ตัวอย่าง แผนปฏิบัติการขยายอาชีพ

เป็นกระบวนการวางแผน แบะการกำหนดทิศทางการทำงานกับเป้าหมายในชีวิตของบุคคล ซึ่งการพัฒนานั้นหมายถึงการติบโตอย่างต่อเนื่อง การได้รับทักษะ การได้รับโอกาสจากการจัดสรรค์ตำแหน่งขององค์การ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของพนักงาน โดยผ่านชุดขั้นตอนที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งกิจกรรมการพัฒนาแต่ละขั้นตอนจะมีความสัมพันธ์กับภาระหน้าที่,อายุของการทำงาน

      การพัฒนาอาชีพ (Career Development) เป็นกระบวนการวางแผน แบะการกำหนดทิศทางการทำงานกับเป้าหมายในชีวิตของบุคคล ซึ่งการพัฒนานั้นหมายถึงการติบโตอย่างต่อเนื่อง การได้รับทักษะ การได้รับโอกาสจากการจัดสรรค์ตำแหน่งขององค์การ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของพนักงาน โดยผ่านชุดขั้นตอนที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งกิจกรรมการพัฒนาแต่ละขั้นตอนจะมีความสัมพันธ์กับภาระหน้าที่,อายุของการทำงาน

          ด้านเศรษฐกิจ มีการพัฒนาสินค้าให้สามารถให้สามารถเข้าสู่ตลาดการแข่งขัน และเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ

          ด้านสังคม ประเทศที่มีเศรษฐกิจดีจะส่งผลให้สภาพของสังคมดีขึ้น ด้านการศึกษา ครอบครัวที่มีเศรษฐกิจดีจะสามารถมุ่งส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาได้ตามความต้องการการพัฒนาอาชีพจึงมีความจำเป็นในการพัฒนากระบวนการผลิต และ กระบวนการตลาดโดยการนำภูมิปัญญานวัตกรรม / เทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้

          กระบวนการผลิต เป็นการบริหารจัดการด้านทุน แรงงาน ที่ดินหรือสถานที่ให้เกิดผลผลิต ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

          กระบวนการตลาด เป็นการบริหารจัดการด้านการตลาด เริ่มตั้งแต่การศึกษาความต้องการของลูกค้า การกำหนดเป้าหมาย การทำแผนการตลาด การส่งเสริมการขาย การกำหนดราคาขาย การขาย การส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า เพื่อนำข้อมูลมาใช้พัฒนาอาชีพ

                                                   

          ภูมิปัญญา หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความชาญฉลาด อันเกิดจากพื้นความรู้ที่ผ่านกระบวนการสืบทอด ปรับปรุง พัฒนา สะสมมาเป็นเวลานานอย่างเหมาะสม

ตัวอย่าง แผนปฏิบัติการขยายอาชีพ

 อ้างอิง http://is.udru.ac.th/local-scholars/


          นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ หรือเป็นการพัฒนา มาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว

ตัวอย่าง แผนปฏิบัติการขยายอาชีพ

อ้างอิงhttp://drdancando.com/


          เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ต้องพิจารณาประสิทธิภาพของนวัตกรรม / เทคโนโลยี ดูจากองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ
          1. ความสามารถในการทำงาน
          2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
          3. ทำงานได้รวดเร็ว
          4. ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม



เรื่องที่ ๒

วิชา ช่องทางการขยายอาชีพ รหัสวิชา อช ๓๑๐๐๑ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

การกำหนดวิธีการขั้นตอนการขยายอาชีพและเหตุผลของการขยายอาชีพ


          เป็นขั้นตอนการปฏิบัติการในอาชีพที่จะต้องใช้องค์ความรู้ที่ยกระดับคุณค่า เพื่อมาใช้ปฏิบัติการจึงเป็นกระบวนการของการทำงานที่เริ่มจากการนำองค์ความรู้ที่จัดทำในรูปของคู่มือคุณภาพหรือเอกสารคู่มือดำเนินงานมาศึกษาวิเคราะห์จัดระบบปฏิบัติการ จัดปัจจัยนำเข้าดำเนินการทำงานตามขั้นตอนและการควบคุมผลผลิตให้มีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนด ดำเนินการตรวจสอบหาข้อบกพร่องในการทำงาน ปฏิบัติแก้ไขข้อบกพร่องเป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงพัฒนาเอกสารคู่มือดำเนินงานไปเป็นระยะ ๆ ก็จะทำให้การปฏิบัติการในกิจกรรมอาชีพประสบความสำเร็จสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืน ตามกรอบความคิดนี้

          1. การปฏิบัติการใช้ความรู้ โดยใช้วงจรเด็มมิ่ง เป็นกรอบการทำงาน

- P - Plan ด้วยการทำเอกสารคู่มือดำเนินงาน (ซึ่งได้มาจากกิจกรรมยกระดับความรู้มาศึกษา

วิเคราะห์จัดระบบปฏิบัติการที่ประกอบด้วยกิจกรรมขั้นตอน และผู้รับผิดชอบกำหนดระยะเวลาการทำงาน

กำหนดปัจจัยนำเข้าดำเนินงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- D - Do การปฏิบัติการทำงานตามระบบงานที่จัดไว้อย่างเคร่งครัด ควบคุมการผลิตให้เสียหาย

น้อยที่สุด ได้ผลผลิตออกมามีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนด

- C - Check การตรวจสอบหาข้อบกพร่องในการทำงานโดยผู้ปฏิบัติการหาเหตุผลของการเกิด

ข้อบกพร่องและจดบันทึก

- A - Action การนำข้อบกพร่องที่ตรวจพบของคณะผู้ปฏิบัติการมาร่วมกันเรียนรู้หาแนวทางแก้ไข

ข้อบกพร่อง จนสรุปได้ผลแล้วนำข้อมูลไปปรับปรุงเอกสารคู่มือดำเนินงานเป็นระยะ ๆ ก็จะทำให้องค์ความรู้

สูงขึ้นโดยลำดับ แล้วส่งผลต่อประสิทธิภาพของธุรกิจ ประสบผลสำเร็จนำไปสู่ความเข้มแข็งยั่งยืน

          2. ทุนทางปัญญา ผลจากการนำองค์ความรู้ไปใช้ มีการตรวจสอบหาข้อบกพร่อง และปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องที่ผลทำให้องค์ความรู้สูงขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นทุนทางปัญญาของตนเอง หรือของชุมชนที่จะเกิดผลต่อธุรกิจ ดังนี้

องค์ความรู้สามารถใช้สร้างผลผลิตที่คนอื่นไม่สามารถเทียบเคียงได้ และไม่สามารถทำตามได้

จึงได้เปรียบทางการแข่งขัน

การเปลี่ยนแปลงยกระดับคุณภาพผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่น ภักดีต่อการทำธุรกิจ

ร่วมกัน

เป็นการสร้างทุนทางมนุษย์ผู้ร่วมงานได้เรียนรู้บริหารระบบธุรกิจด้วยตนเอง สามารถเกิด

ภูมิปัญญาในตัวบุคคล ทำให้ชุมชนพร้อมขยายขอบข่ายอาชีพออกสู่ความเป็นสากล

          3. ธุรกิจสู่ความเข้มแข็งยั่งยืน การจัดการความรู้ทำให้องค์ความรู้สูงขึ้นโดยลำดับ การขยายของอาชีพจึงเป็นการทำงานที่มีภูมิคุ้มกัน โอกาสของความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ต่ำลง ดังนั้น ความน่าจะเป็นในการขยายอาชีพจึงประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง เพราะมีการจัดการความรู้ ยกระดับความรู้นำไปใช้และปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลทำให้ธุรกิจเข้มแข็ง ยั่งยืนได้ เพราะรู้จักและเข้าใจตนเองตลอดเวลา

          การจัดทำแผนปฏิบัติการ (P)

          การจัดทำแผนปฏิบัติการทางอาชีพ เป็นการดำเนินการที่มีองค์ประกอบร่วม ดังนี้

              1.   เหตุการณ์หรือขั้นตอนการทำงาน ซึ่งจะบอกว่าเหตุการณ์ใดควรทำพร้อมกัน หรือควรทำทีหลังเป็นการลำดับขั้นตอนในแต่ละกิจกรรมให้เป็นแผนการทำงาน

          2. ระยะเวลาที่กำหนดว่าในแต่ละเหตุการณ์จะใช้เวลาได้ไม่เกินเท่าไร เพื่อออกแบบการใช้ปัจจัยดำเนินงานให้สัมพันธ์กัน

          3. ปัจจัยนำเข้าและแรงงาน เป็นการระบุปัจจัยนำเข้าและแรงงานในแต่ละเหตุการณ์ว่าควรใช้เท่าไรการจัดทำแผนปฏิบัติการทางอาชีพ มักจะนิยมใช้ผังการไหลของงานมาใช้ออกแบบการทำงานให้

มองเห็นความสัมพันธ์ร่วมระหว่างเหตุการณ์ ระยะเวลา ปัจจัยนำเข้าและแรงงานจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้จัดการได้ขับเคลื่อนการทำงานสู่ความสำเร็จได้ ดังนั้น ในการออกแบบแผนปฏิบัติงาน จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ที่สรุปได้ในรูปของเอกสารขั้นตอนการทำงานมาคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ให้เกิดแผนปฏิบัติการ

          ตัวอย่าง วิธีดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพดินไร่ทนเหนื่อย

          1. ศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพดิน มีกิจกรรมที่จะต้องทำ กิจกรรม ประกอบด้วย

                     1. การตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุที่จะต้องทำ และเกี่ยวข้อง ดังนี้

                           เก็บตัวอย่างดิน

                           ส่งตัวอย่างดินให้กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตรวิเคราะห์

                           รอผลการวิเคราะห์

                           ศึกษาผลวิเคราะห์วางแผนตัดสินใจกำหนดพืชที่ต้องผลิต

                    2. การไถพรวนหน้าดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องทำและเกี่ยวข้อง ดังนี้

                           ไถบุกเบิกด้วยผาน 3 ระยะ

                           ไถแปรด้วยผาน 7 ระยะ

                           ไถพรวนให้ดินละเอียดด้วยโรตารี่

                    3. การเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องทำ และเกี่ยวข้อง ดังนี้

                           การหว่านปุ๋ยหมัก

                           หว่านเมล็ดปุ๋ยพืชสด

                           บำรุงรักษาปุ๋ยพืชสดและวัชพืชให้งอกงาม

                           ไถพรวนสับปุ๋ยพืชสดให้ขาดคลุกลงดิน

                   4. การหมักสังเคราะห์ดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องทำและเกี่ยวข้อง ดังนี้

                          ให้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลาย

                          ตรวจสอบการย่อยสลาย

                   5. การสร้างประสิทธิภาพดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องทำและเกี่ยวข้อง ดังนี้

                         ใส่จุลินทรีย์ไมโครโลซ่า เพื่อย่อยหินฟอสเฟต สร้างฟอสฟอรัสให้กับดิน

                         จัดร่องคลุมหน้าดินด้วยฟางข้าวเพื่อป้องกันความร้อน รักษาความชื้นและการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารในดิน

          2. วิเคราะห์ปริมาณงาน ลักษณะงาน กำหนดการใช้เครื่องจักรกล ปัจจัยการทำงานและแรงงาน

          3. วิเคราะห์งานกำหนดระยะเวลาของความสำเร็จของแต่ละเหตุการณ์ และสรุประยะเวลาทั้งหมดของกระบวนการ

ตัวอย่าง แผนปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพดิน “ไร่ทนเหนื่อย

    1. ผังการไหลของงานพัฒนาดิน 

    2. กิจกรรมพัฒนาดินประกอบด้วย

      1. การวิเคราะห์คุณภาพดิน

      2. การไถพรวนหน้าดิน

      3. การเพิ่มอินทรีย์วัตถุ

      4. การหมักสังเคราะห์ดิน

      5. การสร้างประสิทธิภาพดิน

   3. รายละเอียดปฏิบัติการ

       3.1 การวิเคราะห์คุณภาพดินประกอบด้วยระยะเวลาและการใช้ทรัพยากรดำเนินงาน ดังนี้

            (1) การเก็บตัวอย่างดินกระจายจุดเก็บดินทั้งแปลง (150 ไร่ให้ครอบคลุมประมาณ 20 หลุมเก็บดินชั้นบนและชั้นล่างอย่างละ 200 กรัมต่อหลุม รวบรวมดินแต่ละชั้นมาบดให้เข้ากัน แล้วแบ่งออกมาอย่างละ 1,000 กรัม บรรจุหีบห่อให้มิดชิดไม่รั่วไหล ใช้เวลา 5 วัน

            (2) จัดการนำตัวอย่างดินส่งกองเกษตรเคมีด้วยตนเอง รอผลการวิเคราะห์จากกองเกษตรเคมีใช้เวลา 30 วัน

            (3) ศึกษาผลการวิเคราะห์วางแผนการผลิต ใช้เวลา 50 วัน

      3.2 การไถพรวนหน้าดินประกอบด้วยระยะเวลา และการใช้ทรัพยากรดำเนินงาน ดังนี้

            (1) ไถบุกเบิกด้วยการจ้างรถติดนานมา 3 จานไถบุกเบิกครั้งแรก ใช้เวลาไม่เกิน 5 วัน

            (2) ไถแปรเพื่อย่อยดินให้แตกด้วยรถไถติดผาน 7 จาน ไถตัดแนวไถบุกเบิก ใช้เวลา 5 วัน

            (3) ตีพรวนย่อยดินด้วยโรตารี่ เพื่อย่อยดินให้มีขนาดก้อนเล็ก สอดคล้องกับสภาพการงอก

ของเมล็ดพืช ใช้เวลาไม่เกิน 5 วัน

     3.3 การเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินประกอบด้วยระยะเวลาและการใช้ทรัพยากรดำเนินงานดังนี้

           (1) หว่านปุ๋ยหมัก 150 ตัน บนพื้นที่ 150 ไร่ ใช้เวลาไม่เกิน 5 วัน ใช้คนงาน 3 คน และใช้

รถแทรกเตอร์พ่วงรถบรรทุกปุ๋ยหมักกระจาย 150 จุด แล้วใช้คนงานกระจายปุ๋ยให้ทั่วแปลง

           (2) หว่านเมล็ดปุ๋ยพืชสดคลุกเคล้าจุลินทรีย์ไรโซเดียม ไร่ละ 20 กกบนพื้นที่ 150 ไร่ ใช้

เวลาไม่เกิน 5 วัน ใช้คนงาน 2 คน

           (3) บำรุงรักษาปุ๋ยพืชสดและวัชพืชให้งอกงาม ด้วยการใช้น้ำผสมจุลินทรีย์อย่างเจือจาง

วันเว้นวัน ใช้คนงาน 1 คน

          (4) ไถพรวนสับปุ๋ยพืชสดคลุกเคล้าลงดินด้วยโรตารี่

    3.4 การหมักสังเคราะห์ดินประกอบด้วย

          (1) ให้จุลินทรีย์ เร่งการย่อยสลาย (พด1+พด 2) ไปพร้อมกับน้ำวันเว้นวัน ใช้คนงาน 1 คน

ตรวจสอบการย่อยสลายในช่วงตอนเช้า 07.00 พร้อมวัดอุณหภูมิและจดบันทึกทุกวัน โดยความน่าจะเป็นในวันที่ 15 ของการหมัก อุณหภูมิต้องลดลงเท่ากับอุณหภูมิปกติใช้ผู้จัดการแปลงดำเนินการ

    3.5 การสร้างประสิทธิภาพดินประกอบด้วย

         (1) ใช้จุลินทรีย์ไมโครโลซ่า เพื่อการย่อยสลายของฟอสฟอรัสคลุกลงดิน โดยตีพรวน

ด้วยโรตารี่ จัดร่องปลูกผักตามแผนคลุมหน้าดินด้วยฟางข้าว

         (2) ใช้แรงงาน 20 คน ดินมีคุณภาพพร้อมการเพาะปลูก

การทำงานตามแบบแผนปฏิบัติการ (D)

การทำงานตามแผนปฏิบัติการของผู้รับผิดชอบ ยังใช้วงจรเด็มมิ่ง เช่นเดียวกันโดยเริ่มจาก

P : ศึกษาเอกสารแผนปฏิบัติการให้เข้าใจอย่างรอบคอบ

D : ทำตามเอกสารขั้นตอนให้เป็นไปตามข้อกำหนดทุกประการ

C : ขณะปฏิบัติการต้องมีการตรวจสอบทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามข้อกำหนด

A : ถ้ามีการทำผิดข้อกำหนด ต้องปฏิบัติการแก้ไขให้เป็นไปตามข้อกำหนด

การตรวจสอบหาข้อบกพร่อง (C)

เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการปฏิบัติการใช้ความรู้ สร้างความเข้มแข็ง ยั่งยืน โดยมีรูปแบบการตรวจ

ติดตามข้อบกพร่องดังนี้

1. การจัดทำรายการตรวจสอบ

ด้วยการให้ผู้จัดการและคนงานร่วมกันวิเคราะห์เอกสารแผนปฏิบัติการ และทบทวนร่วมกับประสบการณ์

ที่ใช้แผนทำงาน ว่าควรมีเหตุการณ์ใดบ้างที่ควรจะให้ความสำคัญเพื่อการตรวจสอบแล้วจัดทำเอกสารรายการตรวจดังตัวอย่างนี้

ตัวอย่าง เอกสารรายการตรวจและบันทึกข้อบกพร่อง

กิจกรรม พัฒนาคุณภาพดินไร่ทนเหนื่อย สำหรับปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 30 มกราคม 2552

รายละเอียดปฏิบัติการณ์

3.3(2) = หว่านเมล็ดปุ๋ยพืชสดแล้ว คลุกเคล้าจุลินทรีย์ไรโซเปี้ยมไร่ละ 20 กก.

3.3(3) = ให้น้ำผสมจุลินทรีย์อย่างเจือจางกับปุ๋ยพืชสดวันเว้นวัน

3.4(1) = ให้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลาย (พด1 + พด2) ไปพร้อมกับน้ำวันเว้นวันเป็นเวลา 15 วัน

3.5(1) = ใช้จุลินทรีย์ไมโครโลซ่าเพื่อย่อยสลายหินฟอสเฟรส คลุกลงดินที่ย่อยสลายแล้ว

3.5(2) = จัดร่องปลูกผักคลุมหน้าดินด้วยฟางข้าว

2. ปฏิบัติการตรวจสอบ

การปฏิบัติการตรวจสอบทำ 2 ขั้นตอน คือ

2.1 ตรวจสอบหาข้อบกพร่องของเอกสารแผนปฏิบัติการ เป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง

ผู้จัดการกับคนงานว่าการที่คนงานได้ปฏิบัติการศึกษาเอกสารแผนและปฏิบัติตามกิจกรรมในทุกเหตุการณ์ได้ครบคิดว่ากิจกรรมเหตุการณ์ใด มีข้อบกพร่องที่ควรจะได้แก้ไข

2.2 ตรวจสอบภาคสนาม เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้จัดการกับคนงาน เพื่อตรวจหาข้อบกพร่อง

ในการดำเนินงาน ร่วมกันคิดวิเคราะห์ระบุสภาพที่เป็นปัญหา และแนวทางแก้ปัญหา

กิจกรรม : ตัวอย่าง เอกสารบันทึกข้อบกพร่องการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพดินไร่ทนเหนื่อย ปฏิบัติการระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 30 มกราคม 2552

 3. การประเมินสรุปและเขียนรายงานผล

เป็นขั้นตอนการนำผลการตรวจติดตามตลอดรอบผลการผลิตเกษตรอินทรีย์ไปประเมินความรุนแรง

ของข้อบกพร่องว่าเกิดผลมาจากอะไรเป็นส่วนใหญ่ แล้วดำเนินการปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องทั้งองค์ความรู้และปัจจัยนำเข้าดำเนินงาน ดังตัวอย่าง

การปฏิบัติการแก้ไขและพัฒนา (A)

เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมการตรวจสอบหาข้อบกพร่อง และกำหนดแนวทางแก้ไข

ข้อบกพร่องโดยมีกำหนดระยะเวลา เมื่อถึงกำหนดเวลาจะต้องมีการติดตามผลว่าได้มีการปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องตามแนวทางที่กำหนดไว้หรือไม่เกิดผลอย่างไร โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

1. ตรวจติดตามเอกสารสรุปประเมินผลการศึกษา

2. เชิญคณะผู้รับผิดชอบแก้ไขข้อบกพร่องมาประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสนอสภาพปัญหา

ข้อบกพร่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความบกพร่องและการแก้ไข

3. ผู้รับผิดชอบตรวจติดตามและผู้รับผิดชอบแก้ไขข้อบกพร่องเข้าศึกษาสภาพจริงของการ

ดำเนินงาน แล้วสรุปปัจจัยที่เป็นเหตุและปัจจัยสนับสนุนการแก้ไข

4. นำข้อมูลที่ได้นำสู่การปรับปรุงแก้ไขพัฒนาเอกสารองค์ความรู้ ให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น

บทสรุปการขยายขอบข่ายอาชีพเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ยั่งยืน ให้กับธุรกิจ จำเป็นจะต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

ไม่ใช่ทำไปตามที่เคยทำ ดังนั้นการจัดการความรู้เป็นเรื่องสำคัญของทุกคนที่ประกอบอาชีพ จะขยายช่องทาง

การประกอบอาชีพออกไป จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. เป็นบุคคลที่ทำงานบนฐานข้อมูล ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ด้านต่าง ๆ เข้ามาบูรณาการร่วมกันทั้งระบบ

ของอาชีพ

2. ต้องใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือ นั่นคือเราจะต้องตระหนักเห็นปัญหาต้องจัดการความรู้

หรือใช้แก้ปัญหา จัดการทดลองส่วนน้อย สรุปองค์ความรู้ให้มั่นใจ แล้วจึงขยายกิจกรรมเข้าสู่การขยายขอบข่ายอาชีพออกไป

3. ต้องเป็นบุคคลที่มีความภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

สร้างองค์ความรู้ให้สูงส่งเป็นทุนทางปัญญาของตนเอง ชุมชนได้




เรื่องที่ 2 : การขยายอาชีพในชุมชน ประเทศ  

วิชา ช่องทางการขยายอาชีพ รหัสวิชา อช ๓๑๐๐๒

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย


          จากการเปลี่ยนแปลงในบริบทโลกทั้งในส่วนการรวมกลุ่มทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และประการสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรทางสังคม ดังนั้น อาชีพในปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนาวิธีการและศักยภาพในการแข่งขันได้ในระดับโลก ซึ่งจะต้องคำนึงถึงบริบทภูมิภาคหลักของโลก หรือ “รู้ศักยภาพเขา” หมายถึง ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทวีปออสเตเลีย ทวีปแอฟริกาและจะต้อง “รู้ศักยภาพเรา” หมายถึงรู้ศักยภาพหลักของพื้นที่ประเทศไทย คือศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นเพื่อให้การประกอบอาชีพสอดคล้องกับศักยภาพหลักของพื้นที่และสามารถแข่งขันในเวทีโลก จึงได้กำหนดกลุ่มอาชีพใหม่ 5 กลุ่มอาชีพ คือ กลุ่มอาชีพใหม่ด้านการเกษตร กลุ่มอาชีพใหม่ด้านพาณิชยกรรม กลุ่มอาชีพใหม่ด้านอุตสาหกรรม กลุ่มอาชีพใหม่ด้านความคิดสร้างสรรค์ และกลุ่มอาชีพใหม่ด้านบริหารจัดการและบริการ


ตัวอย่าง แผนปฏิบัติการขยายอาชีพ
          1. กลุ่มอาชีพใหม่ด้านการเกษตร คือการพัฒนาอาชีพในด้านการเกษตรเกี่ยวกับการปลูกพืช

เลี้ยงสัตว์ การประมง โดยนำองค์ความรู้ใหม่ เทคโนโลยี/นวัตกรรม มาพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพหลักของพื้นที่ คือศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพของภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีของแต่ละพื้นที่และศักยภาพขอทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ อาชีพใหม่ด้านการเกษตร เช่น เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่วนเกษตร ธุรกิจการเกษตร เป็นต้น


          2. กลุ่มอาชีพใหม่ด้านพาณิชยกรรม คือการพัฒนาหรือขยายขอบข่ายอาชีพด้านพาณิชยกรรม เช่น ผู้ให้บริการจำหน่ายสินค้าทั้งแบบค้าปลีกและค้าส่งให้แก่ผู้บริโภคทั้งมีหน้าร้านเป็นสถานที่จัดจำหน่าย เช่นห้างร้าน ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์สโตร์ ร้านสะดวกซื้อ และการขายที่ไม่มีหน้าร้าน เช่น การขายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่าง แผนปฏิบัติการขยายอาชีพ
          3. กลุ่มอาชีพใหม่ด้านอุตสาหกรรม คือการพัฒนาอาชีพที่อาศัยองค์ความรู้ เทคโนโลยี/นวัตกรรม อาชีพเกี่ยวกับงานช่าง ซึ่งได้แก่ช่างไฟฟ้า ช่างไม้ ช่างยนต์ ช่างประปา ช่างปูน และช่างเชื่อมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศและศักยภาพหลักของพื้นที่ เช่น ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์โดยทั่วไป เช่น IC PCB ผู้ประกอบรถยนต์และยานยนต์ประเภทต่าง ๆ ผู้ผลิต ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ประกอบชิ้นส่วนหรืออะไหล่รถยนต์ ผู้ให้บริการซ่อมบำรุงรถยนต์ ผู้จัดจำหน่ายและศูนย์จำหน่ายรถยนต์ทั้งมือหนึ่งมือสอง ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรและเครื่องมือทุกชนิด เช่น เครื่อง

ตัวอย่าง แผนปฏิบัติการขยายอาชีพ
จักรกลหนัก เครื่องจักรกลเบา ผลิตอุปกรณ์หรือส่วนประกอบพื้นฐานของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ ฉนวนไฟฟ้า มอร์เตอร์ต่าง ๆ การผลิตอลูมิเนี่ยม ผลิตและตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็ก สเตนเลส ผู้ผลิตจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง วัสดุตกแต่ง สุขภัณฑ์ การก่อสร้าง อาคาร หรือที่อยู่อาศัย

          4. กลุ่มอาชีพใหม่ด้านความคิดสร้างสรรค์

ท่ามกลางกระแสการแข่งขันของโลกธุรกิจที่ไร้พรมแดนและการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด

ของเทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคม การแลกเปลี่ยนสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่ที่อยู่ห่างไกลนั้นเป็นเรื่องง่ายในปัจจุบันเมื่อข้อจำกัดของการข้ามพรมแดนมิใช่อุปสรรคทางการค้าต่อไป จึงทำให้ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อมีสิทธิเลือกสินค้าใหม่ได้อย่างเสรีทั้งในด้านคุณภาพและราคา ซึ่งการเรียนรู้และพัฒนาสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตลาดอยู่แล้วในยุคโลกไร้พรมแดนกระทำได้ง่ายประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ เช่น ประเทศจีนอินเดีย เวียดนาม และประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคา ด้วยเหตุนี้ประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจหลายประเทศจึงหันมาส่งเสริมการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อพัฒนา


สินค้าและบริการใหม่ ๆ และหลีกเลี่ยงการผลิตสินค้าที่ต้องต่อสู้ด้านราคา โดยหลักการของเศรษฐกิจสร้างสรรค์คือแนวคิดหรือแนวปฏิบัติที่สร้าง/เพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการได้โดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรมากนัก แต่ใช้ความคิด สติปัญญา และความสร้างสรรค์ให้มากขึ้นทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเจริญเติบโตอย่างคุณภาพและยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญา ภายใต้ปัจจัยสนับสนุนที่เอื้ออำนวยและระบบการแข่งขันที่เป็นธรรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศ มุ่งปรับโครงสร้างและการลงทุนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสาขาบริการที่มีศักยภาพบนพื้นฐานของนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์และเมืองสร้างสรรค์ เพิ่มผลผลิตของภาคเกษตรและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมฐานความรู้เชิงสร้างสรรค์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ สร้างความมั่นคงด้านพลังงานควบคู่ไปกับการปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจและการบริหารจัดการเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เป็นฐานเศรษฐกิจของประเทศที่เข้มแข็งและขยายตัวอย่างมีคุณภาพกลุ่มอาชีพใหม่ด้านความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นอาชีพที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้(Knowledge) การศึกษา (Education) การสร้างสรรค์งาน (Creativity) และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา(Intellectual Property) ที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม (Culture) การสั่งสมความรู้ของสังคม (Wisdom)และเทคโลโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ (Technology and Innovation) (อาคม เติมพิทยาไพสิฐ, 2553) ดังนั้นกลุ่มอาชีพใหม่ด้านความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นการต่อยอดหรือการพัฒนาอาชีพในกลุ่มอาชีพเดิม คือ กลุ่มอาชีพ

เกษตรกรรม กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรม กลุ่มอาชีพพาณิชยกรรม กลุ่มอาชีพคหกรรม กลุ่มอาชีพหัตถกรรม

และกลุ่มอาชีพศิลปกรรมกลุ่มอาชีพใหม่ด้านความคิดสร้างสรรค์ เช่น แฟชั่นเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องสำอาง ทรงผมสปาสมุนไพร การออกแบบสื่อ/ภาพยนตร์/โทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้างแบบประหยัดพลังงาน เซรามิก ผ้าทอ จักสาน แกะสลัก รถยนต์พลังงานทางเลือก ขาเทียมหุ่นยนต์เพื่อคนพิการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตลาดน้ำอโยธยา เป็นต้น

          5. กลุ่มอาชีพใหม่ด้านบริหารจัดการและบริการ เช่น ธุรกิจบริการท่องเที่ยว ธุรกิจบริการสุขภาพ

 ธุรกิจบริการโลจิสติกส์ ธุรกิจภาพยนต์ ธุรกิจการจัดประชุมและแสดงนิทรรศการ บริการที่ปรึกษาด้าน

อสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาทางธุรกิจงานอาชีพใหม่ทั้ง 5 กลุ่ม ในอนาคตจะมีการเติบโตทางธุรกิจมากขึ้น จึงมีความต้องการเจ้าหน้าที่ บุคคล พนักงาน เพื่อควบคุมและปฏิบัติงานที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะฝีมือเป็นจำนวนมาก

          การขยายขอบข่ายอาชีพระดับประเทศ

ธุรกิจที่มีการขยายขอบข่ายอาชีพในระดับประเทศ มักจะเป็นธุรกิจที่สร้างประสิทธิภาพในระบบ

การจัดการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกำลังคนทั้งระดับบริหารจัดการ และแรงงาน การจัดการ

เงินทุน การจัดการวัสดุนำเข้า การผลิต และกระบวนการผลิตให้ได้ผลผลิตสูงสุด และมีของเสียหายน้อยที่สุด

ตัวอย่าง แผนปฏิบัติการขยายอาชีพ
เป็นเรื่องสำคัญในงานอาชีพด้านเกษตรกรรม งานอาชีพด้านอุตสาหกรรม งานอาชีพด้านพาณิชยกรรม งานอาชีพด้านความคิดสร้างสรรค์ งานอาชีพด้านอำนวยการและอาชีพเฉพาะทาง ดังนั้นการจัดตั้งธุรกิจรองลงมาที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการลดปริมาณการเสียหายให้น้อยที่สุดจนเหลือศูนย์รองรับธุรกิจหลัก จึงเกิด