิใช่หมายความถึง การกระเบียดกระเสียนจนเกินสมควร จนไม่มีความสุขในชีวิต หากแต่อาจฟุ่มเฟือยได้เป็นครั้งคราวตามอัตภาพ แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศมักใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะที่หามาได้

         เศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม

การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้
แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา

การนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ

  จากเว็บไซต์ //oae.go.th/ewt_news.php?nid=6582&filename=index ได้พูดถึงการการพัฒนาประเทศตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้น่าสนใจมาก ไว้ดังนี้

  การพัฒนาประเทศ มิได้มีแบบอย่างตายตัวตามตำรา หากแต่ต้องเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา วัฒนธรรมชุมชน ที่มีความหลากหลาย ในขณะเดียวกันเราก็ต้องเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัฒน์ ควบคู่ไปกับการพยายามหาแนวทางหรือวิธีการที่จะดำรงชีวิตตามหลักการพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ดำเนินไปได้อย่างสมดุลและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยอาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบที่ชุมชนอาจจะได้รับ ไม่ให้กระแสเหล่านั้นมาทำลายเอกลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชนจนต้องล่มสลายไป

             จากแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางที่ให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพ

ที่สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งก็คือ วิถีชีวิตไทย ที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี ในหลักของการพึ่งพาตนเอง 5555555ห้า ประการ คือ

             •  ความพอดีด้านจิตใจ : เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประณีประนอม คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

             •  ความพอดีด้านสังคม : มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง

             •  ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงเป็นขั้นเป็นตอนไป

 •  ความพอดีด้านเทคโนโลยี : รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการและควร

พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง

             •  ความพอดีด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอสมควร พออยู่ พอกินตามอัตภาพ และฐานะของตนเอง

   จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเริ่มจาก การสร้างพื้นฐาน ความพอกินพอใช้ ของประชาชนในชาติเป็นส่วนใหญ่ก่อน แล้วจึงค่อยเสริมสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจ . ตามลำดับ เพื่อจะได้เกิดสมดุลทางด้านต่าง ๆ หรือ เป็นการดำเนินการไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง โดยสร้างความพร้อมทางด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ที่ไม่ใช่เป็นการ “ ก้าวกระโดด ” ที่ต้องใช้ปัจจัยภายนอกต่าง ๆ มาเป็นตัวกระตุ้น เพียงเพื่อให้เกิดความทันกันในชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งในที่สุดประชาชนไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการและการแข่งขันดังกล่าวได้ ก็จะเกิดปัญหาตามมา ดังที่ประเทศไทยได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 

เกษตรทฤษฎีใหม่

ทฤษฎีใหม่ คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่มักประสบปัญหาทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก
ความเสี่ยงที่เกษตรกร มักพบเป็นประจำ ประกอบด้วย
๑. ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร
๒. ความเสี่ยงในราคาและการพึ่งพาปัจจัยการผลิตสมัยใหม่จากต่างประเทศ
๓. ความเสี่ยงด้านน้ำ ฝนทิ้งช่วง ฝนแล้ง
๔. ภัยธรรมชาติอื่นๆ และโรคระบาด
๕. ความเสี่ยงด้านแบบแผนการผลิต
- ความเสี่ยงด้านโรคและศัตรูพืช
- ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนแรงงาน
- ความเสี่ยงด้านหนี้สินและการสูญเสียที่ดิน
ทฤษฎีใหม่ จึงเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

สามารถเข้าใจได้ด้วยวีดิโอที่ได้นำมาฝาก


การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ฉันนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจมาใช้ได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดย

ปัจจุบัน ขณะที่ยังเป็นนักเรียน

- รู้จักพอประมาณในทุกๆเรื่องโดยเฉพาะเรื่องการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

- ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล ไม่ใช่ตระหนี่ถี่เหนียว คือ สิ่งใดจำเป็นต้องซื้อก็ซื้อ สิ่งใดไม่จำเป็น เป็นสิ่งฟุ่มเฟื่อย ซื่อมาแล้วก็ใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ก็อย่าซื่อ เวลาซื้อจึงควรมีสติ มีเหตุผล มีความรอบคอบในการซื้อของ ไม่หลงไปกับความอยากได้อย่างไม่มีเหตุผล

- รู้จักการอดออมนักเรียนอย่างเราจะได้ค่าใช้จ่ายประจำทุกๆสัปดาห์ และค่าใช้จ่ายของเราแต่ละวันจะมีแค่ค่าข้าว ขนม น้ำ และอุปกรณ์การเรียนการทำรายงาน เพราะฉะนั้นเราจะมีเงินเก็บเหลือ แทนที่เราจะนำไปเที่ยว หรือซื้อของฟุ่มเฟือยทั้งหมด การเก็บอาจจะไม่ต้องทั้งหมด คือ ใช้บ้างเพื่อความสุขเล็กๆน้อยๆ แต่เหลือเก็บไว้บ้าง

- ไม่อ่อนไหวอยากได้ในสิ่งรอบกายที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่นเสื้อผ้า อุปกรณ์สื่อสาร

- อยู่บนทางสายกลางไม่ตระหนี่จนเกินงาม และไม่ใช้จ่ายเกินความจำเป็น

- ไม่ประมาทในการทำสิ่งต่างๆ คิดเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ก่อนเสมอ

 การทำแบบนี้จะถือเป็นการช่วยเหลือผู้ปกครองไปด้วยในตัวเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ดีในอนาคตโดยเฉพาะการอดออม และการคิดก่อนใช้เงิน

ในอนาคตเมื่อทำงานแล้ว

      - รู้จักพอประมาณในทุกๆเรื่องโดยเฉพาะเรื่องการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

      - ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล ไม่ใช่ตระหนี่ถี่เหนียว คือ สิ่งใดจำเป็นต้องซื้อก็ซื้อ สิ่งใดไม่จำเป็น เป็นสิ่งฟุ่มเฟื่อยเกินไป ก็ไม่ซื้อ

      - รู้จักแบ่งเงิน ประมาณการในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มีน้อยก็อย่าใช้เกินตัว ถึงมีเยอะก็ควรเก็บไว้ยามจำเป็น

      - รู้จักอดออม และอาจนำเงินไปฝากธนาคารเพื่อที่จะได้ดอกเบี้ยเป็นการต่อยอดเงินที่มีอยู่ 

      - อาจนำเงินออมไปลงทุนสร้างธุรกิจเพื่อต่อยอดเงินที่มีอยู่ ทั้งนี้ต้องศึกษาดีๆ และอยู่ในความไม่ประมาทและพอประมาณ

      - ไม่ประมาทถึงแม้จะมีเงินมากมายแค่ไหนก็ตาม เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตเราบ้าง 

      - ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ไม่โลภมากอยากได้ทุกสิ่ง

      - ห้ามใช้จ่ายเกินตัวจนเป็นหนี้เด็ดขาด ไม่หลงไปกับวัตถุสิ่งของต่างๆ

ฉันคิดว่าถ้าทุกคนทำได้แบบนี้ชีวิตเราคงมีสุขขึ้นไม่น้อย การมีความพอเพียงในชีวิตจะช่วยให้เราอยู่อย่างเป็นสุข โดยเฉพาะในโลกปัจจุบัน ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อใจมากมาย ก่อนจากกันฉันก็มีวีดิโอมาฝากอีกเรื่องหนึ่ง เป็นวีดิโอที่น่าสนใจมากๆอีกเหมือนกัน หวังว่าทุกคนจะได้อะไรดีๆจากมันไปบ้าง และเกิดแรงบันดาลใจในการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

//www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html

//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E  0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ