ข้อสอบ นาฏศิลป์ ม.5 ละคร ตะวันตก

จุดประสงค์การเรียนรู้....................................................................................................... ง

สาระการเรียนรู้................................................................................................................ ง

เล่มที่ 5 ละครตะวันตก
แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ละครตะวันตก..................................................................... 1

ใบความรู้ที่ 5.1 เรื่อง ละครตะวันตก................................................................................ 4

ใบงานที่ 5.1 เรื่อง ละครตะวันตก.................................................................................... 11
ใบความรู้ที่ 5.2 เรื่อง ละครสร้างสรรค์............................................................................. 13

ใบงานที่ 5.2 เรื่อง ละครสร้างสรรค์.................................................................................. 15

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ละครตะวันตก...................................................................... 17
บรรณานุกรม…………………………………………………………………….……………………………………… 20

สาระส าคัญ

ละครตะวันตก สามารถแบ่งได้ตามโครงเรื่อง ได้แก่ ประเภทโศกนาฏกรรม และประเภท

สุขนาฏกรรม
ละครสร้างสรรค์ (Creative Drama) เป็นรูปแบบการเล่นสมมติที่ได้ผ่านกระบวนการจัดเตรียม


ื่
ข้อมูลและวางแผนการเล่นให้เหมาะสมกับวัยและพฒนาการของผู้ร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี เพอให้ผู้ร่วม
กิจกรรมสามารถรับประโยชน์สูงสุดจากการเล่นโดยที่ยังรักษาไว้ซึ่งธรรมชาติ

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

สาระที่ 3 นาฏศิลป์

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ศ 3.1 เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์วิพากษ วิจารณ์

คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน

ตัวชี้วัด ศ 3.1 ม.4-6/1 มีทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบ
ศ 3.1 ม.4-6/2 สร้างสรรค์ละครสั้นในรูปแบบที่ชื่นชอบ

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ (K)

1. นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับประวัติละครตะวันตกได้

2. นักเรียนสามารถสรุปความรู้เกี่ยวกับละครสร้างสรรค์ได้

ด้านทักษะกระบวนการ (P)

ใช้ทักษะกระบวนการกลุ่ม

ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)

1. มีวินัย
2. ใฝุเรียนรู้

3. มุ่งมั่นในการทํางาน

สาระการเรียนรู้

1. ประวัติละครตะวันตก
2. ละครสร้างสรรค์

1

แบบทดสอบก่อนเรียน

เล่มที่ 5 ละครตะวันตก

ค าชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียวแล้วทําเครื่องหมายกากบาท ()
ลงในกระดาษคําตอบ ข้อสอบจํานวน 10 ข้อ ใช้เวลา 10 นาที (10 คะแนน)


1. ข้อใดคอ ละครตะวันตกยุคเริ่มต้น
ก. ละครศาสนา

ข. ละครอิตาลี
ค. ยุคกรีก

ง. ละครเพลง

2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Musical theatre
ก. เป็นรูปแบบของละครที่นําดนตรี เพลง คําพูด และการเต้นรํา รวมเข้าด้วยกัน

ข. เป็นละครขององกฤษในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา

ค. เป็นละครสัจจนิยม

ง. เป็นละครประเภทประเภทสุขนาฏกรรม

3. ละครอิตาลีเกิดขึ้นในยุคใด
ก. ยุคเริ่มต้น

ข. ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา

ค. ยุคกลาง
ง. ยุคปัจจุบัน

4. ละครในข้อใดไม่ใช่ละครประเภทสุขนาฏกรรม

ก. ละครตลกเสียดสี
ข. ละครตลกความคิด

ค. ละครตลกรักกระจุ๋มกระจิ๋ม
ง. ละคร Death of a Saleman (Arthur Miller)

2

5. ข้อใด คือ Black comedy

ก. ละครตลกสุขนาฏกรรม

ข. ละครตลกร้าย
ค. ละครตลกเสียดสี

ง. ละครตลกผู้ดี

6. ลักษณะการนําเสนอละครตะวันตกแบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ
ก. 2 ลักษณะ

ข. 3 ลักษณะ
ค. 4 ลักษณะ

ง. 5 ลักษณะ

7. ข้อใดคอ “Creative Drama”

ก. ละครศาสนา

ข. ละครแนวเอปิค
ค. ละครสร้างสรรค์

ง. ละครเพลง

8. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของการแสดงบทบาทสมมุติ
ก. การแสดงบทบาทสมมุติแบบเตรียมบทบาทแล้ว

ข. การแสดงบทบาทสมมุติโดยฉับพลัน

ค. การแสดงบทบาทสมมุติจากความเชื่อ
ง. การแสดงบทบาทสมมุติจากสถานการณ์ทกําหนดขึ้น
ี่
9. ข้อใดคอหัวใจสําคัญของละครโศกนาฏกรรม

ก. Tragic Greatness

ข. Involvement

ค. Tragic Flaw
ง. Catharsis

10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “Presentational style”
ก. เป็นการนําเสนอละครแบบไม่เหมือนจริง

ข. เป็นการนําเสนอละครแบบเหมือนจริง

ค. เป็นการแสดงบทบาทสมมติ
ง. เป็นการแสดงละครสร้างสรรค์

3

กระดาษค าตอบแบบทดสอบก่อนเรียน

เล่มที่ 5 ละครตะวันตก

ชื่อ...................................................เลขที่.............ชั้น...................

แบบทดสอบก่อนเรียน

ค าตอบ
ข้อ คะแนน
ก ข ค ง

1

2
3

4

5
6

7

8
9

10

คะแนนเต็ม 10 คะแนน

คะแนนที่ได้

ผ่าน  หมายถึง ได้คะแนน 8 คะแนน ขึ้นไป

ไม่ผ่าน  หมายถึง ได้คะแนนต่ํากว่า 8 คะแนน

4

ใบความรู้ที่ 5.1

เรื่อง ละครตะวันตก

1. ววัฒนาของละครตะวันตก

สัญลักษณ์ (symbolism)

- ละครแนวเอปิคหรือมหากาพย์ศิลปะการแสดงละคร เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์

และจินตนาการของมนุษย์นํามาผูกเป็นเรื่องและจัดเสนอในรูปแบบของการแสดง โดยมีนักแสดงเป็นผู้
สื่อความหมายและเรื่องราวต่อผู้ชม โดยรวมศิลปะหลายแขนงเข้าด้วยกัน เช่น การกํากับการแสดง

การออกแบบสร้างฉาก การออกแบบเครื่องแต่งกาย การออกแบบและ จัดแสง รวมไปถึงดนตรี การร่ายรํา
หรือการเต้นรํา

ละครตะวันตกยุคเริ่มต้น
- ยุคกรีก

- ยุคโรมัน

ละครตะวันตกในยุคกลาง
- ละครศาสนา

- ละครที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา
ละครตะวันตกในยุคฟื้นฟูวิทยา

- ละครอิตาลี

- ละครของอังกฤษในยุคฟื้นฟศิลปวิทยา

ละครตะวันตกยุคในยุคปัจจุบัน

- ละครเพลง
ละครเพลง (องกฤษ : Musical theatre) เป็นรูปแบบของละครที่นําดนตรี เพลง คําพด


และการเต้นรํา รวมเข้าด้วยกัน การแสดงอารมณ์ ความสงสาร ความรัก ความโกรธ รวมไปถึงเรื่องราว

ที่บอกเล่าผ่านละคร ผ่านคําพูด ดนตรี การเคลื่อนไหว เทคนิคต่าง ๆ ให้เกิดความบันเทิงโดยรวม ตั้งแต่
ต้นศตวรรษที่ 20 การแสดงละครเพลงบนเวทีจะเรียกว่าง่าย ๆ ว่า “มิวสิคัล (musicals)” ละครเพลง

มีการแสดงทั่วไปทั่วโลก อาจจะแสดงในงานใหญ่ ๆ ที่มีทุนสร้างสูงอย่าง เวสต์เอนด์ และละครบรอดเวย์

ในลอนดอนและนิวยอร์กซิตี หรือโรงละครฟรินจ์ที่เล็กลงมา, ออฟ- บรอดเวย์หรือ การแสดงท้องถิ่น,

5


ทัวร์ละครเพลง หรือการแสดงสมัครเล่นในโรงเรียน มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ในองกฤษและอเมริกาเหนือ
ละครเพลงมีความโดดเด่นในหลายประเทศในยุโรป ละตินอเมริกาและเอเชีย ละครเพลงที่มีชื่อเสียง เช่น

Show Boat, Oklahoma!, West Side Story, The Fantasticks, Hair, A Chorus Line, Les Misérables,
The Phantom of the Opera, Rent และ The Producers

- ละครสมัยใหม่

ละครสมัยใหม่ (Modern Drama) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ ละครสัจจนิยม (Realism)
และ ธรรมชาตินิยม (Naturalism) ทั้งสองแนวถือเป็นละครที่เกิดขึ้นมาต้านกระแส Romance และ

Melodrama จะเน้นความเป็น Realistic คือความสมจริง ซึ่งได้อทธิพลจาก สัทธิสัจจนิยม (Realism)

ซึ่งหลังๆ จะกลายเป็นลัทธิธรรมชาตินิยม (Naturalism) คือเน้นความเป็นธรรมชาติที่ไม่ต้องการแต่งเติม

อะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา หรือลักษณะการดําเนินชีวิต แต่สําหรับละครจะเน้น Realistic

นอกจากนี้ยังมีละครอีกหลายแนวที่ถือเป็นละครสมัยใหม่ ได้แก ่
- ละครต่อต้านสัจจนิยม (anti- realism)

- ละครแนว
- ละครแนวเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (expressionism)

- ละครแนวเอพพิค (epic)

- ละครแนวแอบเสิร์ด (absurd)

2. ประเภทของละครตะวันตก

ละครตะวันตก สามารถแบ่งได้ตามโครงเรื่อง ได้แก่ ประเภทโศกนาฏกรรม และประเภท
สุขนาฏกรรม

2.1 ละครประเภทโศกนาฏกรรม
ปัจจุบันนั้น ละครโศกนาฏกรรม (Tragedy) ได้มีการผันเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งทําให้เกิดลักษณะ

ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา อย่างไรก็ตาม นักการละครจะพอสรุป ลักษณะสําคัญที่ “เปลี่ยนไม่ได้” คือ

1. ละครโศกนาฏกรรมต้องแสดงให้เห็นความทุกข์ทรมานของชีวิตมนุษย์ (เช่น โลภ โกรธ
หลง ฯลฯ) และจมลงด้วยหายนะของตัวละครเอก ซึ่งหายนะดังกล่าวนั้น เป็นผลที่เกิดจากสิ่งที่ตัวละคร


ได้กระทําลงไป (ฉะนั้นการให้ตัวละครประสบอบัติเหตุแบบไม่มีที่มาที่ไป หรือเช่นฟาผ่าตายก็จะไม่ใช่

ลักษณะนี้)
2. ตัวละครเอกจะมีสิ่งที่เรียกว่า Tragic Greatness (ความยิ่งใหญ่) ควบคู่ไปกับ Tragic Flaw

(ความอ่อนแอ) กล่าวคือ
Tragic Greatness เป็นความยิ่งใหญ่ของตัวละคร เช่น ชาติกําเนิดหรือสถานะทางสังคม

หรือมีนิสัยเกินกว่าคนธรรมดาในอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีความกล้าหาญมาก มีคุณธรรมมาก ซึ่งจาก

ลักษณะดังกล่าวทําให้ตัวละครเอกของละครโศกนาฏกรรมมักจะไม่ใช่คนธรรมดาทั่วไปเนื่องจากจะต้อง

6

เป็นตัวอย่างของวีรบุรุษ (Hero)


Tragic Flaw คือจุดออนและข้อบกพร่องบางประการในนิสัยของตัวละครเอก อนนํามา

ซึ่งหายนะ เช่น ความหยิ่ง ขี้หึง โลภ ฯลฯ
3. ทุกฉากของละครโศกนาฏกรรมจะแสดงถึงความทุกข์ทรมานเพอให้ผู้ชมเกิดความรู้สึก
ื่
Pity and Fear (สงสารและหวาดกลัว) ซึ่งการจะเกิดความรู้สึกดังกล่าวได้นั้น ละครจะต้องทําให้ผู้ชม

มีความรู้สึกร่วมก่อน นั่น คือ Involvement เพื่อนําไปสู่ Identification
กระบวนการดังกล่าวพอจะสรุปเป็นขั้นๆ ได้คือ

- ผู้ชมดูละครแล้วเกิดความรู้สึกร่วม – Involvement
ื่
- เมื่อการแสดงดี ผนวกกับบทละครที่ยอดเยี่ยมและองค์ประกอบร่วมอนๆ คนดูจะแยกตัว
เองออกจากตัวละคร ไม่ได้เลยจนรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวละครไป (หรืออกนัยหนึ่งคือการ “ลืมตัวตน”) –

Identification
- เมื่อคนดูรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับตัวละคร ก็จะเกิดความรู้สึก Pity and Fear จากชะตากรรม

ที่ตัวละครกําลังประสบ
- จากหายนะที่ตัวละครประสบ คนดูซึ่งรู้สาเหตุของสิ่งต่างๆ รู้ที่มาของหายนะ ก็จะเข้าใจ

“สาเหตุแห่งทุกข์” – enlighten

4. ละครโศกนาฏกรรมจะนําผู้ชมไปสู่ Catharsis ซึ่งเป็นหัวใจสําคัญที่สุดของละครโศกนาฏกรรม
กล่าวคือหากดูละครจนจบแล้วไม่เกิด Catharsis นั้นจะถือเป็นการ สูญเปล่า โดย Catharsis นั้นคือ

การยกระดับจิตใจ ชําระจิตใจของผู้ชมให้บริสุทธิ์ (เช่นรู้ตัวว่าไม่ควรหูเบาแบบ Othello ไม่ทะเยอะทะยาน

แบบ Macbeth) ขณะ เดียวกันก็เป็นการให้ผู้ชมได้ระบายอารมณ์ที่คั่งค้างไว้ในใจหรือที่อยู่ในระดับจิต
ไร้สํานึกออกมา ซึ่งจะระบายไปกับความรู้สึกร่วมกับตัวละคร (Involvement)

ส่วนหนึ่งที่ความคิดเรื่อง Catharsis สําคัญมากกับละครโศกนาฏกรรมซึ่งกําเนิดจากชาวกรีก
ก็เพราะชาวกรีกนั้นเชื่อในเรื่องของชะตากรรม (Fate) ว่ามักดลบันดาล ให้มนุษย์เจอกับความทุกข์ทรมาน

ซึ่งมนุษย์ต้องยอมรับและปลงตกดั่งที่เห็นได้จากการชมละครว่าแม้ตัวละครจะมีความเก่งกาจยิ่งใหญ่

ขนาดไหน ก็ยังพบกับหายนะได้ ผู้ชมที่เป็นคนธรรมดาเองก็หนีกําธรรมชาตินี้ไม่ได้ เมื่อตระหนักได้เช่นนี้

แล้ว ผู้ชมก็จะชําระจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ ไม่เกิดกิเลสให้ไขว่คว้าหรือหาสิ่งที่นํามาซึ่ง ความทุกข์
นอกจากนี้แล้ว ผู้ชมที่ได้ดูละครโศกนากรรมนั้นจะรู้สึกได้ว่าการเป็นมนุษย์นั้นถือเป็นสิ่งที่ดี

เนื่องจากรู้ว่ามนุษย์มีความยิ่งใหญ่ในด้านต่างๆ (เช่นการไม่ยอมแพต่อ ชะตากรรมของตัวละครแม้จะต้อง
เจอหายนะเพยงใด) และก็จะเกิดความรู้สึกสูงส่งทางจิตใจ อยากพฒนาตัวเองให้เป็นดั่งตัวละครในด้าน


ของ Tragic Greatness

7

5. ละครโศกนาฏกรรมถือว่ามีคุณค่าสูงสุด กล่าวคือมีคณค่าทางวรรณศิลป์อย่างสูงสุด

(ลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมานั้นคือลักษณะเด่นของละครประเภทโศกนาฏกรรม ซึ่งเมื่อเข้าสู่

ยุคละครสมัยใหม่แล้ว ก็เริ่มมีการเขียนบทละครโศกนาฏกรรมโดยใชัตัวละครที่เป็นคนธรรมดาขึ้นมา
อย่างเช่นกรณีเรื่องของ Death of a Saleman (Arthur Miller) ซึ่งนําไปสู่การถกเถียงในเชิงวิชาการละคร

เกี่ยวกับขอบเขตของ โศกนาฏกรรม และการเกิด Tragedy of the common man โดยแม้ว่าตัวละคร

จะไม่ใช่ Tragic Hero แบบในสมัยละครกรีก แต่ด้วยเรื่องเองก็ยังเข้าข่ายลักษณะดัง กล่าวอยู่ดี)
2.2 ละครประเภทสุขนาฏกรรม


ละครสุขนาฏกรรม (Comedy) จะแสดงความบกพร่องของมนุษย์ ที่ไม่ใช่ความพการ แต่จะเป็น
ความผิดพลาดที่เป็นอุปสรรคที่ทําให้ชีวิตยุ่งยากมากขึ้น แต่จะนําเสนอแบบไม่จริงจัง เหมือน Tragedy

แสดงให้เห็นถึงความไร้สาระของมนุษย์ และมักสะท้อนให้ผู้ชมเห็นชีวิตตัวเองอย่างขบขัน และต่างจาก

Tragedy ตรงที่ตัวเอกจะได้สิ่งที่สูญเสียคืนมา หรือได้ในสิ่ง ที่ตามหา ชนะอปสรรคทุกอย่าง ทําให้สังคม

และโลกเจริญขึ้น จบแบบ happy ending ละครสุขนาฏกรรมมีหลายชนิด เช่น

1. ละครตลกสุขนาฏกรรม (Romantic comedy) เช่น ตกกระไดหัวใจพลอยโจร
2. ละครตลกสถานการณ (Sit- com หรือ Situation- comedy) พวกตลกสถานการณ์

3. ละครตลกโครมคราม Slapstick comedy พวกตลกที่เล่นกับความเจ็บปวดของร่างกาย

พวกตลกคาเฟ ุ
4. ละครตลกร้าย (Black comedy) พวกตลกร้าย เช่น ตลก69 หรืออย่าง Death becomes

hers อย่างที่ตอนที่นางเอกถูกยิงท้องโหว่ แต่ยัง เดินได้

5. ละครตลกผู้ดี (Comedy of Manner or High comedy) คือการเอาลักษณะท่าทาง
ของพวกผู้ดีมาล้อเลียน

6. ละครตลกเสียดสี (Satiric comedy)
7. ละครตลกความคิด (Comedy of ideas)

8. ละครตลกรักกระจุ๋มกระจิ๋ม (Sentimental comedy)

9. ละครตลกโปกฮา (Farce) พวกตลกตีหัว มักจะเป็นตลกที่เอะอะ ตึงตัง ตลกท่าทาง
เน้นความเจ็บปวด ความพิกลพิการเช่น ระเบิดเถิดเทิง สามเกลอหัวแข็ง (บางตําราแยกเป็นคนละพวก

กับ Comedy
10. ละครตลกเศร้าเคล้าน้ําตา (บางคนเอาไปรวมกับพวกหนังรัก)

8

3. ลักษณะการน าเสนอละครตะวันตก

ลักษณะการน าเสนอละครตะวันตก

ื่

หมายถึงการสื่อสารสถานการณ์ต่างๆของละครไปยังผู้ชมเพอให้ตรงกับเปูาหมายที่ผู้ประพนธ์
บทละครกําหนดไว้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ลักษณะ
1. การนําเสนอละครแบบไม่เหมือนจริง (Presentational style)

การนําเสนอแบบไม่เหมือนจริงถือเป็นการเสนอละครที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ชมทราบว่าเป็น
การเสดงไม่ใช่ชีวิตจริง ดังนั้น การจัดฉากละครจึงสร้างสรรค์ให้ดูสวยงาม หรูหรา ตระการตา เครื่องแต่งกาย

ของตัวละครจะหรูหรา ระยิบระยับพรั่งพร้อมไปด้วยเครื่องประดับ

ภาษาที่ตัวละครพด จะเป็นลักษณะโครงฉันท์ กาพย์ กลอน ใช้อปกรณ์ตกแต่งฉากและ


อปกรณ์ประกอบการแสดง เช่น หน้ากาก เพอเป็นเครื่องเตือนให้ผู้ชมทราบว่า กําลังดูละครที่แสดงบนเวที
ื่

ซึ่งเป็นการนําเสนอละครของนาฏศิลป์เกือบทุกประเทศ เช่น งิ้วของจีน กถักลิฬิของอนเดีย และโขน
ของไทยเป็นต้น

การนําเสนอละครแบบไม่เหมือนจริงเป็นแนวการแสดงที่มาจากปรัชญา จิตนิยม ผู้ชมต้อง
ใช้จินตนาการอย่างสูงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทวาตํานานที่มีความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์มีพลังสร้างความประทับใจ

แก่ผู้ชม จนกลายเป็นพิธีกรรมทางศาสนา การนําเสนอละครแบบไม่เหมือนจริงนี้ มีทั้งประเภทสุขนาฏกรรม

และโศกนาฏกรรม เช่น ละครสุขนาฏกรรมของกรีกโบราณ ที่เรียกว่า ละครซาตีร์ (satry)
ทั้งนี้ละครแบบไม่เหมือนจริง ประเภทโศกนาฏกรรม เช่น เรื่องกษัตริย์อดิปุส (King Oedipus)

บทประพันธ์ของโซโฟคลิสเป็นละครโศกนาฏกรรมของกรีก อาศัยเค้าโครงเรื่องจากเทวตํานาน กล่าวถึง

อิดิปุสโอรสขอกษัตริย์แห่งนครธิบิสเมื่อแรกเกิดมีคําทํานายว่าเขาจะฆ่าบิดาและแต่งงานกับมารดาจึงถูก

ื่
นําไปทิ้งไว้บนยอดเขา เพอให้ตายแต่อดิปุสได้รับความช่วยเหลือจากษัตริย์แห่งนครโครินธ์ เลี้ยงดูเป็น

บุตรบุญธรรมเมื่ออดิปุสโตขึ้นและรู้เรื่องคําทํานายจึงหนีออกจากนครโครินธ์เพราะไม่รู้ว่าตนเป็นบุตร

บุญธรรม ทั้งนี้เขาตั้งใจหนีให้พนจากคําทํานายระหว่างทางเขาได้พบกับชายแปลกหน้าเกิดถกเถียงและ
ขันแย้งกันอย่างรุนแรงเขาจึงฆ่าชายผู้นั้นตาย โดยมิได้เฉลียวใจว่าชายผู้นั้นคือบิดาต่อมาเขาได้เป็นกษตริย์



ของธิบิส และแต่งงานกับโจคาสต้าผู้ซึ่งเป็นมารดาของเขา เมื่อธิบิสเกิดภัยพบัติ อดิปุสจึงสั่งให้หาสาเหตุ
และเมื่อรู้ความจริงทั้งหมดเขาจึงยอมรับชะตากรรม โดยการควักลูกตาตนเอง เป็นต้น
2. การนําเสนอละครแบบเหมือนจริง (Representational style) เป็นการนําเสนอการแสดง

ละครที่มุ่งแสดงซึ่งสภาพชีวิตจริงไม่เพอฝัน ตัวละครต้องเป็นคนจริงๆ มิใช่ตัวละครที่มีปาฏิหาริย์เหาะเหิน
เดินอากาศได้ หรือมีอาวุธวิเศษที่จะทํารายล้างผู้ต่อสู้มีอานาจใจการสาปแช่ง ภาพที่ปรากฏบนเวที สถานที่

เครื่องตกแต่งฉาก อปกรณ์การแสดงต้องเป็นภาพที่ปรากฏในชีวิตจริงการนําเสนอแบบเหมือนจริงนี้

เกิดขึ้นเมื่อวิทยาศาสตร์เจริญรุ่งเรืองแพร่หลายทําให้มีอทธิพลต่อแนวคิดของมนุษย์ที่ต้องการของจริง

มีเหตุพิสูจน์ได้ ไม่หลงงมงายจากภาพลวงตาที่เกิดขึ้นในการแสดงละครเหมือนในอดีต การนําเสนอละคร

แบบเหมือนจริงมีทั้งประเภทสุขนาฏกรรมและโศกนาฏกรรม

9

ละครแบบเหมือนจริงประเภทสุขนาฏกรรม เช่นเรื่อง “สุภาพสตรีหนึ่งผู้ร้ายสอง” (Two

crook and a lady) ละครนี้เป็นละครที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง เพราะดําเนินเรื่องน่าตื่นเต้นด้วยความฉลาด

ของหญิงชราที่อมพาต สามารถเอาชนะผู้ร้ายสองคนได้ ละครแบบเหมือนจริงประเภทโศกนาฏกรรม

เช่นเรื่อง “อวสานของเซลมอน”(Death of Salesman) เป็นละครที่มีชื่อเสียงมากของอาเธอร์มิเลอร์

เป็นการแสดง ครั้งแรกในปี ค.ศ.1949 ที่โรงละครบรอดเวย์ เมื่อจบการแสดงผู้ชมลุกขึ้นยืนปรบมือให้กับ

ผู้ชมอย่างสนั่น เป็นละครที่สะเทือนอารมณ์ของชาวอเมริกันเพราะเป็นเรื่องที่แสดงภาพชีวิตความฝัน
ความหวังและความผิดหวังอย่างใกล้เคียงกับชีวิตจริงที่สุด

เรื่องย่อ อวสานของเซลแมน
วิลี่ โลแมน กลับมาถึงบ้านอย่างสิ้นเรี่ยวแรงหลังจากการยกเลิกไปทํางานที่รินดาภรรยา

ของเขากังวลเรื่องสภาพจิตใจและการที่วิลลี่มีอบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อเร็วๆ นี้ เธอแนะนําให้เขาขอร้อง

ื่
ฮาวเวิร์ด วากเกอร์ เจ้านายของเขาว่า ขอให้ได้ทํางานอยู่ได้เฉพาะเดือนนี้ เพอที่เขาจะได้ไม่ต้องขับรถ
ไกลอีก วิลลี่บ่นกับรินดา เรื่อง บิฟฟ์ลูกชาย ที่ชีวิตการงานไม่ไปถึงไหนเลย บิฟฟไม่เคยเข้าเรียนมหาวิทยาลัย


เพราะสอบตกคณิตศาสตร์ ทั้งๆ ที่เขาเป็นดาวกีฬาในระดับมัธยมปลายที่มีอนาคตที่สดใส บิฟฟกับน้องชาย
ชื่อแฮปปี้ ซึ่งอยู่ระหว่างกลับมาเยี่ยมบ้านเหมือนกับกําลังคุยเรื่องความหลังในวัยเด็กอยู่ เขาคุยเรื่องอาการ



ทางจิตที่ย่ําแย่ของพอ ซึ่งทั้งสองเจออารมณ์ที่แปรปรวนและการที่พอพดคนเดียวประจํา เมื่อวินลี่เดินเข้ามา

รู้สึกโมโหลูกทั้งสองคนที่ไม่ประสบความสําเร็จอะไรเป็นชิ้นเป็นอน เพอที่จะตามใจพอ บิฟฟกับแฮปปี้

ื่


บอกกับวิลลี่ว่า บิฟฟกําลังจะไปหางานทางธุรกิจในวันรุ่งขึ้น วันต่อมาที่ทํางานของวิลลี่โมโหและเกรี้ยวกราด

ทวงบุญคุณกับฮาวเวิร์ดเจ้านายที่ไม่ยอมตกลงให้ได้ทํางานตามที่ขอ ฮาวเวิร์ดจึงไล่วิลลี่ออกโดยให้เหตุผลว่า

ไม่สามารถเป็นตัวแทนของบริษัทได้ และควรเกษียณไปพักผ่อนได้ ขณะเดียวกันที่บิฟฟไม่ได้งานทางธุรกิจ
หลังจากที่ได้พบกับเจ้านายเก่าของเขาหลังจากที่รอเป็นชั่วโมงๆ อดีตเจ้านายเก่าจําเขาไม่ได้ด้วยซ้ําไป
ื่

หลังจากนั้นวิลลี่ไปที่ที่ทํางานของชาร์ลีเพอนบ้านบังเอญเข้าเจอกับเบอร์นาร์ดลูกชายของ

ชาร์ลี (ซึ่งตอนนั้นเป็นนักกฎหมายที่ประสบผลสําเร็จ) เบอร์นาร์ด บอกกับเขาว่าตอนแรกบิฟฟต้องการ
ไปเรียนซ่อมที่โรงเรียนกวดวิชา แต่ไม่รู้เกิดอะไรขึ้นที่บอสตันตอนที่บิฟฟแวะไปหาวิลลี่ทําให้บิฟฟเปลี่ยนใจ



แฮปปี้ บิฟฟ์และวิลลี่ นัดทานอาหารค่ํากันที่ภัตตาคาร วิลลี่ไม่อยากไปฟงข่าวร้านจากบิฟฟ แฮปปี้พยายาม

ให้บิฟฟ์โกหกพ่อแต่เขาพยายามบอกพ่อว่าที่จริงเกิดอะไรขึ้น แต่ในขณะที่วิลลี่กําลังโกรธและตกอยู่ในภวังค์

ของเขา สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตที่บอสตันที่บิฟฟไปหาเขา บิฟฟพบพออยู่ในโรงแรมกับผู้หญิงคนหนึ่ง บิฟฟ ์


เสียความรู้สึกและมองพ่อเปลี่ยนไป บิฟฟออกจากภัตตาคารไปอย่างกลัดกลุ้มใจ แฮปปี้ตามไปกับผู้หญิง

สองคนที่แฮปปี้นํามาด้วย พวกเขาทิ้งวิลลี่ให้สับสน หัวเสียไว้ในภัตตาคาร เมื่อทั้งสองคนกลับไปที่บ้าน
แม่โมโหมากที่ทั้งสองทิ้งพ่อไว้ลําพังที่ภัตตาคาร

10



ื่
ในขณะนั้น วิลลี่กําลังพดคนเดียวอยู่นอกบ้าน บิฟฟตามออกไปข้างนอกเพอจะทําความเข้าใจ
กับพอ แค่แปฺปเดียวก็ลามไปทะเลาะกันเรื่องอนๆ จนถึงจุดหนึ่งที่บิฟฟพยายามที่จะบอกพอว่าเขาไม่



ื่


อยากประสพความสําเร็จที่ยิ่งใหญ่อะไร เขาทั้งสองอยากเป็นคนธรรมดาๆ บิฟฟกอดพอและร้องไห้


ี่
ขณะที่เขาพยายามบอกให้พอเลิกยึดติดกับความฝันที่ไม่สอดคล้องกบความจริงเกยวกับลูกชายและอยาก





ให้พอยอมรับตัวลูกตามที่เขาเป็นอยู่จริงๆ บิฟฟบอกพอว่าเขารักพอ แทนที่จะฟงความจริง ที่บิฟฟพด


ออกมา วิลลี่กลับเข้าใจว่าลูกชายได้ให้อภัยเขาแล้วและคิดว่าบิฟฟจะสานฝันการเป็นนักธุรกิจให้เป็นจริง


วิลลี่ตังใจฆ่าตัวตายให้เป็นลักษณะการเกิดอบัติเหตุทางรถยนต์เพอบิฟฟจะได้เงินจากประกันชีวิตไปเริ่ม

ื่
ธุรกิจของตัวเอง อย่างไรก็ตามในงานศพบิฟฟยืนยันความตั้งใจที่จะไม่เป็นนักธุรกิจ ตรงข้ามกับแฮปปี้ที่

จะเลือกเดินตามรอยพ่อ

ที่มา : https://sites.google.com/site/nadsilpm51/home/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-2-lakhr-
tawan-tk

11

ใบงานที่ 5.1

เรื่อง ละครตะวันตก

ชื่อ - สกุล ........................................................................................... เลขที่ ............... ชั้น............